“ระบบการศึกษาของประเทศเยอรมนี ให้ความสำคัญความชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งไม่ปรากฎในระบบการศึกษาอเมริกา” หนึ่งในปรัชญาการศึกษาอันเป็นอัตลักษณ์ของชาวเยอรมัน ที่ถูกจารึกบนกำแพงใน ‘เฮนเนส ไวสวีเลอร์ อคาเดมี’
เคยสงสัยกันไหมครับ ทำไมประเทศเยอรมนี ชาติที่พินาศย่อยยับจากภัยสงครามโลกถึงสองครั้ง สองครา เขาถึงฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว และมั่นคง โดยในปัจจุบัน ดอยช์แลนด์ มีบทบาทเป็นทั้งผู้นำเศรษฐกิจโลก เทคโนโลยี ยนตรกรรม ระบบการศึกษา และแน่นอนในเรื่องของฟุตบอล สิ่งที่ทำให้ชนชาติแห่งนี้พิเศษกว่าชาติอื่นๆ นั่นคือ
‘หลักการสร้างคน’
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกประกาศเรื่อง การขึ้นทะเบียนศูนย์ฝึกฟุตบอล (อคาเดมี) ภายใต้การดูแลของสมาคมฯ ถือเป็นบันไดขั้นที่ 2 ในการพัฒนาวงการฟุตบอลไทย ต่อจากการฝึกอบรมผู้ฝึกสอน ตามโครงการ
AFC Coaching Program ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
“ผมคิดว่าเยอรมันคือแบบอย่างที่ดีมาก พวกเขาคืออันดับ 1 บนแรงกิ้งฟีฟ่าแต่ยังลงทุนกับการพัฒนาเยาวชนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา”
“พวกเขาได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการลงทุนกับเยาวชน ควบคู่ไปกับการให้การศึกษากับผู้ฝึกสอนและด้านเทคนิค นั่นทำให้พวกเขาสามารถผลิตนักเตะระดับโลกขึ้นมาได้หลายคน” - เบนจามิน ตัน
เหตุไฉน สมาคมฟุตบอลเยอรมัน ถึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั้งในระดับผู้ฝึกสอน และโครงสร้างนักเตะเยาวชน?
จากความล้มเหลวในทัวร์นาเมนต์ระดับเมเจอร์ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 ‘ทัพอินทรีเหล็ก’ ตกรอบแรกอย่างน่าประหลาดใจด้วยการเป็นบ๊วยของกลุ่ม ทั้งๆ ที่พวกเขามาแข่งขันในฐานะของทีมแชมป์เก่า
หลังจากการตกรอบอย่างน่าอับอาย แทนที่พวกเขาจะโทษ ดวง โชคชะตา หรือปัจจัยอื่นๆ ทางสมาคมฟุตบอลเยอรมัน ฝ่ายจัดการแข่งขันฟุตบอลลีก และสโมสรสมาชิก จัดการหารือสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ โดยพวกเขาตัดสินใจ มุ่งเน้นการสร้าง-พัฒนานักฟุตบอลเยาวชนท้องถิ่น และมีนโยบายให้ทุกสโมสรฟุตบอลในลีกสูงสุด และลีกา 2 ต้องมีอคาเดมีเป็นของตัวเอง
คำถามต่อมาคือ เมื่อทุกสโมสรฟุตบอลมีอคาเดมีเป็นของตัวเองแล้ว จะหาใครมาเป็นผู้ฝึกสอนให้กับทุกสโมสร?
