ณ เวลานี้เรื่องราวของ “ทีมหมูป่า” 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ก็ถูกนำกลับมาพูดถึงกันอีกครั้ง พลันที่มีข่าวว่าบริษัทสร้างภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก อย่างบริษัท ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส ได้มอบเงินจำนวน 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 49 ล้านบาทให้กับทีมหมูป่า เป็นค่าลิขสิทธิ์ในการนำเรื่องราวไปดำเนินการสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่
49 ล้านบาท ถ้าหารตามจำนวน 13 คน ดังกล่าว ก็เท่ากับว่าจะได้ส่วนแบ่งกันคนละ 3.7 ล้านบาทเศษ
ทว่าในเวลาต่อมา กลับมีการชี้แจงสวนออกมาจาก “พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในฐานะโฆษกคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ ว่ายังไม่มีการพิจารณาไห้สิทธิในการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องราวของ 13 หมูป่าติดถ้ำหลวงกับผู้สร้างรายใดทั้งสิ้น
เอาจริงๆ ก่อนหน้านี้ ในช่วงจังหวะที่คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับภารกิจช่วยชีวิต 13 หมูป่านั้น ก็มีข่าวว่ามีทีมผู้สร้างภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศหลายรายติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก่อนที่ในเวลาต่อมา ทางกระทรวงวัฒนธรรม จึงได้เปิดเผยว่า ได้รับคำสั่งจาก “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเป็น “เจ้าภาพ” ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวจำนวนทั้งสิ้น 34 คน
ทั้งนี้โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานกรรมการ , ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ
และคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ...อธิบดีกรมการท่องเที่ยว, อธิบดีกรมศิลปากร , ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, ผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี, กระทรวงการกลาโหม, กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ, นายกสมาคมผู้บริหารการผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ ฯลฯ
และล่าสุด ทางกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้มีการประชุมคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์กรณีถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย ครั้งที่4/2561 ซึ่งก็ได้มีการเปิดเผยข้อมูลและความคืบหน้าว่า ตอนนี้มีผู้ยื่นเสนอโครงการผลิตสื่อมาแล้ว จำนวน 23 โครงการ ประกอบด้วย สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศ 5 โครงการ ภาพยนตร์ของไทย 5 โครงการ สารคดีทั้งของไทยและต่างประเทศ 10 เรื่อง และหนังสือมิวสิก วีดิโอ 3 โครงการ
นอกจากนั้น ยังมีการเปิดเผยถึงข้อกำหนดในการยื่นขอสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับ 13 หมูป่า โดยระบุว่า ผู้ผลิตจากต่างประเทศให้ยื่นขอที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ส่วนผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยขอที่กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งสามารถยื่นขอสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 15-30 พ.ย. 2561ผู้ที่ได้สิทธิ์สามารถได้ข้อมูลเชิงลึกของแต่ละบุคคล โดยสามารถสัมภาษณ์ในระดับของครอบครัวได้ แต่หากบริษัทใดไม่ขอสิทธิ ก็สามารถใช้ข้อมูลพื้นฐานที่เผยแพร่ตามสื่อสาธารณะเป็นข้อมูลในการผลิตได้
