สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
คนเราเรียนกันสูง ๆ เพราะหวังจะได้ผลตอบแทนที่สูง ๆ ตามมาด้วย
แต่อาหรับ เป็นประเทศปกครองแบบ "รัฐอิสลาม" ซึ่งทุกตำแหน่งด้านการบริหารราชการแผ่นดินต้องการคนที่มีความรู้ด้านศาสนา เข้ามาทำงาน ดังนั้นคนของเขาจึงมุ่งไปเรียนสูง ๆ กันด้านศาสนาเป็นหลัก มีคนจบดอกเตอร์ทางด้านศาสนาอิสลามมากมาย คนใหญ่คนโดของประเทศเหล่านี้แทบทั้งหมดก็เป็นผู้รู้ทางด้านศาสนา
ส่วนวิทยาการด้าน วิทยาศาสตร์เทคโลยี และ การบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาประเทศ อาหรับนิยมจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติ ถ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางพิเศษ ผู้บริหารระดับสูง ๆ ก็จ้างคนมีประสบการณ์จาก ยุโรป และสหรัฐ ส่วนผู้บริหารระดับกลาง ๆ ก็จ้างจากประเทศอาหรับทีไม่มีน้ำมัน สำหรับแรงงานฝีมือที่ทำงานจริง ๆ ที่อาหรับถือว่าเป็นคนระดับล่างนั้น เขาก็จ้างมาจากประเทศเอเซียที่มีคนเยอะ ๆ อย่าง อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ
อย่างอาชีพหมอ และ พยาบาล ในประเทศซาอุดิอารเบียนั้น ไม่ใช่เป็นอาชีพที่ คนเขา เคารพยกย่อง เชื่อถือ ให้เกียรติ ให้ความนับถือ เป็นอย่างสูงเหมือนอย่างประเทศไทยแต่อย่างใด แต่เขาถือว่า หมอ หรือ พยาบาล ก็เป็นเพียงผู้ใช้แรงงานที่เข้าไปทำงานในซาอุดิอารเบีย เพียงเพราะหวังเงินเท่านั้น คนอาหรับ มอง หมอ และ พยาบาล ไม่ต่างอะไรกับคนรับใช้ หรือ ทาส พวกเขาปฎิบัติต่อหมอ และ พยาบาล แย่มาก นี่คือความเห็นของหมอจากปากีสถานคนหนึ่งเป็นคนพูด
ในซาอุดิอารเบีย นิยมจ้างหมอจากประเทศ อีหยิปต์ อินเดีย และ ปากีสถาน เหตุผลเพราะมีคนจากประเทศเหล่านี้เข้าไปทำงานในซาอุฯ เยอะ แล้วแรงงานพวกนี้ก็มั่นใจ และ ต้องการรักษาจากหมอที่มาจากประเทศตัวเอง หมอจากอิหยิปต์ ได้เปรียบหมอจากประเทศอื่น ๆ เพราะรู้ภาษาอาหรับ ทำให้สามารถสื่อสารกับคนท้องถิ่นได้ด้วย เขาไม่นิยมจ้างล่ามมาเป็นตัวกลางระหว่างหมอและคนไข้แต่อย่างใด หมอจากอินเดียและปากีสถานที่ถูกอาหรับจ้างไปนั้น ได้ค่าตอบแทนสุงกว่าทำงานในประเทศตัวเองนับสิบเท่า คนปากีสถานเองซึ่งก็ขาดแคลนหมอ มีหมอไม่พอกับประชาชน ก็ยังบ่นว่าเกิดปัญหาสมองไหล หมอถูกซื้อไปซาอุดิอารเบีย หลังจากที่รัฐบาลได้ใช้เงินอุดหนุนเพื่อฝีกสอนหมอเหล่านี้ขึ้นมาด้วยเงินภาษีของคนปากีสถาน
