เมื่อผมเป็นโรคเบลล์หรือโรคใบหน้าเบี้ยว ภัยใกล้ตัว 2018

สวัสดีครับเราชื่อ บี อายุ27ปี
ขอเริ่มเล่าเลยนะครับ เรื่องมีอยู่ว่า....
             คือผมเป็นโรคอัมพาตเบลล์ หรือ โรคใบหน้าเบี้ยว (Bell’s palsy) ตั้งแต่ วันที่23ตุลาคม2561 ช่วงบ่ายวันนั้นผมมีความรู้สึกว่ามีอาการท้องเสีย น้ำตาข้างขวาไหล เลยไม่ได้คิดอะไร เลยกินยาท้องเสียเข้าไป แล้วก็นอนพักผ่อน พอตื่นมา ผมลุกมากินน้ำ ผมมีอาการกลืนน้ำไม่ได้ น้ำที่กินไหลออกจากปาก ผมตกใจมากเลยวิ่งไป ดูหน้ากระจกพบว่า ผมมีอาการ ปากเบี้ยวข้างขวา ตาข้างขวากระตุกข้างขวา ยิ้มได้แค่ข้างซ้ายข้างเดียว ครั้งแรกที่เห็นตัวเอง ผมตกใจมากใจสั่น ทำอะไรไม่ถูก เพราะกลัวเป็นอัมพาตครึ่งตัว ผมเลยรีบวิ่งไปหาแฟนในห้องแล้วให้เขาช่วย ดูหน้าให้ผมว่าเกิดอะไรขึ้น แฟนผมบอกว่าหน้าผมยิ่มได้แค่ข้างเดียว เราสองคนตกใจมากเพราะไม่เคยเกิดเหตการณ์แบบนี้เลย เราสองคนหาข้อมูลในอินเทอร์เนต (ผมดูข้อมูลในเว็บนี้ครับ http://haamor.com/th/โรคอัมพาตเบลล์/)
จนทราบว่า เราน่าจะเป็นโรคใบหน้าเบี้ยว แน่นอน ผมกลัวมาก กังวลไปหมด เพราะผมเป็นคนคิดมาก ผมไม่คิดว่า โรคนี้จะเกิดขึ้นกับตัวเอง แต่โชคดีมากครับที่แฟนผมอยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา และพูดให้กำลังใจผมตลอด คืนนั้นกว่าผมจะนอนหลับก็ตี2เพราะเครียดมากจริงๆ จนหลับไปเอง
เช้าวันที่24.10.18
              ผมรีบตื่นเช้า ประมาณ6โมงเช้าเพื่อนั่งรถไปหาคุณหมด ที่โรงพยาบาล นวมินทร์1 (คอนโดผมอยู่แถวหลังรามคำแหงครับ แต่สิทธิบัตรทองผม อยู่ รพ นวมินทร์1) เมื่อไปถึง รพ. คนที่โรงพยาบาลเยอะมากครับ ผมติดต่อเคาร์เตอร์และวัดความดันเพื่อรอพบหมอ เมื่อเข้าพบหมอ หมอก็ถามร่ยละเอียด และอาการที่เกิดขึ้นกับเรา หมอให้หลับตา ยิ้ม และมองซ้ายขวา และหมอก็บอกผมว่า ผมเป็นโรคอัมพาตเบลล์ หมอบอกผมว่าโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ของเส้นประสาทคู่ที่7 ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเชื้อไวรัสชนิดไหน สาเหตุที่ผมเป็นเพราะผมพักผ่อนน้อย นอนดึก และไม่ออกกำลังกาย รวมถึงน้ำหนักตัวมากเกินไป ผมหนัก 115 กิโลกรัม หมอบอกให้ลดน้ำหนัก และกินอาหารที่มีประโยชน์ และบริหารกล้ามเนื้อหน้าด้านขวาบ่อยๆ และจะนัดผมอีกครั้ง 1อาทิตย์ข้างหน้า พอพบหมอเสร็จผมก็รอรับยาครับ ยาที่ผมได้รับมาคือ ยากินหลังอาหารทันที เม็ดสีชมพูเล็ก หมอให้ผมกิน2เม็ดหลังกินข้าวครับ พอกลับมาบ้านผมก็กินยาตามที่หมอสั่ง 3เวลา แล้วทำกายภาพบำบัดหน้าข้างขวาที่ผมมีอาการแสดงสีหน้าไม่ได้ ทำบ่อยมากๆครับ และหาข้อมูลในอินเทอเน็ตเพิ่มเติมซึ่ง มีหลายคนมากที่เกิดอาการแบบนี้ บางคนก็ให้ใช้การประคบร้อน ด้านที่มีอาการ บางคนให้เคี้ยวหมากฝรั่งซึ่งผมก็ทำหมดครับ
เช้าวันที่25.10.18
