ปชช.เชื่อภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทยยังเหมือนเดิมซูเปอร์โพล ปชช. เชื่อภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทยยังเหมือนเดิม แต่ได้รับประโยชน์ค่อนข้างน้อย ติดตามข่าวจากทีวีมากสุด
สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย จากกรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพ 1,081 ตัวอย่าง ระหว่าง วันที่ 13 -19 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่า
โทรทัศน์ เป็นช่องทางการติดตามข่าวสารการท่องเที่ยวของประชาชน มากที่สุด คือ ร้อยละ 95.5 ขณะที่ ร้อยละ 59.3 เฟซบุ๊ก, ร้อยละ 34.5 ไลน์, ร้อยละ 24.5 หนังสือพิมพ์ และ ร้อยละ 26.1 อื่นๆ เช่น วิทยุ เว็บไซต์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ประชาชน ร้อยละ 52.0 มั่นใจว่า ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย ยังเหมือนเดิม ถึง แย่ลง เช่น การจราจร,ความปลอดภัย, ความสะอาดตามแหล่งท่องเที่ยว
ส่วน ร้อยละ 48.0 มอง ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน
แต่ ประชาชน ร้อยละ 84.6 มอง ได้รับประโยชน์ค่อนข้างน้อย ถึง ไม่ได้รับประโยชน์เลย จากการมีนักท่องเที่ยวมาประเทศไทยจำนวนมาก
และ ร้อยละ 15.4 ได้รับประโยชน์ค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด
https://www.innnews.co.th/economy/news_220296/
หลายเมืองในญี่ปุ่นเริ่มเก็บ “ภาษีโรงแรมและที่พัก” หวังบรรเทาปัญหานักท่องเที่ยวล้นเกิน
นครเกียวโตเริ่มเก็บภาษีโรงแรมและที่พัก เพื่อนำงบประมาณไปพัฒนาสาธารณูปโภคด้านการท่องเที่ยวและลดผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ล้นเกิน ขณะที่อีกหลายเมืองในญี่ปุ่นก็กำลังพิจารณาจะเก็บภาษีในลักษณะเดียวกัน
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม โรงแรมและที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในนครเกียวโต ได้ขึ้นป้ายประกาศเกี่ยวกับการเก็บภาษีโรงแรมและที่พัก โดยผู้ที่เข้าพักในโรงแรม เกสต์เฮาส์ โฮมสเตย์ และที่พักอื่น ๆในเกียวโต จะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมราวคืนละ 200-1,000 เยนตามราคาที่พัก
รัฐบาลนครเกียวโตคาดว่าจะได้รายได้จากภาษีนี้ราว 4,600 ล้านเยนต่อปี และจะนำไปพัฒนาการท่องเที่ยว เช่น อินเทอร์เน็ตไว-ไฟ, ป้ายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเป็นภาษาต่างประเทศ และระบบจราจร นอกจากนี้ในอีกแง่หนึ่งคือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนกระทบกับวิถีชีวิตของชาวเมือง
เกียวโตเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของญี่ปุ่น และมีนักท่องเที่ยวที่พักค้างคืนมากกว่า 3.53 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัวจากเมื่อ 10 ปีก่อน จำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินกว่าศักยภาพของเมืองจะรองรับได้ ทำให้เกิดปัญหามากมาย เช่น ขยะที่เรี่ยราด เสียงดังรบกวน การจราจรติดขัด ฯลฯ
