สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ชีวิตไม่เป็นอิสระเพราะกับดักทางจิตใจครับ อาจเป็นเพราะคุณภาพชีวิตดีขึ้น ต้นทุนสังคมที่สูงขึ้น หรือ เปรียบเทียบกับคนรอบข้างแล้วตัวเองยังไม่ดีพอครับ ทำให้ตัวเองเหมือนหนูปั่นจักรที่ต้องวิ่งตลอดเวลา
แก้ด้วยคำว่า พอ ครับ คือพออยู่ได้ แล้วแต่คนว่าจะพอแค่ไหน
อยู่กับสิ่งที่มีครับในปัจจุบัน enjoy กับดอกไม้ริมทาง อย่ามัวแต่เร่งเดินไปที่เป้าหมาย แล้วชีวิตจะมีความสุขมากขึ้น
ให้ทานครับ ทานทางปัญญา ทานทางวัตถุ ทรัพย์ในตัว และทรัพย์ที่ทานมีจะมีค่ามากขึ้นทวีคูณ เพราะเงินหนึ่งร้อยของท่าน อาจมีค่ามากว่าหนึ่งร้อยบาทสำหรับคนจน ปัญญาของท่านอาจมีค่าสำหรับคนที่ยังทำมาหากินไม่ได้ครับ พอให้แล้วจิตใจก็เป็นสุขกว่าหาเงินได้เยอะๆอีกครับ
แก้ด้วยคำว่า พอ ครับ คือพออยู่ได้ แล้วแต่คนว่าจะพอแค่ไหน
อยู่กับสิ่งที่มีครับในปัจจุบัน enjoy กับดอกไม้ริมทาง อย่ามัวแต่เร่งเดินไปที่เป้าหมาย แล้วชีวิตจะมีความสุขมากขึ้น
ให้ทานครับ ทานทางปัญญา ทานทางวัตถุ ทรัพย์ในตัว และทรัพย์ที่ทานมีจะมีค่ามากขึ้นทวีคูณ เพราะเงินหนึ่งร้อยของท่าน อาจมีค่ามากว่าหนึ่งร้อยบาทสำหรับคนจน ปัญญาของท่านอาจมีค่าสำหรับคนที่ยังทำมาหากินไม่ได้ครับ พอให้แล้วจิตใจก็เป็นสุขกว่าหาเงินได้เยอะๆอีกครับ
ความคิดเห็นที่ 33
ยิ่งสูง ยิ่งหนาวไงครับ
รายได้ที่สูงขึ้น มาพร้อมภาระหน้าที่ที่มากขึ้น ความเสี่ยงมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือความกังวล ซึ่งแน่นอนว่ามีส่วนบั่นทอนความสุข ลดความสบายใจ
หากเป็นลูกจ้าง คุณก็ต้องมีลูกน้อง และในฐานะหัวหน้า ก็ต้องรับผิดชอบงานโดยรวม ต้องรับผิดชอบผลสำเร็จตาม KPI ไม่ว่าจะใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด
แล้วหากผลงานไม่ดี ย่อมเป็นกังวลเรื่องหน้าที่การงานแระ ถ้าต้องพ้นตำแหน่งที่มีหน้ามีตา แม้จะได้เงินเดือนเท่าเดิม แต่ก็อาจรู้สึกเสียหน้า คิดแค่นี้ก็ไม่สุขอีก
หากทำธุกิจส่วนตัว แม้จะไม่มีหัวหน้า ไม่มีใครปลดได้ แต่ลูกค้ายังมีอำนาจปลดร้านเราออกจากรายชื่อผู้ให้บริการ/คู่ค้าได้ ก็ไม่แตกต่าง
กรณีที่คุณจขกท.ยกมานี้ น่าสนใจ
ในช่วงเริ่มต้นชีวิตการทำงาน ใคร ๆ ก็มองไปข้างหน้า คาดหวังความสำเร็จเป็นหน้าที่การงาน และผลตอบแทน นี้เป็นเรื่องปกติ
จนเมื่อเดินมาได้ตามเป้าหมายที่ว่ามาระดับหนึ่ง จึงตระหนักว่า สิ่งที่ได้มาตามเป้าหมายนี้ ไม่ได้มาฟรี ๆ ต้องแลกมาด้วยอะไรสักอย่าง และบางทีหลาย ๆ อย่าง
