เมื่อเอ่ยถึงศาสนาทุกศาสนา ไม่จำกัดว่าเป็นเพียงศาสนาใดศาสนาหนึ่งจำต้องมีสัญลักษณ์ ซึ่งสัญลักษณ์บางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องมีในเนื้อหาของคัมภีร์หลักของศาสนา แต่เป็นเรื่องที่มีการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นองค์ประกอบของศาสนา เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายบ่งบอกในการทำหรือไม่ทำอะไรบางอย่างในศาสนา
@ ระฆัง : สัญลักษณ์ของการบอกเหตุและการประชุมสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรม ?
ผมพยายามที่จะค้นหาแหล่งที่มาของการใช้ระฆังที่ปรากฏในพระไตรปิฎกซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ที่เป็นหลักฐานแรกเริ่มของพระพุทธศาสนา แต่ก็ไม่เจอ แต่ก็ไปเจอเรื่องของ ระฆังในหลักฐานระดับ "อรรถกถา"ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายเนื้อความในพระไตรปิฎก
ซึ่งอรรถกถานี้เขียนหรือจารจารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ.๙๖๕ โดย พระพุทธโฆสาจารย์และคณะ ปรากฏเรื่องราวของการใช้ระฆังใน "ธรรมบท"หลายเรื่องระบุว่าภิกษุสมัยพุทธกาลนั้น ใช้ระฆังเป็นสัญญาณเพื่อบ่งบอกถึง "เวลาในการเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม" ดังปรากฏในเรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่งว่า
ในสมัยพุทธกาลมีบ้านตำบลหนึ่ง ชื่อมาติกคาม ใกล้เชิงเขา ใน
แว่นแคว้นของพระเจ้าโกศล ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป
ได้มาเรียนกรรมฐานกับพระพุทธองค์ จากนั้นได้กราบทูลลาไปที่หมู่บ้านมาติกคามนั้น พอถึงตอนเช้าก็พากันเข้าไปเพื่อบิณฑบาต ผ่านไปบ้านของผู้ใหญ่บ้านมาติกคามนั้น
แม่ของผู้ใหญ่บ้านได้นิมนต์ฉันภัตตาหารที่แล้วถามพระภิกษุทั้งหมดว่าพวกท่านจะเดินทางไปจำพรรษาที่ไหน พระภิกษุทั้งหมดเลยตอบว่า กำลังหาที่จำพรรษา นางจึงนิมนต์ให้ท่านทั้งหมดไปจำพรรษาที่พื้นที่ของตนเองเพื่อว่าตนเองจะได้มีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมด้วย
ระฆัง คุณค่าทางวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา ?
เมื่อภิกษุไปจำพรรษาที่นั่นแล้วได้ทำกติกาต่อกันว่า พวกเราไม่ควรยืน ไม่ควรนั่งในที่แห่งเดียวกัน ๒ รูป แต่ว่าในกาลเป็นที่บำรุงพระเถระในเวลาเย็นแล และในกาลเป็นที่ภิกษาจารในเวลาเช้าเท่านั้นพวกเราจักรวมกัน,
(แต่) ในกาลที่เหลือจักไม่อยู่รวมกัน ๒ รูป และที่สุดก็ได้บอกกันว่า เมื่อภิกษุผู้ไม่มีความผาสุกมาตีระฆังในท่ามกลางวิหารขึ้นแล้ว พวกเราจึงจักมาตามสัญญาแห่งระฆังแล้ว ทำยาให้แก่ภิกษุนั้น หรือมีเหตุจำเป็นที่จะต้องมาเจอกันก็ขอให้ตีระฆังให้สัญญาณ
วันหนึ่ง อุบาสิกาได้มาพบพระภิกษุในวัดนั้น พอไปถึงวัดก็ไม่เจอพระเลยสักรูปก็เลยถามพระที่ทำหน้าที่ต้อนรับท่านเลยบอกว่าถ้าอยากเจอพระให้ตีระฆังเพราะท่านได้ทำกติกากันไว้แล้วว่าหากมีใครป่วยหรือมีเหตุให้ตีระฆัง
ดังนั้น พระรูปนั้นเลยตีระฆังก็ปรากฎว่าพระทั้งหมดก็ออกมาจากที่ปฏิบัติธรรมเพื่อมาประชุมกันตามเสียงสัญญาณระฆัง
(ขุ.ธ.อ.(ไทย)๑/๒/๑/๓๙๔-๗)
การใช้ระฆังเป็นสัญญาณเพื่อการออกจากสถานที่ปฏฺิบัติธรรมเพื่อมาช่วยเหลือภิกษุที่ป่วยหรือมีกิจธุระก็ปรากฎในเรื่องสังกิจจสามเณรก็เช่นเดียวกัน (ขุ.ธ.อ.(ไทย)๑/๒/๒/๔๖๙)
แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาใช้ "ระฆัง" เป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณเตือนเพื่อให้พระที่จำพรรษาในอาวาสนั้นออกมาดูแลกันและกันหรือเวลาที่เจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็นต่างๆ ซึ่งนี่ก็คือวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา และถือว่าระฆังคือสัญญาณสำหรับการออกมาจากที่พักเพื่อประชุมหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในวัดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ดังนั้นระฆังจึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เคียงคู่กับพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน
@ การตีระฆัง : สัญญาณแห่งการปฏิบัติธรรม
ในปัจจุบันพระพุทธศาสนาใช้ระฆังเพื่ออะไร คือตอบก็คือเพื่อเป็นสัญญาณปลุกให้พระออกมาจากที่พักเพื่อมาทำวัตรปฏิบัติธรรมตั้งแต่เวลาดึกเช้าตรู่ หรือมาทำวัตร สัญญาณระฆังดังขึ้นนั่นหมายถึงว่า "การปฏิบัติธรรม"ได้เริ่มขึ้นแล้วนั่นเอง
@ ระฆังกับสังคม : ความเปลี่ยนแปลงที่ต้องเลือก ?
ผมว่าวัดเกิดมาก่อนสิ่งปลูกสร้าง ข้อนี้เป็นบทตั้งต้น เมื่อพระ วัด มีระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว ดังนั้น สังคมที่เกิดมาใหม่ (๑) จะต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจ สังคมจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองตามวัด (๒) ไม่ใช่ให้วัดเปลี่ยนแปลงตามสังคม หากวัดเปลี่ยนแปลงตามสังคมเมื่อไหร่สิ่งที่จะต้องสูญเสียไปก็คือ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพระสงฆ์ของวัด"จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามด้วย ที่นี้แหละที่วัฒนธรรมของชาวพุทธที่สืบทอดมาแต่ดั้งเดิมจะถูกทำลายไป............
ที่มา : เฟซบุ๊ค Naga King
ระฆัง...คุณค่าทางวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา ?
@ ระฆัง : สัญลักษณ์ของการบอกเหตุและการประชุมสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรม ?
ผมพยายามที่จะค้นหาแหล่งที่มาของการใช้ระฆังที่ปรากฏในพระไตรปิฎกซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ที่เป็นหลักฐานแรกเริ่มของพระพุทธศาสนา แต่ก็ไม่เจอ แต่ก็ไปเจอเรื่องของ ระฆังในหลักฐานระดับ "อรรถกถา"ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายเนื้อความในพระไตรปิฎก
ซึ่งอรรถกถานี้เขียนหรือจารจารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ.๙๖๕ โดย พระพุทธโฆสาจารย์และคณะ ปรากฏเรื่องราวของการใช้ระฆังใน "ธรรมบท"หลายเรื่องระบุว่าภิกษุสมัยพุทธกาลนั้น ใช้ระฆังเป็นสัญญาณเพื่อบ่งบอกถึง "เวลาในการเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม" ดังปรากฏในเรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่งว่า
ในสมัยพุทธกาลมีบ้านตำบลหนึ่ง ชื่อมาติกคาม ใกล้เชิงเขา ใน
แว่นแคว้นของพระเจ้าโกศล ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป
ได้มาเรียนกรรมฐานกับพระพุทธองค์ จากนั้นได้กราบทูลลาไปที่หมู่บ้านมาติกคามนั้น พอถึงตอนเช้าก็พากันเข้าไปเพื่อบิณฑบาต ผ่านไปบ้านของผู้ใหญ่บ้านมาติกคามนั้น
แม่ของผู้ใหญ่บ้านได้นิมนต์ฉันภัตตาหารที่แล้วถามพระภิกษุทั้งหมดว่าพวกท่านจะเดินทางไปจำพรรษาที่ไหน พระภิกษุทั้งหมดเลยตอบว่า กำลังหาที่จำพรรษา นางจึงนิมนต์ให้ท่านทั้งหมดไปจำพรรษาที่พื้นที่ของตนเองเพื่อว่าตนเองจะได้มีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมด้วย
ระฆัง คุณค่าทางวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา ?