อย่างที่กล่าวไว้แล้วนั้น ซาอุดิอารเบีย นิยมจ้างหมอจาก อิหยิปต์ อินเดีย ปากีสถาน สำหรับพยาบาล ส่วนมากก็จ้างจาก ฟิลิปปินส์ ส่วนหมอจากยุโรป และสหรัฐ นั้นก็มีแต่น้อยมาก และเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางพิเศษ ซึ่งได้รับผลตอบแทนสูงกว่าหมอจาก อินเดีย ปากีถสถาน มาก เพราะหมอจาก ยุโรป และสหรัฐ นั้น เขาอยู่ประเทศตัวเองเงินเดือนเขาก็สูงมากอยู่แล้ว แม้ว่าพวกอาหรับจะมีเงินจ้างหมอจ้าง อินเดีย ปากีสถาน ไปทำงานได้ แต่ไม่ให้ความเชื่อถือหมอเหล่านี้แต่อย่างใด เขาอยากทำอะไรตามใจตัวเองมากกว่า ชอบสั่งให้ใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่เกินความจำเป็น พวกนี้จะเชือถือหมอที่จบจากสหรัฐอเมริกา หรือ เคยทำงานที่สหรัฐอเมริกามาก่อนเป็นที่สุด
แต่ไม่ใช่ว่า ซาอุดิอารเบีย จะไม่มีสถาบันการศึกษาที่ผลิตแพทย์ และ พยาบาล โดยโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของซาอุดิอารเบียคือ King Saud University ก่อตั้งมากตั้งแต่ปี 1967 แล้วในช่วง 30 ปี ตั้งแต่ 1967-1996 ก็มีการตั้งโรงเรียนแพทย์เพิ่มขึ้นมาอีก 4 แห่ง พอถึงปี 2010 ก็มีโรงเรียนแพทย์แล้ว 25 แห่ง เหตุที่ในช่วงนี้มีการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์มากก็เพราะว่า มีการขาดแคลนแพทย์ที่คนคนซาอุดิอารเบีย ซึ่งตอนปี 2000 นั้นมีเพียงแค่ 17% ของแพทย์ทั้งหมด กระทั่งปัจจุบันซาอุดิอารเบียมีโรงเรียนแพทย์ 37 แห่ง ในนี้เป็นเอกชน 8 แห่ง ส่วนค่าเล่าเรียนนั้น คนซาอุฯ เรียนฟรีในโรงเรียนแพทย์ของรัฐบาล โดยคัดมากจากเกรดสมัยมัธยมและการสอบสัมภาษณ์ ปัจจุบันมีนักเรียนที่เรียนแพทย์อยู่ในซาอุดิอารเบียราว 26,000 คน
...
...
ปัจจุบัน มีเแพทย์เฉพาะทางที่เป็นคนซาอุฯ 10,600 คน ในขณะที่เป็นแพทย์เฉพาะทางต่างชาติ 40,100 คน
จากการสำรรวจเมื่อปี 2016 มีแพทย์ทั้งหมด 42,768 คน ทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ โดยแพทย์ 66.5% หรือ 28,464 คนเป็นชาวต่างชาติ ส่วนชาวซาอุมี 14,304 คน สำหรับพยาบาลทั้งหญิงและชายมี 101,256 คน โดยที่พยาบาลชาวซาอุฯ คิดเป็น 57.5% หรือ 58,274 คน สำหรับเภสัชกรชาวซาอุดิอารเบียคิดเป็นสัดส่วน 91.5% ของเภสัชกรทั้งหมด 3,227 คนที่ทำงานในโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข การทำงานในโรงพยาบาลนั้นส่วนมากชาวซาอุดิอารเบียจะเป็นฝ่ายบริหาร และต่างชาติก็ใช้วิชาชีพแพทย์หรือพยาบาลทำงานจริง ๆ
กระนั้นก็ตามปัจจุบัน มีแพทย์ที่เป็นชาวซาอุดิอารเบียซึ่งเป็นแพทย์จบใหม่ว่างงานอยู่ราว 6,000 คน ทั้ง ๆ ที่โรงพยาบาลของรัฐและของเอกชนมีการประกาศรับสมัคร แพทย์ชาวต่างชาติ หลังจากราคาน้ำมันตกต่ำรัฐบาลก็มีนโยบายจะแปรรูปโรงพยาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ 17 แห่งให้เป็นเอกชน
ขอเพิ่มเติมข้อมูลแขนงวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอีกอย่างคือ วิศวกร โดยปัจจุบันสภาวิศวกรของซาอุดิอารเบียมีสมาชิกอยู่ 198,000 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวซาอุดิอารเบีย 16% ส่วนที่เหลือ 84% เป็นต่างชาติ
