"1 ปี 3 แชมป์ / ชนะ ญี่ปุ่น / ชนะ จีน คาบ้าน / ลุยหิมะพาช้างศึกเข้ารอบสุดท้าย"
.. ทั้งหมดนี่ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงานของ "เอคโคโน" กับทีมชาติไทย ชุดเยาวชน ในรอบ 1 ปีเศษๆ ที่เข้ามาทำงานกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
ตลอดเวลา มีคำถามมากมายกับเหล่า "นักชำนาญการฟุตบอล" วัยยังไม่แตะหลัก 30 ปี จากประเทศสเปนกลุ่มนี้ ก่อนที่พวกเขาจะตอบทุกคำถามด้วยผลงาน ผลงาน และผลงาน
ซึ่งล่าสุด สามารถพาทีมชาติไทย ชุดอายุไม่เกิน 14 ปี คว้าแชมป์ "อู๋ฮั่น คัพ" ที่ประเทศจีนมาได้ ชนิดสะใจกองเชียร์ เพราะสามารถตอกย้ำชัยชนะเหนือทีมชาติญี่ปุ่นอีกเกม ด้วยสกอร์ 3-2 จากประตูชัยในช่วงท้ายเกมของช่วงต่อเวลาพิเศษ โดยที่ ซัลบาดอร์ บาเลโร่ การ์เซีย ได้ตำแหน่งผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์ด้วย
เมื่อประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้นั่งคุยกับพวกเขา จนได้เขียนบทความชิ้นหนึ่งขึ้นมา และวันนี้ ขอนำกลับมารีรันอีกครั้งนะครับ....
.....................................................
“เอคโคโน (Ekkono) ทำอะไรกันบ้าง”
บ่อยครั้งที่ผมได้รับคำถาม และข้อสงสัยถึงบุคลากรจาก เอคโคโน (Ekkono) ทั้ง 4 คน ที่เข้ามาทำงานกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ประมาณ 1 ปีพอดี ว่าตอนนี้ “พวกเขาทำอะไรกันอยู่??” หลังถูกปรับตำแหน่งจากหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย ชุดอายุไม่เกิน 14 ถึง 21 ปี เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มาเป็นวางรากฐานระบบเยาวชน และฝึกสอนโค้ชในประเทศ
บ้างก็อยากทราบว่า พวกเขาทำอะไรกันอยู่
บ้างก็กังวลว่า สมาคมฯ จะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปแบบไม่คุ้มค่า
บ้างก็สงสัยงุนงงว่า การวางรากฐานระบบเยาวชน และผู้ฝึกสอนที่พวกเขาได้รับมอบหมาย มันต้องทำอะไรบ้าง
วันก่อน ผมได้พบ มาร์ค อลาเบดร้า ปาลาซิออส และ ซัลบาดอร์ บาเลโร่ การ์เซีย สองหนุ่มชาวสเปน ทีมงานของ เอคโคโน ที่อยู่ในประเทศไทย ทำให้ผมได้โอกาสพูดคุยกับพวกเขาระยะหนึ่ง ที่มากพอจะสอบถามเรื่องราวต่างๆ ได้
มาร์ค อลาเบดร้า จบโค้ชในระดับ UEFA A License (ยูฟ่า เอ ไลเซนส์) และปริญญาโท ด้านศึกษาศาสตร์ กีฬา โดยเคยเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน เอสปันญ่อล อะคาเดมี่ มาก่อน ซึ่งปีที่แล้ว คุมทีมชาติไทย ชุด ยู-19 คว้าแชมป์อาเซียน และทำผลงานในรอบคัดเลือกได้ดี จนผ่านเข้ารอบสุดท้าย ชิงแชมป์เอเชีย ยู-19 ในปีนี้ (ชุดลุยหิมะที่มองโกเลีย)