หากมองย้อนกลับไป รากฐานของการสร้างผู้ฝึกสอนบนแผ่นดินเยอรมัน ถูกวางไว้ตั้งแต่ปี 1947 หรือกว่า 70 ปีที่แล้ว โดย เซปป์ แฮร์เบอร์เกอร์ ตำนานกุนซือชุดแชมป์โลก 1954 ปรมาจารย์ลูกหนังท่านนี้ได้เปิดอบรมหลักสูตร
‘คุณครูลูกหนัง’ (Soccer Teacher Training) ครั้งแรกที่ มหาวิทยาลัยกีฬาเยอรมัน เมืองโคโลญ โดยมีผู้สำเร็จหลักสูตรชุดแรกจำนวน 31 คน รวมไปถึง แฮนเนส ไวสวีเลอร์
การพัฒนาบุคลากรฟุตบอลของประเทศเยอรมนี ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี 2005 ถือเป็นการให้เกียรติ แฮนเนส ไวสวีเลอร์ ผู้คิดค้นหลักสูตร
‘การอบรมผู้ฝึกสอน’ (Coaching Practice) ในระหว่างปี 1957-1970 โดยนำชื่อของเขามาตั้งเป็นศูนย์พัฒนาผู้ฝึกสอนของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน
‘แฮนเนส ไวสวีเลอร์ อคาเดมี’
โดยเฮดโค้ชผู้มีชื่อเสียงในโลกฟุตบอลยุคปัจจุบันทั้ง
เจอร์เก้น คลิ้นส์มันน์, โยอาคิม เลิฟ หรือที่แฟนบอลชาวไทยรู้จักกันดีอย่าง
วินฟรีด เชเฟอร์ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย
อเล็กซานเดอร์ มาโน่ โพลกิ้ง เฮดโค้ช ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด รวมไปถึง
วิทยา เลาหกุล (โดยในสองรายหลังสำเร็จหลักสูตรระดับ เอ ไลเซนส์) ล้วนแล้วแต่จบหลักสูตรจากสถาบันแห่งนี้
โดยในฤดูกาล 2018-19 หากนับเฉพาะลีกฟุตบอลยุโรปที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั้ง ลาลีกา (สเปน), พรีเมียร์ลีก (อังกฤษ), เซเรีย อา (อิตาลี), บุนเดสลีกา (เยอรมัน) และ ลีกเอิง (ฝรั่งเศส) จะพบได้ว่า ค่าเฉลี่ยอายุเฮดโค้ชของทีมในบุนเดสลีกา น้อยกว่าค่าเฉลี่ยในลีกอื่นๆ ถึง 5 ปี
“ในประเทศเยอรมนี โค้ชฟุตบอลไม่จำเป็นต้องมี โปร ไลเซนส์ เพื่อบริหารจัดการทีมระดับบุนเดสลีกา แต่มันจำเป็นสำหรับการเป็นโค้ชในระดับลีกา 2-3 รวมถึงทีมเยาวชน-อคาเดมี”
หรืออาจจะกล่าวได้ว่า “มาตรฐานผู้ฝึกสอนในประเทศ คือสิ่งสำคัญที่สุดต่อโครงสร้างพัฒนาทีมชาติเยอรมนีในทุกระดับ”
สำหรับการวางรากฐาน เพื่อการพัฒนาฟุตบอลไทยอย่างยั่งยืน คือการเปิดอบรมผู้ฝึกสอนระดับ โปร, เอ, บี, ซี และ ที ไลเซนส์ โดยมีผู้รับผิดชอบหลักเป็น นายวิทยา เลาหกุล อุปนายกและผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคนิค และ มร. ลิม คิม ชอน รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคนิค
นโยบายการสร้างผู้ฝึกสอนระดับ โปร ไลเซนส์ และในทุกระดับ ส่วนหนึ่งก็เพื่อตอบรับแผนพัฒนาของ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ที่กำหนดให้ในปี 2019 ผู้ฝึกสอนทีมชาติชุดใหญ่ และทีมชาติชุด U22 ต้องเป็นโค้ช โปร ไลเซนส์ ที่ผ่านหลักสูตรการรับรองจาก เอเอฟซี เท่านั้น
โดยในปัจจุบันมีผู้ฝึกสอนสำเร็จการศึกษาหลักสูตร
‘เอเอฟซี โปร-ดิโปรม่า โค้ชชิ่ง คอร์ส’ ชุดแรกจำนวน 19 ท่าน นำโดย วิทยา เลาหกุล, เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ธชตวัน ศรีปาน, จเด็จ มีลาภ, อเล็กซานเดอร์ มาโน่ โพลกิ้ง รวมไปถึง หนึ่งฤทัย สระทองเวียน กุนซือฟุตบอลหญิง ทีมชาติไทย นอกจากนั้นก็ยังมี
สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ ผู้ฝึกสอนไทยระดับ เอเอฟซี โปร ไลเซนส์ คนแรกที่จบหลักสูตรจากประเทศสิงคโปร์
สิ่งที่ผมอยากเห็นคือ แนวทางการสร้างผู้ฝึกสอนที่ผ่านมาตรฐานเอเอฟซีให้มีมากขึ้นๆ การบังคับสโมสรในระดับไทยลีก 1 และ 2 ต้องมีผู้ฝึกสอนไทยระดับ เอ-โปร ไลเซนส์ในทุกๆ ทีม อาจจะกำหนดกรอบเวลาที่เหมาะสม และมีเงินทุนสนับสนุนให้สโมสรที่มีแผนพัฒนาในส่วนนี้ เฉกเช่น เงินทุนที่ให้กับสโมสรที่มีแผนพัฒนาสนาม และสาธารณูประโภค หากเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จริงๆ มันควรจะมีอะไรที่เห็นชัดเป็นรูปธรรม จากนั้นค่อยพัฒนาต่อยอดไปยังลีกรองต่อๆ ไป
และอีกประเด็นหนึ่งผมเชื่อว่า โค้ชฟุตบอลไทยสมัยใหม่ย่อมปรับตัว และเปิดรับนโยบายนี้ได้ไม่ยาก แต่โค้ชฟุตบอลไทยสมัยเก่า ที่มีอายุค่อนข้างมาก พวกเขาเหล่านี้ทั้งเจนจัดในเรื่องประสบการณ์ ความเข้าใจในตัวนักฟุตบอล แต่การจะได้ไลเซนส์ คงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้ฝึกสอนกลุ่มนี้ ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่าย ภาษา และอีกหลากหลายอุปสรรค
สมาคมฯ ควรให้ความสำคัญกับโค้ชเหล่านี้ด้วยเช่นกัน อาจจะมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนผู้ฝึกสอนในกลุ่มนี้ เหมือนกองทุนกู้ยืมในสายอาชีพอื่นๆ เมื่อพวกเขาจบหลักสูตร เราก็จะมีบุคลากรรองรับในส่วนอื่นๆ ไม่จำเป็นแค่ระดับสโมสรฟุตบอล แต่สามารถต่อยอดไปยังศูนย์ฝึกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ปัญหาเรื่องภาษา อาจจะมีการจัดคอร์สภาษาเข้มข้น (Intensive Course) ที่เน้นศัพท์สำหรับการฝึกอบรมโค้ช โดยอาจจะขอความร่วมมือจากเอเอฟซี หรือสถาบันภาษาที่มีมากมายในเมืองไทย และสุดท้ายผลประโยชน์ทั้งหมดจะตกเป็นของทีมชาติไทยอย่างแน่นอน
ถึงแม้ว่าบริบทของฟุตบอลไทย จะแตกต่างกับฟุตบอลเยอรมัน เพราะเรายังตามหลังเขาอยู่หลายสิบปี แต่สมาคมฯ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องหาวิธีการที่เหมาะสม มาปรับใช้ให้เข้ากับวงการฟุตบอลในเมืองไทย
แนวคิดการสร้างรากฐานอย่างมั่นคง แบบฉบับฟุตบอลเยอรมัน หลักๆ คงหนีไม่พ้นความคิด และความฝันของชายที่ชื่อว่า วิทยา เลาหกุล ผู้จบการหลักสูตรอบรมโค้ช ยูฟ่า เอ ไลเซนส์ (เยอรมัน) บวกกับการผ่านประสบการณ์ค้าแข้งในบุนเดสลีกามาแล้ว และในเมืองไทยจะมีสักกี่คนที่มีลมหายใจเข้าออกเป็นลูกฟุตบอล พร้อมทั้งทัศนคติ และวิสัยทัศน์ แบบที่ ‘โค้ชเฮง’ เป็นอยู่ตลอดชั่วชีวิตของแก
“จริงๆ แล้วผมเองในตำแหน่งนี้ ผมจะโฟกัสไปที่ โค้ช ลีกเยาวชน และอีกอย่างหนึ่งที่ผมยังไม่ได้ทำก็คือ ศูนย์ฝึก ถ้าผมทำศูนย์ฝึกได้วันนี้ พรุ่งนี้ผมลาออกเลย” - วิทยา เลาหกุล
