THAI สายการบินแห่งชาติ 5 ปีขาดทุนกว่าสองหมื่นล้าน ฟังหมาแก่แมวสาว คนสายการบินรู้สึกอย่างไรบ้าง?

กระทู้คำถาม
เปรียบกับสายการบินเอกชนอื่นๆต่างกันฟ้ากับเหว สายการบินอื่นมีแต่กำไร แต่คุณๆในสายการบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติซะด้วย คนสายการบินไทย พนักงานสายการบินไทย รู้สึกอายบ้างไหม เดือนๆก็รอขอแบมือขอเงินเดือนที่รัฐต้องเอาภาษีจากปชช.ไปอุ้มพวกท่านทั้งหลาย ไม่รู้สึกเขินกันบ้างเหรอ เวลาไปกดเงินออกมาใช้
มันน่าจะถึงเวลาปรับโครงสร้างองค์กรแล้ว หากปล่อยไปแบบนี้คงจะฟื้นยาก น่าจะนำแบบรัฐบาลญี่ปุ่นทำกับสายการบินแห่งชาติเขา นำมาใช้ได้แล้วนะ ถ้าการปรับโครงสร้างองค์กรมันทำยาก เพราะสาเหตุอะไรก็รู้ๆกันทั่ว บอกเลยก็ได้ พนักงานเยอะเกินจำเป็นกว่าครึ่ง ถ้าเป็นเอกชน เขาจัดการทันทีนานแล้ว เช่นยุบหน่วยงานที่ไม่จำเป็น ลดคนโดยเอาคนที่ไม่มีประสิทธิภาพออก ใช้ระบบเอ้าท์ซอส และอื่นๆอีกมากมายที่สามารถทำให้องค์กรกลับมามีกำไร ไม่ใช่มัวแต่รอแบมือขอเงินจากรัฐบาล
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
http://www.thaitribune.org/contents/detail/312?content_id=30293&rand=1511159597

ทำไมการบินไทยจึงขาดทุนเท่าฟ้า โดย กัปตันโยธิน ภมรมนตรี


Last updated: 20 พฤศจิกายน 2560 | 11:44

เมื่อวันที่ 19พฤศจิกายน 2560 นายโยธิน ภมรมนตรี อดีตกัปตัน บริษัท การบินไทย และ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “Jothin Pamon-montri” ด้วยประเด็นที่น่าคิดว่า

"ทำไมการบินไทยจึงขาดทุนเท่าฟ้า?

ประชาชนผู้เสียภาษี และ ผู้ถือหุ้น คงต้องอาจรู้ว่า ทำไม การบินไทย ในช่วง10ปี มีแต่ปัญหาขาดทุน และก็คงอยากทราบจะมีทางแก้ไขสถานการณ์นี้ไม่อย่างไร

จะแก้ไขอะไรต้องศึกษาเสียก่อนว่าปัญหาคืออะไร เมื่อทราบแล้วการแก้ไขปัญหาจะง่ายขึ้น

1.การบินไทยซื้อเครื่องบินแบบA340-500จำนวน4ลำแม้ทางสภาพัฒน์ขอให้ทบทวน นี้คือจุดเริ่มต้นของการขาดทุน ผู้รับผิดชอบคือคณะกรรมการบริษัทในช่วงรัฐบาลทักษิณ

2.ในปี47 รัฐบาลทักษิณเปลี่ยนแปลง โครงสร้างการลงทุนในสายการบิน จาก 70/30 มาเป็น 51/49 โดยให้แอร์เอเชียถือหุ้น49% Shincorp 49% กุหลาบแก้ว 2% nominee ผู้รับผิดชอบ รัฐบาล

3.หลังจัดตั้ง ไทยแอร์เอเชีย คณะกรรมการบินไทยมีนโยบายมิให้ฝ่ายการพาณิชย์การบินไทยทำการแข่งขันกับไทยแอร์เอเชีย ผู้รับผิดชอบคณะกรรมการ

4.หลังจัดตั้งสายการบินนกแอร์ ฝ่ายบริหารนกแอร์ไม่ดำเนินการตามนโยบายคณะกรรมการบริษัทการบินไทยๆ ก็มิได้เข้าไปควบคุมนโยบาย แม้จะมีเสียงข้างมาก5 ต่อ4 ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ

5.แทนที่จะเขาไปควบคุมสถานการณ์ในนกแอร์ คณะกรรมการกลับไปลงนามในMOU เพื่อร่วมทุนกับ สายการบิน ไทเกอร์ ที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้นในช่วงนั้น49% โดยไม่ได้ศึกษาว่า สายการบิน ไท เกอร์ ขาดทุนติดกันหลายปี และถูกระงับการบินไปช่วงหนึ่ง เนื่องจากด้อยความปลอดภัย ลงเงินไปแล้ว 100ล้านบาท โครงการต้องล้มไปเพราะมีการต่อต้านว่า ชักศึกเข้าบ้าน ผู้รับผิดชอบคือ คณะกรรมการ