ส่วน ซัลบาดอร์ ก็อยู่ในระดับ UEFA A License (ยูฟ่า เอ ไลเซนส์) เช่นเดียวกัน โดยมีประสบการณ์เคยเป็นแมวมอง และทำงานด้านฟุตบอลเยาวชนในประเทศสเปน, สหรัฐอเมริกา และ อินเดีย มาแล้ว ซึ่งปีที่แล้ว เขาคุมทีมชาติไทย ชุดอายุไม่เกิน 15 ปี ได้รองแชมป์อาเซียน และทำผลงานรอบคัดเลือก ได้สิทธิ์ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายของ ยู-16 ชิงแชมป์เอเชีย 2018
อะเริ่มกันเลยนะ…. (เขียนจากที่ มาร์ค กับ ซัลบ้า เล่าให้ฟังนะครับ)
ปัจจุบัน เอคโคโน มีสิ่งต้องรับผิดชอบ 4 อย่าง นั่นคือ
1. Coach Education
2. High Performance Training Center
3. National Team
4. Thailand’s Way
เริ่มกันที่ “โค้ช เอดูเคชั่น” แปลตรงตัวกันเลยก็คือ การให้ความรู้ความสามารถแก่โค้ช ซึ่งดูแลภาพรวมโดย “มาร์ค อลาเบดร้า” ด้วยเหตุที่พวกเขาเนี่ย จบไลเซนส์จากยุโรปมา ทำให้พวกเขาก็มีหลายสิ่งอย่างที่ต้องการมาถ่ายทอด แนะนำให้กับโค้ชในประเทศไทย โดยมีการลงพื้นที่จัด “โค้ชชิ่งคลินิค” ให้กับโค้ชไปแล้วมากมาย 10 กว่าจังหวัด อาทิเช่น ชัยนาท, นครราชสีมา, ชลบุรี, สุโขทัย, เชียงราย, กรุงเทพมหานคร, สุพรรณบุรี, อุบลราชธานี, ราชบุรี, ปทุมธานี ฯลฯ
ทุกครั้งที่ลงพื้นที่สอน และแนะนำโค้ชแต่ละพื้นที่นั้น ก็จะมีการติดต่อไปที่สโมสรต่างๆ ก่อน เพื่อให้เกิดการรณรงค์ให้โค้ชในพื้นที่ ไม่ว่าจะระดับโรงเรียน ระดับมหาวิทยาลัย หรือระดับทีมสโมสร มาเข้าร่วมฟังการแนะนำว่า การโค้ชชิ่งของต่างชาตินั้น ทำอย่างไร และแตกต่างจากการโค้ชชิ่งของผู้ฝึกสอนไทยอย่างไร
ปัญหาในเรื่องนี้ที่มาร์คพยายามบอกผม (จริงๆ ก็ไม่ได้บอกตรงๆ หรอก แต่ผมรับรู้จากสีหน้าของเขา) คือ เขาคิดว่า ยังมีโค้ชอีกหลายคนที่ไม่ทราบว่า เอคโคโนจะลงพื้นที่ จึงอยากให้แต่ละสโมสร เห็นค่าในการช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อให้โค้ชระดับล่าง (ระดับเยาวชนในโรงเรียนต่างๆ) ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ กับอีกอย่างหนึ่งคือ “โค้ชในพื้นที่หลายท่าน” ยังไม่ค่อยตั้งใจรับคำแนะนำเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะอีโก้ที่มี หรือมองว่า เป็นคำแนะนำของคนที่เด็กกว่า และเป็นต่างชาติ
อย่างที่สองที่ เอคโคโน ต้องดูแลก็คือ เรื่องของ “High Performance Training Center” สำหรับข้อนี้จะมีอีกสามข้อย่อย ที่จะทำให้เกิดการฝึกฝนเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพในตัวนักฟุตบอลเยาวชนให้สูงขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น
ข้อย่อยแรกคือ การจัดฟุตบอล “ยูธ เฟสติวัล” ที่ศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เพื่อให้เด็กนักฟุตบอล ชุดอายุไม่เกิน 10-12 ปี ได้มีทัวร์นาเมนต์แข่งขันที่มีมาตรฐาน เพราะก่อนหน้านี้ ในไทยยังไม่มีทัวร์นาเมนต์ระดับยุวชนที่มีคุณภาพเหมือนในยุโรป ซึ่งเอคโคโน ไม่ใช่แค่จัดการแข่งขันเท่านั้น พวกเขาต้องทำการสเกาท์หานักเตะยอดเยี่ยมในแต่ละตำแหน่ง เพื่อจัดการฝึกอบรมแก่น้องๆ ที่ถูกคัดเลือก หลังจากจบทัวร์นาเมนต์ (ประมาณ 20-25 คน จะมีการจัดวีกเอนท์แคมป์ทุกเสาร์อาทิตย์) ซึ่งเป็นโปรเจคท์ระยะยาวสำหรับยุวชน
