"The brain sees what it wants to see."
เกริ่นก่อนเข้าเรื่อง
เปิดมาก็เข้าเรื่องเลยก็แล้วกัน เราขอบอกว่าปกติไม่ใช่คนชอบดูหนังผี
ไม่ค่อยเสพ ไม่ค่อยขา-- (เดี๋ยว!) แต่มักจะโดนเพื่อนหลอกไปดูอยู่บ่อย ๆ
บ่อย ๆ ที่ว่าก็คือ 2 เรื่อง-- (นี่เรอะบ่อย! แต่สำหรับคนไม่ดูอย่างเรามันก็เยอะแล้วนา...)
ประเด็นก็คือไอ้ 2 เรื่องที่ว่ามันดั๊นนนนนนเป็นเรื่อง Babadook กับ The Boy (บะบริงเดอะบอยเอาท์--)
ซึ่งตอนดูจบก็แทบจะตะโกนออกมาว่า "โอ๊ยยยย (ผู้กำกับหนัง) 'ผี' หลอก!!!!" ทั้งสองเรื่องเลย
แต่ถามว่าชอบไหม ก็ไม่ได้เกลียดหรือโกรธอะไรนะ เขาก็ทำมาไม่เลวร้ายอะไร แค่รู้สึกเหมือนถูกหักหลังหน่อย ๆ
หลังจากนั้นก็ไม่ได้สนใจจะดูหนังแนวนี้อีก แต่ก็ได้แว่บ ๆ เข้าไปดู A Quiet Place เพราะกระแสดีมาก ๆ และก็ไม่ทำให้ผิดหวัง
พอได้ข่าว Ghost Stories ที่ลงฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์และได้กระแสตอบรับท่วมท้นจะเข้าฉายในไทย
เราจึงฮึบ ๆ กับตัวเองว่า "ลองไปดูหน่อยจะเป็นไรไปว้า"
เอาละ ประเด็นที่แท้จริงมันอยู่ตรงนี้...
คือคุณมาร์ติน ฟรีแมน (Martin Freeman) ที่ในเรื่องเล่นเป็นไมค์ พริดเดิล คือเมนของดิฉันเองค่ะ
พอรู้ข่าวว่าคุณเขาจะเล่นหนังหรือซีรีส์อะไรเราก็จะสนใจตามข่าวเป็นพิเศษ พอได้รู้ว่าคุณเขาเล่น "หนังผี" เท่านั้นล่ะ...
เราก็ไปฟังเรื่องผีมารัว ๆ เพื่อพยายามกลบความกลัวของตัวเอง ก๊ากกก ยังไงก็ต้องดู!
ส่วนการตามแคมเปญโปรโมตก็ทำให้เราเห็นอะไรตลก ๆ
เพราะคนรับสารไม่เก็ต "สาร" ที่คนส่งสาร (ผู้กำกับและทีมงาน) ต้องการจะสื่อ
ตัวอย่างเช่น
ซึ่งเราว่าการโปรโมตหนังเรื่องนี้ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะทีมงานต้องการ "ชักนำ" ความคิดของเรา
ตามที่หนังต้องการจะสื่อและบอกเราอ้อม ๆ ว่า "The brain sees what it wants to see"
หรือ "สมองจะเห็นในสิ่งที่มันอยากเห็น"
(ภาพจากคลิป
You Can't See This (MIND TRICKS) )
แม้จะสลับตัวอักษร ปิดตัวอักษรบางตัว กลับหัวตัวอักษรบางตัว แต่คนเราก็ยังอ่านประโยคเหล่านั้นได้อย่างไหลลื่น
เป็นเพราะ "สมองจะเห็นในสิ่งที่มันอยากเห็น" เท่านั้น
สมองจะเดา "รูปแบบ" ของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น จนเรียกได้ว่าเป็นระบบอัตโนมัติ ทำไปโดยไม่ต้องคิด
ในหนังเรื่องนี้ก็เช่นกัน โปรโมตมาซะสนั่นว่าเป็น "หนังผี" เวลาคนเข้าไปดูก็คงจดจ่ออยู่แต่กับว่า "ผี" จะออกมาเมื่อไหร่
โดยลืมมองจุดเล็ก ๆ ที่ใส่มา จะว่าสำคัญก็ไม่ ไม่สำคัญหรือก็ไม่ใช่
เช่น ตัวเลขที่วาบผ่านบนจอเร็ว ๆ, ตัวเลขของสถานที่, ภาพของคนสวมเสื้อฮู้ด (ที่ปรากฏขึ้นบ่อย ๆ จนนึกไปเองว่าเป็นผีตามติด)
"The brain sees what it wants to see" จึงอาจเป็นประโยคที่ "หลอก" เรา
และให้ "เบาะแส" บางอย่างกับเราไปในเวลาเดียวกัน
เข้าเรื่อง
ตามที่ตัวอย่างภาพยนตร์และสื่อให้ข้อมูลกับเรา ๆ ท่าน ๆ
หนังเรื่องนี้เป็นหนังสยองขวัญที่มีตัวเดินเรื่องชื่อศ.ฟิลิป กู้ดแมน เป็นชนฟักโกสต์
