ช่วงนี้เห็นกระทู้เรื่องเรียนสายวิทย์สายศิลป์จะเข้าคณะโน้นนี้ได้ไหมเยอะเชียว ส่วนตัวก็เป็นเหยื่อของระบบนี้เช่นกัน โดนบังคับให้เรียนสายที่ตัวเองไม่ได้อยากเลือกตอนม.ปลาย หลังจากมาเรียนต่อที่อเมริกา พบว่านักเรียนที่นี่ไม่ได้มีการแบ่งสาย ขนาดเรียนมหาลัยแล้วยังเรียนข้ามสาขากันไปมาเป็นเรื่องปกติ จะเมเจอร์คณิตศาสตร์ ไมเนอร์ญี่ปุ่น อะไรแบบนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก หรือจะซิ่วมาจากมหาลัยอื่น ก็สามารถโอนหน่วยกิตได้ ไม่ต้องเรียนปีหนึ่งซ้ำ เลือกเมเจอร์ตอนปีสอง เรียนไปแล้วพบว่าไม่ชอบ อยากเปลี่ยนเมเจอร์ตอนขึ้นปีสามก็ทำได้ อาจารย์ท่านหนึ่งเคยเล่าว่าตอนแรกเขาเลือกเรียน electrical engineering ที่ UCLA แต่มาเปลี่ยนเป็นสาขาประวัติศาสตร์ทีหลัง คนเรียนเมเจอร์วรรณคดีและสามารถเขียนโปรแกรมภาษาpython ได้ด้วย ก็มีอยู่ไม่น้อย ดิฉันค่อนข้างชอบแนวคิด interdisciplinary มากกว่าการต้องจำกัดตัวเองอยู่กับสาขาเดียว
คนทำงานการออกแบบนโยบายการศึกษาก็น่าจะจบจากอเมริกากันมาเยอะ แถมก.พ. ก็ยังมีทุนให้ไปเรียนปริญญาเอกด้านนี้อยู่เรื่อยๆ แต่ทำไมไทยก็ยังคงระบบแบ่งสายการเรียนตั้งแต่ม.ปลายเอาไว้ (เข้าใจว่าลอกเลียนมาจากระบบอังกฤษ ใครเคยเรียนที่อังกฤษรบกวนให้ความรู้ด้วยนะคะ) ดิฉันเห็นว่าการให้เด็กเลือกสายตั้งแต่ม.ปลายนั้นเร็วเกินไป น่าจะให้เด็กได้เข้ามหาลัยก่อน ได้ลองเรียนวิชาต่างๆ ในระดับมหาลัย แล้วค่อยตัดสินใจว่าอยากเมเจอร์อะไร ถ้าให้คิดข้อดีของการเลือกสายตั้งแต่ม.ปลายก็คือเด็กจะได้มีความรู้พื้นฐานดี ช่วยให้ต่อยอดเรียนวิชาระดับสูงขึ้นในมหาลัยได้ง่าย
พอแบ่งสายวิทย์สายศิลป์อย่างทุกวันนี้ ก็กลายเป็นว่าสายศิลป์เป็นแหล่งรวมเด็กเรียนอ่อน แถมสายวิทย์ยังได้เปรียบเพราะเลือกเรียนได้หลายคณะมากกว่า น่าจะลดเนื้อหาวิชาวิทย์คณิตของสายวิทย์ลงสักหน่อย แล้วให้เด็กเลือกเรียนภาษาที่สามอีกหนึ่งภาษาควบคู่ไปด้วย อย่างนี้เด็กก็จะสามารถสอบเข้าเรียนคณะไหนก็ได้เหมือนๆ กัน
ยกตัวอย่างขั้นต่ำการรับเข้าเรียนปริญญาตรีของ UCLA
• 2 years History/Social Science
• 4 years of college-preparatory English
• 3 years of mathematics (4 years recommended)
• 2 years of laboratory science (3 years recommended)
• 2 years of Language other than English (3 years recommended)
• 1 year of Visual and Performing Arts (if available)