หากทีมชาติไทย ต้องการความสำเร็จที่ยั่งยืน การพัฒนาบุคลากรฟุตบอล โดยเฉพาะการสร้างโค้ช ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีหลักในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้เล่นเยาวชนได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ ควบคู่ไปกับการสร้างสถาบันฟุตบอลที่ได้มาตรฐาน สิ่งเหล่านี้จะเป็น ‘กุญแจสู่ความสำเร็จของวงการฟุตบอลไทย’ เฉกเช่นความสำเร็จของ ทีมชาติเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น ที่พิสูจน์ให้โลกได้เห็น
“ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการปลูกต้นไม้คือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว และช่วงเวลาที่ดีรองลงมาคือ ทำมันซะตอนนี้”
แล้วคุณเห็นด้วยไหมว่า ‘การสร้างผู้ฝึกสอน’ คือรากฐานแห่งความสำเร็จของวงการฟุตบอลไทย?
แหล่งอ้างอิง :
https://www.dfb.de/en/about-dfb/coaching-courses/
https://www.dfb.de/sportl-strukturen/hennes-weisweiler-akademie/die-akademie/historie/1947-bis-1950/
https://sports.vice.com/en_us/article/aemp55/germany-makes-soccer-coaches-the-same-way-it-makes-cars
https://www.independent.co.uk/sport/football/european/bundesliga-hoffenheim-julian-nagelsmann-schalke-04-domenico-tedesco-a7839166.html
https://www.theguardian.com/football/2013/may/23/germany-bust-boom-talent
https://www.thaileague.co.th/official/index.php?r=News/ScoopRead&id=264
https://www.fourfourtwo.com/th/features/kaalkhranghnuengainyuorp-chiiwitphcchyphaykhngwithyaa-elaahkul?page=0%2C1
https://www.dailynews.co.th/sports/665261
https://www.matichon.co.th/sport-slide/news_813769
เปิดสูตรลับ...วงการฟุตบอลเยอรมัน : การสร้างคน
เคยสงสัยกันไหมครับ ทำไมประเทศเยอรมนี ชาติที่พินาศย่อยยับจากภัยสงครามโลกถึงสองครั้ง สองครา เขาถึงฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว และมั่นคง โดยในปัจจุบัน ดอยช์แลนด์ มีบทบาทเป็นทั้งผู้นำเศรษฐกิจโลก เทคโนโลยี ยนตรกรรม ระบบการศึกษา และแน่นอนในเรื่องของฟุตบอล สิ่งที่ทำให้ชนชาติแห่งนี้พิเศษกว่าชาติอื่นๆ นั่นคือ ‘หลักการสร้างคน’
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกประกาศเรื่อง การขึ้นทะเบียนศูนย์ฝึกฟุตบอล (อคาเดมี) ภายใต้การดูแลของสมาคมฯ ถือเป็นบันไดขั้นที่ 2 ในการพัฒนาวงการฟุตบอลไทย ต่อจากการฝึกอบรมผู้ฝึกสอน ตามโครงการ AFC Coaching Program ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
“ผมคิดว่าเยอรมันคือแบบอย่างที่ดีมาก พวกเขาคืออันดับ 1 บนแรงกิ้งฟีฟ่าแต่ยังลงทุนกับการพัฒนาเยาวชนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา”
“พวกเขาได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการลงทุนกับเยาวชน ควบคู่ไปกับการให้การศึกษากับผู้ฝึกสอนและด้านเทคนิค นั่นทำให้พวกเขาสามารถผลิตนักเตะระดับโลกขึ้นมาได้หลายคน” - เบนจามิน ตัน
เหตุไฉน สมาคมฟุตบอลเยอรมัน ถึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั้งในระดับผู้ฝึกสอน และโครงสร้างนักเตะเยาวชน?
