ข้าขอไปสู้ฟ้าใกลไม่หวนกลับ ข้าขอรอรับเพียงจันทราไม่ลาแสง
แม้ดวงสุริยันจะถึงขั้น สิ้นเรี่ยวแรง
แสงของตัวข้า จะส่องสว่างไปทั่วฟ้า ....ตลอดกาล
เริ่มยุคการผจญภัยระหว่างดวงดาว ไปกับสิ่งประดิษฐใหม่ที่ขะเปลื่ยนแปลงทุกสิ่
ง การผจญภัยที่แท้จริงเริ่มขึ้นแล้ว
ยานอวกาศ คือ เครื่องจักรหรือยานพาหนะ ที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อการเดินทางในเอาต์เตอร์สเปซ ยานอวกาศมีจุดประสงค์
ในการสร้างขึ้นมาใช้งานหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์ด้านการสือสาร การสำรวจภูมิประเทศของโลก
การตรวจสอบและศึกษาอุกกาบาติ การนำทางและระบุพิกัดตำแหน่งของวัตถุ ประโยชน์ทางด้านการทหาร
และการป้องกันภัยคุกคามทางอวกาศ รวมถึงการสร้างโคโลนี่ในอวกาศ และการสำรวจดาวเคราะห์ ล้วนเป็นหน้าที่
ของสิ่งประดิษฐ์จำพวกนี้ทั้งสิ้น โดยมากการส่งยานอวกาศในยุคใหม่จำเป็นต้องใช้ฐานยิงต้องขอบคุณโครงการของสเปซเอ็กซ์
ที่ทำให้เราสามารถเอาจรวดแบบกลับมาใช้งานใหม่ได้กลับมาใช้งาน ซึ่งนั่นทำให้เราสามารถเซฟเงินใน
กระเป๋าของชาติที่ทำโครงการอวกาศไปได้เยอะมากเลยครับ
อันนี้เป็นตัวอย่างภาพของจรวดของกลุ่ม บลู ออริจิ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกโครงการอวกาศที่สำคัญ
ในการปล่อยยานอวกาศในระดับซับออร์บิทัล หรือขึ้นไปแล้วตกลงมา แบบที่เราจัดการส่งผู้กล้า ยูริ กาการิน
ขึ้นไปนั้น ก็แค่ขึ้นไปแล้วตก ในระดับออร์บิทัล หรือวงโคจรนั้น เราจะให้ยานไปโคจรรอบวัตถุอวกาศ
ที่เป็นเป้าหมายในระยะใกล้ เพื่อทำการเก็บข้อมูล จากเป้าหมายนั้นเองมาใช้ประโยชน์ ภารกิจ
ในอวกาศโดยมาก เราจะใช้งานหุ่นยนต์ในการทำงานเป็นหลัก เนื่องจากร่างกายของมนุษย์มี
ข้อจำกัดมาก ในสนามผจญภัยแบบอวกาศครับผม โดยการใช้งานเทคโนโลยีบนอวกาศนี้
ภารกิจที่เราจะใช้งานหุ่นยนต์ในการสร้างสรรค์ผลงาน หลักจัดได้มี 2 รูปแบบครับ
รูปแบบที่หนึ่ง คือ หุ่นยนต์ปฏิบัติการอัติโนมัติ รูปแบบที่สองคือหุ่นยนต์ควบคุมระยะใกล
หุ่นยนต์ยานอวกาศ ถูกใช้งานในการศึกษาวิทยาศาสตร์คือสเปซโพรบ ซึ่งยาน
อวกาศในตระกูลดังกล่าว มันจะถูกควบคุมระยะใกล จากศูนย์ควบคุมภาคพึ้นดิน
ดาวบางดวงอย่างดาวศุกร์ ดาวพฤหัส มีสภาพแวดล้อมที่สุดขั้วเกินไป มนุษย์
ไม่สามารถลงไปทำการสำรวจได้ ส่วนยูเรนัส เนปจูน และพลูโต นั้นก็ออกจากอยู่ใกล
เกินไป การส่งโพรบไร้มนุษย์ออกไปทำการสำรวจ มันน่าจะเป็นแนวคิดที่เอามาใช้งาน
ใช้การจริงได้มากกว่า ในสายตาของนักวิทยาศาสตร์ละนะครับ ซึ่งยานจำพวกนี้
ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานเป็นครั้งแรกในปี 1951 โดยสหภาพโซเวียต โดยในนั้นบรรจุสุนัขใว้
2 ตัว ซึ่งล้มเหลวในการส่ง แต่ต่อมาความล้มเหลวในครั้งนี้ได้ถูกทำให้กลายเป็นคีย์แมน
เพื่อไปสู่ความสำเร็จ ในปี 1957 โดยการส่งสปุตนิค 1 เข้าสู่วงโคจรอย่าง
น่าชื่นชม และเป็นยุคของการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีครั้งใหญ่เลย
นอกจากโซเวียตและอเมริกาแล้ว ยังมีประเทศทั่วโลก ที่ประสบความสำเร็จ ในการส่งวัตถุ
