วิเคราะห์ปัญหาเมมเบอร์สายร้องใน BNK48 เสียงเทพมีประโยชน์ต่อวง ขนาดไหน?
เห็นช่วงนี้มีคนชมการร้องสด ของพวกเมมเบอร์สายร้องกันเยอะ
เลยอยากชวนวิเคราะห์ครับว่า พวกสายร้องความจริงแล้ว มีประโยชน์ต่อวงขนาดไหน
เสน่ห์และความสามารถรอบด้านอื่นๆ
อย่างที่เราทราบครับว่า ไอดอลมีอะไรที่มากกว่าแค่ ร้องเพลงให้ดี
เพราะคุณต้องเต้นดี เอนเตอร์เทนดี มีเสน่ห์เฉพาะตัว ที่สามารถดึงคนให้เข้ามาสนใจคุณได้ด้วย
เมมเบอร์ระดับท็อปหลายคนก็ร้องไม่เก่ง แต่กลับไปได้ไกลและโด่งดังสุดๆ
รุ่น 1 ก็มีปัญหาให้เห็นมาแล้วว่า ซินซิน เป็นคนที่เสียงดีที่สุดในรุ่น แต่ทว่ากลับไม่สามารถดันตัวเองขึ้นมาโดดเด่นได้
สุดท้ายก็ต้องแกรด เพื่อเบนสายไปเป็นนักร้องตรงๆ
รุ่น 2 มีคนเสียงดีเข้ามาเยอะมาก ทั้ง เข่ง ฝ้าย นายน์ สตางค์ ฟีฟ่า แต่ทั้งหมดก็ยังมีปัญหาเรื่องความนิยม และเสน่ห์เฉพาะตัว
ปัญหาของเพลง 48 Group
เพลงของ 48 Group ไม่ได้เอื้อต่อสายร้องเท่าไหร่ เพราะร้องกันเป็นกลุ่มเกิน 16 ชีวิต คนเสียงดีมากๆ ถ้าติดเซม อาจได้ร้องไม่กี่ประโยค และอาจเป็นท่อนที่ไม่ได้เด่นด้วย รวมไปถึงการแบ่งท่อนก็มักจะต้องร้องแบบประกบคู่ ไม่ได้ร้องเดี่ยว
ฉะนั้นโอกาสที่คนทั่วไปจะสังเกตได้ว่าคุณเสียงดี ก็จะน้อยลงไปอีก ถ้าไม่ได้ตั้งใจฟังจริงๆ
ถ้าจะมีโอกาสเด่นก็ต้องรอเพลงช้า ที่ร้องกัน 1-2 คนอย่างเพลง anatato christmas ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ คนที่จะถูกเลือกให้เป็นเซ็นเตอร์ในการเข้าห้องอัด ก็ต้องมีเสน่ห์และโดดเด่นพอที่เขาจะเลือก อย่างที่แจนและแก้ว ผู้พร้อมทั้งเสียงที่ดีและบุคลิค ได้รับโอกาสนี้
ทางออกเดียวที่จะได้มีโอกาสร้องเพลงโชว์การร้องเหล่านี้คือ เธียเตอร์ แต่ก็ต้องรอเซ็นเตอร์ตัวจริง ไม่ได้ขึ้นเธียเตอร์เสียก่อน
เสียงเทพเกินไปอาจเป็นปัญหา
สิ่งที่เกิดขึ้นกับสายร้องคือ บางคนเสียงเทพเกินไป เสียงมีเอกลักษณ์เกินไป จนไม่เข้ากับเพลงของวง
ตัวอย่างเช่น ซินซิน รุ่น 1 / เข่ง รุ่น 2 สองคนนี้คือตัวอย่างของเสียงเทพสุดๆ ที่ไปประกวด the voice หรือศิลปินเดี่ยวได้สบาย
แต่ทว่าพอมาร้องเพลงของ 48 group เสียงเทพเหล่านี้ อาจจะกลายเป็นเรื่องเกินความจำเป็น
หรือตัวอย่างของ แพนด้า รุ่น 2 กับงาน Big-C (ที่คนรุมด่าเรื่องระบบเสียงภายในงาน)
แพนด้าเป็นอีกคนหนึ่งที่เสียงดี มีเทคนิคลูกคอที่น่าฟัง ร้องเพลงมีจิตวิญญาณ แต่ทว่ามีธรรมชาติเสียงไปทางทุ้มต่ำ
ซึ่งไม่ค่อยเข้ากับเพลงของ 48 group ที่เน้นเสียงคีย์สูงใสๆ และหวานๆ
ฉะนั้นเสียงอันโดดเด่นของแพนด้า จึงอาจมีปัญหาในเรื่องไม่ค่อยกลมกลืนกับเพื่อน จนแลบสะดุดหูออกมา
(ซึ่งตรงนี้ อาจจะเป็นข้อดีก็ได้ หรือเป็นข้อเสียก็ได้ แล้วแต่คนจะมอง)
เสียงไม่ต้องเทพมาก แต่สารพัดประโยชน์ อาจมีประโยชน์กว่า
ในวงมีตัวอย่างของคนเสียงดี แต่ไม่เทพมาก ที่น่าพูดถึงอยู่สองคนคือ ตาหวานรุ่น 1 กับ มายยู รุ่น 2