              ผมตื่นมาออกกำลังกายวิ่งตอนเช้า กินข้าวให้ตรงเวลา ปรับเวลานอนให้ไวขึ้น จากเมื่อก่อนนอนตี3 ผมเริ่มนอนตอน4ทุ่ม ตื่น6โมงเช้า ออกกำลังกาย เช้าเย็น วันนี้อาการหน้าเบี้ยวด้านขวาของผมก็ยังเหมือนเดิม คือปากด้านขวาเวลายิ้มไม่ยกขึ้น และกระพริบตาขวาช้ากว่าด้านซ้าย เวลาเดินออกไปด้านนอกฝุ่นจะเข้าตาง่ายมาก จนผมมีอาการตาแดง ต้องใช้น้ำยาหยอดตา และน้ำตาเทียม ลืมบอกไปนะครับ ทุกครั้งที่ออกไปข้างนอกต้องใส่แว่นตา นะครับเพื่อกันฝุ่นละออง ป้องกันการอักเสบของตาเราครับ เพราะถ้าเป็นโรคเบลลแล้ว ตาของเราจะแห้งมากครับ วันนี้ตอนเช้าผมกินข้าววผัด ตอนเที่ยงกินไก่ย่าง ตอนเย็นสั่งก๋วยเตี๋ยวมากิน กินลำบากมากครับ แต่ก็ต้องฝืนกินและเคี้ยว ให้ละเอียดถึงแม้ว่าจะลำบากแค่ไหนก็ตามและกินยาตามทันที ใครที่เป็นโรคเบลลอยู่นะครับ การพักผ่อนสำคัญมากครับและควรกินยาตามที่หมอให้มาให้ครบทั้งสามเวลานะครับ
เช้าวันที่26.10.18
            วันนี้ผมตื่นมาพร้อมกับฝนที่ตกหนักมากครับ สิ่งแรกที่ผมทำคือเดินไปหน้ากระจกครับวันนี้ผมรู้สึกว่า มุมปากด้านขวาเริ่มยกขึ้นได้บ้างเล็กน้อยครับ และกล้ามเนื้อ แก้มด้านขวาเริ่มคลายลงมากครับ จากวันแรกที่มีอาการตึงมากเช้าวันนี้ผมกินข้าวเช้ากับแกงจืดครับ งดหารอารเผ็ดและหมักดองนะครับ จากที่ผมหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ผม ติดเชื้อไวรัส แล้วเส้นประสาทคู่ที่7อักเสบ น่าจะเกิดจากการที่ผมท้องเสีย กินอาหารที่เป็นหมักดองมากเกินไป เพราะส่วนตัวแล้วผมชอบกินส้มตำเผ็ดๆมากครับ จากที่เคยกินแบบนี้ ผมปรับการกินใหม่หมดเลยครับ พักผ่อนให้ตรงเวลา ออกกำลังกาย ทุกวัน กินอาหารที่มีประโยชน์ครับครับ แต่วันนี้ฝนตกผมก็ต้องไปวิ่งลู่วิ่งที่ใต้คอนโดครับ เพราะปกติผมจะไปวิ่งที่ กกท ครับ และวันนี้ผมก็ไม่ลืมที่จะทำกายภาพบำบัดด้วยตัวของผมเองครับ ผมหวังว่า หน้าของผมจะกลับมาหายไวที่สุด ครับ
***ผมเอาข้อมูลของโรคนี้มาฝากนะครับอาจจะยาวนิดนึงนะครับ***
                    โรคอัมพาตเบลล์ หรือ โรคใบหน้าเบี้ยว หรือ โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) ได้แก่ โรคซึ่งเกิดจากการบวม อักเสบของประสาทใบหน้า หรือประสาทฟาเซียลหรือบางคนออกเสียงว่า เฟเซียล (Facial nerve หรือเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7,Cranial nerve VII หรือย่อว่า CN VII) โดยเป็นเส้นประสาทคู่ คือ มีทั้งด้านซ้ายควบคุมใบหน้าด้านซ้าย และด้านขวาควบคุมใบหน้าด้านขวา ซึ่งเมื่อโรคเป็นชนิดไม่รุนแรง จะก่ออาการน้อย การอักเสบเพียงทำให้เกิดอัมพฤกษ์ของใบหน้าด้านนั้น แต่ถ้าเป็นมาก จะก่ออาการอัมพาตของใบหน้าด้านนั้น ทั้งนี้ โดยทั่วไป มักเกิดโรคกับประสาทเพียงด้านเดียว โดยโอกาสเกิดใกล้เคียงกันทั้งประสาทด้านซ้ายและประสาทด้านขวา และยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่า จะเกิดโรคกับประสาทด้านไหน อย่างไรก็ตาม พบโรคเกิดกับประสาททั้งสองข้างพร้อมกันได้แต่พบได้น้อยกว่า 1%