ใครว่าหมอดูแม่น ไสยศาสตร์แน่ ศ.แกตามไปเปิดโปงหมดไม่เหลือ
ตัวศ.แกเองก็มีไอดอลในใจเช่นกันคือชาร์ลส์ คาเมรอน ชนฟักโกสต์รุ่นเก๋าที่ทำรายการเปิดโปงเรื่องเหนือธรรมชาติมาก่อน
แล้ววันหนึ่งชาร์ลส์ คาเมรอน ก็ส่งเทปเสียงมาให้แก ในนั้นบันทึกเสียงให้ช่วยไปพิสูจน์ 3 เคสสยองที่หาคำตอบไม่ได้
เคส 01 รปภ.กะดึกกับซากรพ.จิตเวชสตรีร้าง
เคส 02 เด็กหนุ่มวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่ขับรถไปประสบอุบัติเหตุ
เคส 03 อดีตนายธนาคารผู้ร่ำรวยที่เฝ้ารอลูกคนแรกอยู่ที่บ้านหลังงาม
แต่ใครจะรู้ว่ายิ่งขุดหาความจริงของ 3 เคสนี้ลึกลงเท่าไหร่
สิ่งลึกลับบางอย่างก็ยิ่งตามติดศ.ฟิลิป กู้ดแมน มากขึ้นเท่านั้น
เมื่อเข้าโรงไปดู รอบที่ได้ก็ยิ่งชวนระทึก คือ 20.00 น. ดีที่หนังไม่นาน ราว 100 นาทีเท่านั้น
และผู้ชมนั่งกันเต็มโรง ถือว่าอุ่นใจได้ ไม่กรี๊ดเพียงลำพังแน่นอน
ส่วนตัวชอบตั้งแต่ฉากขึ้นโปรดักชั่นต่าง ๆ เสียงใน BG เป็นเสียงหอบหายใจปนกับเสียงน้ำหยด
ทุกคนสะดุ้งพร้อมกันในฉากที่ชื่อเรื่อง GHOST STORIES ปรากฏตู้ม! ขึ้นกลางจอ
ช่วงแรกของหนัง (นับองก์ไม่เป็นอะ...ขอโทษนะคะ) เป็นการปูข้อมูลส่วนตัวของศ.ฟิลิป กู้ดแมน
บรรพบุรุษเป็นชาวยิว ฟิล์มเก่า ๆ ฉายภาพพิธีบาร์มิตซวาห์ของตัวศ.เอง
ครอบครัวประกอบด้วยพ่อ แม่ พี่สาว และตัวศ. ดูจากการกระทำของพ่อแล้ว น่าจะเป็นคนเคร่งศาสนาอย่างมาก
ภาพที่เห็นอาจทำให้หลาย ๆ คนคิดว่าที่ศ.กลายเป็นชนฟักโกสต์นั้น
อาจเป็นเพราะศาสนาและความเชื่อของพ่อทำให้ครอบครัวแตกแยก
(คาดว่าพี่สาวน่าจะหนีออกจากบ้านไป และดูความสัมพันธ์แล้วศ.น่าจะสนิทกับพี่สาวที่สุดในบ้าน)
ทั้งนี้ตัวศ.แกเคารพชาร์ลส์ คาเมรอน ซึ่งเป็นคนทำรายการเปิดโปงสิ่งเหล่านี้มาก่อน
แต่จู่ ๆ ก็หายตัวไปจน ศ.แกแซวว่า
"กลายเป็นหนึ่งในปริศนาไปซะเอง"
แล้ววันหนึ่งศ.ฟิลิปก็ได้รับเทปคาสเซ็ตต์บันทึกเสียงจากชาร์ลส์ ระบุให้ไปหา ณ ที่ที่หนึ่ง
[หลายคนอาจจะเห็นแว่บ ๆ ว่าบนเครื่องเล่นเทปมีเหมือนกลิตเตอร์ติดไว้ ด้วยความบังเอิญก็ไปพบใน IMDb ว่า
Esther (เอสเธอร์) เป็นชื่อของพี่สาวศ.ฟิลิป เรียกได้ว่าเธอน่าจะเป็นผู้ที่อยู่ในหัวใจของน้องชายคนนี้มาเสมอ]
สำหรับคนที่ตามหนังไม่ทัน เนื่องจากการดำเนินเรื่องที่รวดเร็ว
"เบาะแส" ที่ถูกใส่มาตลอดทั้งเรื่องตั้งแต่ต้นจนขมวดปมจบอาจหลุดรอดสายตาไป
หลังจากไปฟาดรอบที่ 3 มาเมื่อคืน //ยังคงสะดุ้งกับฉากหลอก
สรุปประเด็นคร่าว ๆ ได้ประมาณนี้ค่ะ ส่วนหนึ่งเกิดจากการมโนล้วน
ลองดึงนู่นนี่มาปะติดปะต่อกัน ใครเห็นต่างเห็นเพิ่มตรงไหนช่วยมาเสริมก็ดีค่ะ
คุยกันจากหลาย ๆ มุมน่าจะได้อะไรมากขึ้น
- หน้าต่างที่เห็นในช่วงคั่นฉากบ่อย ๆ ฉลาดใช้เพื่อทำให้คนดู put guards down
และเพื่อบอกกลาย ๆ ว่าฟิลิปครึ่งหลับครึ่งตื่น ตอนเห็นหน้าต่าง=ตื่น
- 3 เคส คือสิ่งที่เคยเป็น สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่คาดหวังแต่กลับพังทลาย
1.ยาม คิดว่าคำพูดของยามที่พูดหยอกคือสิ่งที่เกิดจริง
ฟิลิปน่าจะจนแต้มจนต้องลดตัวไปทำงานยามมาก่อน?