ในปี 1985 ทางการนครเกียวโตเคยเก็บ “ภาษีอนุรักษ์เมืองเก่า” จำนวน 50 เยนจากบัตรเข้าชมศาลเจ้าและวัดต่าง ๆ แต่ต้องยกเลิกในเวลาต่อมา เนื่องจากถูกคัดค้านจากศาลเจ้าและวัดแต่การเก็บภาษีที่พักครั้งนี้ไม่ได้มีเสียงคัดค้านมากนัก อาจเป็นเพราะชาวเมืองรู้สึกถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่ล้นหลามอย่างจริงจัง
เมืองหลวงของญี่ปุ่นอย่าง โตเกียว ได้เก็บภาษีโรงแรมและที่พักตั้งแต่ปี 2002 ส่วนนครโอซากาได้เก็บภาษีนี้ในปี 2017 จังหวัดคานาซาวะจะเก็บภาษีนี้ในเดือนเมษายนปี 2019 ขณะที่เมืองคุตชานในฮอกไกโด, เมืองอาตามิ จังหวัดชิสุโอกะ ก็กำลังพิจารณาเก็บภาษีโรงแรมและที่พักเช่นกัน
ภาษีโรงแรมและที่พักทำให้ทางการกรุงโตเกียวมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 2,200 ล้านเยนหรือเกือบ 2 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่นครโอซากากลับทำรายได้ไม่ได้ตามเป้าหมาย โดยในปี 2017 นครโอซากาตั้งเป้ารายได้จากภาษีโรงแรมและที่พักไว้ที่ 1,093 ล้านเยน แต่จัดเก็บได้เพียง 750 ล้านเยนเท่านั้น เนื่องจากบรรดาโรงแรมต่าง ๆ แข่งกันลดราคา และนักท่องเที่ยวจำนวนมากเลือกเข้าพักในโรงแรมที่มีราคาต่ำกว่า 10,000 เยนต่อคืน ซึ่งเป็นราคาขั้นต่ำที่ถูกเก็บภาษี ในปีนี้ ทางการนครโอซากาจึงได้ปรับอัตราขั้นต่ำของที่พักที่จะถูกเก็บภาษีเป็น 7,000 เยนต่อคืน
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การเก็บภาษีโรงแรมและที่พักจะทำให้ราคาที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวแพงขึ้น อาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวหันไปพักในที่พักที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น บ้านเช่า และปัญหาจากการท่องเที่ยวล้นเกินก็จะไม่ได้รับการแก้ไข ทางการท้องถิ่นที่จัดเก็บภาษีดังกล่าวจึงต้องทำความเข้าใจอย่างชัดเจนกับนักท่องเที่ยวว่าภาษีนี้จะนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างไรเพื่อสร้างการยอมรับจากนักท่องเที่ยว.
https://mgronline.com/japan/detail/9610000103611
ประชาชนมองภาพลักษณ์การท่องเที่ยวยังเหมือนเดิมทั้งจราจร,ความปลอดภัย, ความสะอาดตามแหล่งท่องเที่ยว
ที่รัฐบาลต้องแก้ไขให้ดีขึ้น
แต่ประชาชาชนไม่เห็นประโยชน์จากนักท่องเที่ยวเข้ามามากเกินไป คงไม่มีใครบ่นเรื่องนักท่องเที่ยวลดลง นอกจากนักธุรกิจท่องเที่ยว
การมีนักท่องเที่ยวพอดีกับการบริหารจัดการในประเทศ น่าจะดีกว่ามีนักท่องเที่ยวล้นประเทศนะคะ นักธุรกิจมีรายได้ลดลงไปบ้างก็ยังมีรายได้
สำหรับญี่ปุ่นนั้นคงต้องรับมือนักท่องเที่ยวล้นเกินอย่างที่ไทยเคยเป็นมาก่อน ปัญหาตอนนี้คงไปตกหนักที่ญี่ปุ่นแทนแล้ว
ประเทศไทยจะได้ฟื้นฟูปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยว ธรรมชาติ ให้สวยงามสักระยะ คาดว่าคงไม่นานนักท่องเที่ยวเบื่อที่อื่นก็ต้องหวนกลับมาอีก
ต่อไปก็คัดเลือกแต่นักท่องเที่ยวคุณภาพดีๆมากกว่าปริมาณดีกว่าค่ะ