ข้อย่อยที่สอง คือ โปรเจคท์ Elite Group หรือการพัฒนากลุ่มนักเตะที่มีความเป็นเลิศ ในระดับหัวกะทิของแต่ละรุ่น ตั้งแต่รุ่นอายุ 16, 19, 21, 23 และ ชุดใหญ่
ข้อนี้ ทางด้าน เอคโคโน จะมีการคัดเลือกนักเตะระดับหัวกะทิของแต่ละรุ่นมา เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียจากวิดีโอการเล่นทั้งหมด และแนะนำให้กับพวกเขาว่า ควรแก้ไขตัวเองอย่างไรให้พัฒนาขึ้นอย่างไร
สำหรับตัวผู้เล่นที่อยู่ในกลุ่ม Elite Group คือ
ยู-16 - ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา, สราวุฒิ เสาวรส, ฉัตรมงคล เรืองฐณโรจน์
ยู-19 - สิทธิโชค ภาโส, กฤษฎา กาแมน, ยุทธพิชัย เลิศล้ำ, เอกนิษฐ์ ปัญญา
ยู-21/23 - ชินภัทร ลีเอาะ, วรชิต กนิษศรีบำเพ็ญ, พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล, รัตนากร ใหม่คามิ, สุภโชค สารชาติ
ข้อย่อยสุดท้ายของ High Performance Training Center ก็คือการเลือกนักเตะทีมชาติไทย ในแต่ละตำแหน่ง จากทุกกลุ่มอายุเยาวชน ตั้งแต่ 14-21 ปี และนำมาฝึกซ้อมร่วมกัน เช่น การนำเซ็นเตอร์ฮาล์ฟทีมชาติไทย จากทุกชุด มาฝึกซ้อมร่วมกัน และแนะนำว่า ควรทำอย่างไร ควรยืนตำแหน่งอย่างไร หรือควรแก้ไขสถานการณ์อย่างไรในเวลาแบบนี้
สองข้อแรกผ่านไปแล้วนะครับ นั่นคือ Coach Education และ High Performance Training Center ซึ่งข้อต่อมาที่ เอคโคโน ดูแล ก็คือ National Team หรือแปลตรงๆ ว่า การดูแลทีมชาติ โดย ซัลบาดอร์ จะทำหน้าที่คุม ทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ซึ่งเพิ่งคว้าแชมป์ไป 2 รายการติดต่อกันในเดือนเดียว นั่นคือ “U-14 Tournament in Yangon, Myanmar” ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ตามด้วย Wuhan Cup 2018 ที่ชนะทีมชาติญี่ปุ่น 2 เกม ทั้งในรอบแรก และรอบชิงชนะเลิศ
นอกจากการดูแลเรื่องทีมชาติชุดอายุไม่เกิน 14 ปี แล้ว “ซัลบ้า” ยังมีหน้าที่ในการสเกาท์เด็กด้วย ซึ่งเรามักจะเห็นว่า พวกเขาจะชอบไปดูบอลรายการเด็กต่างๆ (ผมเจออย่างบ่อยตามฟุตบอลเด็ก) นั่นคือการสเกาท์ เพื่อทำฐานข้อมูลไว้นะครับ เช่นคนนั้นมีข้อดีแบบนี้ คนนี้มีข้อดีแบบนั้น ทำเป็นฐานข้อมูลไว้บนฐานของการให้เกียรติเฮ้ดโค้ช ของทีมชาติไทย แต่ละชุด แต่หากมีการขอคำแนะนำ พวกเขาก็จะมีฐานข้อมูลให้
อย่างสุดท้าย ที่เป็นหน้าที่ของ เอคโคโน นั่นคือการเผยแพร่หลักการของ Thailand‘s Way ซึ่งตรงนี้ จะเป็นการสร้างนักเตะเยาวชนร่วมกัน โดยมีฐานการสร้างเหมือนกัน นั่นคือ 11 ข้อของไทยแลนด์เวย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่นักเตะควรจะมี (11 ข้อของ ไทยแลนด์เวย์ หาเองนะครับ มันยาวเกิน 555)
….
นอกจากคำถามเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขาแล้ว ผมยังถามเรื่องที่ว่า ข้ามน้ำข้ามทะเลมาทำงานกับเด็กไทยเนี่ย เจอปัญหาอะไรบ้าง ซัลบ้าบอกผมว่า นักเตะไทยในระดับเยาวชนนั้น โดยเฉพาะ 12-16 ปี มีความสามารถไม่ต่างอะไรกับนักเตะในยุโรปเลย แต่พอหลังจากอายุ 16 ปี ขึ้นไปแล้ว จะมีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน คือเด็กไทย เวลาว่าง ไม่กินก็เล่นมือถือ ชีวิตก็จะมีแค่ กิน นอน ซ้อมฟุตบอล กิน นอน เล่นมือถือ ซึ่งมันแสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพที่ยังน้อยอยู่ของเด็กไทย
แต่ซัลบ้าก็บอกผมนะ ว่าพวกเขาถูกส่งไปหลายที่ในโลก ด้วยความเชื่อมั่นที่ว่า จะสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติเหล่านี้ของเด็กๆ ได้ เพื่อให้ทุกอย่างดีขึ้น พวกเขามาเพื่อเป้าหมายในการปลูกฝังเด็กๆ ในเรื่องกิน และการใช้ชีวิตที่ถูก เป็นมืออาชีพมากขึ้น
ซึ่งพอย้อนกลับไปที่เรื่องของ “โค้ช เอดูเคชั่น” ทางด้านของมาร์คก็บอกผมว่า ตอนที่แนะนำโค้ชนั้น พวกเขาก็จะปลูกฝังที่โค้ชด้วย ให้ช่วยสร้างวินัย และความเป็นมืออาชีพแก่เด็กๆ โดยจะบอกกับโค้ชๆ เสมอว่า ต้องให้ความสำคัญมากๆ กับ การกิน การโภชนาการ และเรื่องของการพักผ่อน
หมดละครับ สิ่งที่ผมได้พูดคุยกับทาง มาร์ค และ ซัลบ้า เมื่อสองเดือนก่อน ก็ลองเปิดใจอ่านกันดูนะครับ ผมเองก็ได้แต่นำเสนอในสิ่งที่ทั้งสองพูดออกมา หวังว่า บทความนี้จะช่วยตอบคำถาม และความสงสัยของหลายๆ ท่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ
“จอน”
#Repost
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2234923876753683&id=1786696568243085
"1 ปี 3 แชมป์ / ชนะ ญี่ปุ่น / ชนะ จีน คาบ้าน / ลุยหิมะพาช้างศึกเข้ารอบสุดท้าย"(Ekkono)
.. ทั้งหมดนี่ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงานของ "เอคโคโน" กับทีมชาติไทย ชุดเยาวชน ในรอบ 1 ปีเศษๆ ที่เข้ามาทำงานกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
ตลอดเวลา มีคำถามมากมายกับเหล่า "นักชำนาญการฟุตบอล" วัยยังไม่แตะหลัก 30 ปี จากประเทศสเปนกลุ่มนี้ ก่อนที่พวกเขาจะตอบทุกคำถามด้วยผลงาน ผลงาน และผลงาน
ซึ่งล่าสุด สามารถพาทีมชาติไทย ชุดอายุไม่เกิน 14 ปี คว้าแชมป์ "อู๋ฮั่น คัพ" ที่ประเทศจีนมาได้ ชนิดสะใจกองเชียร์ เพราะสามารถตอกย้ำชัยชนะเหนือทีมชาติญี่ปุ่นอีกเกม ด้วยสกอร์ 3-2 จากประตูชัยในช่วงท้ายเกมของช่วงต่อเวลาพิเศษ โดยที่ ซัลบาดอร์ บาเลโร่ การ์เซีย ได้ตำแหน่งผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์ด้วย
เมื่อประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้นั่งคุยกับพวกเขา จนได้เขียนบทความชิ้นหนึ่งขึ้นมา และวันนี้ ขอนำกลับมารีรันอีกครั้งนะครับ....
.....................................................