หรือไม่ก็เกิดจากการมองเหยียดตัวเอง
2.เด็กมีปัญหา น่าจะเป็นชีวิตในวัยเด็กของฟิลิป บ้านที่ไม่เหมือนบ้าน
การควบคุมน่าอึดอัด ตามจดจ้องทุกฝีก้าว พ่อแม่แท้จริงเย็นชา
ส่วนปีศาจที่ตัดหน้ารถเราเปรียบเป็น coming of age ด้านเซ็กซ์?
ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปแต่ก็กลัวว่าจะเป็นความผิด กังวลว่าจะถูกเปิดโปง
3.ร่ำรวยแต่ล้มเหลว ฟิลิปน่าจะหวังอยากเป็นแบบนั้น อยากจะมีเงินทอง บ้านหรู ภรรยา ลูก
แต่ในขณะเดียวกันก็นึกเหยียดคนที่มีพร้อมด้วย (ใจริษยา) แถมอยากจะกล้าอมปากกระบอกปืนตอนฆ่าตัวตายเหมือนกัน
แต่ก็กลัว (อย่างที่เห็นตอนเคส 3)
- เรื่องเมียและลูก ชาร์ลส์ คาเมรอน บอกว่า 'เก็บคำหวานไปพูดกับลูกเมียเถอะ ผิดคาดนะที่คุณยังไม่แต่งงาน'
ส่วนในเคส 1 ก็เมียหลวงตาย มีเมียน้อย เมียน้อยมีลูกสาว ลูกสาวชื่อมาร์นี่ (ถ้าลูกชายจะให้ชื่อนอร์แมน เคารพฮิตช์ค็อก)
เป็นอัมพาต แล้วเมียน้อยล่ะ? (เหมือนจะบอกแต่เราจำไม่ได้)
เคส 3 เมียชื่อมาเรีย ตายตอนคลอดลูกชายชื่อบาร์ตี้ คาดว่าตัวฟิลิปน่าจะมีเมียแต่ไม่ได้แต่งงาน
และไม่แน่ใจว่าเมียตายตอนคลอดลูกหรือเปล่า แต่น่าจะไม่เคยเห็นลูก
เพราะเรื่องทั้งหมดทำให้รู้สึกว่าไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเด็กเพศอะไร
(เรื่องเคารพฮิตช์ค็อกน่าจะเพราะดูหนังผีเยอะตามสไตล์วัยรุ่นช่วงยุคนั้น)
- ตัวเลข เป็นตัวเลข 9 ตัว ที่เด็กอันธพาลบอกว่ามี 10 ตัว ที่เห็นชัดและเห็นบ่อยคือ 79, 92, 20
โรงแรมที่ไปหายามในเคส 1 ชื่อ the 10th number ตรงกับจำนวนเลข 10 ตัวในอุโมงค์ที่มีจริงแค่ 9
กระดานติดประกาศในทางเดินที่นำไปหายามมีเลข 5 ใน 9 ตัว
รถบ้านของชาร์ลส์ คาเมรอนเลขที่ 79 ตอนจอดรถก่อนไปบ้านชาร์ลส์ บังกะโลเช่าด้านหลังมีเลข 4 ตัวพ่นไว้
วอร์ดร้างที่ยามเฝ้าเห็นเลข 79 กับ 92 ชัดมาก รวมทั้งตัวอักษรและเลข NF81 จากหน้าอุโมงค์ด้วย
ในเคส 2 บ้านของไซมอนเลขที่ 20
- นกและซากนก คิดว่าคัลลาฮาน (ไอ้โล้น) คือนกในสายตาของฟิลิป
ทั้งที่มีชีวิตอิสระกลับต้องมาตายโง่ ๆ เพราะการกระทำของเด็กอันธพาลและความกลัวของตัวเอง
ซากนกที่เด็กอันธพาลจับใส่หน้าเพื่อน นกที่บินชนกระจกรพ. นกในรพ.จิตเวชร้าง
ซากนกตาย=จินตนาการซากคัลลาฮานในท่อ
เด็กผญ.ในเคส 1 และเมียของไมค์น่าจะเกิดจากการจินตนาการถึงความเน่าเปื่อยของศพเช่นกัน
- ตุ๊กตาเด็กผญ.ชุดเหลือง ปรากฏแค่ในเคส 1 และ 3 เพราะเป็นบทบาท 'พ่อ' ทั้งสองเคส
แต่เคส 3 'ลูก' เป็นเด็กผู้ชาย แต่ทำไมมีตุ๊กตาเด็กผญ.ในเปล?
