คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
แผลกดทับ มักเกิดจากแรงกดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเป็นเวลานาน หรือเกิดจากการเสียดสีของเสื้อผ้ากับผิวหนังได้ค่ะ
สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ มักจะดูตามระยะที่เป็น ซึ่งจากอาการที่คุณเล่ามา ผู้ป่วยอาจมีแผลกดทับเป็นลักษณะแผลเปิด
จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้
และเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดแผลกดทับเพิ่มต้องอาศัยการเปลี่ยนทาบ่อยๆ เช่น ให้พลิกตัวเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
เพื่อถ่ายน้ำหนักตัวไม่ให้กดทับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน ปรับเตียงให้ศีรษะสูงขึ้นไม่เกิน 30 องศา เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนัง
บริเวณก้นกบดึงรั้งกันจนเกิดแผลกดทับได้ และควรล้างทำความสะอาดผิวหนังและเช็ดให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนัง
อับชื้นจนเกิดแผลขึ้นอีกค่ะ
เบื้องต้น เพื่อช่วยให้แผลของคุณพ่อดีขึ้น แนะนำให้ทำตามขั้นตอนการล้างแผล หากแผลยังไม่ลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ ให้ล้างด้วยน้ำเกลือ
สำหรับล้างแผลทุกครั้งเมื่อต้องทำแผล และให้ใช้ผ้าก็อซพันแผล เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งยังลดการเสียดสีที่ผิวหนังได้ค่ะ
แต่ถ้าแผลดกทับลึกลงจนเห็นกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น หรือเยื่อหุ้มข้อต่อ ให้ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ แล้วปิดผ้าก๊อซชุบด้วยน้ำเกลือ
จะช่วยให้แผลชุ่มชื้นอยู่เสมอ และปิดด้วยผ้าก็อซแห้งอีกครั้งค่ะ หรืออีกกรณีนึ่งถ้าแผลมีลักษณะของเนื้อตายเน่าร่วมด้วย และ
หลังจากที่ทำการล้างแผลด้วยน้ำเกลือแล้ว อาจจะต้องใช้ครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับทารักษาร่วมด้วย เพื่อช่วยให้แผลหายไวขึ้นและ
ป้องกันเนื้อเยื่ออื่นถูกทำลายได้ค่ะ ลองทำตามคำแนะนำดูนะคะ ของให้คุณพ่ออาการดีขึ้นเร็วๆค่ะ
สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ มักจะดูตามระยะที่เป็น ซึ่งจากอาการที่คุณเล่ามา ผู้ป่วยอาจมีแผลกดทับเป็นลักษณะแผลเปิด
จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้
และเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดแผลกดทับเพิ่มต้องอาศัยการเปลี่ยนทาบ่อยๆ เช่น ให้พลิกตัวเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
เพื่อถ่ายน้ำหนักตัวไม่ให้กดทับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน ปรับเตียงให้ศีรษะสูงขึ้นไม่เกิน 30 องศา เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนัง
บริเวณก้นกบดึงรั้งกันจนเกิดแผลกดทับได้ และควรล้างทำความสะอาดผิวหนังและเช็ดให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนัง
อับชื้นจนเกิดแผลขึ้นอีกค่ะ
เบื้องต้น เพื่อช่วยให้แผลของคุณพ่อดีขึ้น แนะนำให้ทำตามขั้นตอนการล้างแผล หากแผลยังไม่ลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ ให้ล้างด้วยน้ำเกลือ
สำหรับล้างแผลทุกครั้งเมื่อต้องทำแผล และให้ใช้ผ้าก็อซพันแผล เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งยังลดการเสียดสีที่ผิวหนังได้ค่ะ
แต่ถ้าแผลดกทับลึกลงจนเห็นกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น หรือเยื่อหุ้มข้อต่อ ให้ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ แล้วปิดผ้าก๊อซชุบด้วยน้ำเกลือ
จะช่วยให้แผลชุ่มชื้นอยู่เสมอ และปิดด้วยผ้าก็อซแห้งอีกครั้งค่ะ หรืออีกกรณีนึ่งถ้าแผลมีลักษณะของเนื้อตายเน่าร่วมด้วย และ
หลังจากที่ทำการล้างแผลด้วยน้ำเกลือแล้ว อาจจะต้องใช้ครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับทารักษาร่วมด้วย เพื่อช่วยให้แผลหายไวขึ้นและ
ป้องกันเนื้อเยื่ออื่นถูกทำลายได้ค่ะ ลองทำตามคำแนะนำดูนะคะ ของให้คุณพ่ออาการดีขึ้นเร็วๆค่ะ
แสดงความคิดเห็น
คุณพ่อเป็นแผลกดทับรักษามานานทำไงถึงจะหายคะ