เข้าใจ "นิวรณ์" อย่างจริงแท้
นิวรณ์ (นิ-วอน) คือ ตัวขัดขวางไม่ให้เรามุ่งมั่นทำงานนั้นให้สำเร็จ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ อย่าง ดังนี้
๑. กามฉันทะ (กาม-มะ-ฉัน-ทะ) คือ ต้องการความรัก ความเอาใจใส่ต่อตนเอง มารักห่วงใยเรา อยากเป็นเจ้าของ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น
๒. พยาบาท (พะ-ยา-บาด) คือ ความผูกใจเจ็บจะเอาคืน ปองร้ายผู้อื่น
๓. ถีนมิทธะ (ถี-นะ-มิด-ทะ) คือ ความหดหู่ เซื่องซึม ง่วง เบื่อ เซ็ง เชื่องช้า ลำคาญ เคลิบเคลิ้ม ห่อเหี่ยว ท้อแท้ หมดหวัง เศร้า ซึม หมดอาลัย ความเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ปล่อยปละละเลย
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (อุด-ทัด-จะ-กุด-กุด-จะ) คือ ฟุ้งซ่าน ร้อนใจ กระวนกระวาย กลุ้มใจ กังวล ซุมซ่าม อึดอัดกลัดกลุ้ม หวาดกลัว หงุดหงิด ความประหม่า ความขวยเขิน ความวิตก
๕. วิจิกิจฉา (วิ-จิ-กิด-ฉา)คือ ความลังเลสงสัยไม่ตกลงสรุปได้ ส่งผลให้เราทำอะไรไม่สำเร็จ หรือขัดขวางทำให้สำเร็จน้อย จัดเป็นนิวรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติธรรมหรือการงาน ทำให้สำเร็จไม่เต็มที่ ฉะนั้น ควรจะระวังขจัดวิจิกิจฉา คือ ความสงสัยไม่สรุป มิฉะนั้น ตัวเองก็จะเสียโอกาสเนืองๆ
ขั้นตอนขี้สงสัย (วิจิกิจฉา)
๑. สงสัยว่ามันเป็นอะไร สงสัยเพราะอยากรู้
วิธีแก้ไข : ต้องหาข้อมูล แล้วต้องสรุป ไม่งั้นจะคาราคาซัง
๒. สงสัยแล้วอยากลอง
วิธีแก้ไข : พูดคุย สนทนากับผู้รู้แล้วมีกฎกติกา ในการลองโดยอยู่ในการควบคุมของผู้รู้
๓. สงสัยแล้วอยากท้าพิสูจน์
วิธีแก้ไข : ยอมรับในความเป็นจริงว่า บางอย่างพิสูจน์ได้ บางอย่างพิสูจน์ไม่ได้ ต้องอนุมานเอา ย้อนกลับไปไม่ได้ ต้องดูที่ผลเป็นอย่างนี้ ต้องมีเหตุที่ได้ทำไว้แน่นอน
สาเหตุเพราะไม่ยอมรับความจริงที่เป็นจริงตามนั้น บางทีรู้มากแต่สรุปไม่ได้ซักเรื่อง
๔. สงสัยเถียงตรงข้าม ทำแบบนี้ได้ไหม จะทำแบบตรงกันข้าม
วิธีแก้ไข : ยอมรับความจริงในของผล เช่น จะไปกรุงเทพฯ แต่ไปทางท่าขี้เหล็กประเทศพม่าเพื่อเดินรอบโลก ถ้าลงมาทางเส้นทางสายเชียงราย พะเยา จะใกล้กว่า เร็วกว่า แต่ไม่ยอมด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิมานะของตนเอง
สาเหตุที่ไม่ยอมรับความจริง เพราะมีทิฏฐิมานะ ไม่ยอม
๕ สงสัยแล้ววางแผนจะทำให้เป็นไปตามที่ตนเองวางแผนไว้ว่าถูกต้อง
วิธีแก้ไข : อย่าประมาทตัวดำ และเชื่อฟังครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามอย่างยิ่งยวด
ตัวขจัดนิวรณ์
แก้ข้อที่ ๑ ให้พิจารณาวิบาก ๗ (ชอบธรรม สมควร เหมาะสม บุคคล สถานที่ การณ์ และกาลเวลา) ว่าจะเอาได้แค่ไหน
แก้ข้อที่ ๒ ด้วยองค์ธรรม เมตตา กรุณา มุฑิตา อกเขาอกเรา
แก้ข้อที่ ๓ ต้องตั้งความหวัง ตั้งเป้าหมาย
แก้ข้อที่ ๔ มีความระมัดระวัง ไม่มักง่าย
แก้ข้อที่ ๕ รู้จักสรุป เข้าใจ ตั้งใจ เต็มใจ (จจด.) จริงจัง จริงใจ เด็ดขาด
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เข้าใจ "นิวรณ์" อย่างจริงแท้
