คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เสามังกร
..........เสามังกร หรือ หลงจู้
เป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะการตกแต่งและสถาปัตยกรรมจีนที่นิยมในการสร้างไว้ ณ พระราชวัง วัดวาอารามและศาลเจ้า
การแกะสลักเสามังกรมีทั้งการแกะสลักลงบนเนื้อหินศิลา ไม้ และหินอ่อน
บ้างประดับด้วยกระเบื้องเคลือบหลากสี
ตัวมังกรจะปรากฏในลักษณะของการเลื้อยพันรอบเสาหรืออยู่ในท่วงท่าทะยานบนหมู่เมฆ
กล่าวได้ว่า ชาวจีนนับตั้งแต่โบราณมา ล้วนมีความผูกพันกับมังกรจนไม่อาจแยกจากกันได้
และดำเนินมาอย่างยาวนานนับร้อยนับพันปีไม่มีเสื่อมคลาย
..........ชาวจีนมักนิยมพูดกันติดปากว่าคนจีนนั้นเป็นเผ่าพันธุ์แห่งมังกร
หรือที่รู้จักกันในคำว่า "หลงเตอฉวนเหริน" อันหมายถึง สายเลือดมังกร
แฝงนัยยะถึงการสืบเชื้อสายจากรากเหง้าเดียวกัน
มังกรในความหมายของชาวจีน เป็นมากกว่าสัตว์ในตำนานหรือสัตว์วิเศษในพงศาวดาร
..........เชื่อกันว่า มังกรสร้างขึ้นมาจากการนำเอาสัญลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าโบราณเผ่าต่าง ๆ มารวมกันโดย "หวงตี้"
ได้แก่ ศีรษะของหมู, หูของวัว, หนวดของแพะ, เขาของกวาง, ลำตัวของงู, เกล็ดของปลา และอุ้งเท้าของเหยี่ยว
มารวมกันเป็นเสาสักการะที่มีลักษณะเป็นแบบเสาโทเทม (Totem)
อาจเป็นไปได้ที่มีการสร้างไว้เพื่อบูชาและบวงสรวง
และอาจเป็นไปได้ที่สร้างไว้เพื่อให้แต่ละชนเผ่าที่มารวมกันนั้นมีสัญลักษณ์เดียวกัน นั่นก็คือที่มาของรูปลักษณะ "มังกร"
..........สัญลักษณ์แห่งมังกร ไม่เพียงแต่เชื่อว่ามีพลังอำนาจอันลี้ลับ
ยังเชื่อในอิทธิฤทธิ์แห่งมังกรที่นำพาลมฝนมาสู่มนุษยชาติ นำความอุดมสมบูรณ์ ความรุ่งเรือง และความผาสุกมาให้แด่มนุษย์
ดังนั้น สัญลักษณ์รูปมังกรจึงถูกนำมาสร้างไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของงานสถาปัตยกรรมจีน
ไม่ว่าจะเป็นหลังคา, กำแพง, หน้าต่าง, พื้น รวมทั้งเสาที่ใช้เป็นที่รองรับน้ำหนักของอาคาร ต่างสร้างเป็นลวดลายมังกรทั้งสิ้น
..........การสร้างมังกรเลื้อยพันรอบตัวเสาจึงมีที่มาและสอดคล้องตามคติความเชื่อเรื่องมังกรดังกล่าว
เพราะความหมายที่แฝงไว้ในมังกรเป็นความดีงาม สิริมงคล และเชื่อถือว่าเป็นสัตว์วิเศษและทรงพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือสัตว์วิเศษอื่นใด
..........ในยุคโบราณ
มังกรห้าเล็บถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนจักรพรรดิ
มังกรสี่เล็บแทนรัชทายาทและพระบรมวงศานุวงศ์
ส่วนมังกรสามเล็บอนุญาตให้ขุนนางชั้นผู้ใหญ่สามารถใช้ได้
แต่ห้ามสามัญชนใช้สัญลักษณ์มังกรโดยเด็ดขาด
ครั้นเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่สมัยใหม่
ชาวจีนต่างล้วนนิยมในรูปลักษณ์แห่งมังกร
ทำให้เกิดคติการสร้างรูปมังกรกันอย่างแพร่หลายและดำเนินสืบทอดมาตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
