18 พฤษภาคม 2561 สายการบินแอร์เอเชียมาเลเซีย เปิดเส้นทางใหม่ บินตรงจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ถึง อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทุกวันอาทิตย์ จันทร์ พุธ และศุกร์ 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
เที่ยวไป AK 830 กัวลาลัมเปอร์-หัวหิน ออกจากกัวลาลัมเปอร์ 10.00 น. (09.00 น. ตามเวลาในไทย) ถึงหัวหิน 11.00 น.
เที่ยวกลับ AK 831 หัวหิน-กัวลาลัมเปอร์ ออกจากหัวหิน 11.30 น. ถึงกัวลาลัมเปอร์ 14.35 น. (13.35 น. ตามเวลาในไทย)
นับเป็นจุดหมายปลายทางแห่งที่ 7 ของแอร์เอเชียมาเลเซีย ที่ทำการบินระหว่างประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย ต่อจากดอนเมือง ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่ เชียงใหม่ และ อู่ตะเภา (พัทยา)
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการทดลองเปิดเส้นทางใหม่ ใช่ว่าจะราบรื่น เพราะที่ผ่านมามีความพยายามเปิดเส้นทางบินใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่แก่นักท่องเที่ยว และช่วยกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ก็พบว่า บางเส้นทางที่แอร์เอเชียมาเลเซียทำการบิน ไม่ประสบความสำเร็จ จนต้องยกเลิกเที่ยวบินนั้นไป เช่น กัวลาลัมเปอร์-สุราษฎร์ธานี
ย้อนกลับมาที่ท่าอากาศยานหัวหิน หรือ สนามบินบ่อฝ้าย ถือเป็น “สนามบินปราบเซียน” เพราะก่อนหน้านี้เคยมีสายการบินชั้นนำให้บริการมาแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
เริ่มจากปี 2527 สายการบินบางกอกแอร์เวย์ เปิดเส้นทางกรุงเทพฯ (ดอนเมือง)-หัวหิน เมื่อปี 2527 แต่ได้ยกเลิกไปในช่วงปิดซ่อมสนามบิน ก่อนจะกลับมาบินเส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน-สมุย ในเดือนตุลาคม 2544 แต่สุดท้าย บางกอกแอร์เวย์ก็ยกเลิกบินสนามบินหัวหิน เพราะไม่คุ้มทุน
เดือนพฤศจิกายน 2547 สายการบินเอสจีเอเปิดเส้นทางการบินกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ)-หัวหิน ด้วยเที่ยวบินประจำ วันละ 3 เที่ยวบิน โดยได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นค่าธรรมเนียมสนามบิน เพื่อจูงใจให้เข้ามาใช้บริการ สาเหตุสำคัญ
เนื่องจากขณะนั้น นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังใช้เส้นทางบกเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง ประกอบกับค่าโดยสารเครื่องบินจาก อ.หัวหิน ยังมีราคาแพงที่นั่งละ 3,000 กว่าบาท ก่อนที่เวลาต่อมา สายการบินนกแอร์จะร่วมให้บริการภายใต้ชื่อ นกมินิ ในเดือนพฤศจิกายน 2556 ด้วยเครื่องบินแบบซาร์ป 340 บี จำนวน 34 ที่นั่ง ให้บริการ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แต่บินไม่นานก็ยกเลิกไป
เดือนพฤศจิกายน 2555 สายการบินเบอร์จาย่า แอร์ ได้ทำการบินเส้นทาง กัวลาลัมเปอร์-หัวหิน แต่ได้ยกเลิกไปเมื่อเดือนธันวาคม 2556
ปี 2557 สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ ได้เปิดเที่ยวบิน หาดใหญ่-หัวหิน ด้วยเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แล้วต่อมาไม่กี่เดือน ไทยไลอ้อนแอร์เลิกทำการบิน
และล่าสุด ปี 2560 สายการบินกานต์แอร์ ทำการบินในเส้นทาง เชียงใหม่-หัวหิน จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แต่มีปัญหาเกี่ยวกับใบอนุญาตในการทำการบิน สนามบินหัวหินจึงกลับสู่การเป็นสนามบินร้างอีกครั้ง
อาจมีคนสงสัยว่า ในเมื่อท่าอากาศยานหัวหินเป็นสนามบินขนาดเล็ก แล้วเครื่องบินจะลงจอดได้หรือ อาจยังไม่รู้ว่าก่อนหน้านี้แอร์เอเชียนำเครื่องบินแอร์บัส เอ 320 ลงจอดที่สนามบินหัวหินมาแล้ว
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2557 แอร์เอเชียได้นำนักเรียนระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนห่างไกล 14 จังหวัดทั่วประเทศ ไปเยี่ยมชมโครงการพระราชดำริ โดยเปิดเที่ยวบินพิเศษ FD 9090 กรุงเทพฯ-หัวหิน