จากความล้มเหลวในทัวร์นาเมนต์ระดับเมเจอร์ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000 ‘ทัพอินทรีเหล็ก’ ตกรอบแรกอย่างน่าประหลาดใจด้วยการเป็นบ๊วยของกลุ่ม ทั้งๆ ที่พวกเขามาแข่งขันในฐานะของทีมแชมป์เก่า
หลังจากการตกรอบอย่างน่าอับอาย แทนที่พวกเขาจะโทษ ดวง โชคชะตา หรือปัจจัยอื่นๆ ทางสมาคมฟุตบอลเยอรมัน ฝ่ายจัดการแข่งขันฟุตบอลลีก และสโมสรสมาชิก จัดการหารือสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ โดยพวกเขาตัดสินใจ มุ่งเน้นการสร้าง-พัฒนานักฟุตบอลเยาวชนท้องถิ่น และมีนโยบายให้ทุกสโมสรฟุตบอลในลีกสูงสุด และลีกา 2 ต้องมีอคาเดมีเป็นของตัวเอง
คำถามต่อมาคือ เมื่อทุกสโมสรฟุตบอลมีอคาเดมีเป็นของตัวเองแล้ว จะหาใครมาเป็นผู้ฝึกสอนให้กับทุกสโมสร?
หากมองย้อนกลับไป รากฐานของการสร้างผู้ฝึกสอนบนแผ่นดินเยอรมัน ถูกวางไว้ตั้งแต่ปี 1947 หรือกว่า 70 ปีที่แล้ว โดย เซปป์ แฮร์เบอร์เกอร์ ตำนานกุนซือชุดแชมป์โลก 1954 ปรมาจารย์ลูกหนังท่านนี้ได้เปิดอบรมหลักสูตร ‘คุณครูลูกหนัง’ (Soccer Teacher Training) ครั้งแรกที่ มหาวิทยาลัยกีฬาเยอรมัน เมืองโคโลญ โดยมีผู้สำเร็จหลักสูตรชุดแรกจำนวน 31 คน รวมไปถึง แฮนเนส ไวสวีเลอร์
การพัฒนาบุคลากรฟุตบอลของประเทศเยอรมนี ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี 2005 ถือเป็นการให้เกียรติ แฮนเนส ไวสวีเลอร์ ผู้คิดค้นหลักสูตร ‘การอบรมผู้ฝึกสอน’ (Coaching Practice) ในระหว่างปี 1957-1970 โดยนำชื่อของเขามาตั้งเป็นศูนย์พัฒนาผู้ฝึกสอนของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน ‘แฮนเนส ไวสวีเลอร์ อคาเดมี’
โดยเฮดโค้ชผู้มีชื่อเสียงในโลกฟุตบอลยุคปัจจุบันทั้ง เจอร์เก้น คลิ้นส์มันน์, โยอาคิม เลิฟ หรือที่แฟนบอลชาวไทยรู้จักกันดีอย่าง วินฟรีด เชเฟอร์ อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย อเล็กซานเดอร์ มาโน่ โพลกิ้ง เฮดโค้ช ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด รวมไปถึง วิทยา เลาหกุล (โดยในสองรายหลังสำเร็จหลักสูตรระดับ เอ ไลเซนส์) ล้วนแล้วแต่จบหลักสูตรจากสถาบันแห่งนี้
โดยในฤดูกาล 2018-19 หากนับเฉพาะลีกฟุตบอลยุโรปที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั้ง ลาลีกา (สเปน), พรีเมียร์ลีก (อังกฤษ), เซเรีย อา (อิตาลี), บุนเดสลีกา (เยอรมัน) และ ลีกเอิง (ฝรั่งเศส) จะพบได้ว่า ค่าเฉลี่ยอายุเฮดโค้ชของทีมในบุนเดสลีกา น้อยกว่าค่าเฉลี่ยในลีกอื่นๆ ถึง 5 ปี
“ในประเทศเยอรมนี โค้ชฟุตบอลไม่จำเป็นต้องมี โปร ไลเซนส์ เพื่อบริหารจัดการทีมระดับบุนเดสลีกา แต่มันจำเป็นสำหรับการเป็นโค้ชในระดับลีกา 2-3 รวมถึงทีมเยาวชน-อคาเดมี”
หรืออาจจะกล่าวได้ว่า “มาตรฐานผู้ฝึกสอนในประเทศ คือสิ่งสำคัญที่สุดต่อโครงสร้างพัฒนาทีมชาติเยอรมนีในทุกระดับ”