..........เสามังกร หรือ หลงจู้
เป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะการตกแต่งและสถาปัตยกรรมจีนที่นิยมในการสร้างไว้ ณ พระราชวัง วัดวาอารามและศาลเจ้า
การแกะสลักเสามังกรมีทั้งการแกะสลักลงบนเนื้อหินศิลา ไม้ และหินอ่อน
บ้างประดับด้วยกระเบื้องเคลือบหลากสี
ตัวมังกรจะปรากฏในลักษณะของการเลื้อยพันรอบเสาหรืออยู่ในท่วงท่าทะยานบนหมู่เมฆ
กล่าวได้ว่า ชาวจีนนับตั้งแต่โบราณมา ล้วนมีความผูกพันกับมังกรจนไม่อาจแยกจากกันได้
และดำเนินมาอย่างยาวนานนับร้อยนับพันปีไม่มีเสื่อมคลาย
..........ชาวจีนมักนิยมพูดกันติดปากว่าคนจีนนั้นเป็นเผ่าพันธุ์แห่งมังกร
หรือที่รู้จักกันในคำว่า "หลงเตอฉวนเหริน" อันหมายถึง สายเลือดมังกร
แฝงนัยยะถึงการสืบเชื้อสายจากรากเหง้าเดียวกัน
มังกรในความหมายของชาวจีน เป็นมากกว่าสัตว์ในตำนานหรือสัตว์วิเศษในพงศาวดาร
..........เชื่อกันว่า มังกรสร้างขึ้นมาจากการนำเอาสัญลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าโบราณเผ่าต่าง ๆ มารวมกันโดย "หวงตี้"
ได้แก่ ศีรษะของหมู, หูของวัว, หนวดของแพะ, เขาของกวาง, ลำตัวของงู, เกล็ดของปลา และอุ้งเท้าของเหยี่ยว
มารวมกันเป็นเสาสักการะที่มีลักษณะเป็นแบบเสาโทเทม (Totem)
อาจเป็นไปได้ที่มีการสร้างไว้เพื่อบูชาและบวงสรวง
และอาจเป็นไปได้ที่สร้างไว้เพื่อให้แต่ละชนเผ่าที่มารวมกันนั้นมีสัญลักษณ์เดียวกัน นั่นก็คือที่มาของรูปลักษณะ "มังกร"
..........สัญลักษณ์แห่งมังกร ไม่เพียงแต่เชื่อว่ามีพลังอำนาจอันลี้ลับ
ยังเชื่อในอิทธิฤทธิ์แห่งมังกรที่นำพาลมฝนมาสู่มนุษยชาติ นำความอุดมสมบูรณ์ ความรุ่งเรือง และความผาสุกมาให้แด่มนุษย์
ดังนั้น สัญลักษณ์รูปมังกรจึงถูกนำมาสร้างไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของงานสถาปัตยกรรมจีน
ไม่ว่าจะเป็นหลังคา, กำแพง, หน้าต่าง, พื้น รวมทั้งเสาที่ใช้เป็นที่รองรับน้ำหนักของอาคาร ต่างสร้างเป็นลวดลายมังกรทั้งสิ้น
..........การสร้างมังกรเลื้อยพันรอบตัวเสาจึงมีที่มาและสอดคล้องตามคติความเชื่อเรื่องมังกรดังกล่าว
เพราะความหมายที่แฝงไว้ในมังกรเป็นความดีงาม สิริมงคล และเชื่อถือว่าเป็นสัตว์วิเศษและทรงพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือสัตว์วิเศษอื่นใด
..........ในยุคโบราณ
มังกรห้าเล็บถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนจักรพรรดิ
มังกรสี่เล็บแทนรัชทายาทและพระบรมวงศานุวงศ์
ส่วนมังกรสามเล็บอนุญาตให้ขุนนางชั้นผู้ใหญ่สามารถใช้ได้
แต่ห้ามสามัญชนใช้สัญลักษณ์มังกรโดยเด็ดขาด
ครั้นเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่สมัยใหม่
ชาวจีนต่างล้วนนิยมในรูปลักษณ์แห่งมังกร
ทำให้เกิดคติการสร้างรูปมังกรกันอย่างแพร่หลายและดำเนินสืบทอดมาตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
แสดงความคิดเห็น
เสามังกร ที่มีอยู่ที่ศาลเจ้า