6.เพียง5 เดือนหลัง โครงการไทย ไทเกอร์ต้องล้มไป คณะกรรมการ จัดตั้งสายการบินไทยสมายล์ ผลการศึกษา ปี57,58,และ59 จะทำกำไร+5,056ล้านบาท ผลประกอบการจริง ขาดทุน-4,485ล้านบาท ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ

7.ในช่วงจัดตั้ง ไทยสมายล์ คณะกรรมการบริษัทการบินไทย สนับสนุนให้นกแอร์(การบินไทยถือหุ้น39%)ไปร่วมทุนกับสายการบิน สกู๊ต ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้น100% ผลการลงมติ 99.392% แม้ในปี 58 การบินไทยขาดทุน-13,047ล้านบาท ยังอนุมัติเงิน983ล้านบาทเพื่อลงทุนในนกสกู๊ต ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ

8.ปี57 สายการบินไทยสมายล์ขาดทุน-577ล้านบาท และตามสัญญาเช่าเครื่องบินแบบA320-200 จำนวน12ลำ บริษัทผู้ให้เช่าและบริษัทผู้เช่ามีสิทธิ์ยกเลิกสัญญาโดยแจ้งล่วงหน้า6เดือน ต้นปี58 ICAO ให้ธงแดงประเทศ ซึ่งแน่นอนจะต้องกระทบผลดำเนินการของไทยสมายล์ ในปีเดียวกัน คณะกรรมการซุปเปอร์บอร์ดซึ่งมี ท่านนายกเป็นประธานมีมติ ให้การบินไทยชะลอการจัดหาเครื่องบิน และในปี58 ไทยสมายล์ ขาดทุน -1,843ล้านบาท ควรทบทวนแผนการบินไทยสมายล์ ที่สามารถจะทำการยกเลิกจำนวนเครื่องบินที่เช่าลงแต่กลับไปเพิ่มจำนวนเครื่องบินอีก8ลำ และผมประการปี 59 ที่ว่า จะกำไร+1,910ล้านบาท มาเป็นขาดทุน-2,060ล้านบาท ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ

9.อนุม้ติ การจัดซื้อระบบสำรองที่นั่งNavitaire จากบริษัทที่โดนศาลสหรัฐปรับเป็นเงินกว่า2พันล้านบาท ฐานรับสินบน ระบบดังกล่าวไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบของการบินไทยได้ เป็นการทำลายNet work ของการบินไทย ในที่สุดต้องเลิกใช้ เสียหายไป 500ล้านบาท ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ

10 ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นการลงทุนในสายการบิน มีรัฐบาลจากการรัฐประหาร 2รัฐบาล รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง 3รัฐบาล คณะกรรมการบริษัทมิได้เสนอทางแก้ไขนโยบายดังกล่าวแม้แต่ครั้งเดียว เพื่อปกป้องผลประโยชน์บริษัท และสิทธิการบินซึ่งเป็นสมบัติของชาติ ผู้รับผิดชอบ คือคณะกรรมการ

ยังมีอีกหลายโครงการที่จมอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้ต้องรับผิดชอบความเสียหาย

การที่จะแก้ไขให้บริษัทการบินไทยพ้นจากการขาดทุก ต้องเปลี่ยนคณะกรรมการ ถ้าตราบใดที่คณะกรรมการชุดนี้ยังเป็นกรรมการบริษัท การบินไทยก็จะอยู่ในสภาพนี้ เศร้า"

First posted: 20 พฤศจิกายน 2560 | 11:42
Author : โยธิน ภมรมนตรี


วัว


ข้อ 1 ข้อ 2 เป็นจุดเริ่มต้นแห่งหายนะ กบท ทักแม้วนี่แสบของจริง โกยเงินเข้ากระเป๋าพวกพ้องสบายใจเฉิบจากการซื้อเครื่องบินแล้วปล่อยให้ กบท ขาดทุนสะสมตั้งแต่นั้นมา

ผู้ชาย
ความคิดเห็นที่ 31
ประเด็นที่ผมรู้สึกไม่ดีก็คือ พนักงานขององค์กรยัง"อยู่ดีกินดี"กันอยู่น่ะครับ โดยเฉพาะนักบินคนที่"ไม่ยอมถอย"โดยอ้างว่าหากถอยมากจะไม่มีที่ยืน... แล้วมิหนำซ้ำยังรวมตัวกันเรียกร้องเงินตอบแทนเพิ่มขึ้นมาอีก!!!...

