คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
จขกท. เข้าใจคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ของไทยเมื่อตอนครบรอบ 60 "ไม่ใช่" งานพัชราภิเษก เพราะธรรมเนียมไทยจะนับทุก 25 ปี ไม่ได้นับตามธรรมเนียม UK
25 ปี = รัชดาภิเษก
50 ปี = กาญจนาภิเษก
75 ปี = พัชราภิเษก
ซึ่งการถือ 60 ปีเป็น diamond jubilee เป็นการถือแบบ UK และเครือจักรภพ ไทยไม่ใช่ประเทศในเครือจักรภพและไม่ได้ยึดธรรมเนียมตาม UK เพราะเรามีธรรมเนียม 25 ปี ของไทย ดังนั้น เรายังไม่มีพัชราภิเษก (แม้ในข่าว ตปท. บางสำนักจะเขียนว่า diamond jubilee ก็ตาม แต่ไม่ใช่ชื่อทางการของงานแต่อย่างใด)
งานเมื่อปี 2549 ชื่อ "พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" ไม่ใช่งานพัชราภิเษกหรือ diamond jubilee เป็นงานพิเศษเพื่อฉลองการครองราชย์ครบ 60 ปีของในหลวง ร.9
ส่วนชื่อครบรอบ 100 ปีนั้นตาม คห.1 เลย 😊
25 ปี = รัชดาภิเษก
50 ปี = กาญจนาภิเษก
75 ปี = พัชราภิเษก
ซึ่งการถือ 60 ปีเป็น diamond jubilee เป็นการถือแบบ UK และเครือจักรภพ ไทยไม่ใช่ประเทศในเครือจักรภพและไม่ได้ยึดธรรมเนียมตาม UK เพราะเรามีธรรมเนียม 25 ปี ของไทย ดังนั้น เรายังไม่มีพัชราภิเษก (แม้ในข่าว ตปท. บางสำนักจะเขียนว่า diamond jubilee ก็ตาม แต่ไม่ใช่ชื่อทางการของงานแต่อย่างใด)
งานเมื่อปี 2549 ชื่อ "พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" ไม่ใช่งานพัชราภิเษกหรือ diamond jubilee เป็นงานพิเศษเพื่อฉลองการครองราชย์ครบ 60 ปีของในหลวง ร.9
ส่วนชื่อครบรอบ 100 ปีนั้นตาม คห.1 เลย 😊
แสดงความคิดเห็น
Platinum Jubilee (ครบรอบ 70 ปี) ควรจะบัญญัติว่าอะไรในภาษาไทยครับ
เมื่อปี 2539 เป็นพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี เรียกว่า พระราชพิธีกาญจนาภิเษก (Golden Jubilee)
เมื่อปี 2549 เป็นพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี เรียกว่า พระราชพิธีพัชราภิเษก (Diamond Jubilee)
เมื่อสองปีที่แล้ว (2559) เป็นพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ 70 ปี ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า Platinum Jubilee ซึ่งผมอยากทราบว่า ถ้าบัญญัติเป็นภาษาไทยควรเรียกว่า พระราชพิธี (อะไร) ภิเษก ครับ?