เชียงใหม่-นำชมหอไตรวัดช่างฆ้อง

หอไตรวัดช่างฆ้อง

..........สร้างเมื่อปี พ.ศ.2446 โดยศรัทธาชาวจีน มีเจ๊กบุญยืน นางบัวคำ ไชยวงศ์ญาติ เป็นประธาน
ตัวอาคารสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมจีน โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น
ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นและไม้แกะสลัก ที่มีศิลปกรรมแบบล้านนาผสมศิลปะพม่า

..........บริเวณระเบียงชั้น 2 ของหอไตร ตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องปัญญาสชาดก ตอน "เจ้าสุวัตรกับนางบัวคำ"
ชื่อนางบัวคำนั้น พ้องกับชื่อของภรรยาผู้สร้างหอไตร





..........นับเป็นตัวอย่างพิเศษของงานในช่วงหลังอีกแห่งหนึ่ง เป็นอาคารที่ดูจะสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น
ลักษณะเด่นอยู่ที่เป็นอาคารทรงตึก 2 ชั้นขนาดเล็ก





ตกแต่งอย่างวิจิตรอลังการด้วยลวดลายปูนปั้นและงานไม้ฉลุที่มีการผสมผสานกันของงานแบบจีน พม่า และไทย
ขณะเดียวกันภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนอยู่ด้านนอกของอาคารบนระเบียงชั้น 2 นั้นนอกจากจะยิ่งทำให้อาคารหลังนี้แปลกและโดดเด่นมากขึ้นแล้ว
ยังทำให้เข้าใจนัยความหมายของหอไตรว่าเป็นอาคารที่ต้องการให้ถูกเห็นจากภายนอกเท่านั้น





(หอไตรวัดช่างฆ้อง อำเภอเมือง เชียงใหม่ อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ 25)





(จิตรกรรมฝาผนังหอไตรวัดช่างฆ้อง เขียนขึ้นบนผนังด้านนอกอาคารบริเวณระเบียงชั้นบนต่อเนื่องตลอดทั้งผนังเป็นภาพเล่าเรื่อง
สันนิษฐานว่าเป็นชาดกที่นิยมกันในท้องถิ่นฝีมือช่างพื้นเมืองที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะกรุงเทพ มีอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 25)





..........ในส่วนของจิตรกรรมฝาผนัง โดยพื้นฐานแล้วเป็นภาพเล่าเรื่องแบบไทยประเพณี
ทว่าฝีมือช่างและการแสดงออกค่อนข้างจะเป็นงานพื้นบ้าน ตัวภาพและองค์ประกอบมีลักษณะหยาบไม่ประณีตวางอยู่ห่าง ๆ กัน
ปล่อยให้ฉากหลังที่เป็นธรรมชาติป่าเขาดูเด่น สีที่ใช้มีน้อย ได้แก่ สีคราม ขาว เทา และดำ
โดยจะระบายเน้นเฉพาะตัวภาพ โขดหิน และท้องฟ้า การตัดเส้นใช้สีดำซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการแสดงตัวภาพทั้งหมด
ส่วนเรื่องราวที่น่าจะเป็นนิทานพื้นบ้านหรือชาดกที่นิยมกันในท้องถิ่นภาคเหนือ
โดยรวมแล้วก็จัดเป็นงานที่มีแบบแผนแตกต่างจากที่อื่น ๆ สามารถเพิ่มความหลากหลายให้กับจิตรกรรมฝาผนังล้านนามากยิ่งขึ้น





HO TRAI OF WAT CHANG KONG
..........Was built in 1903. By Chinese, in Lanna. The building was built from bricks into 2 storeys in Chinese architectural style and decorated with stucco and wood carving in local Lanna art which was influenced from Burmese art.
..........At the second storey, there was a mural painting which was depicting the story of "Chao Suwatra and Nang Bua Kam" in Panyasa Jataka. Also, the named "Nang Bua Kam" is similar to the name of the wife of person who was built this Ho Trai.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่