อวกาศขึ้นสู่วงโคจรอีกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศษในปี 1965 ญี่ปุ่นและจีนในปี 1970
อังกฤษในปี 1971 อินเดียในปี 1980 อิสราเอลในปี 1988 อิหร่านในปี 2009 เกาหลีเหนือในปี 2012 และนิวซีแลนด์ในปี 2018
โดยการจะส่งยานพวกนี้ลงไปยังพึ้นผิวของดาวต้องมีแฟคเตอร์ที่ต้องคิดถึงอยู่ 2 เรื่องหลักๆ ครับ เรื่องแรกคือ ระดับ
แรงโน้มถ่วง ของดาวที่เราจะทำการส่งยานอวกาศลงไป ข้อที่สอง ต้องรู้องค์ประกอบสภาพชั้นบรรยากาศ
ของดาวด้วย ว่ามันประกอบด้วยแก็สอะไรบ้าง เพึ้อจะได้มั่นใจว่า การที่เราจะส่งยานลงจอดนั้น เราจะได้รับ
ผลลัพธ์ที่เหมาะสม จะสังเกติว่าไม่มีโรเวอร์วิ่งอยู่บนพึ้นผิวของ ดาวพฤหัส ศุกร์ และเสาร์เลย
ทั้งนี้ก็มาจากการที่ดาวศุกร์เป็นดาวที่มีความร้อนแรงสูงที่สุด ในระบบสุริยะ และดาวพฤหัส และเสาร์
ก็ล้วนแต่เป็นดาวแก้ส ที่มีทั้งกัมมันตภาพรังสีที่สูง และสภาพชั้นบรรยากาศที่รุนแรงเป็นอย่างยิ่ง
จึงเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่า ที่จะทำยานรูปแบบโพรบที่มีความสามารถในการวิ่งสำรวจ ไปอยู่บน
ดาวเคราะห์เหล่านี้นั่นเองครับผม
กลุ่มโพรบที่ถูกส่งออกไปนอกระบบสุริยะนั้นถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุด โดยมีเพียง ไพโอเนียร์ 10 ไฟโอเนียร์ 11
วอยเอเจอร์ 1 และ 2 รวมถึงโครงการอวกาศที่เกิดขึ้นล่าสุด และเป็นประโยชน์กับมนุษย์ชาติสุดๆ อย่างโครงการ
นิว ฮอไรชอนส์ ปัจจุบันมีชาติใหญ่ๆ จำนวนมาก ที่มีการทำโครงการอวกาศของตัวเอง และมีชาติอีกไม่น้อย
ที่จะทำการส่งวัตถุอวกาศ ขึ้นสู่วงโคจรด้านในในอนาคต ตามแผนภาพนี้
ชาติสีแดงในแผนภาพคือชาติที่ทำโครงการอวกาศเรียบร้อยแล้ว
ชาติที่มีสีแดงในแผนภาพ คือชาติที่ได้สตาร์ทโครงการอวกาศสำเร็จไปแล้ว ชาติที่มีสีส้ม
คือชาติที่ได้เริ่มต้นโครงการอวกาศผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ ชาติที่มีสีเขียว
คือชาติที่มีแผนการจะเริ่มต้นโครงการอวกาศ ในอนาคตอันใกล้(จะสังเกติว่าชาติในกลุ่มสีเขียว
มีเยอะมาก แม้แต่อินโดนีเซีย ที่เป็นประเทศอาเซียนก็ยังจะบุกเบิกโครงการอวกาศในอนาคตอันใกล้)
ชาติในกลุ่มสีฟ้า คือเคยมีโครงการอวกาศ แต่ทอดทิ้งไปซึ่งน่าเสียดายมาก
ประวัติศาสตร์ของโครงการอวกาศนั้น ถ้าพูดกันจริงๆ แล้ว เราเริ่มต้นมีรากฐานมาตั้งแต่ช่วง
ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วครับ โดยจรวดวี 2 ของเยอรมันีนั้นอาจพุ่งขึ้นไปในอวกาศ
ได้สูงถึง 189 กิโลเมตร ซึ่งนั้นเป็นสัญญานว่า ในอนาคต ยุคของอวกาศจะมาถึง
อีก 12 ปี สปุกนิค 1 ซึ่งเป็นยานอวกาศลำแรก ก็ได้ถูกปลดปล่อยขึ้นสู่วงโคจรโดยที่
ปลายปีเดียวกัน โซเวียตได้จัดการส่งดาวเทียมดวงที่สอง ที่มีสัตว์อยู่ภายใน นั้นคือเจ้าสุนัขอย่างไลก้า
ที่ทำให้เรารู้จักกันดี และในปี 1958 โซเวียตก็ได้จัดการส่งยานอวกาศชื่อดังอย่างสปุคนิค 3 ขึ้นไป
สู่วงโคจรอย่างรวดเร็ว และเป็นดาวเทียมดวงแรก ที่โดยปล่อยขึ้นไป เพื่อเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งการกระทำของโซเวียตในครั้งนี้ ทำให้ทางอเมริกาจัดการตัวสั่นด้วยความหวาดกลัวไปเลยที่เดียวครับผม
