จุดเด่นที่ทำให้พระพุทธศาสนาต่างจากศาสนาเทวนิยมอื่นๆ ในโลกนี้:
๑.พระพุทธศาสนาปฏิเสธว่ามีผู้สร้างโลก ถือว่าความเชื่อนี้ไร้สาระ ตรงข้าม โลกนี้ประกอบขึ้นจากเหตุปัจจัยต่างๆ จึงมีขึ้นมา
๒.พระพุทธศาสนาไม่ใช่ระบบความเชื่อที่ควรใช้คำว่า Religion เพราะศัพท์นี้หมายถึงต้องมีความเชื่อในพระเจ้าผู้สร้างโลก
๓.จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาคือละกิเลสได้หมดแล้วหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือวัฏฏสงสาร
ไม่ใช่ไปเกิดบนสวรรค์
๔.พระพุทธเจ้าไม่ใช่ผู้ปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้รอด สรรพสัตว์ต้องช่วยตนเองเพื่อหลุดพ้นจากกิเลสและวัฏฏสงสาร
๕.ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธเจ้าและสาวกคือครูผู้สอนและลูกศิษย์ ไม่ใช่ตัวแทนพระเจ้าและทาสผู้รับใช้
๖.พระพุทธเจ้าไม่เคยให้สาวกใช้ความเชื่อโดยปราศจากปัญญามานับถือ ตรงข้ามทรงสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาคำสอนก่อนจะเชื่อ
และผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าต้องปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นด้วยตนเอง ไม่มีใครช่วยทำให้หลุดพ้นได้นอกจากให้แค่แนะนำ
๗.คำสอนพระพุทธเจ้าเป็นสัจธรรมประจำโลก พระพุทธเจ้าทรงเป็นแต่เพียงผู้ค้นพบเท่านั้น พระองค์ไม่ใช่เป็นคนสร้างคำสอนขึ้นมา
๘.นรกในพระพุทธศาสนาไม่ใช่สถานที่กักขังสัตว์อย่างนิรันดร์ บุคคลทำบาปแล้วไปเกิดในนรกโลก เมื่อพ้นกรรมแล้ว
ก็สามารถกลับไปเกิดในภพที่ดีกว่าได้
๙.พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนแนวคิดเรื่องบาปติดตัวเหมือนที่ศาสนาเทวนิยมสอน แต่สอนเรื่องกฎแห่งกรรม ซึ่งมีทั้งดีและชั่ว
๑๐.พระพุทธศาสนาสอนว่าสัตว์ทุกชีวิตมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้ ข้อสำคัญก็คือต้องใช้ความพยายาม
ในการปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสให้พ้นไปจากจิตใจ พระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นมนุษยสามัญธรรมดาที่หลุดพ้นจากทุกข์ได้เพราะการปฏิบัติ
๑๑.กฎแห่งกรรมเป็นตัวอธิบายว่าเหตุใดคนถึงเกิดมาแตกต่างกัน กฎแห่งกรรมเป็นตัวอธิบายถึงภพภูมิที่สัตว์พากันไปเกิด
๑๒.พระพุทธศาสนาเน้นให้แผ่เมตตากรุณาไปยังสรรพสัตว์ ให้พ้นจากการฆ่าสัตว์ทุกชนิด
ไม่มีสัตว์ใดเกิดมาเป็นอาหารให้คนอื่นฆ่าเพื่อกิน แม้ว่าชาวพุทธจำนวนมากจะกินอาหารมังสวิรัติ แต่ก็ไม่มีพุทธวจนะใดบังคับ
๑๓.ธรรมะของพระพุทธเจ้าเสมือนแพ หลังจากบำเพ็ญเพียรจนดับทุกข์ได้แล้วจะอยู่เหนือบุญและบาป
ธรรมะทั้งปวงจะต้องไม่เป็นอารมณ์ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
๑๔.ไม่มีสงครามศักดิ์สิทธิ์ในทรรศนะพระพุทธศาสนา การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไม่ว่าฆ่าด้วยเหตุใด
ผู้ฆ่าจะต้องรับกรรมทั้งสิ้น การฆ่าในนามศาสนายิ่งกระทำมิได้ในพระพุทธศาสนา
๑๕.พระพุทธเจ้าตรัสว่ากำเนิดสังสารวัฏไม่มีเบื้องต้นและที่สุดถ้าหากสัตว์ยังดำเนินชีวิตไปตามอำนาจกิเลส