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขในข้อหลังนั้น ก็สอดคล้องกับที่มีข่าวว่า ค่ายเดอวอร์เรนท์พิคเจอร์ มีโครงการจะผลิตภาพยนตร์อินดี้เรื่อง “นางนอน” (The Cave) โดยเป็นผลงานสร้างของ”ทอม วอลเลอร์” ที่เคยฝากฝีมือไว้ในภาพยนตร์เรื่อง “ศพไม่เงียบ” (Mindfulness and Murder) และ “เพชฌฆาต” (The Last Executioner) ซึ่งได้มีการพูดคุยในระดับหนึ่งแล้วในงานเทศกาลหนังเมือง โตรอนโต ประเทศคานาดา (Toronto International Film Festival 2018)
ความน่าสนใจอย่างหนึ่งของหนัง “นางนอน” (The Cave) ก็คือเรื่องนี้เป็นฝีมือการเขียนบท พร้อมทั้งควบตำแหน่งโปรดิวเซอร์ของ “คทรีน่า กรอส” อดีตนักแสดงสาววัยรุ่นที่เคยมีผลงานภาพยนตร์ไทยเป็นที่รู้จักในช่วงปี พ.ศ. 2539 ในเรื่อง “อนึ่งคิดถึงพอสังเขป รุ่น 2” และอีกหลายเรื่อง รวมถึงยังเคยก่อตั้งวงดนตรีหญิงล้วน ชื่อ"วีนัส บัตเตอร์ฟลาย" และแน่นอนที่สุด ก็คือกำลังคบหาดูใจกับทอม วอลเลอร์ ที่เป็นผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้นั่นเอง
เท่าที่ทราบมา ก็คือภาพยนตร์ “นางนอน” (The Cave) น่าจะมีการอ้างอิงถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับการติดอยู่ในถ้ำหลวงของทีมหมูป่า ซึ่งถือเป็นข้อมูลสาธารณะ ที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ใด แต่ไม่ได้มีการก้าวล่วงไปยังเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งก็ถือว่าตรงตามเงื่อนไขที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมระบุไว้
ตัดกลับมาพูดถึงในแง่ของการผลิตภาพยนตร์ 13 ชีวิตในถ้ำหลวงที่จะต้องมีการยื่นขอ และต้องมีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์อย่างเป็นเรื่องเป็นราวนั้น ก็จะต้องมาพิจารณากันต่อว่า ใครบ้างที่จะต้องมีส่วนได้ส่วนเสียกับผลประโยชน์ที่ว่า !!???
เพราะตอนที่มีข่าวว่าบริษัท ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส จะเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ มีการระบุถึงแค่โค้ช 1 คน กับเด็ก 12 คนในทีมหมูป่าเท่านั้น ที่ได้รับส่วนแบ่งในจำนวนเงินก้อนโต
แต่ในความเป็นจริง เรื่องนี้ยังเกี่ยวโยงกับบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในทีมหมูป่าอีกตั้งหลายชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นหน่วยซีลนอกราชการ ที่มีส่วนสำคัญกับการช่วยชีวิต 13 หมูป่าให้สามารถออกมาจากถ้ำอย่างปลอดภัย ซี่งต้องแลกด้วยการเสียสละอย่างใหญ่หลวง ทั้งแรงกาย แรงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสียสละชีวิตของ “จ.อ. สมาน กุนัน”
รวมไปถึงนักประดาน้ำทั้งไทย และต่างชาติอีกหลายนาย ที่เป็นกำลังหลักที่ทำให้ภารกิจครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จ
เขาเหล่านี้สมควรจะต้องได้รับผลประโยชน์ในส่วนของค่าลิขสิทธิ์ในการนำเรื่องราวไปผลิตเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้หรือไม่ ? อย่างไร ?
