เปลี่ยนคำไม่ทัน
เล่ากันเล่นๆ ว่า
สมัยก่อนนู้น มีการแข่งขันภาษาอังกฤษ ระดับประถมปลาย
ทางรายการโทรทัศน์ที่กรุงเทพฯ
มีนักเรียนถูกส่งเข้าแข่งขันจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ
ถึงรอบชิงชนะเลิศ เหลือเพียง 2 โรงเรียน จากกรุงเทพฯ
และจากภาคใต้ ที่ต่างก็ทำคะแนนเท่ากัน
ไล่บี้กันมาตลอด
ในที่สุด โรงเรียนจากภาคใต้ต้องพ่ายแพ้ ในการตอบคำถาม
โจทย์ข้อสุดท้าย
" Do not touch .
--- หมายถึง สั่งว่าอะไร "
ให้เวลาตอบ 5 วิ โดยเขียนคำตอบในกระดาษ พับ-แล้วส่ง
มาให้คณะกรรมการเปิดตรวจ
โรงเรียนจากภาคใต้ที่ชิงส่งก่อนอย่างรวดเร็ว เขียนตอบมาว่า
" ห้ามแท่ง "
กรรมการอ่านแล้ว ลงความเห็นว่า เด็กคงจะตั้งใจ
ตอบ ว่าห้ามทำร้ายด้วยการแทงกับของมีคม
- แล้วเผลอใส่ไม้เอก มาที่คำว่า แทง
ซึ่งเท่ากับ ตอบผิด
จึงให้คะแนนแก่โรงเรียนจากกรุงเทพฯ ที่ตอบว่า
" ห้ามสัมผัสแตะต้อง "
* * * * * * * * *
ที่จริง -- เด็กนักเรียนจากทางใต้ แกตอบถูกนะ
เพราะคำว่า
" แท่ง" ภาษาใต้ ก็คือ " สัมผัส / แตะ / เนื้อตัวโดนกับสิ่งนั้น "
นั่นเอง
แต่แกคงตื่นเต้น และรีบมาก เขียนตอบทันที
ลืมเปลี่ยนคำภาษาถิ่นใต้เป็นคำภาษากลาง
ก็อย่าง- เวลาเราดูวอลเลย์บอลทางหน้าจอ
พอกรรมการเป่านกหวีดฟาวล์ ( foul -ฟาว -adjective = ที่ผิดกติกา /คดโกง)
เพราะระหว่างเกม มีการโดน / มีการแท่ง - กับตาข่าย
........................................................
* อ้างอิงนิด
foul (adj ) คดโกง ( ทางกีฬา)
https://dict.longdo.com/search/foul
.........................................................
แล้วกรรมการ- ก็จะขานความผิดนี้ เป็นคำนาม ว่า
" ฟ้อลท์ -fault ! " (= ความผิด)
( " มี-ความผิด-เกิดขึ้น! " )
.........................................................
* อ้างอิงหน่อย
(ฟอลทฺ) n. ความผิดพลาด / การเสิร์ฟลูกออก, การเสิร์ฟลูกติดเน็ท
https://dict.longdo.com/search/fault
..........................................................
คนดูทางใต้บ้านผม จะหันมาบอกกัน ว่า
" ควาว--ควาว
-- เก๋าหลี๊แถ่งต๋าข๊าย "
( " ฟาวล์- ฟาวล์
-- เกาหลีโดนตาข่าย " )
แบบนี้ อะครับ
เฮ่อ--
ถ้าว่าเรื่องที่เล่าเล่นๆ นั้น เป็นเรื่องจริง
ผมก็รู้สึกเสียดายแปลบนะ
น่าจะให้ชนะทั้งสองโรง ครองที่ 1 ร่วมกัน ก็ยังดี
* * * * * * * *
คุณครู รร. ประถมฯ ทางใต้ แต่ละวันนี่ -เหนื่อยนะครับ
- ขอยืนยัน
มีเด็กทะเลาะกัน ร้องไห้ ฟ้องครู -ทั้งวัน คุณครูต้องทำตัวเป็น
ผู้พิพากษา ตัดสินชั้นต้นให้ ไม่หยุด
เช่น ป.1 มีเด็กทะเลาะกันในลักษณะคดีอาญา
ด.ช. แดง : " ฮือ ๆ ๆ ๆ ๆ "
ครู : " เป็นอะไรล่ะแดง ?
--ร้องไห้ทำไม ? "
ด.ช.แดง : " เด็กชายดำ เขามาทำผมครับ -- ฮือๆ "
ด.ช. ดำ ( รีบเถียง) : " เด็กชายแดง เขาก็ทำผมครับ "
ครู : " อ้าว-- แล้วมันอะไรกันแน่ -ห๊ะ ?