หนึ่งในสิ่งที่แลกนั้น คือ ความสุข ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะความสบายใจ ไม่อยู่ในเป้าหมายไง
แล้วเป้าหมายที่ว่าน่ะ มันไม่อาจสำเร็จได้ด้วยตัวเรา ใช่ว่าขยันแล้วจะสำเร็จ ยังมีลูกพี่ ลูกน้อง ลูกค้าอีกล่ะ
พอดีไม่มีลูกเมียเป็นตัวแปรให้เกิดความสำเร็จในงานด้วย บางทีลูกเมียก็เลยถูกมองข้าม แต่ลูกเมียเป็นปัจจัยของความสุขนะ
ลองทบทวนเป้าหมายในชีวิต เป็นความสุขไหมครับ แล้วที่ยากคือนิยามคำว่าความสุขนี้แหละ
ผมทำงานภาคเอกชน หน้าที่การงานไม่ถือว่าประสบความสำเร็จ ไม่เคยเป็น Somebody ในองค์กร ไม่มีลูกน้อง แต่ยังดีที่เงินเดือนก็พอ ๆ กับเพื่อนๆ ที่มีตำแหน่ง มีลูกน้องนั่นแหละ ประมาณว่า ได้แต่ซอง ไม่ได้กล่องเท่าไร รายได้แม้ไม่มากมายแต่เพียงพอเลี้ยงชีวิต เลี้ยงครอบครัว มีสิ่งจำเป็นตามอัตภาพ ส่งลูกเรียนจบป.โท ตปท.ได้ทั้งสองคน ไม่มีหนี้ ก็ตามมาตรฐานของผู้คนปกติทั่ว ๆไปนั่นแหละ ถึงจะทำได้เพียงแค่นี้ ผมก็พอใจ
หน้าที่การงานแม้ไม่ได้ดิบได้ดีเท่าเพื่อน ๆ ก็ไม่รู้ทำไง คิดไปก็ไม่มีความสุข เลยคิดเข้าข้างตัวเองว่า ถึงได้ไปก็รักษาไว้ไม่ได้เหมือน ๆ ทุกสิ่ง ที่วันหนึ่งก็ต้องเป็นอดีต ดังในอดีตที่เขาว่ากัน "ข่าวพาดหัววันนี้ พรุ่งนี้ก็กลายเป็นถุงกล้วยแขก" (แน่ะ !!!! องุ่นเปรี้ยวแล้วไง รู้ทันนะ) บลา ... บลา ... บลา
ลองสำรวจดูไหมครับว่า อะไรทำให้ความสุขลดลง อาจต้องปรับชีวิต ปรับเป้าหมาย เพื่อรักษาสมดุลย์ work life balance ให้ได้ แล้วความสุขจะค่อย ๆ กลับคืนมานะ ผมว่า
แล้วในกระทู้ คุณค่อนข้างจะกล่าวถึงรื่องเงิน อย่างน้อยตอนนี้ คุณคงเห็นแล้วว่า เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง เงินทองที่พอกพูน ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เกิดความสุขต่อ ๆ ไป งั้นคุณต้องหาเองละว่า ความสุขของคุณอยู่ตรงไหน modelความสุขของใคร ๆ ก็เป็นรูปแบบเฉพาะของคน ๆ นั้น ใครก็มาคิดแทนไม่ได้ คุณว่ามั๊ย
รายได้ที่สูงขึ้น มาพร้อมภาระหน้าที่ที่มากขึ้น ความเสี่ยงมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือความกังวล ซึ่งแน่นอนว่ามีส่วนบั่นทอนความสุข ลดความสบายใจ
หากเป็นลูกจ้าง คุณก็ต้องมีลูกน้อง และในฐานะหัวหน้า ก็ต้องรับผิดชอบงานโดยรวม ต้องรับผิดชอบผลสำเร็จตาม KPI ไม่ว่าจะใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด
แล้วหากผลงานไม่ดี ย่อมเป็นกังวลเรื่องหน้าที่การงานแระ ถ้าต้องพ้นตำแหน่งที่มีหน้ามีตา แม้จะได้เงินเดือนเท่าเดิม แต่ก็อาจรู้สึกเสียหน้า คิดแค่นี้ก็ไม่สุขอีก