                     โรคอัมพาตเบลล์ ได้ชื่อตามนักกายวิภาค ชาวสกอต ชื่อ Charles Bell (ชาร์ลส์ เบลล์) ซึ่งเป็นผู้รายงานโรคนี้เป็นคนแรก โรคนี้พบได้บ่อยพอควร ทั่วโลกพบประมาณ 15-30 รายต่อประชากร 100,000 คน โรคนี้พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบสูงสุดในช่วงอายุ 20-40 ปี ผู้หญิงและผู้ชายเกิดโรคได้ใกล้เคียงกัน  โรคอัมพาตเบลล์ หลังรักษาหายแล้ว มีโอกาสเกิดเป็นซ้ำได้อีกประมาณ 4-14% โดยเฉลี่ยมักเกิดเป็นซ้ำหลังจากเกิดโรคครั้งแรกประมาณ 10 ปี โดยเมื่อเกิดเป็นซ้ำ อาจเกิดโรคซ้ำกับด้านเดิม หรือ เกิดกับอีกด้านก็ได้ ไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่า จะเกิดโรคซ้ำด้านไหน ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ คือ ในผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ และ/หรือ ป่วยด้วยโรค เบาหวานร่วมด้วย
โรคอัมพาตเบลล์เกิดได้อย่างไร?
                     ปัจจุบันยังไม่ทราบว่า โรคอัมพาตเบลล์เกิดจากสาเหตุใด แต่จากการศึกษาต่างๆพบว่า อาจมีสาเหตุได้จากประสาทใบหน้าติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริม (Herpes sim plex) หรือ จากไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใส(Herpes zoster) หรือจากไวรัสในตระกูลไซโตเมกาโลไวรัส (Cytomegalovirus) ซึ่งเชื้อทุกชนิด มักก่ออาการเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่ำ สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่แพทย์เชื่อกันมากที่สุดในสาเหตุต่างๆเป็นผลข้างเคียงของโรคบางโรค ที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน หรือ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งพบโรคจากสาเหตุเหล่านี้ได้น้อยจากร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานจากการติดเชื้อไวรัสต่างๆ และภูมิต้านทานนี้ ส่งผลให้เกิดการการอักเสบบวมของประสาทใบหน้า
มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพาตเบลล์ไหม?
                     ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพาตเบลล์ ได้แก่ คนท้องมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้เป็นโรคเบาหวานติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจนำมาก่อน เช่น โรคหวัด หรือ โรคไข้หวัดใหญ่พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนแอภาวะเครียดภายหลังได้รับอุบัติเหตุภาวะร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำลง
โรคอัมพาตเบลล์มีอาการอย่างไร?