ปัจจุบัน ท่าอากาศยานหัวหิน มีอาคารผู้โดยสารรองรับผู้มาใช้บริการได้ประมาณ 300 คนต่อชั่วโมง แต่เมื่อเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ จึงต้องเพิ่มตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และเจ้าหน้าที่ศุลกากร
ที่ผ่านมา แอร์เอเชียมาเลเซีย ลงนามบันทึกข้อตกลงกับกรมท่าอากาศยานไปแล้วเมื่อปลายปี 2560 หลังคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ให้ส่วนลดสายการบินที่มาใช้สนามบินหัวหินแบบขั้นบันได 3 ปี
โดยค่าธรรมเนียมการจอดเส้นทางบินใหม่ในปีแรก 80% ปีที่สอง 65% ปีที่สาม 50% และลดค่าเช่าสำนักงาน 50% โดยกรมท่าอากาศยานคาดว่าจะมีผู้โดยสารมากถึง 5 หมื่นคนต่อปี
นอกจากนี้ กรมท่าอากาศยาน เปิดเผยว่า ไทยแอร์เอเชีย กำลังตัดสินใจจะเปิดเส้นทางบินตรงรับผู้โดยสารกลุ่มนี้จากหัวหินไปยังจังหวัดในภูมิภาค อาทิ อุดรธานี และเชียงใหม่ อีกด้วย
แต่ถึงกระนั้น นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทยแอร์เอเชีย ก็ระบุว่า แอร์เอเชียสนใจเส้นทางหัวหินก็จริง แต่มีปัญหาเหมือนสนามบินลำปาง คือ รันเวย์กว้างไม่พอ แม้ว่าทางยาวจะได้แล้วก็ตาม
ต้องรอดูว่า การเปิดให้บริการที่แท้จริงของเที่ยวบิน กัวลาลัมเปอร์-หัวหิน ของแอร์เอเชียมาเลเซีย จะสามารถพลิกฟื้นสนามบินร้างแห่งนี้ให้มีชีวิตชีวา พร้อมกับบรรยากาศการท่องเที่ยวภาคตะวันตกจะคึกคักตามมาหรือไม่
ที่น่าสนใจไปอีกก็คือ แม้ว่าไทยแอร์เอเชียจะเกี่ยงเรื่องรันเวย์ แต่เส้นทางบินจากหัวหินไปยังภูมิภาคอื่นๆ เช่น เชียงใหม่ หรือภาคอีสาน ก็ยังคงเป็นเส้นทางสายรองที่น่าสนใจในการทำการบินเชื่อมภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ
- กิตตินันท์ นาคทอง -
ที่มา:
http://www.sakhononline.com/report/2017/?p=603
เส้นทางปราบเซียนฟื้นสนามบินหัวหิน “แอร์เอเชีย” เปิดรูทกัวลาลัมเปอร์
18 พฤษภาคม 2561 สายการบินแอร์เอเชียมาเลเซีย เปิดเส้นทางใหม่ บินตรงจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ถึง อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทุกวันอาทิตย์ จันทร์ พุธ และศุกร์ 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
เที่ยวไป AK 830 กัวลาลัมเปอร์-หัวหิน ออกจากกัวลาลัมเปอร์ 10.00 น. (09.00 น. ตามเวลาในไทย) ถึงหัวหิน 11.00 น.
เที่ยวกลับ AK 831 หัวหิน-กัวลาลัมเปอร์ ออกจากหัวหิน 11.30 น. ถึงกัวลาลัมเปอร์ 14.35 น. (13.35 น. ตามเวลาในไทย)
นับเป็นจุดหมายปลายทางแห่งที่ 7 ของแอร์เอเชียมาเลเซีย ที่ทำการบินระหว่างประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย ต่อจากดอนเมือง ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่ เชียงใหม่ และ อู่ตะเภา (พัทยา)
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการทดลองเปิดเส้นทางใหม่ ใช่ว่าจะราบรื่น เพราะที่ผ่านมามีความพยายามเปิดเส้นทางบินใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่แก่นักท่องเที่ยว และช่วยกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ก็พบว่า บางเส้นทางที่แอร์เอเชียมาเลเซียทำการบิน ไม่ประสบความสำเร็จ จนต้องยกเลิกเที่ยวบินนั้นไป เช่น กัวลาลัมเปอร์-สุราษฎร์ธานี
ย้อนกลับมาที่ท่าอากาศยานหัวหิน หรือ สนามบินบ่อฝ้าย ถือเป็น “สนามบินปราบเซียน” เพราะก่อนหน้านี้เคยมีสายการบินชั้นนำให้บริการมาแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
เริ่มจากปี 2527 สายการบินบางกอกแอร์เวย์ เปิดเส้นทางกรุงเทพฯ (ดอนเมือง)-หัวหิน เมื่อปี 2527 แต่ได้ยกเลิกไปในช่วงปิดซ่อมสนามบิน ก่อนจะกลับมาบินเส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน-สมุย ในเดือนตุลาคม 2544 แต่สุดท้าย บางกอกแอร์เวย์ก็ยกเลิกบินสนามบินหัวหิน เพราะไม่คุ้มทุน