อันนี้โยงเข้าความสับสนเพศของลูกที่ไม่เคยเจอหน้าของฟิลิปได้
หรือจะเพราะมีตุ๊กตาเด็กผญ.ชุดเหลืองบนเก้าอี้ในห้องคนไข้ฟิลิปก็ได้
เพราะความไม่เคยเป็นพ่อคนทำให้ไม่รู้วิธีเลี้ยงลูกหรอก
แค่อยากเตรียมให้เพอร์เฟ็กต์อย่างใจคิดเท่านั้นเอง
- การที่ฟิลิปพยายามหาหลักฐานเรื่องราวต่าง ๆ ว่าผีไม่มีจริงก็เพราะอยากจะ
ลบล้างความกลัวในจิตใจตัวเองเรื่องคัลลาฮานมากที่สุด
เพราะกลัวว่าตัวเองจะต้องเผชิญผลแห่งการกระทำละเลยของตัวเอง
และพอถึงจุดจุดหนึ่งชีวิตมันน่าจะบัดซบเกินทนไหว
(ไม่รู้ว่าเพราะความเชื่อตัวเองสั่นคลอนและลูกเมียตายพร้อมกันด้วยหรือเปล่า)
เลยตัดสินใจฆ่าตัวตาย แต่เวรกรรมอันใดไม่ทราบทำให้ไม่ตาย
แต่นอนครึ่งผีครึ่งคนอยู่บนเตียงได้อย่างเดียว
ส่งผลให้ 'ผี' หรือ 'ความรู้สึกผิดในใจ' ตามหลอกหลอนอยู่ไม่ห่าง
หนีไปไหนก็ไม่ได้ (ที่ร่างของคัลลาฮานนอนแนบติดขนาดนั้น)
- คนที่มาเปิดโปงเรื่องทั้งหมดคือไมค์ พริดเดิล เพราะเขาเป็นหมอที่ขานอาการของฟิลิป
เป็นคนที่เฉลยปัญหาทั้งในใจและนอกกายของฟิลิป
เพราะตั้งแต่แรก ชาร์ลส์ คาเมรอน กับไมค์ พริดเดิล ก็คือคนเดียวกันมาตลอด
คนที่ทำให้ฟิลิปตระหนักถึงสภาพความเป็นจริงของตัวเองก็คือเขานี่แหละ
แต่ที่ภาพซ้อนชาร์ลส์กับไมค์เพราะฟิลิปไม่เคยเห็นชาร์ลี คาเมรอน
เลยเอาภาพของไมค์มาซ้อนลงไปเพราะไมค์เป็นคนพูดถึงว่าเป็นอาจารย์
สมองฟิลิปเลยเติมรายละเอียดไปว่าน่าจะเป็นแบบนี้ ๆ น่าเชื่อถือ มีอายุ
เขาเป็นคนที่ 3 เคสที่ 3 ตอนไขกุญแจตู้เก็บปืนไมค์ก็บอกว่า
'ต้องเป็นกุญแจดอกสุดท้ายทุกทีที่ไขปัญหาได้'
ที่สุดท้ายชาร์ลส์ คาเมรอน กระชากหน้ากากออกมาเป็นไมค์ พริดเดิล
ก็เหมือนกับจะบอกย้ำเรื่องที่ฟิลิปมองซ้อนภาพกันระหว่างสองคนนี้
แต่ตัวไมค์คือภาพที่ชัดเจนกว่าเพราะเจอจริง ๆ ต่างกับชาร์ลีที่ไม่เคยเจอ
[(Spoils) Ghost Stories] สิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้นคือ "ความกลัว" ของตัวเอง.