๑๖.พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู แต่พระพุทธเจ้ามิใช่เทพเจ้าผู้ทรงมีอำนาจล้นฟ้า
ดลบันดาลสร้างธรรมชาติต่างๆ ขึ้นมา
๑๗.การฝึกสมาธิสำคัญมากในพระพุทธศาสนา แม้ว่าศาสนาอื่นๆ อาจจะมีสอนให้คนมีสมาธิ
แต่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่สอนไปถึงระดับวิปัสสนาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รู้แจ้งได้
๑๘.หลักคำสอนเรื่องศุนยตา (สุญญตา) เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในพระพุทธศาสนา ถือเป็นคำสอนระดับสูงของพระพุทธศาสนาด้วย
เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนอยู่แท้จริง มีแต่ปัจจัยส่งเสริมกันและกันให้เกิด สรรพสิ่งในโลกจึงตกอยู่ในภาวะอนิจจัง
ทุกขังและอนัตตาเหมือนกันหมด พระพุทธศาสนาจึงไม่สุดโต่งไปข้างสัสสตทิฏฐิ (Eternalism)
ตามแนวศาสนาประเภทเทวนิยมหรืออุจเฉททิฏฐิ (Nihilism) ตามแนววัตถุนิยม
๑๙.วัฏจักรหรือสังสารวัฏเป็นศูนย์กลางคำสอนในพระพุทธศาสนา ตราบใดที่สรรพสัตว์ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส
ก็จะเวียนว่ายตายเกิดไปตามภพภูมิต่างๆ ตามแรงเหวี่ยงของกรรม ไม่มีวันสิ้นสุด
ทุกคนจึงต้องช่วยตนเองเพื่อพัฒนาไตรสิกขาให้หลุดพ้นจากโลภะ โทสะและโมหะ
หรืออวิชชา เพื่อทำลายระบบสังสารวัฏให้หมดสิ้นไป
---
ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
สรุปความและเรียบเรียงเพิ่มเติมจากเวปไซต์ข้างล่าง
http://www.peacefuloflife.com/2016/11/19-differences-between-buddhism-and.html
จุดเด่นที่ทำให้พระพุทธศาสนาต่างจากศาสนาเทวนิยมอื่นๆ ในโลกนี้
๑.พระพุทธศาสนาปฏิเสธว่ามีผู้สร้างโลก ถือว่าความเชื่อนี้ไร้สาระ ตรงข้าม โลกนี้ประกอบขึ้นจากเหตุปัจจัยต่างๆ จึงมีขึ้นมา
๒.พระพุทธศาสนาไม่ใช่ระบบความเชื่อที่ควรใช้คำว่า Religion เพราะศัพท์นี้หมายถึงต้องมีความเชื่อในพระเจ้าผู้สร้างโลก
๓.จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาคือละกิเลสได้หมดแล้วหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือวัฏฏสงสาร
ไม่ใช่ไปเกิดบนสวรรค์
๔.พระพุทธเจ้าไม่ใช่ผู้ปลดปล่อยสรรพสัตว์ให้รอด สรรพสัตว์ต้องช่วยตนเองเพื่อหลุดพ้นจากกิเลสและวัฏฏสงสาร
๕.ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธเจ้าและสาวกคือครูผู้สอนและลูกศิษย์ ไม่ใช่ตัวแทนพระเจ้าและทาสผู้รับใช้
๖.พระพุทธเจ้าไม่เคยให้สาวกใช้ความเชื่อโดยปราศจากปัญญามานับถือ ตรงข้ามทรงสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาคำสอนก่อนจะเชื่อ
และผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าต้องปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นด้วยตนเอง ไม่มีใครช่วยทำให้หลุดพ้นได้นอกจากให้แค่แนะนำ
๗.คำสอนพระพุทธเจ้าเป็นสัจธรรมประจำโลก พระพุทธเจ้าทรงเป็นแต่เพียงผู้ค้นพบเท่านั้น พระองค์ไม่ใช่เป็นคนสร้างคำสอนขึ้นมา
๘.นรกในพระพุทธศาสนาไม่ใช่สถานที่กักขังสัตว์อย่างนิรันดร์ บุคคลทำบาปแล้วไปเกิดในนรกโลก เมื่อพ้นกรรมแล้ว
ก็สามารถกลับไปเกิดในภพที่ดีกว่าได้