เพราะถ้าโซเวียตสามารถปล่อยยานขึ้นไปถึงดวงจันทร์ได้เมื่อไหร่ การจะปล่อยจรวดถล่มอเมริกา
ให้ถึงแก่ความย่อยยับนั้นก็เป็นเรื่องที่ง่ายกว่ามาก และนำมาซึ่งการแข่งขันทางอวกาศ
ที่นำมาซึ่งความก้าวหน้าของมนุษย์ชาติครับ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเรื่องดีในยุคสงครามเย็น
ระบบย่อยที่สำคัญในยานอวกาศ
ระบบพยุงชีวิต
ในกรณีที่นั่นเป็นยานอวกาศ ที่มีมนุษย์ขึ้นไปด้วย ระบบพยุงชีวิต ที่จะรับประกันความปลอดภัยของบุคคล
ที่จะเดินทางขึ้นไปในอวกาศ ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ยกเว้นแต่ว่าคุณจะจัดการจัดส่งนักโทษประหารขึ้น
ไปบนอวกาศ ซึ่งการจะประหารคนด้วยวิธีนี้ก็จัดเป็นอะไรที่ถือว่าบ้าและสิ้นเปลืองทรัพยากรเอาเรื่อง
ที่เดียว เอาละ มาเจาะลึกกันดีกว่าครับ ว่าระบบพยุงชีวิตในอวกาศ มีอะไรที่สำคัญบ้าง
3 ปัจจัยแรก ทื่ขาดไปไม่ได้เป็นอันขาด ขาดไปเมื่อไหร่วินาศสันตะโรเมื่อนั้น คือการขาดอาหาร
น้ำ และออกซิเจน โดยน้ำบนยานอวกาศนั้น จะมีระบบการเวียนเอาของเหลวที่ทำความสะอาดแล้ว
มาใช้งานไหม่อีกครั้ง ยานอวกาศขาดไปไม่ดีอีกอย่างก็คือ
ระบบควบคุมการปฏิบัติการ
ยานอวกาศจำเป็นจะต้องมีการตอบสนอง ต่อแรงต่างๆ ที่เข้ามากระทำต่อโครงสร้างตัวยานอย่างเหมาะสม
หรือเรียกอีกชื่อ ว่านั่นเป็นระบบนำทางยาน เพื่อให้ยานทำการรีแอคชั่น ต่อวัตถุฟากฟ้าที่จะทำการสำรวจ
วัตถุที่เข้ามาใกล้ สนามแม่เหล็กและกัมมันตภาพรังสี ของวัตถุที่อยู่ในอวกาศ
โดยยานอวกาศในยุคใหม้ จะใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้จากเรื่อง การหมุนของไจโรสโคป
ในการควบคุมทิศทางของตัวยาน ซึ่งนั่นเป็นวีธีที่ประหยัดพลังงานมากกว่าการ
ใช้ไอพ่นควบคุมเป็นอย่างมากที่เดียว นอกจากนั้นยังมีเซนเซอร์อื่นๆ ที่สำคัญอีก เช่น
ฮอไรชอนส์เซนเซอร์:ตรวจจับแสงที่หักเหออกมาจากชั้นบรรยากาศของโลก บางครั้งจะเพิ่มเทอร์มอลอินฟราเรด
เพื่อตรวจจับการเปลื่ยนแปลงของรังสีคอสมิค เทียบกับชั้นบรรยากาศด้านหลัง ที่เย็นยะเยือกกว่ามาก
ออร์บิทอลคอมพาส:วัดความเปลื่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของตัวยาน กับแรงโน้มถ่วงโลก
ซันเซนเซอร์: ตรวจสอบความเกี่ยวข้องของตัวยาน กับทิศทางจากดวงอาทิตย์ อาจใช้ตั้งแต่แผงโซลาร์เซลล์ยันกล้องดูดาว
แม็กเนโตรเมทเทอร์ การตรวจจับจากอวกาศถึงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหลังฉาก ถือว่ามีประโยชน์ในการตรวจจับ
นอกจากนั้นยานอวกาศพวกนี้ยังมีฟังก์ชั่นเสริมความเร็วในตัว ไม่ว่าจะเป็นทรัสเตอร์ที่ใช้ประโยชน์จากกฏข้อที่สาม
ของนิวตัน ใบเรือสุริยะ ที่ใช้วิธีสะสมมวลและพลังงาน ที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ นอกจากนั้นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในยาน
อวกาศยังมีอย่างอื่นอีกมาก ซึ่งเราจะได้พูดกันต่อไป
พลังงาน
ปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการเดินทางในอวกาศ ได้แก่แหล่งพลังงาน ในกรณีที่เราอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
