คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ชาอินเดีย มาจากอังกฤษ ซึ่งอังกฤษก็เอามาจากจีนอีกที อังกฤษเห็นว่าแถบอัสสัมกับบนภูเขาในศรีลังกาปลูกชาได้ดี ก็เลยทำเป็นอุตสาหกรรม ลดต้นทุนของชาลงไปได้มาก จากแต่ก่อนที่ต้องอิมพอร์ตจากจีนอย่างเดียว แถมยังเป็นชาคุณภาพล่างๆด้วย จนมีการผสมกลิ่นอื่นๆลงไปแล้วโฆษณาว่าชาแบบนี้แบบนั้นคุณภาพดี เช่น เอิร์ลเกรย์ ที่ผสมผิวมะกรูดลงไป เพราะยังไง คนอังกฤษส่วนมากก็คงไม่เคยสัมผัสชาคุณภาพดีจากต้นจริงๆ จึงโฆษณาขายได้
พันธุ์ชาอังกฤษหรือชาอินเดีย เป็นพันธุ์ชาอัสสัม ซึ่งก็คือต้นเมี่ยงนั่นเอง ชาอัสสัมนี้เป็นพืชท้องถิ่นในแถบยูนนานมาเป็นพันปีแล้ว และยังมีในแถบภาคเหนือของไทย น่าจะในยุคร่วมสมัยกัน อาจจะเป็นพันปีเหมือนกัน หรืออย่างน้อยก็มีหลักฐานต้นเมี่ยง (หรือต้นชานั่นแหละ) อายุ 700 กว่าปีอยู่ ชาพันธุ์นี้นิยมกันในแถบทางใต้ของจีน พวกชาหมัก เช่น ชาผู่เอ๋อ ก็ใช้ชาพันธุ์อัสสัม หรือใบเมี่ยงนี่เอง แต่ก็มีชาพันธุ์แบบชาจีน ชาญี่ปุ่น นั่นอยู่ทางใต้เหมือนกัน วัฒนธรรมเอาใบชาอัสสัม หรือใบเมี่ยงมาห่อเครื่องต่างๆแล้วหมักไว้นิดหน่อยแล้วเอามากินเป็นเมี่ยงนั้น ก็เคยมีอยู่ในจีนตอนใต้เหมือนกัน
หากชามาเลย์มาจากอินเดีย ก็คงเป็นชาอิทธิพลอังกฤษ ที่ใส่นมนั่นเอง ปรับรสชาติ ส่วนผสมให้ถูกปากคนท้องถิ่นหน่อยเป็นใช้ได้ ชามาเลย์ใช้ใบชาพันธุ์อัสสัมเหมือนกัน เป็นชาดำ (ตามแบบฉบับชาอังกฤษที่เริ่มแรกก็ผลิตเป็นชาดำอยู่แล้ว) ที่ต่างจากชาแบบอังกฤษกับอินเดียคือ จะใส่นมข้น แทนที่จะใช้ครีมหรือนมสด การใส่นมข้นนี้ แสดงว่าคงมีมาไม่นาน เพราะนมข้นมันก็ไม่ได้โบราณอะไรมากมาย
ย้อนมาชาอินเดียสักหน่อย ชาอินเดียจะคล้ายชาอังกฤษตรงที่ ใส่นมสด (จะเรียกว่าใส่ก็ไม่เชิง เพราะเขาเอาชาไปต้มในนมเลย ไม่ได้ชงกับน้ำก่อนแล้วค่อยใส่นมเหมือนที่อื่น นมเป็นเครื่องดื่มประจำชมพูทวีปมาแต่โบราณหลายพันปีแล้ว) แต่ต่างตรงที่ใส่เครื่องเทศอื่นๆไปอีกด้วย ได้กลิ่นเครื่องเทศหอมๆหวานๆ ถูกจริตคนอินเดีย
มาที่ชาไทย ชาไทยจะมาจากจีนหรือที่อื่น ก็ไม่แน่ใจ แต่เป็นชาอิทธิพลอังกฤษอีกแน่ๆ เพราะมันใส่นม ถ้ามาจากจีน ก็คือเป็นชาแบบอังกฤษที่นิยมโดยชาวจีนโพ้นทะเล ใช้ใบชาตระกูลชาอัสสัมเหมือนกัน เป็นชาดำเหมือนกัน แต่ความเป็นเอกลักษณ์ของชาไทยคือ ในผงชาไม่ได้มีเพียงแค่ใบชา แต่มีอย่างอื่นด้วย เช่น มะขาม ดอกส้ม สีส้ม ซึ่งแน่นอน ทำให้ชามีสีส้ม ซึ่งต่างจากชาเพียวๆ ที่หากใส่นมไป ชาจะเป็นสีน้ำตาล