๙.พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนแนวคิดเรื่องบาปติดตัวเหมือนที่ศาสนาเทวนิยมสอน แต่สอนเรื่องกฎแห่งกรรม ซึ่งมีทั้งดีและชั่ว
๑๐.พระพุทธศาสนาสอนว่าสัตว์ทุกชีวิตมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้ ข้อสำคัญก็คือต้องใช้ความพยายาม
ในการปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสให้พ้นไปจากจิตใจ พระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นมนุษยสามัญธรรมดาที่หลุดพ้นจากทุกข์ได้เพราะการปฏิบัติ
๑๑.กฎแห่งกรรมเป็นตัวอธิบายว่าเหตุใดคนถึงเกิดมาแตกต่างกัน กฎแห่งกรรมเป็นตัวอธิบายถึงภพภูมิที่สัตว์พากันไปเกิด
๑๒.พระพุทธศาสนาเน้นให้แผ่เมตตากรุณาไปยังสรรพสัตว์ ให้พ้นจากการฆ่าสัตว์ทุกชนิด
ไม่มีสัตว์ใดเกิดมาเป็นอาหารให้คนอื่นฆ่าเพื่อกิน แม้ว่าชาวพุทธจำนวนมากจะกินอาหารมังสวิรัติ แต่ก็ไม่มีพุทธวจนะใดบังคับ
๑๓.ธรรมะของพระพุทธเจ้าเสมือนแพ หลังจากบำเพ็ญเพียรจนดับทุกข์ได้แล้วจะอยู่เหนือบุญและบาป
ธรรมะทั้งปวงจะต้องไม่เป็นอารมณ์ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
๑๔.ไม่มีสงครามศักดิ์สิทธิ์ในทรรศนะพระพุทธศาสนา การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไม่ว่าฆ่าด้วยเหตุใด
ผู้ฆ่าจะต้องรับกรรมทั้งสิ้น การฆ่าในนามศาสนายิ่งกระทำมิได้ในพระพุทธศาสนา
๑๕.พระพุทธเจ้าตรัสว่ากำเนิดสังสารวัฏไม่มีเบื้องต้นและที่สุดถ้าหากสัตว์ยังดำเนินชีวิตไปตามอำนาจกิเลส
๑๖.พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู แต่พระพุทธเจ้ามิใช่เทพเจ้าผู้ทรงมีอำนาจล้นฟ้า
ดลบันดาลสร้างธรรมชาติต่างๆ ขึ้นมา
๑๗.การฝึกสมาธิสำคัญมากในพระพุทธศาสนา แม้ว่าศาสนาอื่นๆ อาจจะมีสอนให้คนมีสมาธิ
แต่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่สอนไปถึงระดับวิปัสสนาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รู้แจ้งได้
๑๘.หลักคำสอนเรื่องศุนยตา (สุญญตา) เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในพระพุทธศาสนา ถือเป็นคำสอนระดับสูงของพระพุทธศาสนาด้วย
เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนอยู่แท้จริง มีแต่ปัจจัยส่งเสริมกันและกันให้เกิด สรรพสิ่งในโลกจึงตกอยู่ในภาวะอนิจจัง
ทุกขังและอนัตตาเหมือนกันหมด พระพุทธศาสนาจึงไม่สุดโต่งไปข้างสัสสตทิฏฐิ (Eternalism)
ตามแนวศาสนาประเภทเทวนิยมหรืออุจเฉททิฏฐิ (Nihilism) ตามแนววัตถุนิยม
๑๙.วัฏจักรหรือสังสารวัฏเป็นศูนย์กลางคำสอนในพระพุทธศาสนา ตราบใดที่สรรพสัตว์ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส
ก็จะเวียนว่ายตายเกิดไปตามภพภูมิต่างๆ ตามแรงเหวี่ยงของกรรม ไม่มีวันสิ้นสุด
ทุกคนจึงต้องช่วยตนเองเพื่อพัฒนาไตรสิกขาให้หลุดพ้นจากโลภะ โทสะและโมหะ
หรืออวิชชา เพื่อทำลายระบบสังสารวัฏให้หมดสิ้นไป
---
ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
สรุปความและเรียบเรียงเพิ่มเติมจากเวปไซต์ข้างล่าง
http://www.peacefuloflife.com/2016/11/19-differences-between-buddhism-and.html