อยากถามสิทธิทางกฏหมายของพ่อเลี้ยงเดี่ยว

คือผมเลี้ยงลูกคนเดียว มาหลายปีแล้วฝ่ายหญิงเค้าไปตั้งแต่ลูก 3 ขวบ ตอนนี้ลูก 7 ขวบแล้ว
เลี้ยงคนเดียวมาตลอดฝ่ายหญิงไม่ได้มาเจอหรือมามีส่วนร่วมอะไรด้วย อยากกจะถามว่าสิทธิทางกฏหมายฝ่ายแม่ที่มีต่อลูกยังมีอยู่ไหม แล้วสิทธิที่เรามีต่อลูกมีไหม (ไม่ได้จดทะเบียนสมรส)
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องมายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จดทะเบียนรับรองบุตร
การยื่นคำร้องขอรับรองบุตร ผู้ร้องขอจะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลดังนี้
1) ค่าขึ้นศาล 200 บาท
2) ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท
3) ค่าส่งหมาย/ค่าส่งคำคู่ความ ( ถ้ามี )
ในการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร จะต้องมีเอกสารประกอบ ดังนี้
1) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับรองบุตร
2) ทะเบียนบ้านของผู้ขอรับรองบุตร
3) สูติบัตรของผู้เยาว์
4) ทะเบียนบ้านของผู้เยาว์
เอกสารทุกฉบับจะต้องถ่ายสำเนาพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ให้จัดทำจำนวน ๓ ชุด โดย ๒ ชุดแรกนำไปยื่นที่งานรับฟ้อง ซึ่งชุดแรกเจ้าหน้าที่รับฟ้องจะทำเป็นสำนวนของศาล ชุดที่สองส่งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองฯ เพื่อจัดทำรายงานข้อเท็จจริงเสนอต่อศาล ชุดที่สามให้ผู้ยื่นคำร้องเก็บไว้
เมื่อศาลพิจารณารับคำร้องแล้ว ศาลจะมีคำสั่ง รับคำร้อง นัดไต่สวน ประกาศหนังสือพิมพ์ แจ้งผู้อำนวยการสถานพินิจฯ ให้ผู้ร้องนำผู้เยาว์และผู้เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจฯ ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล ดังนี้
1) ผู้ร้องต้องนำพยานที่เกี่ยวข้องไปให้การต่อผู้อำนวยการสถานพินิจฯ ภายใน ๑๕ วัน
2) ผู้ร้องต้องนำพยานที่เกี่ยวข้องไปเป็นพยานศาล ตามที่นัดไว้ (นำเอกสารต้นฉบับมาแสดงด้วย)
หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องสามารถคัดรับรองสำเนาคำสั่งศาล และขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ไปยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อจดทะเบียนรับรองบุตรต่อไป

2. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
1) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับรองบุตร
2) ทะเบียนบ้านของผู้ขอรับรองบุตร
3) สูติบัตรของผู้เยาว์
4) ทะเบียนบ้านของผู้เยาว์
( เอกสารทุกฉบับจะต้องถ่ายสำเนาพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 2 ชุด เพื่อแนบกับคำร้องขอรับรองบุตร
เก็บไว้ในสำนวนศาล 1 ชุด และส่งให้สถานพินิจฯ 1 ชุด)

3. ดำเนินการแนะนำเขียนคำร้อง
1) คำร้องขอรับรองบุตร ผู้ขอรับรองบุตรจะต้องยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้รับรองบุตรเสียก่อน
โดยเจ้าหน้าที่งานบริการประชาชนจะดำเนินการให้คำแนะนำและบริการเขียนคำร้องให้กับผู้ขอรับรองบุตร
2) บัญชีพยาน ผู้ร้องขอรับรองบุตรจะต้องยื่นบัญชีระบุพยาน เพื่อศาลจะได้ทราบว่า มีพยานมาสืบกี่ปาก และมีพยานเอกสารอะไรบ้าง พร้อมส่งสำเนาพยานเอกสาร
3) หนังสือให้ความยินยอม ผู้ร้องขอรับรองบุตรจะต้องนำมารดาของผู้เยาว์มาศาลพร้อมทั้งยื่นหนังสือให้ความยินยอมต่อศาล ในวันที่ยื่นคำร้อง

4. ยื่นคำร้องที่งานรับฟ้อง
ผู้ร้องขอรับรองบุตรนำคำร้องขอรับรองบุตรพร้อมเอกสาร ไปยื่นที่งานรับฟ้อ ง
(ถ่ายสำเนาคำร้องและเอกสารเพื่อให้สถานพินิจฯ 1 ชุด)

5. เสียค่าธรรมเนียมศาล
ผู้ร้องขอรับรองบุตรจะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลดังนี้
1) ค่าขึ้นศาล 200 บาท
2) ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท
3) ค่าส่งหมาย/ค่าส่งคำคู่ความ ( ถ้ามี )

6. นัดไต่สวนคำร้อง
งานรับฟ้องจะแจ้งวันนัดไต่สวนคำร้องให้ผู้ร้องขอรับรองบุตรทราบ

7. นัดให้ถ้อยคำที่สถานพินิจฯ
ผู้ร้องจะต้องนำผู้เยาว์และผู้เกี่ยวข้องไปให้ถ้อยคำกับ พนักงานคุมประพฤติที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ยื่นคำร้อง โดยจะต้องโทรศัพท์ไปติดต่อขอทราบวันนัดก่อน ในวันและเวลาราชการ พร้อมทั้งไปให้ถ้อยคำตามกำหนดนัดของสถานพินิจฯ

8. ศาลไต่สวน
เมื่อถึงวันนัดไต่สวน ผู้ร้องจะต้องนำพยานบุคคลมาเพื่อสืบพยานและพยานเอกสาร(ให้นำต้นฉบับมาแสดงต่อศาล) ตามที่ศาลนัดไต่สวนไว้ หากไม่มาตามกำหนดนัด ศาลอาจมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

9. ศาลมีคำสั่ง
เมื่อศาลไต่สวน และมีคำสั่งอนุญาตให้แล้ว ผู้ร้องจะต้องติดต่อยื่นคำร้องขอคัดรับรองคำสั่งศาลที่งานห้องเก็บสำนวน โดยเสียค่าคัดรับรองฉบับล่ะ 50 บาท

10. เมื่อพ้นระยะ 30 วัน หลังจากมีคำสั่งศาล ให้ยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด

11. ยื่นขอจดทะเบียนรับรองบุตรที่ที่ว่าการอำเภอ
เมื่อได้สำเนาคำสั่งศาลและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ผู้ร้องต้องไปติดต่อขอยื่นจดทะเบียนรับรองบุตร ณ ที่ว่าการอำเภอต่อไป เมื่อเจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ผู้เยาว์ก็จะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา
--------------–-------------------------
โทร.1548 ปรึกษาและขอคำแนะนำทางทะเบียน สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่