เมื่อภิกษุไปจำพรรษาที่นั่นแล้วได้ทำกติกาต่อกันว่า พวกเราไม่ควรยืน ไม่ควรนั่งในที่แห่งเดียวกัน ๒ รูป แต่ว่าในกาลเป็นที่บำรุงพระเถระในเวลาเย็นแล และในกาลเป็นที่ภิกษาจารในเวลาเช้าเท่านั้นพวกเราจักรวมกัน,
(แต่) ในกาลที่เหลือจักไม่อยู่รวมกัน ๒ รูป และที่สุดก็ได้บอกกันว่า เมื่อภิกษุผู้ไม่มีความผาสุกมาตีระฆังในท่ามกลางวิหารขึ้นแล้ว พวกเราจึงจักมาตามสัญญาแห่งระฆังแล้ว ทำยาให้แก่ภิกษุนั้น หรือมีเหตุจำเป็นที่จะต้องมาเจอกันก็ขอให้ตีระฆังให้สัญญาณ
วันหนึ่ง อุบาสิกาได้มาพบพระภิกษุในวัดนั้น พอไปถึงวัดก็ไม่เจอพระเลยสักรูปก็เลยถามพระที่ทำหน้าที่ต้อนรับท่านเลยบอกว่าถ้าอยากเจอพระให้ตีระฆังเพราะท่านได้ทำกติกากันไว้แล้วว่าหากมีใครป่วยหรือมีเหตุให้ตีระฆัง
ดังนั้น พระรูปนั้นเลยตีระฆังก็ปรากฎว่าพระทั้งหมดก็ออกมาจากที่ปฏิบัติธรรมเพื่อมาประชุมกันตามเสียงสัญญาณระฆัง
(ขุ.ธ.อ.(ไทย)๑/๒/๑/๓๙๔-๗)
การใช้ระฆังเป็นสัญญาณเพื่อการออกจากสถานที่ปฏฺิบัติธรรมเพื่อมาช่วยเหลือภิกษุที่ป่วยหรือมีกิจธุระก็ปรากฎในเรื่องสังกิจจสามเณรก็เช่นเดียวกัน (ขุ.ธ.อ.(ไทย)๑/๒/๒/๔๖๙)
แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาใช้ "ระฆัง" เป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณเตือนเพื่อให้พระที่จำพรรษาในอาวาสนั้นออกมาดูแลกันและกันหรือเวลาที่เจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็นต่างๆ ซึ่งนี่ก็คือวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา และถือว่าระฆังคือสัญญาณสำหรับการออกมาจากที่พักเพื่อประชุมหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในวัดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ดังนั้นระฆังจึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เคียงคู่กับพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน
@ การตีระฆัง : สัญญาณแห่งการปฏิบัติธรรม
ในปัจจุบันพระพุทธศาสนาใช้ระฆังเพื่ออะไร คือตอบก็คือเพื่อเป็นสัญญาณปลุกให้พระออกมาจากที่พักเพื่อมาทำวัตรปฏิบัติธรรมตั้งแต่เวลาดึกเช้าตรู่ หรือมาทำวัตร สัญญาณระฆังดังขึ้นนั่นหมายถึงว่า "การปฏิบัติธรรม"ได้เริ่มขึ้นแล้วนั่นเอง
@ ระฆังกับสังคม : ความเปลี่ยนแปลงที่ต้องเลือก ?
ผมว่าวัดเกิดมาก่อนสิ่งปลูกสร้าง ข้อนี้เป็นบทตั้งต้น เมื่อพระ วัด มีระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว ดังนั้น สังคมที่เกิดมาใหม่ (๑) จะต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจ สังคมจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองตามวัด (๒) ไม่ใช่ให้วัดเปลี่ยนแปลงตามสังคม หากวัดเปลี่ยนแปลงตามสังคมเมื่อไหร่สิ่งที่จะต้องสูญเสียไปก็คือ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพระสงฆ์ของวัด"จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามด้วย ที่นี้แหละที่วัฒนธรรมของชาวพุทธที่สืบทอดมาแต่ดั้งเดิมจะถูกทำลายไป............
ที่มา : เฟซบุ๊ค Naga King