เกริ่นก่อนเข้าเรื่อง
เปิดมาก็เข้าเรื่องเลยก็แล้วกัน เราขอบอกว่าปกติไม่ใช่คนชอบดูหนังผี
ไม่ค่อยเสพ ไม่ค่อยขา-- (เดี๋ยว!) แต่มักจะโดนเพื่อนหลอกไปดูอยู่บ่อย ๆ
บ่อย ๆ ที่ว่าก็คือ 2 เรื่อง-- (นี่เรอะบ่อย! แต่สำหรับคนไม่ดูอย่างเรามันก็เยอะแล้วนา...)
ประเด็นก็คือไอ้ 2 เรื่องที่ว่ามันดั๊นนนนนนเป็นเรื่อง Babadook กับ The Boy (บะบริงเดอะบอยเอาท์--)
ซึ่งตอนดูจบก็แทบจะตะโกนออกมาว่า "โอ๊ยยยย (ผู้กำกับหนัง) 'ผี' หลอก!!!!" ทั้งสองเรื่องเลย
แต่ถามว่าชอบไหม ก็ไม่ได้เกลียดหรือโกรธอะไรนะ เขาก็ทำมาไม่เลวร้ายอะไร แค่รู้สึกเหมือนถูกหักหลังหน่อย ๆ
หลังจากนั้นก็ไม่ได้สนใจจะดูหนังแนวนี้อีก แต่ก็ได้แว่บ ๆ เข้าไปดู A Quiet Place เพราะกระแสดีมาก ๆ และก็ไม่ทำให้ผิดหวัง
พอได้ข่าว Ghost Stories ที่ลงฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์และได้กระแสตอบรับท่วมท้นจะเข้าฉายในไทย
เราจึงฮึบ ๆ กับตัวเองว่า "ลองไปดูหน่อยจะเป็นไรไปว้า"
เอาละ ประเด็นที่แท้จริงมันอยู่ตรงนี้...
คือคุณมาร์ติน ฟรีแมน (Martin Freeman) ที่ในเรื่องเล่นเป็นไมค์ พริดเดิล คือเมนของดิฉันเองค่ะ
พอรู้ข่าวว่าคุณเขาจะเล่นหนังหรือซีรีส์อะไรเราก็จะสนใจตามข่าวเป็นพิเศษ พอได้รู้ว่าคุณเขาเล่น "หนังผี" เท่านั้นล่ะ...
เราก็ไปฟังเรื่องผีมารัว ๆ เพื่อพยายามกลบความกลัวของตัวเอง ก๊ากกก ยังไงก็ต้องดู!
ส่วนการตามแคมเปญโปรโมตก็ทำให้เราเห็นอะไรตลก ๆ
เพราะคนรับสารไม่เก็ต "สาร" ที่คนส่งสาร (ผู้กำกับและทีมงาน) ต้องการจะสื่อ
ตัวอย่างเช่น
ซึ่งเราว่าการโปรโมตหนังเรื่องนี้ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะทีมงานต้องการ "ชักนำ" ความคิดของเรา
ตามที่หนังต้องการจะสื่อและบอกเราอ้อม ๆ ว่า "The brain sees what it wants to see"
หรือ "สมองจะเห็นในสิ่งที่มันอยากเห็น"
(ภาพจากคลิป You Can't See This (MIND TRICKS) )
แม้จะสลับตัวอักษร ปิดตัวอักษรบางตัว กลับหัวตัวอักษรบางตัว แต่คนเราก็ยังอ่านประโยคเหล่านั้นได้อย่างไหลลื่น
เป็นเพราะ "สมองจะเห็นในสิ่งที่มันอยากเห็น" เท่านั้น
สมองจะเดา "รูปแบบ" ของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น จนเรียกได้ว่าเป็นระบบอัตโนมัติ ทำไปโดยไม่ต้องคิด
ในหนังเรื่องนี้ก็เช่นกัน โปรโมตมาซะสนั่นว่าเป็น "หนังผี" เวลาคนเข้าไปดูก็คงจดจ่ออยู่แต่กับว่า "ผี" จะออกมาเมื่อไหร่
โดยลืมมองจุดเล็ก ๆ ที่ใส่มา จะว่าสำคัญก็ไม่ ไม่สำคัญหรือก็ไม่ใช่
เช่น ตัวเลขที่วาบผ่านบนจอเร็ว ๆ, ตัวเลขของสถานที่, ภาพของคนสวมเสื้อฮู้ด (ที่ปรากฏขึ้นบ่อย ๆ จนนึกไปเองว่าเป็นผีตามติด)
"The brain sees what it wants to see" จึงอาจเป็นประโยคที่ "หลอก" เรา
และให้ "เบาะแส" บางอย่างกับเราไปในเวลาเดียวกัน
เข้าเรื่อง
ตามที่ตัวอย่างภาพยนตร์และสื่อให้ข้อมูลกับเรา ๆ ท่าน ๆ