เราสามารถดึงพลังงานมหาศาลออกมาจากเจ้าก้อนพลาสม่าร้อนก้อนนี้ เอามาใช้ในการเดินทางใน
อวกาศได้อย่างง่ายดาย แต่คำถามคือ ถ้าเราอยู่ใกลออกไปจากเจ้าลูกไฟยักษ์ เราจะเอาอะไรมาใช้เป็นพลังงาน
ให้การสำรวจอวกาศของเราเป็นไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งในปัจจุบันเราใช้งานเตารังสีแบบ RTG
แต่ว่าในอนาคต เราน่าจะสำรวจอวกาศได้สนุกขึ้นอีกมาก เพราะอีกไม่นานเกินรอ นิวเคลียร์ฟิวชั่นกำลังจะมา
ความร้อน
ยานอวกาศต้องถูกออกแบบด้วยวัสดุที่ทนทานต่อความร้อนได้ดี เพื่ออย่างน้อยเพื่อให้มัน
ต้านทานต่อความร้อน ที่เกิดขึ้น ขณะที่ยานของเรากำลังเดินทางออกมาจากชั้นบรรยากาศโลก
โดยเฉพาะกับยานที่จะเข้าไปสำรวจดวงอาทิตย์ในระยะประชิด ซึ่งต้องเจอกับความร้อนสูงเป็นพิเศษ
ก็จำเป็นที่จะต้องมีฉนวนความร้อนที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้เจ้ายานของเรา สามารถเข้าไปใกล้
เจ้าลูกไฟยักษ์ได้มากพอ และสามารถที่จะสำรวจดวงอาทิตย์ได้นั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการสำรวจอวกาศ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ให้ของขวัญกับมนุษย์ชาติ คือ องค์ความรู้ปริมาณมหาศาล
ซึ่งจะเป็นรากฐานให้กับการพัฒนาและสำรวจของพวกเราในอนาคตนั่นเอง ถ้าจะรบ
กันในอวกาศ ความเร็วและความคล่องตัวในการรบ รวมถึงระบบตรวจจับที่ดี ถือเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นที่
จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างขาดไม่ได้
บางคนบอกวัสดุสีดำสนิทเหมือนหลุมดำน่าจะดี แต่การที่ไม่แผ่รังสีอะไรเลย
น่าจะกลายเป็นจุดอ่อนในการรบในอวกาศมากกว่า เพราะว่าจะกลายว่ามันดำจนเด่น เมื่อเทียบกับรังสีฉากหลัง
แถมถ้ารบในเนบิวล่า จะกลายเป็นเป้าให้ทำการสอยได้ง่ายๆ ด้วยอาวุธเลเซอร์ เรลกัน หรือพวกจรวดสังหาร
ต่างๆ ที่ระเบิดและปลดปล่อยรังสีความร้อน เพื่อหลอมละลายยานรบข้าศึก จนกลายเป็นธุลี
แต่ถ้าจะสร้างฐานทัพในอวกาศจริง ระบบกล้องวงจรปิดในฐานทัพน่าจะมีอยู่แล้ว ดังนั้น
อย่าคิดจะลอบเข้าไปในฐานทัพของข้าศึกแบบสตาร์วอร์ได้ง่ายๆ ละ และอาวุธจำพวก kinetic weapon
หรือกระสุนความเร็วสูงนั้น เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สังหารที่น่ากลัวที่สุด ที่ยานรบของคุณควรจะมีใว้
เพราะในอวกาศไม่มีแรงเสียดทาน
https://www.youtube.com/watch?v=pRBapQRrPl8
ขอบคุณที่มาบทความจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Robotic_spacecraft
https://en.wikipedia.org/wiki/Spacecraft
https://en.wikipedia.org/wiki/Attitude_control
https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_spaceflight
https://ppantip.com/l/http%3A%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AFwww.popsci.com%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AFnavys-locust-launcher-fires-swarm-drones
https://nerdist.com/heres-what-a-nuclear-bomb-detonating-in-space-looks-like/