สำหรับการวางรากฐาน เพื่อการพัฒนาฟุตบอลไทยอย่างยั่งยืน คือการเปิดอบรมผู้ฝึกสอนระดับ โปร, เอ, บี, ซี และ ที ไลเซนส์ โดยมีผู้รับผิดชอบหลักเป็น นายวิทยา เลาหกุล อุปนายกและผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคนิค และ มร. ลิม คิม ชอน รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคนิค
นโยบายการสร้างผู้ฝึกสอนระดับ โปร ไลเซนส์ และในทุกระดับ ส่วนหนึ่งก็เพื่อตอบรับแผนพัฒนาของ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ที่กำหนดให้ในปี 2019 ผู้ฝึกสอนทีมชาติชุดใหญ่ และทีมชาติชุด U22 ต้องเป็นโค้ช โปร ไลเซนส์ ที่ผ่านหลักสูตรการรับรองจาก เอเอฟซี เท่านั้น
โดยในปัจจุบันมีผู้ฝึกสอนสำเร็จการศึกษาหลักสูตร ‘เอเอฟซี โปร-ดิโปรม่า โค้ชชิ่ง คอร์ส’ ชุดแรกจำนวน 19 ท่าน นำโดย วิทยา เลาหกุล, เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ธชตวัน ศรีปาน, จเด็จ มีลาภ, อเล็กซานเดอร์ มาโน่ โพลกิ้ง รวมไปถึง หนึ่งฤทัย สระทองเวียน กุนซือฟุตบอลหญิง ทีมชาติไทย นอกจากนั้นก็ยังมี สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ ผู้ฝึกสอนไทยระดับ เอเอฟซี โปร ไลเซนส์ คนแรกที่จบหลักสูตรจากประเทศสิงคโปร์
สิ่งที่ผมอยากเห็นคือ แนวทางการสร้างผู้ฝึกสอนที่ผ่านมาตรฐานเอเอฟซีให้มีมากขึ้นๆ การบังคับสโมสรในระดับไทยลีก 1 และ 2 ต้องมีผู้ฝึกสอนไทยระดับ เอ-โปร ไลเซนส์ในทุกๆ ทีม อาจจะกำหนดกรอบเวลาที่เหมาะสม และมีเงินทุนสนับสนุนให้สโมสรที่มีแผนพัฒนาในส่วนนี้ เฉกเช่น เงินทุนที่ให้กับสโมสรที่มีแผนพัฒนาสนาม และสาธารณูประโภค หากเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จริงๆ มันควรจะมีอะไรที่เห็นชัดเป็นรูปธรรม จากนั้นค่อยพัฒนาต่อยอดไปยังลีกรองต่อๆ ไป
และอีกประเด็นหนึ่งผมเชื่อว่า โค้ชฟุตบอลไทยสมัยใหม่ย่อมปรับตัว และเปิดรับนโยบายนี้ได้ไม่ยาก แต่โค้ชฟุตบอลไทยสมัยเก่า ที่มีอายุค่อนข้างมาก พวกเขาเหล่านี้ทั้งเจนจัดในเรื่องประสบการณ์ ความเข้าใจในตัวนักฟุตบอล แต่การจะได้ไลเซนส์ คงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้ฝึกสอนกลุ่มนี้ ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่าย ภาษา และอีกหลากหลายอุปสรรค
สมาคมฯ ควรให้ความสำคัญกับโค้ชเหล่านี้ด้วยเช่นกัน อาจจะมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนผู้ฝึกสอนในกลุ่มนี้ เหมือนกองทุนกู้ยืมในสายอาชีพอื่นๆ เมื่อพวกเขาจบหลักสูตร เราก็จะมีบุคลากรรองรับในส่วนอื่นๆ ไม่จำเป็นแค่ระดับสโมสรฟุตบอล แต่สามารถต่อยอดไปยังศูนย์ฝึกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ปัญหาเรื่องภาษา อาจจะมีการจัดคอร์สภาษาเข้มข้น (Intensive Course) ที่เน้นศัพท์สำหรับการฝึกอบรมโค้ช โดยอาจจะขอความร่วมมือจากเอเอฟซี หรือสถาบันภาษาที่มีมากมายในเมืองไทย และสุดท้ายผลประโยชน์ทั้งหมดจะตกเป็นของทีมชาติไทยอย่างแน่นอน