แต่อาหรับ เป็นประเทศปกครองแบบ "รัฐอิสลาม" ซึ่งทุกตำแหน่งด้านการบริหารราชการแผ่นดินต้องการคนที่มีความรู้ด้านศาสนา เข้ามาทำงาน ดังนั้นคนของเขาจึงมุ่งไปเรียนสูง ๆ กันด้านศาสนาเป็นหลัก มีคนจบดอกเตอร์ทางด้านศาสนาอิสลามมากมาย คนใหญ่คนโดของประเทศเหล่านี้แทบทั้งหมดก็เป็นผู้รู้ทางด้านศาสนา
ส่วนวิทยาการด้าน วิทยาศาสตร์เทคโลยี และ การบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาประเทศ อาหรับนิยมจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติ ถ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางพิเศษ ผู้บริหารระดับสูง ๆ ก็จ้างคนมีประสบการณ์จาก ยุโรป และสหรัฐ ส่วนผู้บริหารระดับกลาง ๆ ก็จ้างจากประเทศอาหรับทีไม่มีน้ำมัน สำหรับแรงงานฝีมือที่ทำงานจริง ๆ ที่อาหรับถือว่าเป็นคนระดับล่างนั้น เขาก็จ้างมาจากประเทศเอเซียที่มีคนเยอะ ๆ อย่าง อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ
อย่างอาชีพหมอ และ พยาบาล ในประเทศซาอุดิอารเบียนั้น ไม่ใช่เป็นอาชีพที่ คนเขา เคารพยกย่อง เชื่อถือ ให้เกียรติ ให้ความนับถือ เป็นอย่างสูงเหมือนอย่างประเทศไทยแต่อย่างใด แต่เขาถือว่า หมอ หรือ พยาบาล ก็เป็นเพียงผู้ใช้แรงงานที่เข้าไปทำงานในซาอุดิอารเบีย เพียงเพราะหวังเงินเท่านั้น คนอาหรับ มอง หมอ และ พยาบาล ไม่ต่างอะไรกับคนรับใช้ หรือ ทาส พวกเขาปฎิบัติต่อหมอ และ พยาบาล แย่มาก นี่คือความเห็นของหมอจากปากีสถานคนหนึ่งเป็นคนพูด
ในซาอุดิอารเบีย นิยมจ้างหมอจากประเทศ อีหยิปต์ อินเดีย และ ปากีสถาน เหตุผลเพราะมีคนจากประเทศเหล่านี้เข้าไปทำงานในซาอุฯ เยอะ แล้วแรงงานพวกนี้ก็มั่นใจ และ ต้องการรักษาจากหมอที่มาจากประเทศตัวเอง หมอจากอิหยิปต์ ได้เปรียบหมอจากประเทศอื่น ๆ เพราะรู้ภาษาอาหรับ ทำให้สามารถสื่อสารกับคนท้องถิ่นได้ด้วย เขาไม่นิยมจ้างล่ามมาเป็นตัวกลางระหว่างหมอและคนไข้แต่อย่างใด หมอจากอินเดียและปากีสถานที่ถูกอาหรับจ้างไปนั้น ได้ค่าตอบแทนสุงกว่าทำงานในประเทศตัวเองนับสิบเท่า คนปากีสถานเองซึ่งก็ขาดแคลนหมอ มีหมอไม่พอกับประชาชน ก็ยังบ่นว่าเกิดปัญหาสมองไหล หมอถูกซื้อไปซาอุดิอารเบีย หลังจากที่รัฐบาลได้ใช้เงินอุดหนุนเพื่อฝีกสอนหมอเหล่านี้ขึ้นมาด้วยเงินภาษีของคนปากีสถาน
อย่างที่กล่าวไว้แล้วนั้น ซาอุดิอารเบีย นิยมจ้างหมอจาก อิหยิปต์ อินเดีย ปากีสถาน สำหรับพยาบาล ส่วนมากก็จ้างจาก ฟิลิปปินส์ ส่วนหมอจากยุโรป และสหรัฐ นั้นก็มีแต่น้อยมาก และเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางพิเศษ ซึ่งได้รับผลตอบแทนสูงกว่าหมอจาก อินเดีย ปากีถสถาน มาก เพราะหมอจาก ยุโรป และสหรัฐ นั้น เขาอยู่ประเทศตัวเองเงินเดือนเขาก็สูงมากอยู่แล้ว แม้ว่าพวกอาหรับจะมีเงินจ้างหมอจ้าง อินเดีย ปากีสถาน ไปทำงานได้ แต่ไม่ให้ความเชื่อถือหมอเหล่านี้แต่อย่างใด เขาอยากทำอะไรตามใจตัวเองมากกว่า ชอบสั่งให้ใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่เกินความจำเป็น พวกนี้จะเชือถือหมอที่จบจากสหรัฐอเมริกา หรือ เคยทำงานที่สหรัฐอเมริกามาก่อนเป็นที่สุด
