ว่าด้วยเรื่องการลงทะเบียนสัตวเลี้ยง

แนวคิดเรื่องการ ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมาแมว เกิดขึ้นในหัวเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วตอนที่ไปรับ เจ้าบราวนี่ย์ ลูกหมาที่พลัดหลงเข้ามาให้บ้านเพื่อนสมาชิก ในเวปฯแห่งหนึ่งของ เชียงใหม่แล้วเธอก็ประกาศพร้อมลงรูปลูกตัวดังกล่าวเพื่อตามหาเจ้าของหมา ในเวปฯดังกล่าว ผมไปเจอเขาก็เข้าไปตอบแบบที่เล่นทีจริงว่า “ถ้าไม่ใครมาแสดงตัวเป็นเจ้าของภายใน 3 วันผมจะไปรับมาเลี้ยงนะ”  ผ่านไป 3 วันก็ไม่มีคนมาแสดงตัวเป็นเจ้าของจริง ๆ ผมก็เลยได้ไปรับเจ้า บราวนี่ย์ มาเลี้ยงจนถึงปัจจุบันเข้าปี 11 แล้ว
หลังจากนั้นก็มานั่งคิดว่าถ้ามีระบบติดตาม มีบัตรประจำตัวสัตว์เลี้ยง มีระเบียนข้อมูลกลาง ทีสามารถจะ Identify ได้ ก็คงจะช่วยได้เยอะในเรื่องการติดตาม สัตว์เลี้ยง เช่นหมา แมว ที่หาย พลัดหลง หรือโดนลักขโมยไป
พอดีว่าช่วงนั่นทำงานที่เก่าจะให้บริการในการขนส่ง สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ หมา แมว ไปต่างประเทศบ่อยทั้งที่เป็นสัตว์ ที่เจ้าของจะย้ายบ้านจำเป็นต้องนำกลับไป หรือมาเที่ยวเมืองไทยมาเจอ หมาไทย แมวไทยที่น่ารัก เลยอยากได้กลับเลี้ยงที่บ้านเขา ก็เลยได้สอบถาม จากลูกค้าหลายๆคน จากหลายๆ ประเทศ ส่วนมากจะเป็นแถบตะวันตก ยุโรป อเมริกา เลยได้ความรู้มาว่าหลักๆแล้วต้องฝังชิพ และต้องฉีดวัคซีนต่างๆ ในครบ โดยการฝังชิพจะเป็นข้อมูลขอสัตว์ตัวนั้นทั้งหมด เช่น พันธุ์ วัน เดือน ปี เกิด เพศ สี ประวัติการฉีดวัคซีน เป็นต้น
ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลา ที่ได้เจ้า บราวนี่ย์มาเลี้ยงใหม่ๆ และเป็นหมาตัวแรกที่เลี้ยงด้วยก็เลย จำเป็นต้องหาข้อมูลหลายๆทาง เพื่อที่จะดูแลมันแบบว่า ไม่ไปสร้างความเดือดร้อนในเรื่องการ เห่าหอนส่งเสียงดัง การขับถ่ายของเสียต่างๆ  กับครอบครัวเราเองและกับเพื่อนบ้าน ในละแวกเดียวกัน พอดีกับมีรายการวิทยุ เกี่ยวสัตว์เลี้ยงชื่อ รายการ “มุมสัตวแพทย์” ทางสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน ของมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ (FM100Mhz) ซึ่งน่าจะเป็นรายการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงรายการเดียวในเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย สัตวแพทย์ และเป็น อดีตอาจารย์คณะสัตวแพทย์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันก็ยังมีอยู่ ในช่วงเวลา 15:35-16:00 น. ทุกวันอาทิตย์ ซึ่งรายการได้เปิดโอกาสในคนฟังได้โทรศัพท์เข้าไปพูดคุย สอบถามปัญหาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง รวมถึงหลายเรื่องหลายๆปัญหาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เช่นถูกทอดทิ้ง ดุร้าย ไปทำร้ายคนอื่นมีอยู่อาทิตย์มีการพูดถึงเรื่องสัตว์เลี้ยงถูกทอดทิ้งกลายเป็น สุนัข หมา แมว จรจัดไปเราก็ปัญหากันอย่างไร ผมก็เลยมีโอกาสโทรเข้าไปเสนอแนวความคิด เรื่องการจัดระเบียบ การลงทะเบียนสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ซึ่งตอนนั้น เครือข่ายสังคม ออนไลน์ยังพึ่งจะเริ่มต้น และยังไม่แพร่หลายเช่นปัจจุบัน ไม่งั้น ความเห็นอะไรต่างๆในวันนั้นก็คงจะได้รับการเผยแพร่มากกว่านี้