บอกครูมาซิ "
ด.ช. แดง ( สะอึกสะอื้น) : " ผมนั่งแน่งๆ ---
-- เขามาแท่งผมก่อน ครับ -- ฮือๆ "
( ผมนั่งนิ่งอยู่ดีๆ
-- เขามาโดนตัวผมก่อนครับ -ฮือ ๆ )
โอ้ว--- ว่าไปเลย ครับคุณครู
--ผมเหนื่อยแทน
บางที มาในแนวคดีแพ่ง
ด.ญ. มาลี (เดินร้องไห้มาที่โต๊ะครู) : " ฮือๆ ฮือๆ "
ครู : " ร้องไห้ทำไม มาลี ? "
ด.ญ. มาลี (ชี้ไปที่เพื่อน ) : " จรัสพร หยิบยางลบหนูไปค่ะ "
ครู : อ่าว-- จรัสพร คืนยางลบให้มาลีเค้า "
ด.ญ. จรัสพร : " ไม่ค่ะ
- มาลีเอาลูกยาหมู (ผลฝรั่งพื้นบ้าน) ของหนูไปลูกนึงค่ะ "
ครู : " จริงมั้ยมาลี ?
( มาลีพยักหน้ารับ )
งั้นเธอก็คืนลูกยาหมูให้จรัสพร "
ด.ญ. มาลี : " ฮือ ๆ
-หนูกินหมดแล้วค่ะ "
ดญ.จรัสพร ( กรีดร้องทันที ) : " ฮื๊อออออ ! ---- ฮือๆๆๆ !!!
พลางกำยางลบไว้แน่น
เด็กหญิงทั้งสองร้องไห้ไม่หยูด ต่างคนต่างไม่ยอมความ
จนคุณครูทนไม่ไหว --
เอามือที่กุมหน้าผากตัวเองออก เดินไปที่กลางห้อง
เพื่อตัดสินคดีแพ่งนี้
" พอ ๆ ---
หยุดร้องไห้ ทั้งสองคนเลย "
เด็กทั้งสองรีบเช็ดน้ำตา หยุดร้องไห้
และเพื่อนๆ ในห้องก็พากันเงียบ
รอฟังคำครู
" ฟังครูนะ --
ยางลบแท่งนึง -- ( ชี้ไปที่มาลี)
กับลูกยาหมูลูกนึง -- ( ชี้มาที่จรัสพร)
ครูว่า- หลุดกันละมั้ง ? "
( " ฟังครูนะ --
ยางลบแท่งนึง
กับลูกฝรั่งลูกนึง
ครูว่า --ก็หายกันนะ ? " )
อือม์ --ถึงแม้คุณครูพูดกลาง แบบลืมปรับเปลี่ยนคำใต้
จาก-หลุดกัน เป็น-หายกัน แต่เด็กๆ ก็เข้าใจ
ไม่ได้มีปัญหา เหมือน " แท่ง "
เปลี่ยนคำไม่ทัน
เล่ากันเล่นๆ ว่า
สมัยก่อนนู้น มีการแข่งขันภาษาอังกฤษ ระดับประถมปลาย
ทางรายการโทรทัศน์ที่กรุงเทพฯ
มีนักเรียนถูกส่งเข้าแข่งขันจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ
ถึงรอบชิงชนะเลิศ เหลือเพียง 2 โรงเรียน จากกรุงเทพฯ
และจากภาคใต้ ที่ต่างก็ทำคะแนนเท่ากัน
ไล่บี้กันมาตลอด
ในที่สุด โรงเรียนจากภาคใต้ต้องพ่ายแพ้ ในการตอบคำถาม
โจทย์ข้อสุดท้าย
" Do not touch .
--- หมายถึง สั่งว่าอะไร "
ให้เวลาตอบ 5 วิ โดยเขียนคำตอบในกระดาษ พับ-แล้วส่ง
มาให้คณะกรรมการเปิดตรวจ
โรงเรียนจากภาคใต้ที่ชิงส่งก่อนอย่างรวดเร็ว เขียนตอบมาว่า
" ห้ามแท่ง "
กรรมการอ่านแล้ว ลงความเห็นว่า เด็กคงจะตั้งใจ
ตอบ ว่าห้ามทำร้ายด้วยการแทงกับของมีคม
- แล้วเผลอใส่ไม้เอก มาที่คำว่า แทง
ซึ่งเท่ากับ ตอบผิด
จึงให้คะแนนแก่โรงเรียนจากกรุงเทพฯ ที่ตอบว่า
" ห้ามสัมผัสแตะต้อง "
* * * * * * * * *
ที่จริง -- เด็กนักเรียนจากทางใต้ แกตอบถูกนะ
เพราะคำว่า " แท่ง" ภาษาใต้ ก็คือ " สัมผัส / แตะ / เนื้อตัวโดนกับสิ่งนั้น "
นั่นเอง
แต่แกคงตื่นเต้น และรีบมาก เขียนตอบทันที
ลืมเปลี่ยนคำภาษาถิ่นใต้เป็นคำภาษากลาง
ก็อย่าง- เวลาเราดูวอลเลย์บอลทางหน้าจอ
พอกรรมการเป่านกหวีดฟาวล์ ( foul -ฟาว -adjective = ที่ผิดกติกา /คดโกง)
เพราะระหว่างเกม มีการโดน / มีการแท่ง - กับตาข่าย
........................................................