🏳️🌈~มาลาริน~ปชช.มองภาพลักษณ์ไทยเหมือนเดิม ไม่ได้ประโยชน์จากการมีนทท.จำนวนมาก..ในญี่ปุ่นเริ่มเก็บภาษีบรรเทานทท.ล้นเกิน
ปชช.เชื่อภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทยยังเหมือนเดิมซูเปอร์โพล ปชช. เชื่อภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทยยังเหมือนเดิม แต่ได้รับประโยชน์ค่อนข้างน้อย ติดตามข่าวจากทีวีมากสุด
สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย จากกรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพ 1,081 ตัวอย่าง ระหว่าง วันที่ 13 -19 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่า
โทรทัศน์ เป็นช่องทางการติดตามข่าวสารการท่องเที่ยวของประชาชน มากที่สุด คือ ร้อยละ 95.5 ขณะที่ ร้อยละ 59.3 เฟซบุ๊ก, ร้อยละ 34.5 ไลน์, ร้อยละ 24.5 หนังสือพิมพ์ และ ร้อยละ 26.1 อื่นๆ เช่น วิทยุ เว็บไซต์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ประชาชน ร้อยละ 52.0 มั่นใจว่า ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย ยังเหมือนเดิม ถึง แย่ลง เช่น การจราจร,ความปลอดภัย, ความสะอาดตามแหล่งท่องเที่ยว
ส่วน ร้อยละ 48.0 มอง ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน
แต่ ประชาชน ร้อยละ 84.6 มอง ได้รับประโยชน์ค่อนข้างน้อย ถึง ไม่ได้รับประโยชน์เลย จากการมีนักท่องเที่ยวมาประเทศไทยจำนวนมาก
และ ร้อยละ 15.4 ได้รับประโยชน์ค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด
https://www.innnews.co.th/economy/news_220296/
หลายเมืองในญี่ปุ่นเริ่มเก็บ “ภาษีโรงแรมและที่พัก” หวังบรรเทาปัญหานักท่องเที่ยวล้นเกิน
นครเกียวโตเริ่มเก็บภาษีโรงแรมและที่พัก เพื่อนำงบประมาณไปพัฒนาสาธารณูปโภคด้านการท่องเที่ยวและลดผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ล้นเกิน ขณะที่อีกหลายเมืองในญี่ปุ่นก็กำลังพิจารณาจะเก็บภาษีในลักษณะเดียวกัน
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม โรงแรมและที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในนครเกียวโต ได้ขึ้นป้ายประกาศเกี่ยวกับการเก็บภาษีโรงแรมและที่พัก โดยผู้ที่เข้าพักในโรงแรม เกสต์เฮาส์ โฮมสเตย์ และที่พักอื่น ๆในเกียวโต จะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมราวคืนละ 200-1,000 เยนตามราคาที่พัก
รัฐบาลนครเกียวโตคาดว่าจะได้รายได้จากภาษีนี้ราว 4,600 ล้านเยนต่อปี และจะนำไปพัฒนาการท่องเที่ยว เช่น อินเทอร์เน็ตไว-ไฟ, ป้ายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเป็นภาษาต่างประเทศ และระบบจราจร นอกจากนี้ในอีกแง่หนึ่งคือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนกระทบกับวิถีชีวิตของชาวเมือง
เกียวโตเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของญี่ปุ่น และมีนักท่องเที่ยวที่พักค้างคืนมากกว่า 3.53 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัวจากเมื่อ 10 ปีก่อน จำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินกว่าศักยภาพของเมืองจะรองรับได้ ทำให้เกิดปัญหามากมาย เช่น ขยะที่เรี่ยราด เสียงดังรบกวน การจราจรติดขัด ฯลฯ