เดือนพฤศจิกายน 2547 สายการบินเอสจีเอเปิดเส้นทางการบินกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ)-หัวหิน ด้วยเที่ยวบินประจำ วันละ 3 เที่ยวบิน โดยได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นค่าธรรมเนียมสนามบิน เพื่อจูงใจให้เข้ามาใช้บริการ สาเหตุสำคัญ
เนื่องจากขณะนั้น นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังใช้เส้นทางบกเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง ประกอบกับค่าโดยสารเครื่องบินจาก อ.หัวหิน ยังมีราคาแพงที่นั่งละ 3,000 กว่าบาท ก่อนที่เวลาต่อมา สายการบินนกแอร์จะร่วมให้บริการภายใต้ชื่อ นกมินิ ในเดือนพฤศจิกายน 2556 ด้วยเครื่องบินแบบซาร์ป 340 บี จำนวน 34 ที่นั่ง ให้บริการ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แต่บินไม่นานก็ยกเลิกไป
เดือนพฤศจิกายน 2555 สายการบินเบอร์จาย่า แอร์ ได้ทำการบินเส้นทาง กัวลาลัมเปอร์-หัวหิน แต่ได้ยกเลิกไปเมื่อเดือนธันวาคม 2556
ปี 2557 สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ ได้เปิดเที่ยวบิน หาดใหญ่-หัวหิน ด้วยเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72 5 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แล้วต่อมาไม่กี่เดือน ไทยไลอ้อนแอร์เลิกทำการบิน
และล่าสุด ปี 2560 สายการบินกานต์แอร์ ทำการบินในเส้นทาง เชียงใหม่-หัวหิน จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แต่มีปัญหาเกี่ยวกับใบอนุญาตในการทำการบิน สนามบินหัวหินจึงกลับสู่การเป็นสนามบินร้างอีกครั้ง
อาจมีคนสงสัยว่า ในเมื่อท่าอากาศยานหัวหินเป็นสนามบินขนาดเล็ก แล้วเครื่องบินจะลงจอดได้หรือ อาจยังไม่รู้ว่าก่อนหน้านี้แอร์เอเชียนำเครื่องบินแอร์บัส เอ 320 ลงจอดที่สนามบินหัวหินมาแล้ว
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2557 แอร์เอเชียได้นำนักเรียนระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนห่างไกล 14 จังหวัดทั่วประเทศ ไปเยี่ยมชมโครงการพระราชดำริ โดยเปิดเที่ยวบินพิเศษ FD 9090 กรุงเทพฯ-หัวหิน
ปัจจุบัน ท่าอากาศยานหัวหิน มีอาคารผู้โดยสารรองรับผู้มาใช้บริการได้ประมาณ 300 คนต่อชั่วโมง แต่เมื่อเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ จึงต้องเพิ่มตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และเจ้าหน้าที่ศุลกากร
ที่ผ่านมา แอร์เอเชียมาเลเซีย ลงนามบันทึกข้อตกลงกับกรมท่าอากาศยานไปแล้วเมื่อปลายปี 2560 หลังคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ให้ส่วนลดสายการบินที่มาใช้สนามบินหัวหินแบบขั้นบันได 3 ปี
โดยค่าธรรมเนียมการจอดเส้นทางบินใหม่ในปีแรก 80% ปีที่สอง 65% ปีที่สาม 50% และลดค่าเช่าสำนักงาน 50% โดยกรมท่าอากาศยานคาดว่าจะมีผู้โดยสารมากถึง 5 หมื่นคนต่อปี
นอกจากนี้ กรมท่าอากาศยาน เปิดเผยว่า ไทยแอร์เอเชีย กำลังตัดสินใจจะเปิดเส้นทางบินตรงรับผู้โดยสารกลุ่มนี้จากหัวหินไปยังจังหวัดในภูมิภาค อาทิ อุดรธานี และเชียงใหม่ อีกด้วย
แต่ถึงกระนั้น นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทยแอร์เอเชีย ก็ระบุว่า แอร์เอเชียสนใจเส้นทางหัวหินก็จริง แต่มีปัญหาเหมือนสนามบินลำปาง คือ รันเวย์กว้างไม่พอ แม้ว่าทางยาวจะได้แล้วก็ตาม
ต้องรอดูว่า การเปิดให้บริการที่แท้จริงของเที่ยวบิน กัวลาลัมเปอร์-หัวหิน ของแอร์เอเชียมาเลเซีย จะสามารถพลิกฟื้นสนามบินร้างแห่งนี้ให้มีชีวิตชีวา พร้อมกับบรรยากาศการท่องเที่ยวภาคตะวันตกจะคึกคักตามมาหรือไม่
ที่น่าสนใจไปอีกก็คือ แม้ว่าไทยแอร์เอเชียจะเกี่ยงเรื่องรันเวย์ แต่เส้นทางบินจากหัวหินไปยังภูมิภาคอื่นๆ เช่น เชียงใหม่ หรือภาคอีสาน ก็ยังคงเป็นเส้นทางสายรองที่น่าสนใจในการทำการบินเชื่อมภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ
- กิตตินันท์ นาคทอง -
ที่มา: http://www.sakhononline.com/report/2017/?p=603