พนักงานขององค์กรนี้ไม่สมควร"อยู่ดีกินดี"ทัดเทียมกับองค์กรธุรกิจอื่นที่คล้ายกัน แต่องค์กรอื่นมีกำไรครับ... สาเหตุก็คือองค์กรนี้"ขาดทุน"ครับ "ขาดทุนอยู่" แปลว่าเลือดกำลังไหลอยู่ แล้วเลือดที่กำลังไหลไม่ใช่เป็นเลือดของพนักงาน แต่เป็นเลือดของผู้ถือหุ้นนะครับ, เพราะสินทรัพย์ที่ท่านทั้งหลายทำมาหากินให้ตนเอง"อยู่ดีกินดี"นั่นเป็นสินทรัพย์ของผู้ถือหุ้น บางส่วนก็เป็นภาษีของประชาชนผ่านทางรัฐบาลถือหุ้น...

หากจะอ้างว่าพนักงานงางส่วนเป็นผู้ชำนาญการในสายอาชีพขาดแคลนฯ(เช่นนักบิน) แล้วอ้างว่าเรตค่าตอบแทน/รายได้ ตามมาตรฐานสากลมันสูง หากไม่ให้รายได้สูงตามมาตรฐานสากลแล้วพวกท่านจะย้ายงานไปสายการบินอื่น... ผมว่าพวกท่านย้ายไปเลยดีกว่าครับ ย้ายไปให้หมดจนองค์กรอยู่ไม่ได้นั่นแหละ จะได้ยุบเลิกไปเสียเลย เพราะการคงอยู่ขององค์กรนี้มันทำร้ายสาธารณะประโยชน์ ก็เพราะมันขาดทุนครับ เพราะมันขาดทุนไม่หยุด...

สาเหตุการขาดทุนนั่นก็แล้วแต่จะอ้างกันไป ว่ามาจากนักการเมืองมั่ง จากเส้นสายในวงราชการมั่ง นั่นมันผ่านมาแล้ว, แล้วหากแก้เรื่องปัจจุบันไม่ได้เพราะมันแก้ยากนัก ก็ไม่ต้องแก้ครับ ยุบไปเลยดีกว่า... ถ้ายังไงก็ต้องขาดทุน ไม่มีทางหลีกเลี่ยงขาดทุนแล้วละก็ ให้ยุบองค์กรไปเลยดีกว่า ก็เพราะมันขาดทุนต่อไปครับ มันขาดทุนสะสมไม่ยอมหยุด...

เรื่องในอดีตมันเป็นไง ใครมีหน้าที่สาง ก็สางไปเถิด เพราะหากมีการคอร์รัปชั่นกันตามนั้น มันก็ไม่หมดอายุความ... ประเด็นคือรายจ่ายอะไรที่มันไม่จำเป็นก็ต้องเลิกไป เรื่องซื้อของที่ยังจ่ายไม่หมดก็หาวิธิปิดรายจ่าย เรื่องรายจ่ายอื่น เช่นเงินเดือนสวัสดิการ ค่าตอบแทนทั้งหลายที่อ้างอิงจากสายการบินอื่นน่ะ ไม่ต้องอ้างอิงแล้วครับ เพราะองค์กรอื่นเขากำไร แต่องค์กรนี้ขาดทุนอยู่ ทำงานอยู่ไม่ได้ก็ไปที่อื่นเสียให้หมดก็ดีครับ ที่ไหนให้ค่าตอบแทนก็ไปเถิด...

มันมีหลายอาชีพในประเทศไทยที่คนไทยยินดีทำงานในประเทศไทยถึงแม้ค่าตอบเทนจะต่ำกว่ามาตรฐานสากลของอุตสาหกรรมที่เทียบกันได้ของต่างประเทศ... เหตุผลหลายอย่างที่คนไทยยังทำงานในบริษัทไทย เช่นพนักงานไทยเป็นพลเมืองชั้นหนึ่ง แต่หากไปทำงานกับสายการบินต่างชาติมันคือพลเมืองชั้น 2 ถึงแม้เขาจะไม่ยอมรับกัน, หรือทำงานในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย, หรือทำงานใกล้บ้านเกิด ฯลฯ...

พวกท่าน"อยู่ดีกินดี"กันได้ไง ทั้งที่องค์กรขาดทุนครับ...
ความคิดเห็นที่ 27
น่าจะมาจากผลกรรม

ความคิดเห็นที่ 22
ผ่านมาแล้วยี่สิบปี และในอนาคตอีกยี่สิบปี ก็คงขาดทุนและ
ก็ยังคงโทษว่าเป็นเพราะรัฐบาลอื่นเค้าทำขาดทุน
ความคิดเห็นที่ 4
ไงก้ได้. แต่ห้ามลดโบนัส ไม่งั้นม้อป
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  หุ้น รัฐบาล THAI (หุ้น)
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่