หนังเรื่องนี้เป็นหนังสยองขวัญที่มีตัวเดินเรื่องชื่อศ.ฟิลิป กู้ดแมน เป็นชนฟักโกสต์
ใครว่าหมอดูแม่น ไสยศาสตร์แน่ ศ.แกตามไปเปิดโปงหมดไม่เหลือ
ตัวศ.แกเองก็มีไอดอลในใจเช่นกันคือชาร์ลส์ คาเมรอน ชนฟักโกสต์รุ่นเก๋าที่ทำรายการเปิดโปงเรื่องเหนือธรรมชาติมาก่อน
แล้ววันหนึ่งชาร์ลส์ คาเมรอน ก็ส่งเทปเสียงมาให้แก ในนั้นบันทึกเสียงให้ช่วยไปพิสูจน์ 3 เคสสยองที่หาคำตอบไม่ได้
เคส 01 รปภ.กะดึกกับซากรพ.จิตเวชสตรีร้าง
เคส 02 เด็กหนุ่มวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่ขับรถไปประสบอุบัติเหตุ
เคส 03 อดีตนายธนาคารผู้ร่ำรวยที่เฝ้ารอลูกคนแรกอยู่ที่บ้านหลังงาม
แต่ใครจะรู้ว่ายิ่งขุดหาความจริงของ 3 เคสนี้ลึกลงเท่าไหร่
สิ่งลึกลับบางอย่างก็ยิ่งตามติดศ.ฟิลิป กู้ดแมน มากขึ้นเท่านั้น
เมื่อเข้าโรงไปดู รอบที่ได้ก็ยิ่งชวนระทึก คือ 20.00 น. ดีที่หนังไม่นาน ราว 100 นาทีเท่านั้น
และผู้ชมนั่งกันเต็มโรง ถือว่าอุ่นใจได้ ไม่กรี๊ดเพียงลำพังแน่นอน
ส่วนตัวชอบตั้งแต่ฉากขึ้นโปรดักชั่นต่าง ๆ เสียงใน BG เป็นเสียงหอบหายใจปนกับเสียงน้ำหยด
ทุกคนสะดุ้งพร้อมกันในฉากที่ชื่อเรื่อง GHOST STORIES ปรากฏตู้ม! ขึ้นกลางจอ
ช่วงแรกของหนัง (นับองก์ไม่เป็นอะ...ขอโทษนะคะ) เป็นการปูข้อมูลส่วนตัวของศ.ฟิลิป กู้ดแมน
บรรพบุรุษเป็นชาวยิว ฟิล์มเก่า ๆ ฉายภาพพิธีบาร์มิตซวาห์ของตัวศ.เอง
ครอบครัวประกอบด้วยพ่อ แม่ พี่สาว และตัวศ. ดูจากการกระทำของพ่อแล้ว น่าจะเป็นคนเคร่งศาสนาอย่างมาก
ภาพที่เห็นอาจทำให้หลาย ๆ คนคิดว่าที่ศ.กลายเป็นชนฟักโกสต์นั้น
อาจเป็นเพราะศาสนาและความเชื่อของพ่อทำให้ครอบครัวแตกแยก
(คาดว่าพี่สาวน่าจะหนีออกจากบ้านไป และดูความสัมพันธ์แล้วศ.น่าจะสนิทกับพี่สาวที่สุดในบ้าน)
ทั้งนี้ตัวศ.แกเคารพชาร์ลส์ คาเมรอน ซึ่งเป็นคนทำรายการเปิดโปงสิ่งเหล่านี้มาก่อน
แต่จู่ ๆ ก็หายตัวไปจน ศ.แกแซวว่า "กลายเป็นหนึ่งในปริศนาไปซะเอง"
แล้ววันหนึ่งศ.ฟิลิปก็ได้รับเทปคาสเซ็ตต์บันทึกเสียงจากชาร์ลส์ ระบุให้ไปหา ณ ที่ที่หนึ่ง
[หลายคนอาจจะเห็นแว่บ ๆ ว่าบนเครื่องเล่นเทปมีเหมือนกลิตเตอร์ติดไว้ ด้วยความบังเอิญก็ไปพบใน IMDb ว่า
Esther (เอสเธอร์) เป็นชื่อของพี่สาวศ.ฟิลิป เรียกได้ว่าเธอน่าจะเป็นผู้ที่อยู่ในหัวใจของน้องชายคนนี้มาเสมอ]
สำหรับคนที่ตามหนังไม่ทัน เนื่องจากการดำเนินเรื่องที่รวดเร็ว
"เบาะแส" ที่ถูกใส่มาตลอดทั้งเรื่องตั้งแต่ต้นจนขมวดปมจบอาจหลุดรอดสายตาไป
หลังจากไปฟาดรอบที่ 3 มาเมื่อคืน //ยังคงสะดุ้งกับฉากหลอก
สรุปประเด็นคร่าว ๆ ได้ประมาณนี้ค่ะ ส่วนหนึ่งเกิดจากการมโนล้วน
ลองดึงนู่นนี่มาปะติดปะต่อกัน ใครเห็นต่างเห็นเพิ่มตรงไหนช่วยมาเสริมก็ดีค่ะ
คุยกันจากหลาย ๆ มุมน่าจะได้อะไรมากขึ้น
- หน้าต่างที่เห็นในช่วงคั่นฉากบ่อย ๆ ฉลาดใช้เพื่อทำให้คนดู put guards down