ดังนั้น คำว่า "ชาเย็น" มันคือ "ชาไทย" แน่ๆ และหมายถึง ชาใส่นม เย็นๆ ที่ใช้ผงชาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่อื่น ผมก็ไม่รู้ว่า สูตรผงชานี้ใครเป็นคนคิด ริเริ่มคิดในไทยหรือไม่ ถ้าใช่ ไม่เกี่ยงว่าคนคิดจะเป็น จีน แขก ฝรั่ง ก็เรียกว่าชาไทยได้เต็มปากจริงๆครับ
พันธุ์ชาอังกฤษหรือชาอินเดีย เป็นพันธุ์ชาอัสสัม ซึ่งก็คือต้นเมี่ยงนั่นเอง ชาอัสสัมนี้เป็นพืชท้องถิ่นในแถบยูนนานมาเป็นพันปีแล้ว และยังมีในแถบภาคเหนือของไทย น่าจะในยุคร่วมสมัยกัน อาจจะเป็นพันปีเหมือนกัน หรืออย่างน้อยก็มีหลักฐานต้นเมี่ยง (หรือต้นชานั่นแหละ) อายุ 700 กว่าปีอยู่ ชาพันธุ์นี้นิยมกันในแถบทางใต้ของจีน พวกชาหมัก เช่น ชาผู่เอ๋อ ก็ใช้ชาพันธุ์อัสสัม หรือใบเมี่ยงนี่เอง แต่ก็มีชาพันธุ์แบบชาจีน ชาญี่ปุ่น นั่นอยู่ทางใต้เหมือนกัน วัฒนธรรมเอาใบชาอัสสัม หรือใบเมี่ยงมาห่อเครื่องต่างๆแล้วหมักไว้นิดหน่อยแล้วเอามากินเป็นเมี่ยงนั้น ก็เคยมีอยู่ในจีนตอนใต้เหมือนกัน
หากชามาเลย์มาจากอินเดีย ก็คงเป็นชาอิทธิพลอังกฤษ ที่ใส่นมนั่นเอง ปรับรสชาติ ส่วนผสมให้ถูกปากคนท้องถิ่นหน่อยเป็นใช้ได้ ชามาเลย์ใช้ใบชาพันธุ์อัสสัมเหมือนกัน เป็นชาดำ (ตามแบบฉบับชาอังกฤษที่เริ่มแรกก็ผลิตเป็นชาดำอยู่แล้ว) ที่ต่างจากชาแบบอังกฤษกับอินเดียคือ จะใส่นมข้น แทนที่จะใช้ครีมหรือนมสด การใส่นมข้นนี้ แสดงว่าคงมีมาไม่นาน เพราะนมข้นมันก็ไม่ได้โบราณอะไรมากมาย
ย้อนมาชาอินเดียสักหน่อย ชาอินเดียจะคล้ายชาอังกฤษตรงที่ ใส่นมสด (จะเรียกว่าใส่ก็ไม่เชิง เพราะเขาเอาชาไปต้มในนมเลย ไม่ได้ชงกับน้ำก่อนแล้วค่อยใส่นมเหมือนที่อื่น นมเป็นเครื่องดื่มประจำชมพูทวีปมาแต่โบราณหลายพันปีแล้ว) แต่ต่างตรงที่ใส่เครื่องเทศอื่นๆไปอีกด้วย ได้กลิ่นเครื่องเทศหอมๆหวานๆ ถูกจริตคนอินเดีย
มาที่ชาไทย ชาไทยจะมาจากจีนหรือที่อื่น ก็ไม่แน่ใจ แต่เป็นชาอิทธิพลอังกฤษอีกแน่ๆ เพราะมันใส่นม ถ้ามาจากจีน ก็คือเป็นชาแบบอังกฤษที่นิยมโดยชาวจีนโพ้นทะเล ใช้ใบชาตระกูลชาอัสสัมเหมือนกัน เป็นชาดำเหมือนกัน แต่ความเป็นเอกลักษณ์ของชาไทยคือ ในผงชาไม่ได้มีเพียงแค่ใบชา แต่มีอย่างอื่นด้วย เช่น มะขาม ดอกส้ม สีส้ม ซึ่งแน่นอน ทำให้ชามีสีส้ม ซึ่งต่างจากชาเพียวๆ ที่หากใส่นมไป ชาจะเป็นสีน้ำตาล
ดังนั้น คำว่า "ชาเย็น" มันคือ "ชาไทย" แน่ๆ และหมายถึง ชาใส่นม เย็นๆ ที่ใช้ผงชาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่อื่น ผมก็ไม่รู้ว่า สูตรผงชานี้ใครเป็นคนคิด ริเริ่มคิดในไทยหรือไม่ ถ้าใช่ ไม่เกี่ยงว่าคนคิดจะเป็น จีน แขก ฝรั่ง ก็เรียกว่าชาไทยได้เต็มปากจริงๆครับ
แสดงความคิดเห็น
คนมาเลย์บอก ชาเย็น ไม่ใช่ Thai Tea แล้วชาเย็น มาจากไหน ?