ถึงแม้ว่าบริบทของฟุตบอลไทย จะแตกต่างกับฟุตบอลเยอรมัน เพราะเรายังตามหลังเขาอยู่หลายสิบปี แต่สมาคมฯ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องหาวิธีการที่เหมาะสม มาปรับใช้ให้เข้ากับวงการฟุตบอลในเมืองไทย
แนวคิดการสร้างรากฐานอย่างมั่นคง แบบฉบับฟุตบอลเยอรมัน หลักๆ คงหนีไม่พ้นความคิด และความฝันของชายที่ชื่อว่า วิทยา เลาหกุล ผู้จบการหลักสูตรอบรมโค้ช ยูฟ่า เอ ไลเซนส์ (เยอรมัน) บวกกับการผ่านประสบการณ์ค้าแข้งในบุนเดสลีกามาแล้ว และในเมืองไทยจะมีสักกี่คนที่มีลมหายใจเข้าออกเป็นลูกฟุตบอล พร้อมทั้งทัศนคติ และวิสัยทัศน์ แบบที่ ‘โค้ชเฮง’ เป็นอยู่ตลอดชั่วชีวิตของแก
“จริงๆ แล้วผมเองในตำแหน่งนี้ ผมจะโฟกัสไปที่ โค้ช ลีกเยาวชน และอีกอย่างหนึ่งที่ผมยังไม่ได้ทำก็คือ ศูนย์ฝึก ถ้าผมทำศูนย์ฝึกได้วันนี้ พรุ่งนี้ผมลาออกเลย” - วิทยา เลาหกุล
หากทีมชาติไทย ต้องการความสำเร็จที่ยั่งยืน การพัฒนาบุคลากรฟุตบอล โดยเฉพาะการสร้างโค้ช ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีหลักในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้เล่นเยาวชนได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ ควบคู่ไปกับการสร้างสถาบันฟุตบอลที่ได้มาตรฐาน สิ่งเหล่านี้จะเป็น ‘กุญแจสู่ความสำเร็จของวงการฟุตบอลไทย’ เฉกเช่นความสำเร็จของ ทีมชาติเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น ที่พิสูจน์ให้โลกได้เห็น
“ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการปลูกต้นไม้คือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว และช่วงเวลาที่ดีรองลงมาคือ ทำมันซะตอนนี้”
แล้วคุณเห็นด้วยไหมว่า ‘การสร้างผู้ฝึกสอน’ คือรากฐานแห่งความสำเร็จของวงการฟุตบอลไทย?
แหล่งอ้างอิง :
https://www.dfb.de/en/about-dfb/coaching-courses/
https://www.dfb.de/sportl-strukturen/hennes-weisweiler-akademie/die-akademie/historie/1947-bis-1950/
https://sports.vice.com/en_us/article/aemp55/germany-makes-soccer-coaches-the-same-way-it-makes-cars
https://www.independent.co.uk/sport/football/european/bundesliga-hoffenheim-julian-nagelsmann-schalke-04-domenico-tedesco-a7839166.html
https://www.theguardian.com/football/2013/may/23/germany-bust-boom-talent
https://www.thaileague.co.th/official/index.php?r=News/ScoopRead&id=264
https://www.fourfourtwo.com/th/features/kaalkhranghnuengainyuorp-chiiwitphcchyphaykhngwithyaa-elaahkul?page=0%2C1
https://www.dailynews.co.th/sports/665261
https://www.matichon.co.th/sport-slide/news_813769