                     อาการจากโรคอัมพาตเบลล์ เป็นอาการเกิดอย่างเฉียบพลัน เพียงข้ามคืน และเกือบ 100 % เกิดกับใบหน้าเพียงข้างเดียว ดังนั้นถ้าอาการหน้าเบี้ยวค่อยๆเกิดขึ้น ใช้เวลาเป็นหลายๆวัน หรือ สัปดาห์ และ/หรือ มีหน้าเบี้ยวทั้งสองข้าง แพทย์มักนึกถึงโรคอื่นๆก่อน เช่น โรคหลอดเลือดในสมองอักเสบ (โรคหลอดเลือดอักเสบ) ประสาทอักเสบจากโรคเบาหวาน หรือจากโรคเรื้อนอาการนอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว เช่น ความรุนแรงของอาการหน้าเบี้ยว อาจเพิ่มขึ้นภายใน 2-3 วันอาการหน้าเบี้ยว ที่พบบ่อย คือ ปากเบี้ยว โดยด้านที่เกิดโรคจะขยับริมฝีปากไม่ได้ ริมฝีปากตกรอยย่นต่างๆตามปกติบนใบหน้าด้านเกิดโรคจะหายไปกินอาหาร เคี้ยวอาหารลำบากเมื่อดื่มน้ำ จะมีน้ำไหลจากมุมปากอาจมีน้ำลายไหลด้านเกิดโรคเมื่อแปรงฟัน ยาสีฟันจะไหลออกมา ควบคุมไม่ได้เลิกคิ้วด้านนั้นไม่ได้อาจพูดไม่ชัดอาจรับรสชาติอาหารไม่ได้ หรือลดลงอาจมีน้ำลายแห้งน้ำตาแห้ง ด้านเกิดโรคเมื่อเป็นมาก การได้ยินของหูด้านนั้นอาจลดลง ถึงหูหนวกได้เมื่อเป็นมาก หนังตาด้านเกิดโรคทั้งหนังตาบน และหนังตาล่างจะปิดไม่ได้ ก่อให้ตาเปิดตลอดเวลา ตาจึงแห้งมากจากน้ำหล่อเลี้ยงตาระเหยตลอดเวลา ร่วมกับมีน้ำตาแห้งจากต่อมน้ำตาลดการทำงาน ก่ออาการระคายเคืองตา กระจกตาจึงอาจเกิดแผลได้อาจมีอาการปวด เจ็บ รอบๆขากรรไกร และ/หรือบริเวณหู/หลังหู ด้านเกิดโรค และ/หรือ ปวดศีรษะ
แพทย์วินิจฉัยโรคอัมพาตเบลล์ได้อย่างไร?...
                      โดยทั่วไปแพทย์วินิจฉัยโรคอัมพาตเบลล์ได้จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย ตรวจช่องปาก หู คอ จมูก และ ดวงตา ส่วนการตรวจเลือด และ/หรือการตรวจภาพอวัยวะเช่น สมอง (เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอมอาร์ไอ) มักเป็นการตรวจเมื่อแพทย์สงสัยสาเหตุจากโรคอื่น เช่น โรคเนื้องอกสมองอัมพาต อัมพฤกษ์จากโรคหลอดเลือดสมอง หรือ อาการ หรือตรวจการทำงานของประสาท (Electromyography,EMG) เพื่อสนับสนุนว่า มีการทำงานผิดปกติของประสาทใบหน้าจริง
รักษาโรคอัมพาตเบลล์อย่างไร?...
                     แนวทางการรักษาโรคอัมพาตเบลล์ คือ การรักษาประคับประคองตามอาการ การให้ยาต้านการอักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์ และเมื่อแพทย์สงสัยสาเหตุจากติดเชื้อไวรัส อาจให้ยาต้านไวรัส ซึ่งจะให้ผลดีต่อเมื่อเริ่มยาภายในประมาณ 3 วันหลังมีอาการ (ดังนั้น เมื่อมีอาการดังกล่าวแล้ว จึงควรรีบพบแพทย์)นอกจากนั้น คือ การพักผ่อน หรือ การกินยาแก้ปวด เมื่อมีอาการปวดร่วมด้วยเป็นต้น
                    อีกประการที่สำคัญ คือ การทำกายภาพฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าตามแพทย์ และนักกายภาพบำบัดแนะนำและเมื่อมีอาการทางหนังตา ควรปิดตาด้านนั้น เพื่อป้องกันฝุ่นและลม หรือ ใส่แว่นกันแดดเสมอทั้งในและนอกบ้าน และปิดตาในเวลานอน ร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม หรือ พบจักษุแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ และควรรีบพบจักษุแพทย์เมื่อมีอาการระคายเคืองตา ตาแดงมีขี้ตา และ/หรือมีปัญหาในการมองเห็นภาพ
                     ทั้งนี้ ในผู้ป่วยที่โรคฟื้นตัวได้น้อย หรือ ไม่ฟื้นตัว ยังคงมีอัมพฤกษ์อัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าอยู่ (พบได้น้อยประมาณ 4%) แพทย์อาจใช้การผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาหน้าเบี้ยว ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่