หากทำธุกิจส่วนตัว แม้จะไม่มีหัวหน้า ไม่มีใครปลดได้ แต่ลูกค้ายังมีอำนาจปลดร้านเราออกจากรายชื่อผู้ให้บริการ/คู่ค้าได้ ก็ไม่แตกต่าง
กรณีที่คุณจขกท.ยกมานี้ น่าสนใจ
ในช่วงเริ่มต้นชีวิตการทำงาน ใคร ๆ ก็มองไปข้างหน้า คาดหวังความสำเร็จเป็นหน้าที่การงาน และผลตอบแทน นี้เป็นเรื่องปกติ
จนเมื่อเดินมาได้ตามเป้าหมายที่ว่ามาระดับหนึ่ง จึงตระหนักว่า สิ่งที่ได้มาตามเป้าหมายนี้ ไม่ได้มาฟรี ๆ ต้องแลกมาด้วยอะไรสักอย่าง และบางทีหลาย ๆ อย่าง
หนึ่งในสิ่งที่แลกนั้น คือ ความสุข ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะความสบายใจ ไม่อยู่ในเป้าหมายไง
แล้วเป้าหมายที่ว่าน่ะ มันไม่อาจสำเร็จได้ด้วยตัวเรา ใช่ว่าขยันแล้วจะสำเร็จ ยังมีลูกพี่ ลูกน้อง ลูกค้าอีกล่ะ
พอดีไม่มีลูกเมียเป็นตัวแปรให้เกิดความสำเร็จในงานด้วย บางทีลูกเมียก็เลยถูกมองข้าม แต่ลูกเมียเป็นปัจจัยของความสุขนะ
ลองทบทวนเป้าหมายในชีวิต เป็นความสุขไหมครับ แล้วที่ยากคือนิยามคำว่าความสุขนี้แหละ
ผมทำงานภาคเอกชน หน้าที่การงานไม่ถือว่าประสบความสำเร็จ ไม่เคยเป็น Somebody ในองค์กร ไม่มีลูกน้อง แต่ยังดีที่เงินเดือนก็พอ ๆ กับเพื่อนๆ ที่มีตำแหน่ง มีลูกน้องนั่นแหละ ประมาณว่า ได้แต่ซอง ไม่ได้กล่องเท่าไร รายได้แม้ไม่มากมายแต่เพียงพอเลี้ยงชีวิต เลี้ยงครอบครัว มีสิ่งจำเป็นตามอัตภาพ ส่งลูกเรียนจบป.โท ตปท.ได้ทั้งสองคน ไม่มีหนี้ ก็ตามมาตรฐานของผู้คนปกติทั่ว ๆไปนั่นแหละ ถึงจะทำได้เพียงแค่นี้ ผมก็พอใจ
หน้าที่การงานแม้ไม่ได้ดิบได้ดีเท่าเพื่อน ๆ ก็ไม่รู้ทำไง คิดไปก็ไม่มีความสุข เลยคิดเข้าข้างตัวเองว่า ถึงได้ไปก็รักษาไว้ไม่ได้เหมือน ๆ ทุกสิ่ง ที่วันหนึ่งก็ต้องเป็นอดีต ดังในอดีตที่เขาว่ากัน "ข่าวพาดหัววันนี้ พรุ่งนี้ก็กลายเป็นถุงกล้วยแขก" (แน่ะ !!!! องุ่นเปรี้ยวแล้วไง รู้ทันนะ) บลา ... บลา ... บลา
ลองสำรวจดูไหมครับว่า อะไรทำให้ความสุขลดลง อาจต้องปรับชีวิต ปรับเป้าหมาย เพื่อรักษาสมดุลย์ work life balance ให้ได้ แล้วความสุขจะค่อย ๆ กลับคืนมานะ ผมว่า
แล้วในกระทู้ คุณค่อนข้างจะกล่าวถึงรื่องเงิน อย่างน้อยตอนนี้ คุณคงเห็นแล้วว่า เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง เงินทองที่พอกพูน ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เกิดความสุขต่อ ๆ ไป งั้นคุณต้องหาเองละว่า ความสุขของคุณอยู่ตรงไหน modelความสุขของใคร ๆ ก็เป็นรูปแบบเฉพาะของคน ๆ นั้น ใครก็มาคิดแทนไม่ได้ คุณว่ามั๊ย
แสดงความคิดเห็น
10 กว่าปีก่อน เงินเดือน 10k+ ทำไมรู้สึกสุขใจกว่าตอนนี้ที่เงินเดือน 100k+