“เอคโคโน (Ekkono) ทำอะไรกันบ้าง”
บ่อยครั้งที่ผมได้รับคำถาม และข้อสงสัยถึงบุคลากรจาก เอคโคโน (Ekkono) ทั้ง 4 คน ที่เข้ามาทำงานกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ประมาณ 1 ปีพอดี ว่าตอนนี้ “พวกเขาทำอะไรกันอยู่??” หลังถูกปรับตำแหน่งจากหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย ชุดอายุไม่เกิน 14 ถึง 21 ปี เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มาเป็นวางรากฐานระบบเยาวชน และฝึกสอนโค้ชในประเทศ
บ้างก็อยากทราบว่า พวกเขาทำอะไรกันอยู่
บ้างก็กังวลว่า สมาคมฯ จะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปแบบไม่คุ้มค่า
บ้างก็สงสัยงุนงงว่า การวางรากฐานระบบเยาวชน และผู้ฝึกสอนที่พวกเขาได้รับมอบหมาย มันต้องทำอะไรบ้าง
วันก่อน ผมได้พบ มาร์ค อลาเบดร้า ปาลาซิออส และ ซัลบาดอร์ บาเลโร่ การ์เซีย สองหนุ่มชาวสเปน ทีมงานของ เอคโคโน ที่อยู่ในประเทศไทย ทำให้ผมได้โอกาสพูดคุยกับพวกเขาระยะหนึ่ง ที่มากพอจะสอบถามเรื่องราวต่างๆ ได้
มาร์ค อลาเบดร้า จบโค้ชในระดับ UEFA A License (ยูฟ่า เอ ไลเซนส์) และปริญญาโท ด้านศึกษาศาสตร์ กีฬา โดยเคยเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน เอสปันญ่อล อะคาเดมี่ มาก่อน ซึ่งปีที่แล้ว คุมทีมชาติไทย ชุด ยู-19 คว้าแชมป์อาเซียน และทำผลงานในรอบคัดเลือกได้ดี จนผ่านเข้ารอบสุดท้าย ชิงแชมป์เอเชีย ยู-19 ในปีนี้ (ชุดลุยหิมะที่มองโกเลีย)
ส่วน ซัลบาดอร์ ก็อยู่ในระดับ UEFA A License (ยูฟ่า เอ ไลเซนส์) เช่นเดียวกัน โดยมีประสบการณ์เคยเป็นแมวมอง และทำงานด้านฟุตบอลเยาวชนในประเทศสเปน, สหรัฐอเมริกา และ อินเดีย มาแล้ว ซึ่งปีที่แล้ว เขาคุมทีมชาติไทย ชุดอายุไม่เกิน 15 ปี ได้รองแชมป์อาเซียน และทำผลงานรอบคัดเลือก ได้สิทธิ์ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายของ ยู-16 ชิงแชมป์เอเชีย 2018
อะเริ่มกันเลยนะ…. (เขียนจากที่ มาร์ค กับ ซัลบ้า เล่าให้ฟังนะครับ)
ปัจจุบัน เอคโคโน มีสิ่งต้องรับผิดชอบ 4 อย่าง นั่นคือ
1. Coach Education
2. High Performance Training Center
3. National Team
4. Thailand’s Way
เริ่มกันที่ “โค้ช เอดูเคชั่น” แปลตรงตัวกันเลยก็คือ การให้ความรู้ความสามารถแก่โค้ช ซึ่งดูแลภาพรวมโดย “มาร์ค อลาเบดร้า” ด้วยเหตุที่พวกเขาเนี่ย จบไลเซนส์จากยุโรปมา ทำให้พวกเขาก็มีหลายสิ่งอย่างที่ต้องการมาถ่ายทอด แนะนำให้กับโค้ชในประเทศไทย โดยมีการลงพื้นที่จัด “โค้ชชิ่งคลินิค” ให้กับโค้ชไปแล้วมากมาย 10 กว่าจังหวัด อาทิเช่น ชัยนาท, นครราชสีมา, ชลบุรี, สุโขทัย, เชียงราย, กรุงเทพมหานคร, สุพรรณบุรี, อุบลราชธานี, ราชบุรี, ปทุมธานี ฯลฯ
ทุกครั้งที่ลงพื้นที่สอน และแนะนำโค้ชแต่ละพื้นที่นั้น ก็จะมีการติดต่อไปที่สโมสรต่างๆ ก่อน เพื่อให้เกิดการรณรงค์ให้โค้ชในพื้นที่ ไม่ว่าจะระดับโรงเรียน ระดับมหาวิทยาลัย หรือระดับทีมสโมสร มาเข้าร่วมฟังการแนะนำว่า การโค้ชชิ่งของต่างชาตินั้น ทำอย่างไร และแตกต่างจากการโค้ชชิ่งของผู้ฝึกสอนไทยอย่างไร