spacecraft+war tricky...ยานอวกาศ+ทริคสงครามอวกาศ
แม้ดวงสุริยันจะถึงขั้น สิ้นเรี่ยวแรง
แสงของตัวข้า จะส่องสว่างไปทั่วฟ้า ....ตลอดกาล
เริ่มยุคการผจญภัยระหว่างดวงดาว ไปกับสิ่งประดิษฐใหม่ที่ขะเปลื่ยนแปลงทุกสิ่
ง การผจญภัยที่แท้จริงเริ่มขึ้นแล้ว
ยานอวกาศ คือ เครื่องจักรหรือยานพาหนะ ที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อการเดินทางในเอาต์เตอร์สเปซ ยานอวกาศมีจุดประสงค์
ในการสร้างขึ้นมาใช้งานหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์ด้านการสือสาร การสำรวจภูมิประเทศของโลก
การตรวจสอบและศึกษาอุกกาบาติ การนำทางและระบุพิกัดตำแหน่งของวัตถุ ประโยชน์ทางด้านการทหาร
และการป้องกันภัยคุกคามทางอวกาศ รวมถึงการสร้างโคโลนี่ในอวกาศ และการสำรวจดาวเคราะห์ ล้วนเป็นหน้าที่
ของสิ่งประดิษฐ์จำพวกนี้ทั้งสิ้น โดยมากการส่งยานอวกาศในยุคใหม่จำเป็นต้องใช้ฐานยิงต้องขอบคุณโครงการของสเปซเอ็กซ์
ที่ทำให้เราสามารถเอาจรวดแบบกลับมาใช้งานใหม่ได้กลับมาใช้งาน ซึ่งนั่นทำให้เราสามารถเซฟเงินใน
กระเป๋าของชาติที่ทำโครงการอวกาศไปได้เยอะมากเลยครับ
อันนี้เป็นตัวอย่างภาพของจรวดของกลุ่ม บลู ออริจิ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกโครงการอวกาศที่สำคัญ
ในการปล่อยยานอวกาศในระดับซับออร์บิทัล หรือขึ้นไปแล้วตกลงมา แบบที่เราจัดการส่งผู้กล้า ยูริ กาการิน
ขึ้นไปนั้น ก็แค่ขึ้นไปแล้วตก ในระดับออร์บิทัล หรือวงโคจรนั้น เราจะให้ยานไปโคจรรอบวัตถุอวกาศ
ที่เป็นเป้าหมายในระยะใกล้ เพื่อทำการเก็บข้อมูล จากเป้าหมายนั้นเองมาใช้ประโยชน์ ภารกิจ
ในอวกาศโดยมาก เราจะใช้งานหุ่นยนต์ในการทำงานเป็นหลัก เนื่องจากร่างกายของมนุษย์มี
ข้อจำกัดมาก ในสนามผจญภัยแบบอวกาศครับผม โดยการใช้งานเทคโนโลยีบนอวกาศนี้
ภารกิจที่เราจะใช้งานหุ่นยนต์ในการสร้างสรรค์ผลงาน หลักจัดได้มี 2 รูปแบบครับ
รูปแบบที่หนึ่ง คือ หุ่นยนต์ปฏิบัติการอัติโนมัติ รูปแบบที่สองคือหุ่นยนต์ควบคุมระยะใกล
หุ่นยนต์ยานอวกาศ ถูกใช้งานในการศึกษาวิทยาศาสตร์คือสเปซโพรบ ซึ่งยาน
อวกาศในตระกูลดังกล่าว มันจะถูกควบคุมระยะใกล จากศูนย์ควบคุมภาคพึ้นดิน
ดาวบางดวงอย่างดาวศุกร์ ดาวพฤหัส มีสภาพแวดล้อมที่สุดขั้วเกินไป มนุษย์
ไม่สามารถลงไปทำการสำรวจได้ ส่วนยูเรนัส เนปจูน และพลูโต นั้นก็ออกจากอยู่ใกล
เกินไป การส่งโพรบไร้มนุษย์ออกไปทำการสำรวจ มันน่าจะเป็นแนวคิดที่เอามาใช้งาน
ใช้การจริงได้มากกว่า ในสายตาของนักวิทยาศาสตร์ละนะครับ ซึ่งยานจำพวกนี้
ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานเป็นครั้งแรกในปี 1951 โดยสหภาพโซเวียต โดยในนั้นบรรจุสุนัขใว้
2 ตัว ซึ่งล้มเหลวในการส่ง แต่ต่อมาความล้มเหลวในครั้งนี้ได้ถูกทำให้กลายเป็นคีย์แมน
เพื่อไปสู่ความสำเร็จ ในปี 1957 โดยการส่งสปุตนิค 1 เข้าสู่วงโคจรอย่าง
น่าชื่นชม และเป็นยุคของการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีครั้งใหญ่เลย
นอกจากโซเวียตและอเมริกาแล้ว ยังมีประเทศทั่วโลก ที่ประสบความสำเร็จ ในการส่งวัตถุ