นิวรณ์ (นิ-วอน) คือ ตัวขัดขวางไม่ให้เรามุ่งมั่นทำงานนั้นให้สำเร็จ ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ อย่าง ดังนี้
๑. กามฉันทะ (กาม-มะ-ฉัน-ทะ) คือ ต้องการความรัก ความเอาใจใส่ต่อตนเอง มารักห่วงใยเรา อยากเป็นเจ้าของ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น
๒. พยาบาท (พะ-ยา-บาด) คือ ความผูกใจเจ็บจะเอาคืน ปองร้ายผู้อื่น
๓. ถีนมิทธะ (ถี-นะ-มิด-ทะ) คือ ความหดหู่ เซื่องซึม ง่วง เบื่อ เซ็ง เชื่องช้า ลำคาญ เคลิบเคลิ้ม ห่อเหี่ยว ท้อแท้ หมดหวัง เศร้า ซึม หมดอาลัย ความเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ปล่อยปละละเลย
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (อุด-ทัด-จะ-กุด-กุด-จะ) คือ ฟุ้งซ่าน ร้อนใจ กระวนกระวาย กลุ้มใจ กังวล ซุมซ่าม อึดอัดกลัดกลุ้ม หวาดกลัว หงุดหงิด ความประหม่า ความขวยเขิน ความวิตก
๕. วิจิกิจฉา (วิ-จิ-กิด-ฉา)คือ ความลังเลสงสัยไม่ตกลงสรุปได้ ส่งผลให้เราทำอะไรไม่สำเร็จ หรือขัดขวางทำให้สำเร็จน้อย จัดเป็นนิวรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติธรรมหรือการงาน ทำให้สำเร็จไม่เต็มที่ ฉะนั้น ควรจะระวังขจัดวิจิกิจฉา คือ ความสงสัยไม่สรุป มิฉะนั้น ตัวเองก็จะเสียโอกาสเนืองๆ
ขั้นตอนขี้สงสัย (วิจิกิจฉา)
๑. สงสัยว่ามันเป็นอะไร สงสัยเพราะอยากรู้
วิธีแก้ไข : ต้องหาข้อมูล แล้วต้องสรุป ไม่งั้นจะคาราคาซัง
๒. สงสัยแล้วอยากลอง
วิธีแก้ไข : พูดคุย สนทนากับผู้รู้แล้วมีกฎกติกา ในการลองโดยอยู่ในการควบคุมของผู้รู้
๓. สงสัยแล้วอยากท้าพิสูจน์
วิธีแก้ไข : ยอมรับในความเป็นจริงว่า บางอย่างพิสูจน์ได้ บางอย่างพิสูจน์ไม่ได้ ต้องอนุมานเอา ย้อนกลับไปไม่ได้ ต้องดูที่ผลเป็นอย่างนี้ ต้องมีเหตุที่ได้ทำไว้แน่นอน
สาเหตุเพราะไม่ยอมรับความจริงที่เป็นจริงตามนั้น บางทีรู้มากแต่สรุปไม่ได้ซักเรื่อง
๔. สงสัยเถียงตรงข้าม ทำแบบนี้ได้ไหม จะทำแบบตรงกันข้าม
วิธีแก้ไข : ยอมรับความจริงในของผล เช่น จะไปกรุงเทพฯ แต่ไปทางท่าขี้เหล็กประเทศพม่าเพื่อเดินรอบโลก ถ้าลงมาทางเส้นทางสายเชียงราย พะเยา จะใกล้กว่า เร็วกว่า แต่ไม่ยอมด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิมานะของตนเอง
สาเหตุที่ไม่ยอมรับความจริง เพราะมีทิฏฐิมานะ ไม่ยอม
๕ สงสัยแล้ววางแผนจะทำให้เป็นไปตามที่ตนเองวางแผนไว้ว่าถูกต้อง
วิธีแก้ไข : อย่าประมาทตัวดำ และเชื่อฟังครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามอย่างยิ่งยวด
ตัวขจัดนิวรณ์
แก้ข้อที่ ๑ ให้พิจารณาวิบาก ๗ (ชอบธรรม สมควร เหมาะสม บุคคล สถานที่ การณ์ และกาลเวลา) ว่าจะเอาได้แค่ไหน
แก้ข้อที่ ๒ ด้วยองค์ธรรม เมตตา กรุณา มุฑิตา อกเขาอกเรา
แก้ข้อที่ ๓ ต้องตั้งความหวัง ตั้งเป้าหมาย
แก้ข้อที่ ๔ มีความระมัดระวัง ไม่มักง่าย
แก้ข้อที่ ๕ รู้จักสรุป เข้าใจ ตั้งใจ เต็มใจ (จจด.) จริงจัง จริงใจ เด็ดขาด
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์