และ/หรือต้องหารแบ่งเท่าไรถึงจะชัดเจน ลงตัว ไม่มีความขัดแย้ง หรือข้อครหาอื่นใดตามมาในภายหลัง
ข้อนี้ต่างหากที่ทางกระทรวงวัฒนธรรม แม้กระทั่งคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ นอกเหนือจากการที่จะพิจารณาในเรื่องของเนื้อหา โครงเรื่อง ที่จะต้องไม่ทำให้ชื่อเสียงของประเทศเสียหาย
ตรงนี้คงต้องรอคำชี้แจงอย่างเป็นทางการกันต่อไป
นิตยสาร ผู้จัดการ 360 องศา สุดสัปดาห์ ฉบับที่ 465 20-26 ตุลาคม 2561
ผ่าผลประโยชน์ “หมูป่า The Movie” ค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องหารแบ่งให้ชัดเจน
ณ เวลานี้เรื่องราวของ “ทีมหมูป่า” 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ก็ถูกนำกลับมาพูดถึงกันอีกครั้ง พลันที่มีข่าวว่าบริษัทสร้างภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก อย่างบริษัท ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส ได้มอบเงินจำนวน 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 49 ล้านบาทให้กับทีมหมูป่า เป็นค่าลิขสิทธิ์ในการนำเรื่องราวไปดำเนินการสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่
49 ล้านบาท ถ้าหารตามจำนวน 13 คน ดังกล่าว ก็เท่ากับว่าจะได้ส่วนแบ่งกันคนละ 3.7 ล้านบาทเศษ
ทว่าในเวลาต่อมา กลับมีการชี้แจงสวนออกมาจาก “พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในฐานะโฆษกคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ ว่ายังไม่มีการพิจารณาไห้สิทธิในการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องราวของ 13 หมูป่าติดถ้ำหลวงกับผู้สร้างรายใดทั้งสิ้น
เอาจริงๆ ก่อนหน้านี้ ในช่วงจังหวะที่คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับภารกิจช่วยชีวิต 13 หมูป่านั้น ก็มีข่าวว่ามีทีมผู้สร้างภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศหลายรายติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก่อนที่ในเวลาต่อมา ทางกระทรวงวัฒนธรรม จึงได้เปิดเผยว่า ได้รับคำสั่งจาก “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเป็น “เจ้าภาพ” ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวจำนวนทั้งสิ้น 34 คน
ทั้งนี้โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานกรรมการ , ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นรองประธานกรรมการ
และคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ...อธิบดีกรมการท่องเที่ยว, อธิบดีกรมศิลปากร , ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, ผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรี, กระทรวงการกลาโหม, กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ, นายกสมาคมผู้บริหารการผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ ฯลฯ
และล่าสุด ทางกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้มีการประชุมคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์กรณีถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย ครั้งที่4/2561 ซึ่งก็ได้มีการเปิดเผยข้อมูลและความคืบหน้าว่า ตอนนี้มีผู้ยื่นเสนอโครงการผลิตสื่อมาแล้ว จำนวน 23 โครงการ ประกอบด้วย สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศ 5 โครงการ ภาพยนตร์ของไทย 5 โครงการ สารคดีทั้งของไทยและต่างประเทศ 10 เรื่อง และหนังสือมิวสิก วีดิโอ 3 โครงการ
นอกจากนั้น ยังมีการเปิดเผยถึงข้อกำหนดในการยื่นขอสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับ 13 หมูป่า โดยระบุว่า ผู้ผลิตจากต่างประเทศให้ยื่นขอที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ส่วนผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยขอที่กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งสามารถยื่นขอสิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 15-30 พ.ย. 2561ผู้ที่ได้สิทธิ์สามารถได้ข้อมูลเชิงลึกของแต่ละบุคคล โดยสามารถสัมภาษณ์ในระดับของครอบครัวได้ แต่หากบริษัทใดไม่ขอสิทธิ ก็สามารถใช้ข้อมูลพื้นฐานที่เผยแพร่ตามสื่อสาธารณะเป็นข้อมูลในการผลิตได้