ในปี 1985 ทางการนครเกียวโตเคยเก็บ “ภาษีอนุรักษ์เมืองเก่า” จำนวน 50 เยนจากบัตรเข้าชมศาลเจ้าและวัดต่าง ๆ แต่ต้องยกเลิกในเวลาต่อมา เนื่องจากถูกคัดค้านจากศาลเจ้าและวัดแต่การเก็บภาษีที่พักครั้งนี้ไม่ได้มีเสียงคัดค้านมากนัก อาจเป็นเพราะชาวเมืองรู้สึกถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่ล้นหลามอย่างจริงจัง
เมืองหลวงของญี่ปุ่นอย่าง โตเกียว ได้เก็บภาษีโรงแรมและที่พักตั้งแต่ปี 2002 ส่วนนครโอซากาได้เก็บภาษีนี้ในปี 2017 จังหวัดคานาซาวะจะเก็บภาษีนี้ในเดือนเมษายนปี 2019 ขณะที่เมืองคุตชานในฮอกไกโด, เมืองอาตามิ จังหวัดชิสุโอกะ ก็กำลังพิจารณาเก็บภาษีโรงแรมและที่พักเช่นกัน
ภาษีโรงแรมและที่พักทำให้ทางการกรุงโตเกียวมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 2,200 ล้านเยนหรือเกือบ 2 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่นครโอซากากลับทำรายได้ไม่ได้ตามเป้าหมาย โดยในปี 2017 นครโอซากาตั้งเป้ารายได้จากภาษีโรงแรมและที่พักไว้ที่ 1,093 ล้านเยน แต่จัดเก็บได้เพียง 750 ล้านเยนเท่านั้น เนื่องจากบรรดาโรงแรมต่าง ๆ แข่งกันลดราคา และนักท่องเที่ยวจำนวนมากเลือกเข้าพักในโรงแรมที่มีราคาต่ำกว่า 10,000 เยนต่อคืน ซึ่งเป็นราคาขั้นต่ำที่ถูกเก็บภาษี ในปีนี้ ทางการนครโอซากาจึงได้ปรับอัตราขั้นต่ำของที่พักที่จะถูกเก็บภาษีเป็น 7,000 เยนต่อคืน
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การเก็บภาษีโรงแรมและที่พักจะทำให้ราคาที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวแพงขึ้น อาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวหันไปพักในที่พักที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น บ้านเช่า และปัญหาจากการท่องเที่ยวล้นเกินก็จะไม่ได้รับการแก้ไข ทางการท้องถิ่นที่จัดเก็บภาษีดังกล่าวจึงต้องทำความเข้าใจอย่างชัดเจนกับนักท่องเที่ยวว่าภาษีนี้จะนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างไรเพื่อสร้างการยอมรับจากนักท่องเที่ยว.
https://mgronline.com/japan/detail/9610000103611
ประชาชนมองภาพลักษณ์การท่องเที่ยวยังเหมือนเดิมทั้งจราจร,ความปลอดภัย, ความสะอาดตามแหล่งท่องเที่ยว
ที่รัฐบาลต้องแก้ไขให้ดีขึ้น
แต่ประชาชาชนไม่เห็นประโยชน์จากนักท่องเที่ยวเข้ามามากเกินไป คงไม่มีใครบ่นเรื่องนักท่องเที่ยวลดลง นอกจากนักธุรกิจท่องเที่ยว
การมีนักท่องเที่ยวพอดีกับการบริหารจัดการในประเทศ น่าจะดีกว่ามีนักท่องเที่ยวล้นประเทศนะคะ นักธุรกิจมีรายได้ลดลงไปบ้างก็ยังมีรายได้
สำหรับญี่ปุ่นนั้นคงต้องรับมือนักท่องเที่ยวล้นเกินอย่างที่ไทยเคยเป็นมาก่อน ปัญหาตอนนี้คงไปตกหนักที่ญี่ปุ่นแทนแล้ว
ประเทศไทยจะได้ฟื้นฟูปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยว ธรรมชาติ ให้สวยงามสักระยะ คาดว่าคงไม่นานนักท่องเที่ยวเบื่อที่อื่นก็ต้องหวนกลับมาอีก
ต่อไปก็คัดเลือกแต่นักท่องเที่ยวคุณภาพดีๆมากกว่าปริมาณดีกว่าค่ะ