สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 25
เอาจริงๆ คนจีนไม่มีใครคิดว่าเตี๋ยวต้องได้นะ
เราบ้านคนจีนแท้ รุ่นหลานไม่มีใครได้นอกจากตั่วซุง เราถามแม่ แม่บอก อากงอาม่าเลี้ยงมากับให้มรดกมันต่างกันนะ ต้องเข้าใจก่อนว่ามรดกของบ้านคนจีนไม่ได้ให้ตามความรัก แต่ให้ตามธรรมเนียม
แน่นอนบ้านที่ให้ด้วยความรักหรือการทำตัวเป็นประโยชน์ให้แก่ครอบครัวย่อมมี แต่เคสทั่วๆไป เค้าให้ตามธรรมเนียม ตามลำดับขั้นค่ะ
ลูกชายคนโต > ลูกชายคนรอง > ลูกชายคนเล็ก > ลูกสาวที่ยังไม่แต่งงาน > ตั่วซุง
ถ้ามีลูกสาวที่แต่งงานแล้วปกติไม่ได้นะคะ ไปรอรับมรดกจากฝั่งสามีเอาค่ะ ถือว่าเป็นคนนอกแล้ว ไปเอาจากทางนั้น ไม่งั้นเท่ากับเป็นลุกสาวได้สองทาง จากทั้งทางสามีและบ้านเก่า กรณีภัสสรซวยที่แต่งกับคนไทยที่เป็นตำรวจจึงหมดหวังกับมรดกทางฝั่งผู้ชาย และยังอุตส่าห์ทำงานให้บ้านเก่า ไม่ว่าทำมากน้อยแค่ไหน สุดท้ายมรดกออกมา เค้าไม่ได้ให้ตามประโยชน์ที่สร้าง แต่ให้ตามธรรมเนียม ผู้หญิงคนจีนรู้ดีว่า ถ้าแต่งงานออกมาแล้วอย่าเอาตัวไปยุ่งกับกงสีดีกว่า เนือไม่ได้กินหนังไม่ได้รอง
ส่วนรุ่นหลาน ปกติไม่มีใครได้อะไรนอกจากตั่วซุงที่นับเป็นลูกอีกคนของผู้วายชนม์ค่ะ (ถือเป็น1ในผู้สืบทอดตระกูลรุ่นต่อไป เลยได้มรดกไปตั้งตัวไงล่ะ)
ก๋วยเตี๋ยวถึงแม้กงม่าเลี้ยงมา ไงก็ไม่พ้นธรรมเนียมนี้หรอกค่ะ ถ้าเปนเรื่องจริงต้องไปวัดเอาตอนอาม่าตายว่า ถ้าอาม่าตายก่อนเตี๋ยวบรรลุนิติภาวะก็อาจทิ้งอะไรไว้ให้บ้าง แต่ถ้าเตี๋ยวบรรลุนิติภาวะ ก็มีโอกาสสูงที่อาม่าจะไม่ระบุชื่อเตี๋ยวในพินัยกรรมเช่นกัน มากสุดอาจเป็นให้บ้าน ให้ที่ดิน ให้ที่ทำกิน แต่ไม่มีทางให้เยอะเท่าลูกแท้
หน้าที่คือสิ่งสำคัญที่สุด(ลูกชายสืบสกุล ลูกสาวแต่งออกเพื่อไปช่วยตระกูลอื่นสืบสกุล) ธรรมเนียมเข้ามาซัพพอร์ตหน้าที่ ความรักเป็นเรื่องจางๆในตระกูลคนจีนอยู่แล้ว พอยุคสมัยเปลี่ยนไปเป็นปัจจุบัน ที่ชายหญิงไม่ต้องยึดติดหน้าที่ตามเพศ ผช.ก็อาจไม่อยากสืบทอดกิจการ หรือเป็นตุ๊ดเป็นเกย์ ผญ.ก็อาจอยากทำงาน ไม่อยากเป็นแม่บ้าน ทำให้ธรรมเนียมที่ฝังรากรึกดูขัดแย้งและไม่เป็นธรรมไปเสียหมด
ถ้าพิจารณาดีๆว่ารากมันมาจากไหนจะเข้าใจว่าระบบมันเท่าเทียมในตัวมันเอง แค่เท่าเทียมในรูปแบบของการซัพพอร์ต "หน้าที่" ไม่ใช่เท่าในอิสระเสรีของการเลือกใช้ชีวิตในฐานะคนคนนึง
เราบ้านคนจีนแท้ รุ่นหลานไม่มีใครได้นอกจากตั่วซุง เราถามแม่ แม่บอก อากงอาม่าเลี้ยงมากับให้มรดกมันต่างกันนะ ต้องเข้าใจก่อนว่ามรดกของบ้านคนจีนไม่ได้ให้ตามความรัก แต่ให้ตามธรรมเนียม