อวกาศขึ้นสู่วงโคจรอีกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศษในปี 1965 ญี่ปุ่นและจีนในปี 1970
อังกฤษในปี 1971 อินเดียในปี 1980 อิสราเอลในปี 1988 อิหร่านในปี 2009 เกาหลีเหนือในปี 2012 และนิวซีแลนด์ในปี 2018
โดยการจะส่งยานพวกนี้ลงไปยังพึ้นผิวของดาวต้องมีแฟคเตอร์ที่ต้องคิดถึงอยู่ 2 เรื่องหลักๆ ครับ เรื่องแรกคือ ระดับ
แรงโน้มถ่วง ของดาวที่เราจะทำการส่งยานอวกาศลงไป ข้อที่สอง ต้องรู้องค์ประกอบสภาพชั้นบรรยากาศ
ของดาวด้วย ว่ามันประกอบด้วยแก็สอะไรบ้าง เพึ้อจะได้มั่นใจว่า การที่เราจะส่งยานลงจอดนั้น เราจะได้รับ
ผลลัพธ์ที่เหมาะสม จะสังเกติว่าไม่มีโรเวอร์วิ่งอยู่บนพึ้นผิวของ ดาวพฤหัส ศุกร์ และเสาร์เลย
ทั้งนี้ก็มาจากการที่ดาวศุกร์เป็นดาวที่มีความร้อนแรงสูงที่สุด ในระบบสุริยะ และดาวพฤหัส และเสาร์
ก็ล้วนแต่เป็นดาวแก้ส ที่มีทั้งกัมมันตภาพรังสีที่สูง และสภาพชั้นบรรยากาศที่รุนแรงเป็นอย่างยิ่ง
จึงเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่า ที่จะทำยานรูปแบบโพรบที่มีความสามารถในการวิ่งสำรวจ ไปอยู่บน
ดาวเคราะห์เหล่านี้นั่นเองครับผม
กลุ่มโพรบที่ถูกส่งออกไปนอกระบบสุริยะนั้นถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุด โดยมีเพียง ไพโอเนียร์ 10 ไฟโอเนียร์ 11
วอยเอเจอร์ 1 และ 2 รวมถึงโครงการอวกาศที่เกิดขึ้นล่าสุด และเป็นประโยชน์กับมนุษย์ชาติสุดๆ อย่างโครงการ
นิว ฮอไรชอนส์ ปัจจุบันมีชาติใหญ่ๆ จำนวนมาก ที่มีการทำโครงการอวกาศของตัวเอง และมีชาติอีกไม่น้อย
ที่จะทำการส่งวัตถุอวกาศ ขึ้นสู่วงโคจรด้านในในอนาคต ตามแผนภาพนี้
ชาติสีแดงในแผนภาพคือชาติที่ทำโครงการอวกาศเรียบร้อยแล้ว
ชาติที่มีสีแดงในแผนภาพ คือชาติที่ได้สตาร์ทโครงการอวกาศสำเร็จไปแล้ว ชาติที่มีสีส้ม
คือชาติที่ได้เริ่มต้นโครงการอวกาศผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ ชาติที่มีสีเขียว
คือชาติที่มีแผนการจะเริ่มต้นโครงการอวกาศ ในอนาคตอันใกล้(จะสังเกติว่าชาติในกลุ่มสีเขียว
มีเยอะมาก แม้แต่อินโดนีเซีย ที่เป็นประเทศอาเซียนก็ยังจะบุกเบิกโครงการอวกาศในอนาคตอันใกล้)
ชาติในกลุ่มสีฟ้า คือเคยมีโครงการอวกาศ แต่ทอดทิ้งไปซึ่งน่าเสียดายมาก
ประวัติศาสตร์ของโครงการอวกาศนั้น ถ้าพูดกันจริงๆ แล้ว เราเริ่มต้นมีรากฐานมาตั้งแต่ช่วง
ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วครับ โดยจรวดวี 2 ของเยอรมันีนั้นอาจพุ่งขึ้นไปในอวกาศ
ได้สูงถึง 189 กิโลเมตร ซึ่งนั้นเป็นสัญญานว่า ในอนาคต ยุคของอวกาศจะมาถึง
อีก 12 ปี สปุกนิค 1 ซึ่งเป็นยานอวกาศลำแรก ก็ได้ถูกปลดปล่อยขึ้นสู่วงโคจรโดยที่
ปลายปีเดียวกัน โซเวียตได้จัดการส่งดาวเทียมดวงที่สอง ที่มีสัตว์อยู่ภายใน นั้นคือเจ้าสุนัขอย่างไลก้า
ที่ทำให้เรารู้จักกันดี และในปี 1958 โซเวียตก็ได้จัดการส่งยานอวกาศชื่อดังอย่างสปุคนิค 3 ขึ้นไป
สู่วงโคจรอย่างรวดเร็ว และเป็นดาวเทียมดวงแรก ที่โดยปล่อยขึ้นไป เพื่อเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งการกระทำของโซเวียตในครั้งนี้ ทำให้ทางอเมริกาจัดการตัวสั่นด้วยความหวาดกลัวไปเลยที่เดียวครับผม