จากกฎหมายที่รัฐบาลโดย กรมปศุสัตว์ พยายามจะจัดทำ หรือกำลังจัดทำออกมา ผมก็จึงคิดเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้วละส่วนรายละเอียดของกฏหมายก็ต้องดูกันเป็นประเด็ดๆไป หลักน่าจะออกมาในแนวประมาณนี้
1.ลงทะเบียนเพื่อที่จะทราบให้ได้เสียก่อนว่าสุนัข หมาแมว ที่มี เจ้าของคือการเลี้ยงสมเหตุสมผล อะไรประมาณ นั้นมีจำนวนเท่าไร นะครับเช่นบ้านน่าจะไม่เกิน 3 ตัว คงจะเป็นแนว ฝังชิพ ติด QR Code อะไรประมาณนี้
2.หลังจากนั้นก็มาดู พวกทีอยู่ตามวัด ตามมูลนิธิต่างๆที่รับเลี้ยงว่าจะมีมาตรการอย่างไรในการควบคุม ดูแล เช่นทำหมัน ฉีดวัคซีน ฯลฯ  ซึ่งจากทีอ่านมาส่วนกฎหมายยังไม่ได้บังคับเรื่องการลงทะเบียน สำหรับกลุ่มนี้ (ดังนั้นอย่าพึ่งดราม่า) ก็คงเป็นหน้าทีของรัฐ เข้ามาดูจัดการ ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
3.มาถึงตอนนี้เราก็คงจะได้จำนวน สัตว์จรจัดที่ไม่มีเจ้าของ น่าจะเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับความจริงแล้ว ที่นี่ทางหน่วยงานรัฐจะต้องก็ต้องเข้ามาจัดการแล้วหละว่าจะทำอย่างไร อันดับแรกที่ต้องทำแน่ก็คือการจำกัดการแพร่พันธุ์ ด้วยการทำหมัน และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ จากนั้นก็หาสถานที่เลี้ยงหรือ กักกันให้อยู่เป็นที่เป็นทางง่ายต่อการดูแลรักษาจนกว่ามันจะหมดอายุขัย
ส่วนค่าใช่จ่ายที่ร้องกันนักหนาว่าแพงนั้น ผมเห็นว่ามีเหตุ มีผลครับ เพราะว่ายังเป็นเรื่องใหม่คงจะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมา จะต้องมีเจ้าหน้าที เข้ามาทำงานมาบริหารจัดซึ่งมันต้องมีงบประมาณในการบริหารจัดการทั้งนั้น มันอาจจะดูแพงในช่วงแรก เพราะบางคนมีสุนัข หมา แมวหลายตัวก็ต้องจะต้องหาทางออกกันไป ซึ่งถ้ามีกฎหมายออกมาชัดเจน แน่นอนแล้ว ในอนาคตคนที่คิดจะเลี้ยงสัตว์ ก็ต้องดูศักยภาพ ตัวเองแล้วจะไหวไหม เพราะค่าใช่จ่ายที่ แน่นอนมีแล้ว และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ใช้สำหรับการ เลี้ยงดู คงมีอีกไม่น้อย รวมถึงน่าจะมีการ ดูแลในเรื่องสถานที่เลี้ยงด้วยว่า มีรั้วรอบขอบชิดไหม สุขอนามัยของ สัตว์เลี้ยงเป็นอย่างไร ไม่ใช่เลี้ยง แล้วปล่อยออกไปตามถนนหนทาง สร้างความเดือดร้อนคำราญให้กับผู้อื่น และพวกที่ว่าทำไมรัฐไม่มาช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น รัฐจะเอาเงินมาจากไหนหรือ จากภาษีที่ประชาชนทุกคนจ่ายหรือ มันคงไม่ใช่ เพราะอย่าลืมว่า ทุกคนที่จ่ายภาษีให้รัฐแต่ละไป ก็ไม่ได้เลี้ยง หมา เลี้ยงแมวกันทุกคน แล้วคนที่ไม่มีสัตว์เลี้ยง แต่เขาต้องมาร่วมในการรับผิดชอบเรื่องแบบนี้ เขาจะว่าอะไรไหม
ซึ่งที่ว่ามาทั้งหมดนี่ ผมว่าคงใช่เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีที่ปัญหาเรื่องสัตว์ จรจัด หมาแมวถูกทิ้งจะค่อยๆลดลงไป แต่คงจะไม่หมดไปเลยทีเดียว เพราะปัญหามาหนักหนาเลยที่เดียว แต่ถ้าเราไม่เริ่มต้นทำอะไร เลยปัญหามันก็คงจะไม่ได้รับการแก้ไข และนับวันก็จะหนักหนาขึ้นไปเรื่อย....แล้วถึงเวลานั้นจะต้องใช้เงินทองและทรัพยากร เท่าไรที่จะมาแก้ปัญหา???

สำหรับผมปัจจุบัน มีหมา สองตัว ถึงจะไม่ทำหมันแต่ก็ควมคุมไม่ให้ผสมพันธุ์ ฉีดกันพิษสุนัขบ้าทุกปี ฉีดกันเห็บหมัดทุกเดือน อาบน้ำทุกอาทิตย์ จูงออกไปขับถ่ายในสถานที่อันควรวันละ 2 เวลา เช้า เย็น ตลอดระยะเวลา 11 ปีที่เลี้ยงไม่เคยไปสร้างความเดือดร้อน ลำคาญให้เพื่อนบ้าน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่