https://www.admission.ucla.edu/prospect/Adm_fr/Freshman_Admission_Guide.pdf
*เพิ่มเติม
ประธาน ทปอ. เพิ่งโพสคลิป สนับสนุนการไม่แบ่งแยกสายวิทย์สายศิลป์ อย่างนี้พอจะมีหวังว่าระบบการศึกษาไทยอาจจะเปลี่ยนได้เหมือนกัน
https://www.facebook.com/335978833560634/videos/182850465931856/
เพื่อนๆ ที่เห็นด้วยกับการแบ่งสายการเรียนแบบไทยอย่างทุกวันนี้ คิดว่ามีข้อดีอย่างไรบ้างคะ ทำไมเราควรต้องทำต่อไป
ประเทศเราน่าจะยกเลิกการแบ่งสายการเรียนตอนม.ปลายนะคะ
คนทำงานการออกแบบนโยบายการศึกษาก็น่าจะจบจากอเมริกากันมาเยอะ แถมก.พ. ก็ยังมีทุนให้ไปเรียนปริญญาเอกด้านนี้อยู่เรื่อยๆ แต่ทำไมไทยก็ยังคงระบบแบ่งสายการเรียนตั้งแต่ม.ปลายเอาไว้ (เข้าใจว่าลอกเลียนมาจากระบบอังกฤษ ใครเคยเรียนที่อังกฤษรบกวนให้ความรู้ด้วยนะคะ) ดิฉันเห็นว่าการให้เด็กเลือกสายตั้งแต่ม.ปลายนั้นเร็วเกินไป น่าจะให้เด็กได้เข้ามหาลัยก่อน ได้ลองเรียนวิชาต่างๆ ในระดับมหาลัย แล้วค่อยตัดสินใจว่าอยากเมเจอร์อะไร ถ้าให้คิดข้อดีของการเลือกสายตั้งแต่ม.ปลายก็คือเด็กจะได้มีความรู้พื้นฐานดี ช่วยให้ต่อยอดเรียนวิชาระดับสูงขึ้นในมหาลัยได้ง่าย
พอแบ่งสายวิทย์สายศิลป์อย่างทุกวันนี้ ก็กลายเป็นว่าสายศิลป์เป็นแหล่งรวมเด็กเรียนอ่อน แถมสายวิทย์ยังได้เปรียบเพราะเลือกเรียนได้หลายคณะมากกว่า น่าจะลดเนื้อหาวิชาวิทย์คณิตของสายวิทย์ลงสักหน่อย แล้วให้เด็กเลือกเรียนภาษาที่สามอีกหนึ่งภาษาควบคู่ไปด้วย อย่างนี้เด็กก็จะสามารถสอบเข้าเรียนคณะไหนก็ได้เหมือนๆ กัน
ยกตัวอย่างขั้นต่ำการรับเข้าเรียนปริญญาตรีของ UCLA
• 2 years History/Social Science
• 4 years of college-preparatory English
• 3 years of mathematics (4 years recommended)
• 2 years of laboratory science (3 years recommended)
• 2 years of Language other than English (3 years recommended)
• 1 year of Visual and Performing Arts (if available)
https://www.admission.ucla.edu/prospect/Adm_fr/Freshman_Admission_Guide.pdf
*เพิ่มเติม
ประธาน ทปอ. เพิ่งโพสคลิป สนับสนุนการไม่แบ่งแยกสายวิทย์สายศิลป์ อย่างนี้พอจะมีหวังว่าระบบการศึกษาไทยอาจจะเปลี่ยนได้เหมือนกัน
https://www.facebook.com/335978833560634/videos/182850465931856/
เพื่อนๆ ที่เห็นด้วยกับการแบ่งสายการเรียนแบบไทยอย่างทุกวันนี้ คิดว่ามีข้อดีอย่างไรบ้างคะ ทำไมเราควรต้องทำต่อไป