เพราะถ้าโซเวียตสามารถปล่อยยานขึ้นไปถึงดวงจันทร์ได้เมื่อไหร่ การจะปล่อยจรวดถล่มอเมริกา
ให้ถึงแก่ความย่อยยับนั้นก็เป็นเรื่องที่ง่ายกว่ามาก และนำมาซึ่งการแข่งขันทางอวกาศ
ที่นำมาซึ่งความก้าวหน้าของมนุษย์ชาติครับ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเรื่องดีในยุคสงครามเย็น
ระบบย่อยที่สำคัญในยานอวกาศ
ระบบพยุงชีวิต
ในกรณีที่นั่นเป็นยานอวกาศ ที่มีมนุษย์ขึ้นไปด้วย ระบบพยุงชีวิต ที่จะรับประกันความปลอดภัยของบุคคล
ที่จะเดินทางขึ้นไปในอวกาศ ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ยกเว้นแต่ว่าคุณจะจัดการจัดส่งนักโทษประหารขึ้น
ไปบนอวกาศ ซึ่งการจะประหารคนด้วยวิธีนี้ก็จัดเป็นอะไรที่ถือว่าบ้าและสิ้นเปลืองทรัพยากรเอาเรื่อง
ที่เดียว เอาละ มาเจาะลึกกันดีกว่าครับ ว่าระบบพยุงชีวิตในอวกาศ มีอะไรที่สำคัญบ้าง
3 ปัจจัยแรก ทื่ขาดไปไม่ได้เป็นอันขาด ขาดไปเมื่อไหร่วินาศสันตะโรเมื่อนั้น คือการขาดอาหาร
น้ำ และออกซิเจน โดยน้ำบนยานอวกาศนั้น จะมีระบบการเวียนเอาของเหลวที่ทำความสะอาดแล้ว
มาใช้งานไหม่อีกครั้ง ยานอวกาศขาดไปไม่ดีอีกอย่างก็คือ
ระบบควบคุมการปฏิบัติการ
ยานอวกาศจำเป็นจะต้องมีการตอบสนอง ต่อแรงต่างๆ ที่เข้ามากระทำต่อโครงสร้างตัวยานอย่างเหมาะสม
หรือเรียกอีกชื่อ ว่านั่นเป็นระบบนำทางยาน เพื่อให้ยานทำการรีแอคชั่น ต่อวัตถุฟากฟ้าที่จะทำการสำรวจ
วัตถุที่เข้ามาใกล้ สนามแม่เหล็กและกัมมันตภาพรังสี ของวัตถุที่อยู่ในอวกาศ
โดยยานอวกาศในยุคใหม้ จะใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้จากเรื่อง การหมุนของไจโรสโคป
ในการควบคุมทิศทางของตัวยาน ซึ่งนั่นเป็นวีธีที่ประหยัดพลังงานมากกว่าการ
ใช้ไอพ่นควบคุมเป็นอย่างมากที่เดียว นอกจากนั้นยังมีเซนเซอร์อื่นๆ ที่สำคัญอีก เช่น
ฮอไรชอนส์เซนเซอร์:ตรวจจับแสงที่หักเหออกมาจากชั้นบรรยากาศของโลก บางครั้งจะเพิ่มเทอร์มอลอินฟราเรด
เพื่อตรวจจับการเปลื่ยนแปลงของรังสีคอสมิค เทียบกับชั้นบรรยากาศด้านหลัง ที่เย็นยะเยือกกว่ามาก
ออร์บิทอลคอมพาส:วัดความเปลื่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของตัวยาน กับแรงโน้มถ่วงโลก
ซันเซนเซอร์: ตรวจสอบความเกี่ยวข้องของตัวยาน กับทิศทางจากดวงอาทิตย์ อาจใช้ตั้งแต่แผงโซลาร์เซลล์ยันกล้องดูดาว
แม็กเนโตรเมทเทอร์ การตรวจจับจากอวกาศถึงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหลังฉาก ถือว่ามีประโยชน์ในการตรวจจับ
นอกจากนั้นยานอวกาศพวกนี้ยังมีฟังก์ชั่นเสริมความเร็วในตัว ไม่ว่าจะเป็นทรัสเตอร์ที่ใช้ประโยชน์จากกฏข้อที่สาม
ของนิวตัน ใบเรือสุริยะ ที่ใช้วิธีสะสมมวลและพลังงาน ที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ นอกจากนั้นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในยาน
อวกาศยังมีอย่างอื่นอีกมาก ซึ่งเราจะได้พูดกันต่อไป
พลังงาน
ปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการเดินทางในอวกาศ ได้แก่แหล่งพลังงาน ในกรณีที่เราอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