แน่นอนบ้านที่ให้ด้วยความรักหรือการทำตัวเป็นประโยชน์ให้แก่ครอบครัวย่อมมี แต่เคสทั่วๆไป เค้าให้ตามธรรมเนียม ตามลำดับขั้นค่ะ
ลูกชายคนโต > ลูกชายคนรอง > ลูกชายคนเล็ก > ลูกสาวที่ยังไม่แต่งงาน > ตั่วซุง
ถ้ามีลูกสาวที่แต่งงานแล้วปกติไม่ได้นะคะ ไปรอรับมรดกจากฝั่งสามีเอาค่ะ ถือว่าเป็นคนนอกแล้ว ไปเอาจากทางนั้น ไม่งั้นเท่ากับเป็นลุกสาวได้สองทาง จากทั้งทางสามีและบ้านเก่า กรณีภัสสรซวยที่แต่งกับคนไทยที่เป็นตำรวจจึงหมดหวังกับมรดกทางฝั่งผู้ชาย และยังอุตส่าห์ทำงานให้บ้านเก่า ไม่ว่าทำมากน้อยแค่ไหน สุดท้ายมรดกออกมา เค้าไม่ได้ให้ตามประโยชน์ที่สร้าง แต่ให้ตามธรรมเนียม ผู้หญิงคนจีนรู้ดีว่า ถ้าแต่งงานออกมาแล้วอย่าเอาตัวไปยุ่งกับกงสีดีกว่า เนือไม่ได้กินหนังไม่ได้รอง
ส่วนรุ่นหลาน ปกติไม่มีใครได้อะไรนอกจากตั่วซุงที่นับเป็นลูกอีกคนของผู้วายชนม์ค่ะ (ถือเป็น1ในผู้สืบทอดตระกูลรุ่นต่อไป เลยได้มรดกไปตั้งตัวไงล่ะ)
ก๋วยเตี๋ยวถึงแม้กงม่าเลี้ยงมา ไงก็ไม่พ้นธรรมเนียมนี้หรอกค่ะ ถ้าเปนเรื่องจริงต้องไปวัดเอาตอนอาม่าตายว่า ถ้าอาม่าตายก่อนเตี๋ยวบรรลุนิติภาวะก็อาจทิ้งอะไรไว้ให้บ้าง แต่ถ้าเตี๋ยวบรรลุนิติภาวะ ก็มีโอกาสสูงที่อาม่าจะไม่ระบุชื่อเตี๋ยวในพินัยกรรมเช่นกัน มากสุดอาจเป็นให้บ้าน ให้ที่ดิน ให้ที่ทำกิน แต่ไม่มีทางให้เยอะเท่าลูกแท้
หน้าที่คือสิ่งสำคัญที่สุด(ลูกชายสืบสกุล ลูกสาวแต่งออกเพื่อไปช่วยตระกูลอื่นสืบสกุล) ธรรมเนียมเข้ามาซัพพอร์ตหน้าที่ ความรักเป็นเรื่องจางๆในตระกูลคนจีนอยู่แล้ว พอยุคสมัยเปลี่ยนไปเป็นปัจจุบัน ที่ชายหญิงไม่ต้องยึดติดหน้าที่ตามเพศ ผช.ก็อาจไม่อยากสืบทอดกิจการ หรือเป็นตุ๊ดเป็นเกย์ ผญ.ก็อาจอยากทำงาน ไม่อยากเป็นแม่บ้าน ทำให้ธรรมเนียมที่ฝังรากรึกดูขัดแย้งและไม่เป็นธรรมไปเสียหมด
ถ้าพิจารณาดีๆว่ารากมันมาจากไหนจะเข้าใจว่าระบบมันเท่าเทียมในตัวมันเอง แค่เท่าเทียมในรูปแบบของการซัพพอร์ต "หน้าที่" ไม่ใช่เท่าในอิสระเสรีของการเลือกใช้ชีวิตในฐานะคนคนนึง
แสดงความคิดเห็น
ทำไมก๋วยเตี๋ยว ไม่ได้มรดก ในเมื่อแม่ของเตี๋ยวก็เป็นลูกอากงเช่นกัน อย่างน้อยน่าจะได้เงินสดแบบภัสสร
อย่างน้อยน่าจะได้เงินสดแบบภัสสร เพราะถึงมนฤดีตายไปก็มีทายาทอยู่ก็น่าจะโอนมรดกมาให้เตี๋ยวป่ะ
ที่บอกว่าเตี๋ยวจะได้มรดกต่อจากอาม่านี่ยิ่งไม่เกี่ยวเพราะมันคนละส่วนกัน มันเป็นสิ่งที่มนฤดีควรจะได้อยู่แล้วในฐานะทายาท
หรือว่ามนฤดีไม่ได้เป็นลูกแท้ของอากง