ปัญหาในเรื่องนี้ที่มาร์คพยายามบอกผม (จริงๆ ก็ไม่ได้บอกตรงๆ หรอก แต่ผมรับรู้จากสีหน้าของเขา) คือ เขาคิดว่า ยังมีโค้ชอีกหลายคนที่ไม่ทราบว่า เอคโคโนจะลงพื้นที่ จึงอยากให้แต่ละสโมสร เห็นค่าในการช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อให้โค้ชระดับล่าง (ระดับเยาวชนในโรงเรียนต่างๆ) ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ กับอีกอย่างหนึ่งคือ “โค้ชในพื้นที่หลายท่าน” ยังไม่ค่อยตั้งใจรับคำแนะนำเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะอีโก้ที่มี หรือมองว่า เป็นคำแนะนำของคนที่เด็กกว่า และเป็นต่างชาติ
อย่างที่สองที่ เอคโคโน ต้องดูแลก็คือ เรื่องของ “High Performance Training Center” สำหรับข้อนี้จะมีอีกสามข้อย่อย ที่จะทำให้เกิดการฝึกฝนเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพในตัวนักฟุตบอลเยาวชนให้สูงขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น
ข้อย่อยแรกคือ การจัดฟุตบอล “ยูธ เฟสติวัล” ที่ศูนย์ฝึกฟุตบอลแห่งชาติ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เพื่อให้เด็กนักฟุตบอล ชุดอายุไม่เกิน 10-12 ปี ได้มีทัวร์นาเมนต์แข่งขันที่มีมาตรฐาน เพราะก่อนหน้านี้ ในไทยยังไม่มีทัวร์นาเมนต์ระดับยุวชนที่มีคุณภาพเหมือนในยุโรป ซึ่งเอคโคโน ไม่ใช่แค่จัดการแข่งขันเท่านั้น พวกเขาต้องทำการสเกาท์หานักเตะยอดเยี่ยมในแต่ละตำแหน่ง เพื่อจัดการฝึกอบรมแก่น้องๆ ที่ถูกคัดเลือก หลังจากจบทัวร์นาเมนต์ (ประมาณ 20-25 คน จะมีการจัดวีกเอนท์แคมป์ทุกเสาร์อาทิตย์) ซึ่งเป็นโปรเจคท์ระยะยาวสำหรับยุวชน
ข้อย่อยที่สอง คือ โปรเจคท์ Elite Group หรือการพัฒนากลุ่มนักเตะที่มีความเป็นเลิศ ในระดับหัวกะทิของแต่ละรุ่น ตั้งแต่รุ่นอายุ 16, 19, 21, 23 และ ชุดใหญ่
ข้อนี้ ทางด้าน เอคโคโน จะมีการคัดเลือกนักเตะระดับหัวกะทิของแต่ละรุ่นมา เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียจากวิดีโอการเล่นทั้งหมด และแนะนำให้กับพวกเขาว่า ควรแก้ไขตัวเองอย่างไรให้พัฒนาขึ้นอย่างไร
สำหรับตัวผู้เล่นที่อยู่ในกลุ่ม Elite Group คือ
ยู-16 - ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา, สราวุฒิ เสาวรส, ฉัตรมงคล เรืองฐณโรจน์
ยู-19 - สิทธิโชค ภาโส, กฤษฎา กาแมน, ยุทธพิชัย เลิศล้ำ, เอกนิษฐ์ ปัญญา
ยู-21/23 - ชินภัทร ลีเอาะ, วรชิต กนิษศรีบำเพ็ญ, พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล, รัตนากร ใหม่คามิ, สุภโชค สารชาติ
ข้อย่อยสุดท้ายของ High Performance Training Center ก็คือการเลือกนักเตะทีมชาติไทย ในแต่ละตำแหน่ง จากทุกกลุ่มอายุเยาวชน ตั้งแต่ 14-21 ปี และนำมาฝึกซ้อมร่วมกัน เช่น การนำเซ็นเตอร์ฮาล์ฟทีมชาติไทย จากทุกชุด มาฝึกซ้อมร่วมกัน และแนะนำว่า ควรทำอย่างไร ควรยืนตำแหน่งอย่างไร หรือควรแก้ไขสถานการณ์อย่างไรในเวลาแบบนี้