* อ้างอิงนิด
foul (adj ) คดโกง ( ทางกีฬา)
https://dict.longdo.com/search/foul
.........................................................
แล้วกรรมการ- ก็จะขานความผิดนี้ เป็นคำนาม ว่า
" ฟ้อลท์ -fault ! " (= ความผิด)
( " มี-ความผิด-เกิดขึ้น! " )
.........................................................
* อ้างอิงหน่อย
(ฟอลทฺ) n. ความผิดพลาด / การเสิร์ฟลูกออก, การเสิร์ฟลูกติดเน็ท
https://dict.longdo.com/search/fault
..........................................................
คนดูทางใต้บ้านผม จะหันมาบอกกัน ว่า
" ควาว--ควาว
-- เก๋าหลี๊แถ่งต๋าข๊าย "
( " ฟาวล์- ฟาวล์
-- เกาหลีโดนตาข่าย " )
แบบนี้ อะครับ
เฮ่อ--
ถ้าว่าเรื่องที่เล่าเล่นๆ นั้น เป็นเรื่องจริง
ผมก็รู้สึกเสียดายแปลบนะ
น่าจะให้ชนะทั้งสองโรง ครองที่ 1 ร่วมกัน ก็ยังดี
* * * * * * * *
คุณครู รร. ประถมฯ ทางใต้ แต่ละวันนี่ -เหนื่อยนะครับ
- ขอยืนยัน
มีเด็กทะเลาะกัน ร้องไห้ ฟ้องครู -ทั้งวัน คุณครูต้องทำตัวเป็น
ผู้พิพากษา ตัดสินชั้นต้นให้ ไม่หยุด
เช่น ป.1 มีเด็กทะเลาะกันในลักษณะคดีอาญา
ด.ช. แดง : " ฮือ ๆ ๆ ๆ ๆ "
ครู : " เป็นอะไรล่ะแดง ?
--ร้องไห้ทำไม ? "
ด.ช.แดง : " เด็กชายดำ เขามาทำผมครับ -- ฮือๆ "
ด.ช. ดำ ( รีบเถียง) : " เด็กชายแดง เขาก็ทำผมครับ "
ครู : " อ้าว-- แล้วมันอะไรกันแน่ -ห๊ะ ?
บอกครูมาซิ "
ด.ช. แดง ( สะอึกสะอื้น) : " ผมนั่งแน่งๆ ---
-- เขามาแท่งผมก่อน ครับ -- ฮือๆ "
( ผมนั่งนิ่งอยู่ดีๆ
-- เขามาโดนตัวผมก่อนครับ -ฮือ ๆ )
โอ้ว--- ว่าไปเลย ครับคุณครู
--ผมเหนื่อยแทน
บางที มาในแนวคดีแพ่ง
ด.ญ. มาลี (เดินร้องไห้มาที่โต๊ะครู) : " ฮือๆ ฮือๆ "
ครู : " ร้องไห้ทำไม มาลี ? "
ด.ญ. มาลี (ชี้ไปที่เพื่อน ) : " จรัสพร หยิบยางลบหนูไปค่ะ "
ครู : อ่าว-- จรัสพร คืนยางลบให้มาลีเค้า "
ด.ญ. จรัสพร : " ไม่ค่ะ
- มาลีเอาลูกยาหมู (ผลฝรั่งพื้นบ้าน) ของหนูไปลูกนึงค่ะ "
ครู : " จริงมั้ยมาลี ?
( มาลีพยักหน้ารับ )
งั้นเธอก็คืนลูกยาหมูให้จรัสพร "
ด.ญ. มาลี : " ฮือ ๆ
-หนูกินหมดแล้วค่ะ "
ดญ.จรัสพร ( กรีดร้องทันที ) : " ฮื๊อออออ ! ---- ฮือๆๆๆ !!!
พลางกำยางลบไว้แน่น
เด็กหญิงทั้งสองร้องไห้ไม่หยูด ต่างคนต่างไม่ยอมความ
จนคุณครูทนไม่ไหว --
เอามือที่กุมหน้าผากตัวเองออก เดินไปที่กลางห้อง
เพื่อตัดสินคดีแพ่งนี้
" พอ ๆ ---
หยุดร้องไห้ ทั้งสองคนเลย "
เด็กทั้งสองรีบเช็ดน้ำตา หยุดร้องไห้
และเพื่อนๆ ในห้องก็พากันเงียบ
รอฟังคำครู
" ฟังครูนะ --
ยางลบแท่งนึง -- ( ชี้ไปที่มาลี)
กับลูกยาหมูลูกนึง -- ( ชี้มาที่จรัสพร)
ครูว่า- หลุดกันละมั้ง ? "
( " ฟังครูนะ --
ยางลบแท่งนึง
กับลูกฝรั่งลูกนึง
ครูว่า --ก็หายกันนะ ? " )
อือม์ --ถึงแม้คุณครูพูดกลาง แบบลืมปรับเปลี่ยนคำใต้
จาก-หลุดกัน เป็น-หายกัน แต่เด็กๆ ก็เข้าใจ
ไม่ได้มีปัญหา เหมือน " แท่ง "