ผู้ไม่อบรมทำให้มากในกายคตาสติ
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน
บุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน
มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง
คือ เขาจับงู มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง, จับจระเข้…จับนก…จับสุนัขบ้าน…จับสุนัขจิ้งจอก…
จับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ แล้วผูกรวมเข้าด้วยกัน เป็นปมเดียวในท่ามกลาง ปล่อยแล้ว.
ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น
สัตว์เหล่านั้นทั้งหกชนิด มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆ กัน
ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกันเพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ :
งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ, นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, ลิงก็จะไปป่า.
ครั้นเหนื่อยล้ากันทั้งหกสัตว์แล้ว สัตว์ใดมีกำลังกว่า
สัตว์นอกนั้นก็ต้องถูกลากติดตามไป ตามอำนาจของสัตว์นั้น
ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุใดไม่อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว
ตา ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ
รูป ที่ไม่น่าพอใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
หู ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง
เสียง ที่ไม่น่าฟังก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
จมูก ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม
กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
ลิ้น ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ
รสที่ไม่ชอบใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
กาย ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ
สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
และใจ ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ
ธรรมารมณ์ ที่ไม่ถูกใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
กายคตาสติ เสาหลักของจิต
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน
บุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน
มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง
คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจรเข้… จับนก… จับสุนัขบ้าน…จับสุนัขจิ้งจอก…
และ จับลิงมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้ว
นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อน หรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง
ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น
สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆ กัน
ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ
งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า
ภิกษุ ท. !
ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น
มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไป ยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง
ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. !
ภิกษุใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว
ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ
รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง
เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม
กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ
รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ
สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
และใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ
ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. !
คำว่า
“เสาเขื่อน หรือเสาหลัก” นี้ เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ
ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้
พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า
“กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก
กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้
เพียรตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี” ดังนี้.
ภิกษุ ท. !
พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
สฬา.สํ.18/348, 350.
" ผู้ ไม่ อบ รม ทำ ให้ มาก ใน กาย คตา สติ "
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน
มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง
คือ เขาจับงู มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง, จับจระเข้…จับนก…จับสุนัขบ้าน…จับสุนัขจิ้งจอก…
จับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ แล้วผูกรวมเข้าด้วยกัน เป็นปมเดียวในท่ามกลาง ปล่อยแล้ว.
ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นทั้งหกชนิด มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆ กัน
ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกันเพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ :
งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ, นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, ลิงก็จะไปป่า.
ครั้นเหนื่อยล้ากันทั้งหกสัตว์แล้ว สัตว์ใดมีกำลังกว่า
สัตว์นอกนั้นก็ต้องถูกลากติดตามไป ตามอำนาจของสัตว์นั้น
ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุใดไม่อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว
ตา ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ
รูป ที่ไม่น่าพอใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
หู ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง
เสียง ที่ไม่น่าฟังก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
จมูก ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม
กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
ลิ้น ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ
รสที่ไม่ชอบใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
กาย ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ
สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
และใจ ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ
ธรรมารมณ์ ที่ไม่ถูกใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
กายคตาสติ เสาหลักของจิต
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน
มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง
คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจรเข้… จับนก… จับสุนัขบ้าน…จับสุนัขจิ้งจอก…
และ จับลิงมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้ว นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อน หรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง
ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆ กัน
ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ
งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า
ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น
มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไป ยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง
ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ภิกษุใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว
ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ
รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง
เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม
กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ
รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ
สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
และใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ
ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. !
คำว่า “เสาเขื่อน หรือเสาหลัก” นี้ เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ
ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า
“กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก
กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้
เพียรตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
สฬา.สํ.18/348, 350.