สองข้อแรกผ่านไปแล้วนะครับ นั่นคือ Coach Education และ High Performance Training Center ซึ่งข้อต่อมาที่ เอคโคโน ดูแล ก็คือ National Team หรือแปลตรงๆ ว่า การดูแลทีมชาติ โดย ซัลบาดอร์ จะทำหน้าที่คุม ทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ซึ่งเพิ่งคว้าแชมป์ไป 2 รายการติดต่อกันในเดือนเดียว นั่นคือ “U-14 Tournament in Yangon, Myanmar” ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ตามด้วย Wuhan Cup 2018 ที่ชนะทีมชาติญี่ปุ่น 2 เกม ทั้งในรอบแรก และรอบชิงชนะเลิศ
นอกจากการดูแลเรื่องทีมชาติชุดอายุไม่เกิน 14 ปี แล้ว “ซัลบ้า” ยังมีหน้าที่ในการสเกาท์เด็กด้วย ซึ่งเรามักจะเห็นว่า พวกเขาจะชอบไปดูบอลรายการเด็กต่างๆ (ผมเจออย่างบ่อยตามฟุตบอลเด็ก) นั่นคือการสเกาท์ เพื่อทำฐานข้อมูลไว้นะครับ เช่นคนนั้นมีข้อดีแบบนี้ คนนี้มีข้อดีแบบนั้น ทำเป็นฐานข้อมูลไว้บนฐานของการให้เกียรติเฮ้ดโค้ช ของทีมชาติไทย แต่ละชุด แต่หากมีการขอคำแนะนำ พวกเขาก็จะมีฐานข้อมูลให้
อย่างสุดท้าย ที่เป็นหน้าที่ของ เอคโคโน นั่นคือการเผยแพร่หลักการของ Thailand‘s Way ซึ่งตรงนี้ จะเป็นการสร้างนักเตะเยาวชนร่วมกัน โดยมีฐานการสร้างเหมือนกัน นั่นคือ 11 ข้อของไทยแลนด์เวย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่นักเตะควรจะมี (11 ข้อของ ไทยแลนด์เวย์ หาเองนะครับ มันยาวเกิน 555)
….
นอกจากคำถามเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขาแล้ว ผมยังถามเรื่องที่ว่า ข้ามน้ำข้ามทะเลมาทำงานกับเด็กไทยเนี่ย เจอปัญหาอะไรบ้าง ซัลบ้าบอกผมว่า นักเตะไทยในระดับเยาวชนนั้น โดยเฉพาะ 12-16 ปี มีความสามารถไม่ต่างอะไรกับนักเตะในยุโรปเลย แต่พอหลังจากอายุ 16 ปี ขึ้นไปแล้ว จะมีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน คือเด็กไทย เวลาว่าง ไม่กินก็เล่นมือถือ ชีวิตก็จะมีแค่ กิน นอน ซ้อมฟุตบอล กิน นอน เล่นมือถือ ซึ่งมันแสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพที่ยังน้อยอยู่ของเด็กไทย
แต่ซัลบ้าก็บอกผมนะ ว่าพวกเขาถูกส่งไปหลายที่ในโลก ด้วยความเชื่อมั่นที่ว่า จะสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติเหล่านี้ของเด็กๆ ได้ เพื่อให้ทุกอย่างดีขึ้น พวกเขามาเพื่อเป้าหมายในการปลูกฝังเด็กๆ ในเรื่องกิน และการใช้ชีวิตที่ถูก เป็นมืออาชีพมากขึ้น
ซึ่งพอย้อนกลับไปที่เรื่องของ “โค้ช เอดูเคชั่น” ทางด้านของมาร์คก็บอกผมว่า ตอนที่แนะนำโค้ชนั้น พวกเขาก็จะปลูกฝังที่โค้ชด้วย ให้ช่วยสร้างวินัย และความเป็นมืออาชีพแก่เด็กๆ โดยจะบอกกับโค้ชๆ เสมอว่า ต้องให้ความสำคัญมากๆ กับ การกิน การโภชนาการ และเรื่องของการพักผ่อน
หมดละครับ สิ่งที่ผมได้พูดคุยกับทาง มาร์ค และ ซัลบ้า เมื่อสองเดือนก่อน ก็ลองเปิดใจอ่านกันดูนะครับ ผมเองก็ได้แต่นำเสนอในสิ่งที่ทั้งสองพูดออกมา หวังว่า บทความนี้จะช่วยตอบคำถาม และความสงสัยของหลายๆ ท่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ
“จอน”
#Repost
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2234923876753683&id=1786696568243085