และเพื่อบอกกลาย ๆ ว่าฟิลิปครึ่งหลับครึ่งตื่น ตอนเห็นหน้าต่าง=ตื่น
- 3 เคส คือสิ่งที่เคยเป็น สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่คาดหวังแต่กลับพังทลาย
1.ยาม คิดว่าคำพูดของยามที่พูดหยอกคือสิ่งที่เกิดจริง
ฟิลิปน่าจะจนแต้มจนต้องลดตัวไปทำงานยามมาก่อน?
หรือไม่ก็เกิดจากการมองเหยียดตัวเอง
2.เด็กมีปัญหา น่าจะเป็นชีวิตในวัยเด็กของฟิลิป บ้านที่ไม่เหมือนบ้าน
การควบคุมน่าอึดอัด ตามจดจ้องทุกฝีก้าว พ่อแม่แท้จริงเย็นชา
ส่วนปีศาจที่ตัดหน้ารถเราเปรียบเป็น coming of age ด้านเซ็กซ์?
ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปแต่ก็กลัวว่าจะเป็นความผิด กังวลว่าจะถูกเปิดโปง
3.ร่ำรวยแต่ล้มเหลว ฟิลิปน่าจะหวังอยากเป็นแบบนั้น อยากจะมีเงินทอง บ้านหรู ภรรยา ลูก
แต่ในขณะเดียวกันก็นึกเหยียดคนที่มีพร้อมด้วย (ใจริษยา) แถมอยากจะกล้าอมปากกระบอกปืนตอนฆ่าตัวตายเหมือนกัน
แต่ก็กลัว (อย่างที่เห็นตอนเคส 3)
- เรื่องเมียและลูก ชาร์ลส์ คาเมรอน บอกว่า 'เก็บคำหวานไปพูดกับลูกเมียเถอะ ผิดคาดนะที่คุณยังไม่แต่งงาน'
ส่วนในเคส 1 ก็เมียหลวงตาย มีเมียน้อย เมียน้อยมีลูกสาว ลูกสาวชื่อมาร์นี่ (ถ้าลูกชายจะให้ชื่อนอร์แมน เคารพฮิตช์ค็อก)
เป็นอัมพาต แล้วเมียน้อยล่ะ? (เหมือนจะบอกแต่เราจำไม่ได้)
เคส 3 เมียชื่อมาเรีย ตายตอนคลอดลูกชายชื่อบาร์ตี้ คาดว่าตัวฟิลิปน่าจะมีเมียแต่ไม่ได้แต่งงาน
และไม่แน่ใจว่าเมียตายตอนคลอดลูกหรือเปล่า แต่น่าจะไม่เคยเห็นลูก
เพราะเรื่องทั้งหมดทำให้รู้สึกว่าไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเด็กเพศอะไร
(เรื่องเคารพฮิตช์ค็อกน่าจะเพราะดูหนังผีเยอะตามสไตล์วัยรุ่นช่วงยุคนั้น)
- ตัวเลข เป็นตัวเลข 9 ตัว ที่เด็กอันธพาลบอกว่ามี 10 ตัว ที่เห็นชัดและเห็นบ่อยคือ 79, 92, 20
โรงแรมที่ไปหายามในเคส 1 ชื่อ the 10th number ตรงกับจำนวนเลข 10 ตัวในอุโมงค์ที่มีจริงแค่ 9
กระดานติดประกาศในทางเดินที่นำไปหายามมีเลข 5 ใน 9 ตัว
รถบ้านของชาร์ลส์ คาเมรอนเลขที่ 79 ตอนจอดรถก่อนไปบ้านชาร์ลส์ บังกะโลเช่าด้านหลังมีเลข 4 ตัวพ่นไว้
วอร์ดร้างที่ยามเฝ้าเห็นเลข 79 กับ 92 ชัดมาก รวมทั้งตัวอักษรและเลข NF81 จากหน้าอุโมงค์ด้วย
ในเคส 2 บ้านของไซมอนเลขที่ 20
- นกและซากนก คิดว่าคัลลาฮาน (ไอ้โล้น) คือนกในสายตาของฟิลิป
ทั้งที่มีชีวิตอิสระกลับต้องมาตายโง่ ๆ เพราะการกระทำของเด็กอันธพาลและความกลัวของตัวเอง
ซากนกที่เด็กอันธพาลจับใส่หน้าเพื่อน นกที่บินชนกระจกรพ. นกในรพ.จิตเวชร้าง
ซากนกตาย=จินตนาการซากคัลลาฮานในท่อ
เด็กผญ.ในเคส 1 และเมียของไมค์น่าจะเกิดจากการจินตนาการถึงความเน่าเปื่อยของศพเช่นกัน
- ตุ๊กตาเด็กผญ.ชุดเหลือง ปรากฏแค่ในเคส 1 และ 3 เพราะเป็นบทบาท 'พ่อ' ทั้งสองเคส
แต่เคส 3 'ลูก' เป็นเด็กผู้ชาย แต่ทำไมมีตุ๊กตาเด็กผญ.ในเปล?