ทั้งสองคนนี้คือคนร้องเพลงดี เทคนิคดี มีมาตรฐานสูง แต่เสียงไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนจำได้ง่ายเท่าไหร่
เสียงของสองคนนี้ ถ้าไปเป็นนักร้องเดี่ยวอาจจะยากหน่อย แต่ทว่าถ้ามาร้องเป็นกลุ่ม กลับจะแบกเพื่อนได้มาก
เทคนิคการร้องโหนเสียงสูงได้ดี มีไดนามิก หรือเสียงใสๆ ของทั้งสองคน จะเหมาะมากกับเพลงสไตล์ girl group (ที่หลายๆ ครั้งมักจะมีเพลงไต่โน้ตไปสูงปิ๊ดมาก ลองนึกถึงเพลงฤดูใหม่)
และกลายเป็นต้นเสียง ผู้นำการร้องของเพื่อนได้ไม่ยาก รวมถึงกลายเป็นเสียงสารพัดประโยชน์ที่เรียกใช้ได้ตลอด
นอกจากนี้ทั้งสองคนก็ยัง เต้นเทพเต้นเก่ง พูดเอ็นเตอร์เทนได้ และมีเสน่ห์บนเวทีเป็นของตัวเอง (แม้ว่าเสน่ห์นั้น อาจจะไม่เท่าตัวท็อปของวงก็ตาม)
ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ ตาหวานจะถูกเลือกให้เป็นเซ็นเตอร์ (ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีกระแสความนิยมมาก)
และมายยู จะถูกดันให้เป็นหนึ่งในเซมบัตสึของมือถือซัมซุง (ทั้งๆ ที่ความนิยมค่อนข้างต่ำ)
อย่างไรก็ตามสุดท้ายนี้ ผู้เขียนก็ขอเป็นกำลังใจให้ น้องๆ สายร้องทุกคนนะครับ
ที่เขียนมานี้ ไม่ได้อยากมาบั่นทอนกำลังใจแต่อย่างใด แต่ชวนวิเคราะห์ความเป็นจริง
ความจริงน้องๆ สายร้องทุกคน ล้วนเป็นกำลังสำคัญทั้งนั้น โดยเฉพาะการออกงาน event
การมีสายร้องไปด้วย ยังไงก็อุ่นใจกับเพื่อนในระดับหนึ่ง สู้ๆ ครับพัฒนาตัวเองกันต่อไป
วิเคราะห์ปัญหาเมมเบอร์สายร้องใน BNK48 เสียงเทพมีประโยชน์ต่อวง ขนาดไหน?
เห็นช่วงนี้มีคนชมการร้องสด ของพวกเมมเบอร์สายร้องกันเยอะ
เลยอยากชวนวิเคราะห์ครับว่า พวกสายร้องความจริงแล้ว มีประโยชน์ต่อวงขนาดไหน
เสน่ห์และความสามารถรอบด้านอื่นๆ
อย่างที่เราทราบครับว่า ไอดอลมีอะไรที่มากกว่าแค่ ร้องเพลงให้ดี
เพราะคุณต้องเต้นดี เอนเตอร์เทนดี มีเสน่ห์เฉพาะตัว ที่สามารถดึงคนให้เข้ามาสนใจคุณได้ด้วย
เมมเบอร์ระดับท็อปหลายคนก็ร้องไม่เก่ง แต่กลับไปได้ไกลและโด่งดังสุดๆ
รุ่น 1 ก็มีปัญหาให้เห็นมาแล้วว่า ซินซิน เป็นคนที่เสียงดีที่สุดในรุ่น แต่ทว่ากลับไม่สามารถดันตัวเองขึ้นมาโดดเด่นได้
สุดท้ายก็ต้องแกรด เพื่อเบนสายไปเป็นนักร้องตรงๆ
รุ่น 2 มีคนเสียงดีเข้ามาเยอะมาก ทั้ง เข่ง ฝ้าย นายน์ สตางค์ ฟีฟ่า แต่ทั้งหมดก็ยังมีปัญหาเรื่องความนิยม และเสน่ห์เฉพาะตัว
ปัญหาของเพลง 48 Group
เพลงของ 48 Group ไม่ได้เอื้อต่อสายร้องเท่าไหร่ เพราะร้องกันเป็นกลุ่มเกิน 16 ชีวิต คนเสียงดีมากๆ ถ้าติดเซม อาจได้ร้องไม่กี่ประโยค และอาจเป็นท่อนที่ไม่ได้เด่นด้วย รวมไปถึงการแบ่งท่อนก็มักจะต้องร้องแบบประกบคู่ ไม่ได้ร้องเดี่ยว
ฉะนั้นโอกาสที่คนทั่วไปจะสังเกตได้ว่าคุณเสียงดี ก็จะน้อยลงไปอีก ถ้าไม่ได้ตั้งใจฟังจริงๆ
