ฝ่ายหญิงอายุเลย 15 แต่ไม่เกิน 18 แอบพาแฟนผู้ชายอายุเท่ากันเข้าคอนโด พ่อแม่ฝ่ายหญิงสามารถฟ้องพรากผู้เยาว์ฝ่ายชายได้ไหม

เคสนักเรียนขอปรึกษาค่ะ เราเป็นครูระดับอาชีวะ นักเรียนส่วนใหญ่อายุจะระหว่าง 16 - 19 ปี
นักเรียนในที่ปรึกษาเรา ฝ่ายชายแอบไปอยู่กินกับนักเรียนหญิงซึ่งคนละห้องกัน ที่คอนโดที่พ่อแม่ฝ่ายหญิงซื้อไว้ให้ลูกสาวอยู่คนเดียว แต่ลูกสาวพาแฟนแอบพาแฟนเข้ามาอยู่ด้วย เวลาพ่อแม่มาเยี่ยม ก็จะให้ฝ่ายชายหลบไป แล้วซ่อนข้าวของฝ่ายชายไว้
พ่อแม่ฝ่ายชายรู้ค่ะ เตือนลูกแล้ว แต่ลูกไม่ฟัง (ขนาดครูอย่างเรา เด็กยังไม่ฟังเลย)
แล้วสุดท้ายความแตก พ่อแม่ฝ่ายหญิงเขาจะฟ้องพรากผู้เยาว์ฝ่ายชาย
พ่อแม่ฝ่ายชายบอกว่าจะฟ้องได้ไง ในเมื่อเต็มใจมาอยู่กันทั้งคู่ ฝ่ายหญิงก็พูดเองว่าพาฝ่ายชายเข้ามา (นางปกป้องแฟน)
ตอนนี้ยังไม่ไปถึงขั้นจะเอาเรื่องถึงตำรวจ ไกล่เกลี่ยกัน

เราไม่รู้กฎหมายชัดเจนนัก รู้แค่ว่าถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ไม่ว่าเด็กจะเต็มใจหรือไม่ ฝ่ายผู้ชายต้องรับผิดสถานเดียว
แต่เคสนี่ฝ่ายหญิงอายุเกิน 17 ปีไปแล้ว แต่ไม่เกิน 20 ปี คือเยาวชน
เราเหมือนจำได้ว่า อายุ 17 คือแต่งงานได้ แต่ต้องให้พ่อแม่เห็นชอบ
ถ้าเป็นเคสนี่ ต้องมีการสอบสวนไกล่เกลี่ยกันก่อน หรือฝ่ายชายต้องเข้าคุกสถานเดียวค่ะ (ฝ่ายชายอายุก็ไม่เกิน 20)
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ไม่ว่าฝ่ายใด จะชายหรือหญิง หากอายุไม่เกิน 18  ผู้ปกครองสามารถฟ้องคนที่มีอายุ 18 ข้อหาพรากผู้เยาว์ได้
แต่ในกรณีผู้เยาว์ทั้งคู่ ฟ้องไปก็ป่วยการ เพราะฟ้องแล้ว ก็จะมีโทษทั้งคู่

ยกตัวอย่าง
- นางสาว A อายุ 17 นาย B อายุ 20 ...ผู้ปกครองนางสาว A ฟ้องนาย B ได้
- นางสาว A อายุ 20 นาย B อายุ 17 ...ผู้ปกครองนาย B  ฟ้องนางสาว A  ได้

- นางสาว A อายุ 17 นาย B อายุ 17 ...ผู้ปกครองนางสาว A ฟ้องนาย B ได้ และ ผู้ปกครองนาย B  ฟ้องนางสาว A  ได้เช่นกัน



ส่วนเรื่องแต่งงาน ...

การสมรสของผู้เยาว์
-
- ถ้าชายและหญิงมีอายุมากกว่า17ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน20ปี ทั้งคู่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

- ถ้าอายุไม่ถึง17ปี ต้องได้รับคำสั่งศาล คือ ศาลต้องอนุญาตให้สมรสก่อน เพราะอาจมีเหตุอันสมควร

เช่น หญิงตั้งครรภ์
จากข้อกฎหมาย ดังนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1454, 1436 บัญญัติว่า
ผู้เยาว์จะทำการหมั้น หรือสมรสได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้


(๑) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา

(๒) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้

(๓) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม

(๔) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (๑) (๒) และ (๓) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ

จาก...http://lawyer-education.blogspot.com/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่