แต่ไม่ใช่ว่า ซาอุดิอารเบีย จะไม่มีสถาบันการศึกษาที่ผลิตแพทย์ และ พยาบาล โดยโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของซาอุดิอารเบียคือ King Saud University ก่อตั้งมากตั้งแต่ปี 1967 แล้วในช่วง 30 ปี ตั้งแต่ 1967-1996 ก็มีการตั้งโรงเรียนแพทย์เพิ่มขึ้นมาอีก 4 แห่ง พอถึงปี 2010 ก็มีโรงเรียนแพทย์แล้ว 25 แห่ง เหตุที่ในช่วงนี้มีการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์มากก็เพราะว่า มีการขาดแคลนแพทย์ที่คนคนซาอุดิอารเบีย ซึ่งตอนปี 2000 นั้นมีเพียงแค่ 17% ของแพทย์ทั้งหมด กระทั่งปัจจุบันซาอุดิอารเบียมีโรงเรียนแพทย์ 37 แห่ง ในนี้เป็นเอกชน 8 แห่ง ส่วนค่าเล่าเรียนนั้น คนซาอุฯ เรียนฟรีในโรงเรียนแพทย์ของรัฐบาล โดยคัดมากจากเกรดสมัยมัธยมและการสอบสัมภาษณ์ ปัจจุบันมีนักเรียนที่เรียนแพทย์อยู่ในซาอุดิอารเบียราว 26,000 คน
...
...
ปัจจุบัน มีเแพทย์เฉพาะทางที่เป็นคนซาอุฯ 10,600 คน ในขณะที่เป็นแพทย์เฉพาะทางต่างชาติ 40,100 คน
จากการสำรรวจเมื่อปี 2016 มีแพทย์ทั้งหมด 42,768 คน ทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ โดยแพทย์ 66.5% หรือ 28,464 คนเป็นชาวต่างชาติ ส่วนชาวซาอุมี 14,304 คน สำหรับพยาบาลทั้งหญิงและชายมี 101,256 คน โดยที่พยาบาลชาวซาอุฯ คิดเป็น 57.5% หรือ 58,274 คน สำหรับเภสัชกรชาวซาอุดิอารเบียคิดเป็นสัดส่วน 91.5% ของเภสัชกรทั้งหมด 3,227 คนที่ทำงานในโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข การทำงานในโรงพยาบาลนั้นส่วนมากชาวซาอุดิอารเบียจะเป็นฝ่ายบริหาร และต่างชาติก็ใช้วิชาชีพแพทย์หรือพยาบาลทำงานจริง ๆ
กระนั้นก็ตามปัจจุบัน มีแพทย์ที่เป็นชาวซาอุดิอารเบียซึ่งเป็นแพทย์จบใหม่ว่างงานอยู่ราว 6,000 คน ทั้ง ๆ ที่โรงพยาบาลของรัฐและของเอกชนมีการประกาศรับสมัคร แพทย์ชาวต่างชาติ หลังจากราคาน้ำมันตกต่ำรัฐบาลก็มีนโยบายจะแปรรูปโรงพยาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ 17 แห่งให้เป็นเอกชน
ขอเพิ่มเติมข้อมูลแขนงวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอีกอย่างคือ วิศวกร โดยปัจจุบันสภาวิศวกรของซาอุดิอารเบียมีสมาชิกอยู่ 198,000 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวซาอุดิอารเบีย 16% ส่วนที่เหลือ 84% เป็นต่างชาติ
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบว่าคนแถบอาหรับที่รวย ๆ นั้นพวกเขานิยมเรียนหนังสือสูง ๆ ไหมครับ
อีกข้อคือคนแถบนั้นนิยมเรียนหมอ หรือพยาบาลบ้างไหม หรือว่าต้องนำเข้าอย่างเดียว