ขออธิบายก่อนนะครับว่า คอนโดแห่งนี้เป็นคอนโดของลุมพินี ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันผมให้เช่าอยู่ ไม่ได้อยู่เองครับ
ผมซื้อคอนโดนี้มาเมื่อกรกฎาคมปี 2558 ติดแอร์LG 12000 BTU เดือนสิงหาคม2558
ปล่อยเช่าครั้งแรกช่วงเดือนพฤษภา 2559
ช่วงผู้เช่าคนแรกซึ่งพักอยู่ประมาณ 6เดือน ค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 700 บาท/เดือน
ค่าไฟอยู่ที่ประมาณ 4 บาท/หน่วย บวกลบนิดหน่อยครับ
หลังจากเดือนธันวาคม 2559 ที่ผู้เช่าคนแรกย้ายออกไป ก็ได้ผู้เช่าคนใหม่เข้าอยู่ช่วงต้นเดือน มกราคม 2560 ซึ่งค่าไฟช่วงผู้เช่าคนที่สอง ปีที่1 ( 2560) ค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 บาท/เดือน
ส่วนค่าไฟปีที่2 (2561) ค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ 2,200 บาท/เดือน ตามตารางนี้ครับ โดยมีจุดสังเกตคือ ค่าไฟสูงขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ต้นปี และไม่ลงมาต่ำกว่า 2,000 บาท อีกเลย จนมาเดือนนนี้ขึ้นไปสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,219 บาท หรือ 750 หน่วย
Electricity bill Year 2018 / 2561
Using Day Month Baht Diff Unit
24 Dec - 23 Jan Jan 1,593 305 393
24 Jan - 23 Feb Feb 1,436 - 157 357
24 Feb - 23 Mar Mar 2,116 680 508
24 Mar - 23 Apr Apr 2,294 178 547
24 Apr - 23 May May 2,987 693 699
24 May - 23 Jun Jun 2,408 - 579 572
26 Jun - 23 July Jul 2,097 - 311 504
27 July - 23 Aug Aug 3,219 1,122 750
โดยในห้องคอนโด มีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้ครับ
1.แอร์LG K13HN.KE2 ขนาด 12,000 BTU อายุ 2 ปี ล้างแอร์มาแล้ว 3 ครั้ง
ครั้งล่าสุดช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ใช้งาน 10 ชั่วโมง/วัน น่าจะไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน
2.ตู้เย็น 1 ประตู 90 วัตต์ ใช้ 24 ชั่วโมง ไม่น่าจะเกิน 25 หน่วย/เดือน
3.หม้อหุงข้าว 800 วัตต์ ใช้ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ ไม่น่าจะเกิน 5 หน่วย/เดือน
4.ตู้อบOven 800 วัตต์ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ ไม่น่าจะเกิน 5 หน่วย/เดือน
5.ไมโครเวฟ 800วัตต์ 1-2 ครั้ง/วัน ครั้งละ 2-3 นาที ไม่น่าจะเกิน 3 หน่วย/เดือน
6.เครื่องทำน้ำอุ่น 3500 วัตต์ (ไม่ได้ใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม)
7.ทีวีLEDชาร์ป 24 นิ้ว 8-10 ชั่วโมง/วัน 35 วัตต์ ไม่น่าจะเกิน 10 หน่วย/เดือน
8.กล่องดาวเทียมทรู ซูเปอร์ซ็อคเกอร์ 24 ชั่วโมง ไม่น่าจะเกิน 1 หน่วย/เดือน
9.เราท์เตอร์อินเตอร์เน็ต 1 ตัว 24ชั่วโมง ไม่น่าจะเกิน 1 หน่วย/เดือน
10.คอมโน๊ตบุ๊ค 1 ตัว ไม่น่าจะเกิน 10 หน่วย/เดือน
11.ออกซิเจนตู้ปลาตัวเล็กๆ 1 ตัว 24ชั่วโมง ไม่น่าจะเกิน 1 หน่วย/เดือน
12.หลอดไฟวงกลมโดนัท 22วัตต์ 5 ดวง ไม่น่าจะเกิน 30 หน่วย/เดือน
คำนวณคร่าวๆแล้ว น่าจะอยู่ที่ประมาณ 400 หน่วย ซึ่งมีส่วนต่างจากบิลเรียกเก็บถึง 350 หน่วย (ถ้าผมคำนวณผิดรบกวนชี้แนะด้วยครับ)
-ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆในห้องที่มีปลั๊กเสียบ(ยกเว้นแอร์และเครื่องทำน้ำอุ่น) ผมได้ใช้วัตต์มิเตอร์เช็คการกินไฟด้วยตัวเอง ไม่พบว่ามีการกินไฟที่ผิดปกติแต่อย่างใด ส่วนแอร์ผมไม่มีเครื่องมือวัดอ่ะครับ
-ผมได้ให้ทางการไฟฟ้านครหลวงเข้ามาตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้าช่วงปลายเดือนพฤษภา การไฟฟ้าแจ้งว่ามิเตอร์ปกติ
-ผมได้ให้ช่างจากศูนย์บริการLGเข้ามาตรวจเช็คแอร์แล้วเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน ช่างแจ้งว่าแอร์ปกติ ไม่มีอุปกรณ์ใดชำรุด แต่แนะนำให้ล้างแอร์ ผมจึงทำการล้างแอร์ไปช่วงกลางเดือนมิถุนายน
-หลังล้างแอร์ค่าไฟฟ้าลดลงนิดหน่อยช่วงเดือนกรกฎาคม แต่พอมาเดือนสิงหาคมก็สูงขึ้นกว่าเดิมอีกครับ
-ทดลองปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดดู มิเตอร์หยุดหมุนครับ เลยคิดว่าไม่น่ามีไฟฟ้ารั่ว
-เครื่องทำน้ำอุ่นไม่ได้ใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ค่าไฟยังสูงอยู่ ดังนั้นไม่น่าจะใช่สาเหตุ
จากรายละเอียดข้างต้นนี้ อยากทราบว่าสาเหตุที่ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นผิดปกติแบบนี้ น่าจะเกิดจากสาเหตุใดได้บ้างครับ
ที่ผมลองคิดสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้
1.ผู้เช่าเปิดแอร์ทั้งวัน แต่บอกผมว่าเปิดแค่ 8-10 ชั่วโมง (แต่ผู้เช่าคนนี้เท่าที่คุยกันมาก็นิสัยดี ไม่มีทีท่าที่จะโกหก)
2.ถูกขโมยไฟใช้จากห้องข้างๆ (ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ และมีวิธีตรวจสอบอย่างไร)
รบกวนขอความคิดเห็น และขอวิธีตรวจสอบด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ
[[ขอคำปรึกษาผู้รู้]] แบบนี้ค่าไฟคอนโดสูงผิดปกติหรือไม่ครับ?
ผมซื้อคอนโดนี้มาเมื่อกรกฎาคมปี 2558 ติดแอร์LG 12000 BTU เดือนสิงหาคม2558
ปล่อยเช่าครั้งแรกช่วงเดือนพฤษภา 2559
ช่วงผู้เช่าคนแรกซึ่งพักอยู่ประมาณ 6เดือน ค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 700 บาท/เดือน
ค่าไฟอยู่ที่ประมาณ 4 บาท/หน่วย บวกลบนิดหน่อยครับ
หลังจากเดือนธันวาคม 2559 ที่ผู้เช่าคนแรกย้ายออกไป ก็ได้ผู้เช่าคนใหม่เข้าอยู่ช่วงต้นเดือน มกราคม 2560 ซึ่งค่าไฟช่วงผู้เช่าคนที่สอง ปีที่1 ( 2560) ค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 บาท/เดือน
ส่วนค่าไฟปีที่2 (2561) ค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ 2,200 บาท/เดือน ตามตารางนี้ครับ โดยมีจุดสังเกตคือ ค่าไฟสูงขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ต้นปี และไม่ลงมาต่ำกว่า 2,000 บาท อีกเลย จนมาเดือนนนี้ขึ้นไปสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,219 บาท หรือ 750 หน่วย
Electricity bill Year 2018 / 2561
Using Day Month Baht Diff Unit
24 Dec - 23 Jan Jan 1,593 305 393
24 Jan - 23 Feb Feb 1,436 - 157 357
24 Feb - 23 Mar Mar 2,116 680 508
24 Mar - 23 Apr Apr 2,294 178 547
24 Apr - 23 May May 2,987 693 699
24 May - 23 Jun Jun 2,408 - 579 572
26 Jun - 23 July Jul 2,097 - 311 504
27 July - 23 Aug Aug 3,219 1,122 750
โดยในห้องคอนโด มีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้ครับ