ถ้าจะมีโอกาสเด่นก็ต้องรอเพลงช้า ที่ร้องกัน 1-2 คนอย่างเพลง anatato christmas ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ คนที่จะถูกเลือกให้เป็นเซ็นเตอร์ในการเข้าห้องอัด ก็ต้องมีเสน่ห์และโดดเด่นพอที่เขาจะเลือก อย่างที่แจนและแก้ว ผู้พร้อมทั้งเสียงที่ดีและบุคลิค ได้รับโอกาสนี้
ทางออกเดียวที่จะได้มีโอกาสร้องเพลงโชว์การร้องเหล่านี้คือ เธียเตอร์ แต่ก็ต้องรอเซ็นเตอร์ตัวจริง ไม่ได้ขึ้นเธียเตอร์เสียก่อน
เสียงเทพเกินไปอาจเป็นปัญหา
สิ่งที่เกิดขึ้นกับสายร้องคือ บางคนเสียงเทพเกินไป เสียงมีเอกลักษณ์เกินไป จนไม่เข้ากับเพลงของวง
ตัวอย่างเช่น ซินซิน รุ่น 1 / เข่ง รุ่น 2 สองคนนี้คือตัวอย่างของเสียงเทพสุดๆ ที่ไปประกวด the voice หรือศิลปินเดี่ยวได้สบาย
แต่ทว่าพอมาร้องเพลงของ 48 group เสียงเทพเหล่านี้ อาจจะกลายเป็นเรื่องเกินความจำเป็น
หรือตัวอย่างของ แพนด้า รุ่น 2 กับงาน Big-C (ที่คนรุมด่าเรื่องระบบเสียงภายในงาน)
แพนด้าเป็นอีกคนหนึ่งที่เสียงดี มีเทคนิคลูกคอที่น่าฟัง ร้องเพลงมีจิตวิญญาณ แต่ทว่ามีธรรมชาติเสียงไปทางทุ้มต่ำ
ซึ่งไม่ค่อยเข้ากับเพลงของ 48 group ที่เน้นเสียงคีย์สูงใสๆ และหวานๆ
ฉะนั้นเสียงอันโดดเด่นของแพนด้า จึงอาจมีปัญหาในเรื่องไม่ค่อยกลมกลืนกับเพื่อน จนแลบสะดุดหูออกมา
(ซึ่งตรงนี้ อาจจะเป็นข้อดีก็ได้ หรือเป็นข้อเสียก็ได้ แล้วแต่คนจะมอง)
เสียงไม่ต้องเทพมาก แต่สารพัดประโยชน์ อาจมีประโยชน์กว่า
ในวงมีตัวอย่างของคนเสียงดี แต่ไม่เทพมาก ที่น่าพูดถึงอยู่สองคนคือ ตาหวานรุ่น 1 กับ มายยู รุ่น 2
ทั้งสองคนนี้คือคนร้องเพลงดี เทคนิคดี มีมาตรฐานสูง แต่เสียงไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนจำได้ง่ายเท่าไหร่
เสียงของสองคนนี้ ถ้าไปเป็นนักร้องเดี่ยวอาจจะยากหน่อย แต่ทว่าถ้ามาร้องเป็นกลุ่ม กลับจะแบกเพื่อนได้มาก
เทคนิคการร้องโหนเสียงสูงได้ดี มีไดนามิก หรือเสียงใสๆ ของทั้งสองคน จะเหมาะมากกับเพลงสไตล์ girl group (ที่หลายๆ ครั้งมักจะมีเพลงไต่โน้ตไปสูงปิ๊ดมาก ลองนึกถึงเพลงฤดูใหม่)
และกลายเป็นต้นเสียง ผู้นำการร้องของเพื่อนได้ไม่ยาก รวมถึงกลายเป็นเสียงสารพัดประโยชน์ที่เรียกใช้ได้ตลอด
นอกจากนี้ทั้งสองคนก็ยัง เต้นเทพเต้นเก่ง พูดเอ็นเตอร์เทนได้ และมีเสน่ห์บนเวทีเป็นของตัวเอง (แม้ว่าเสน่ห์นั้น อาจจะไม่เท่าตัวท็อปของวงก็ตาม)
ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ ตาหวานจะถูกเลือกให้เป็นเซ็นเตอร์ (ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีกระแสความนิยมมาก)
และมายยู จะถูกดันให้เป็นหนึ่งในเซมบัตสึของมือถือซัมซุง (ทั้งๆ ที่ความนิยมค่อนข้างต่ำ)
อย่างไรก็ตามสุดท้ายนี้ ผู้เขียนก็ขอเป็นกำลังใจให้ น้องๆ สายร้องทุกคนนะครับ
ที่เขียนมานี้ ไม่ได้อยากมาบั่นทอนกำลังใจแต่อย่างใด แต่ชวนวิเคราะห์ความเป็นจริง
ความจริงน้องๆ สายร้องทุกคน ล้วนเป็นกำลังสำคัญทั้งนั้น โดยเฉพาะการออกงาน event
การมีสายร้องไปด้วย ยังไงก็อุ่นใจกับเพื่อนในระดับหนึ่ง สู้ๆ ครับพัฒนาตัวเองกันต่อไป