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขในข้อหลังนั้น ก็สอดคล้องกับที่มีข่าวว่า ค่ายเดอวอร์เรนท์พิคเจอร์ มีโครงการจะผลิตภาพยนตร์อินดี้เรื่อง “นางนอน” (The Cave) โดยเป็นผลงานสร้างของ”ทอม วอลเลอร์” ที่เคยฝากฝีมือไว้ในภาพยนตร์เรื่อง “ศพไม่เงียบ” (Mindfulness and Murder) และ “เพชฌฆาต” (The Last Executioner) ซึ่งได้มีการพูดคุยในระดับหนึ่งแล้วในงานเทศกาลหนังเมือง โตรอนโต ประเทศคานาดา (Toronto International Film Festival 2018)
ความน่าสนใจอย่างหนึ่งของหนัง “นางนอน” (The Cave) ก็คือเรื่องนี้เป็นฝีมือการเขียนบท พร้อมทั้งควบตำแหน่งโปรดิวเซอร์ของ “คทรีน่า กรอส” อดีตนักแสดงสาววัยรุ่นที่เคยมีผลงานภาพยนตร์ไทยเป็นที่รู้จักในช่วงปี พ.ศ. 2539 ในเรื่อง “อนึ่งคิดถึงพอสังเขป รุ่น 2” และอีกหลายเรื่อง รวมถึงยังเคยก่อตั้งวงดนตรีหญิงล้วน ชื่อ"วีนัส บัตเตอร์ฟลาย" และแน่นอนที่สุด ก็คือกำลังคบหาดูใจกับทอม วอลเลอร์ ที่เป็นผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้นั่นเอง
เท่าที่ทราบมา ก็คือภาพยนตร์ “นางนอน” (The Cave) น่าจะมีการอ้างอิงถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับการติดอยู่ในถ้ำหลวงของทีมหมูป่า ซึ่งถือเป็นข้อมูลสาธารณะ ที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ใด แต่ไม่ได้มีการก้าวล่วงไปยังเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งก็ถือว่าตรงตามเงื่อนไขที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมระบุไว้
ตัดกลับมาพูดถึงในแง่ของการผลิตภาพยนตร์ 13 ชีวิตในถ้ำหลวงที่จะต้องมีการยื่นขอ และต้องมีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์อย่างเป็นเรื่องเป็นราวนั้น ก็จะต้องมาพิจารณากันต่อว่า ใครบ้างที่จะต้องมีส่วนได้ส่วนเสียกับผลประโยชน์ที่ว่า !!???
เพราะตอนที่มีข่าวว่าบริษัท ยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส จะเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ มีการระบุถึงแค่โค้ช 1 คน กับเด็ก 12 คนในทีมหมูป่าเท่านั้น ที่ได้รับส่วนแบ่งในจำนวนเงินก้อนโต
แต่ในความเป็นจริง เรื่องนี้ยังเกี่ยวโยงกับบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในทีมหมูป่าอีกตั้งหลายชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นหน่วยซีลนอกราชการ ที่มีส่วนสำคัญกับการช่วยชีวิต 13 หมูป่าให้สามารถออกมาจากถ้ำอย่างปลอดภัย ซี่งต้องแลกด้วยการเสียสละอย่างใหญ่หลวง ทั้งแรงกาย แรงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสียสละชีวิตของ “จ.อ. สมาน กุนัน”
รวมไปถึงนักประดาน้ำทั้งไทย และต่างชาติอีกหลายนาย ที่เป็นกำลังหลักที่ทำให้ภารกิจครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จ
เขาเหล่านี้สมควรจะต้องได้รับผลประโยชน์ในส่วนของค่าลิขสิทธิ์ในการนำเรื่องราวไปผลิตเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้หรือไม่ ? อย่างไร ?
และ/หรือต้องหารแบ่งเท่าไรถึงจะชัดเจน ลงตัว ไม่มีความขัดแย้ง หรือข้อครหาอื่นใดตามมาในภายหลัง
ข้อนี้ต่างหากที่ทางกระทรวงวัฒนธรรม แม้กระทั่งคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ นอกเหนือจากการที่จะพิจารณาในเรื่องของเนื้อหา โครงเรื่อง ที่จะต้องไม่ทำให้ชื่อเสียงของประเทศเสียหาย
ตรงนี้คงต้องรอคำชี้แจงอย่างเป็นทางการกันต่อไป
นิตยสาร ผู้จัดการ 360 องศา สุดสัปดาห์ ฉบับที่ 465 20-26 ตุลาคม 2561