เราสามารถดึงพลังงานมหาศาลออกมาจากเจ้าก้อนพลาสม่าร้อนก้อนนี้ เอามาใช้ในการเดินทางใน
อวกาศได้อย่างง่ายดาย แต่คำถามคือ ถ้าเราอยู่ใกลออกไปจากเจ้าลูกไฟยักษ์ เราจะเอาอะไรมาใช้เป็นพลังงาน
ให้การสำรวจอวกาศของเราเป็นไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งในปัจจุบันเราใช้งานเตารังสีแบบ RTG
แต่ว่าในอนาคต เราน่าจะสำรวจอวกาศได้สนุกขึ้นอีกมาก เพราะอีกไม่นานเกินรอ นิวเคลียร์ฟิวชั่นกำลังจะมา
ความร้อน
ยานอวกาศต้องถูกออกแบบด้วยวัสดุที่ทนทานต่อความร้อนได้ดี เพื่ออย่างน้อยเพื่อให้มัน
ต้านทานต่อความร้อน ที่เกิดขึ้น ขณะที่ยานของเรากำลังเดินทางออกมาจากชั้นบรรยากาศโลก
โดยเฉพาะกับยานที่จะเข้าไปสำรวจดวงอาทิตย์ในระยะประชิด ซึ่งต้องเจอกับความร้อนสูงเป็นพิเศษ
ก็จำเป็นที่จะต้องมีฉนวนความร้อนที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้เจ้ายานของเรา สามารถเข้าไปใกล้
เจ้าลูกไฟยักษ์ได้มากพอ และสามารถที่จะสำรวจดวงอาทิตย์ได้นั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการสำรวจอวกาศ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ให้ของขวัญกับมนุษย์ชาติ คือ องค์ความรู้ปริมาณมหาศาล
ซึ่งจะเป็นรากฐานให้กับการพัฒนาและสำรวจของพวกเราในอนาคตนั่นเอง ถ้าจะรบ
กันในอวกาศ ความเร็วและความคล่องตัวในการรบ รวมถึงระบบตรวจจับที่ดี ถือเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นที่
จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างขาดไม่ได้
บางคนบอกวัสดุสีดำสนิทเหมือนหลุมดำน่าจะดี แต่การที่ไม่แผ่รังสีอะไรเลย
น่าจะกลายเป็นจุดอ่อนในการรบในอวกาศมากกว่า เพราะว่าจะกลายว่ามันดำจนเด่น เมื่อเทียบกับรังสีฉากหลัง
แถมถ้ารบในเนบิวล่า จะกลายเป็นเป้าให้ทำการสอยได้ง่ายๆ ด้วยอาวุธเลเซอร์ เรลกัน หรือพวกจรวดสังหาร
ต่างๆ ที่ระเบิดและปลดปล่อยรังสีความร้อน เพื่อหลอมละลายยานรบข้าศึก จนกลายเป็นธุลี
แต่ถ้าจะสร้างฐานทัพในอวกาศจริง ระบบกล้องวงจรปิดในฐานทัพน่าจะมีอยู่แล้ว ดังนั้น
อย่าคิดจะลอบเข้าไปในฐานทัพของข้าศึกแบบสตาร์วอร์ได้ง่ายๆ ละ และอาวุธจำพวก kinetic weapon
หรือกระสุนความเร็วสูงนั้น เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สังหารที่น่ากลัวที่สุด ที่ยานรบของคุณควรจะมีใว้
เพราะในอวกาศไม่มีแรงเสียดทาน
https://www.youtube.com/watch?v=pRBapQRrPl8
ขอบคุณที่มาบทความจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Robotic_spacecraft
https://en.wikipedia.org/wiki/Spacecraft
https://en.wikipedia.org/wiki/Attitude_control
https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_spaceflight
https://ppantip.com/l/http%3A%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AF%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AFwww.popsci.com%E0%B8%AF%E0%B9%91%E0%B8%AFnavys-locust-launcher-fires-swarm-drones
https://nerdist.com/heres-what-a-nuclear-bomb-detonating-in-space-looks-like/