1.แอร์LG K13HN.KE2 ขนาด 12,000 BTU อายุ 2 ปี ล้างแอร์มาแล้ว 3 ครั้ง
ครั้งล่าสุดช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ใช้งาน 10 ชั่วโมง/วัน น่าจะไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน
2.ตู้เย็น 1 ประตู 90 วัตต์ ใช้ 24 ชั่วโมง ไม่น่าจะเกิน 25 หน่วย/เดือน
3.หม้อหุงข้าว 800 วัตต์ ใช้ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ ไม่น่าจะเกิน 5 หน่วย/เดือน
4.ตู้อบOven 800 วัตต์ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ ไม่น่าจะเกิน 5 หน่วย/เดือน
5.ไมโครเวฟ 800วัตต์ 1-2 ครั้ง/วัน ครั้งละ 2-3 นาที ไม่น่าจะเกิน 3 หน่วย/เดือน
6.เครื่องทำน้ำอุ่น 3500 วัตต์ (ไม่ได้ใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม)
7.ทีวีLEDชาร์ป 24 นิ้ว 8-10 ชั่วโมง/วัน 35 วัตต์ ไม่น่าจะเกิน 10 หน่วย/เดือน
8.กล่องดาวเทียมทรู ซูเปอร์ซ็อคเกอร์ 24 ชั่วโมง ไม่น่าจะเกิน 1 หน่วย/เดือน
9.เราท์เตอร์อินเตอร์เน็ต 1 ตัว 24ชั่วโมง ไม่น่าจะเกิน 1 หน่วย/เดือน
10.คอมโน๊ตบุ๊ค 1 ตัว ไม่น่าจะเกิน 10 หน่วย/เดือน
11.ออกซิเจนตู้ปลาตัวเล็กๆ 1 ตัว 24ชั่วโมง ไม่น่าจะเกิน 1 หน่วย/เดือน
12.หลอดไฟวงกลมโดนัท 22วัตต์ 5 ดวง ไม่น่าจะเกิน 30 หน่วย/เดือน
คำนวณคร่าวๆแล้ว น่าจะอยู่ที่ประมาณ 400 หน่วย ซึ่งมีส่วนต่างจากบิลเรียกเก็บถึง 350 หน่วย (ถ้าผมคำนวณผิดรบกวนชี้แนะด้วยครับ)
-ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆในห้องที่มีปลั๊กเสียบ(ยกเว้นแอร์และเครื่องทำน้ำอุ่น) ผมได้ใช้วัตต์มิเตอร์เช็คการกินไฟด้วยตัวเอง ไม่พบว่ามีการกินไฟที่ผิดปกติแต่อย่างใด ส่วนแอร์ผมไม่มีเครื่องมือวัดอ่ะครับ
-ผมได้ให้ทางการไฟฟ้านครหลวงเข้ามาตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้าช่วงปลายเดือนพฤษภา การไฟฟ้าแจ้งว่ามิเตอร์ปกติ
-ผมได้ให้ช่างจากศูนย์บริการLGเข้ามาตรวจเช็คแอร์แล้วเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน ช่างแจ้งว่าแอร์ปกติ ไม่มีอุปกรณ์ใดชำรุด แต่แนะนำให้ล้างแอร์ ผมจึงทำการล้างแอร์ไปช่วงกลางเดือนมิถุนายน
-หลังล้างแอร์ค่าไฟฟ้าลดลงนิดหน่อยช่วงเดือนกรกฎาคม แต่พอมาเดือนสิงหาคมก็สูงขึ้นกว่าเดิมอีกครับ
-ทดลองปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดดู มิเตอร์หยุดหมุนครับ เลยคิดว่าไม่น่ามีไฟฟ้ารั่ว
-เครื่องทำน้ำอุ่นไม่ได้ใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ค่าไฟยังสูงอยู่ ดังนั้นไม่น่าจะใช่สาเหตุ
จากรายละเอียดข้างต้นนี้ อยากทราบว่าสาเหตุที่ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นผิดปกติแบบนี้ น่าจะเกิดจากสาเหตุใดได้บ้างครับ
ที่ผมลองคิดสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้
1.ผู้เช่าเปิดแอร์ทั้งวัน แต่บอกผมว่าเปิดแค่ 8-10 ชั่วโมง (แต่ผู้เช่าคนนี้เท่าที่คุยกันมาก็นิสัยดี ไม่มีทีท่าที่จะโกหก)
2.ถูกขโมยไฟใช้จากห้องข้างๆ (ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ และมีวิธีตรวจสอบอย่างไร)
รบกวนขอความคิดเห็น และขอวิธีตรวจสอบด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