อันนี้โยงเข้าความสับสนเพศของลูกที่ไม่เคยเจอหน้าของฟิลิปได้
หรือจะเพราะมีตุ๊กตาเด็กผญ.ชุดเหลืองบนเก้าอี้ในห้องคนไข้ฟิลิปก็ได้
เพราะความไม่เคยเป็นพ่อคนทำให้ไม่รู้วิธีเลี้ยงลูกหรอก
แค่อยากเตรียมให้เพอร์เฟ็กต์อย่างใจคิดเท่านั้นเอง
- การที่ฟิลิปพยายามหาหลักฐานเรื่องราวต่าง ๆ ว่าผีไม่มีจริงก็เพราะอยากจะ
ลบล้างความกลัวในจิตใจตัวเองเรื่องคัลลาฮานมากที่สุด
เพราะกลัวว่าตัวเองจะต้องเผชิญผลแห่งการกระทำละเลยของตัวเอง
และพอถึงจุดจุดหนึ่งชีวิตมันน่าจะบัดซบเกินทนไหว
(ไม่รู้ว่าเพราะความเชื่อตัวเองสั่นคลอนและลูกเมียตายพร้อมกันด้วยหรือเปล่า)
เลยตัดสินใจฆ่าตัวตาย แต่เวรกรรมอันใดไม่ทราบทำให้ไม่ตาย
แต่นอนครึ่งผีครึ่งคนอยู่บนเตียงได้อย่างเดียว
ส่งผลให้ 'ผี' หรือ 'ความรู้สึกผิดในใจ' ตามหลอกหลอนอยู่ไม่ห่าง
หนีไปไหนก็ไม่ได้ (ที่ร่างของคัลลาฮานนอนแนบติดขนาดนั้น)
- คนที่มาเปิดโปงเรื่องทั้งหมดคือไมค์ พริดเดิล เพราะเขาเป็นหมอที่ขานอาการของฟิลิป
เป็นคนที่เฉลยปัญหาทั้งในใจและนอกกายของฟิลิป
เพราะตั้งแต่แรก ชาร์ลส์ คาเมรอน กับไมค์ พริดเดิล ก็คือคนเดียวกันมาตลอด
คนที่ทำให้ฟิลิปตระหนักถึงสภาพความเป็นจริงของตัวเองก็คือเขานี่แหละ
แต่ที่ภาพซ้อนชาร์ลส์กับไมค์เพราะฟิลิปไม่เคยเห็นชาร์ลี คาเมรอน
เลยเอาภาพของไมค์มาซ้อนลงไปเพราะไมค์เป็นคนพูดถึงว่าเป็นอาจารย์
สมองฟิลิปเลยเติมรายละเอียดไปว่าน่าจะเป็นแบบนี้ ๆ น่าเชื่อถือ มีอายุ
เขาเป็นคนที่ 3 เคสที่ 3 ตอนไขกุญแจตู้เก็บปืนไมค์ก็บอกว่า
'ต้องเป็นกุญแจดอกสุดท้ายทุกทีที่ไขปัญหาได้'
ที่สุดท้ายชาร์ลส์ คาเมรอน กระชากหน้ากากออกมาเป็นไมค์ พริดเดิล
ก็เหมือนกับจะบอกย้ำเรื่องที่ฟิลิปมองซ้อนภาพกันระหว่างสองคนนี้
แต่ตัวไมค์คือภาพที่ชัดเจนกว่าเพราะเจอจริง ๆ ต่างกับชาร์ลีที่ไม่เคยเจอ