เมื่อพูดถึงเกมตู้ ในบ้านเราอาจจะมองว่าเป็นสิ่งไกลตัว เนื่องจากมีค่าบริการที่เรามักจะรู้สึกได้ว่ามันแพงเกินไป แต่สถานะของเกมตู้ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น พูดได้ว่าตรงกันข้ามกันประเทศไทยเลยทีเดียว ซึ่งมีคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่ชอบเล่นเกมตู้มากกว่าเกมคอนโซล และ Platform อื่นๆ จึงทำให้ปัจจุบันเกมสายกาชาเริ่มถูกทยอยนำมาสร้างเป็นเกมตู้
สำหรับเกมตู้ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ส่วนมากจะคิดค่าบริการ 100 yen = 1 credit ซึ่งสำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว 100 yen เป็นราคาที่ถูกมาก จึงไม่แปลกที่จะมีคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่นิยมเล่นเกมตู้ และเมื่อเทียบกับประเทศไทยที่มีอัตราค่าบริการ 30 บาท = 1 credit แล้ว จะพูดว่าเกมตู้ไทยมีอัตราค่าบริการเท่าประเทศญี่ปุ่นเลยก็ไม่แปลกอะไร แต่ที่แปลกก็คืออัตราเงินเดือนคนญี่ปุ่นนั้นสูงกว่าคนไทยเป็นเท่าตัว ในขณะที่ค่าบริการเกมตู้ใช้อัตราเดียวกัน
เมื่อกล่าวถึงเกมสายกาชาส่วนมากจะเป็นเกมที่ให้ผู้เล่นสะสมเพชร(ต่างเกมก็ใช้ชื่อต่างกัน) เพื่อนำมาทำการสุ่มรับตัวละครเข้าในกล่องสะสมตัวละครของเรา โดยส่วนมากจะแบ่งตามระดับความหายาก เช่น มีโอกาสได้รับตัวละครระดับ N80%-R15%-SR4%-SSR1% ซึ่งตัวละครที่มีโอกาสได้รับยิ่งน้อยก็จะยิ่งเก่ง แต่เนื่องจากเพชรที่แจกฟรีในเกมนั้นมีจำนวนจำกัด ทางผู้ทำเกมจึงเปิดโอกาสให้คนที่นก SSR1% สามารถเติมเงินซื้อเพชรในเกมเพื่อมาสุ่มตัวละครแก้ตัวที่นกไปกี่ครั้งก็ได้ จึงกำเนิดเป็นที่มาของเกมสายเปย์กาชา ที่ทำให้นักเล่มเกมในยุคนี้มีนาเกลือเป็นของตัวเอง
(การเปิดกาชาได้แต่เกลือ หมายถึงได้แต่ตัวละครแบบที่ไม่อยากได้ แต่ยิ่งเปิดก็ยิ่งเกลือก็จะเป็นการทำนาเกลือ)
กลับมาพูดถึงเกมตู้ญี่ปุ่นสายกาชาที่กำลังมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในขณะนี้ ความพิเศษของเกมตู้ประเภทนี้ก็คือ เมื่อทำการสุ่มกาชาเราจะได้รับการ์ดที่ปริ้นจากตู้เกมมาเป็นของที่ระลึกเอาไว้สะสมและอวดเพื่อนๆได้อีกด้วย จึงเป็นการดึงนักเล่นเกมที่ไม่ได้เล่นเกมตู้ให้มาเล่นเกมตู้มากขึ้นด้วย
ความสะดวกสะบายสำหรับผู้เล่นเกมตู้ในประเทศญี่ปุ่นอีกอย่างก็คือ ไม่ต้องเอาเงินไปซื้อเครื่องเกมคอนโซลที่มีราคาสูงและพกพาลำบาก เพราะที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นสามารถหา Game Center ที่เป็นศูนย์รวมเกมตู้ได้เกือบทุกที่ และในกรณีที่อยากค้นหาสถานที่เล่นจริงๆ ก็สามารถเข้าไปค้นหาสถานที่เล่นจากหน้าเว็บไซต์เกมนั้นๆได้เลย สำหรับเกมตู้ที่ญี่ปุ่นในยุคหลังมานี้ก็จะมีระบบที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งส่วนมากก็จะมีการเก็บข้อมูลผู้เล่นเพื่อนำไปปลดล็อคระบบต่างๆในเกม จึงต้องมีการบันทึกข้อมูลผู้เล่นเอาไว้ในรูปแบบของบัตรเล่นเกม โดยที่บัตรเล่นเกมนั้นก็มีขนาดเท่า Credit Card ทั่วไป จึงมีความสะดวกในการพกพา แต่ว่าบัตรเล่นเกมตู้ก็จะถูกแบ่งออกเป็นหลายแบบตามค่ายผู้ผลิตเกมตู้อีกที โดยพี่เนียนโตะจะขอพูดถึงบัตรที่ใช้เล่นเกมตู้สายกาชาที่น่าสนใจดังนี้
Aime เป็นบัตรเล่นเกมตู้ค่าย SEGA ซึ่งสำหรับเกมตู้สายกาชาที่น่าสนใจของค่ายนี้ ก็คือ เกมสะสมสาวเรือรบอย่าง Kantai Collection Arcade และล่าสุดที่เพิ่งเปิดให้เล่นไม่นานก็คือ Fate/Grand Order Aracde ซึ่งสำหรับทั้ง 2 เกมนี้จะใช้ระบบที่ค่อนข้างคล้ายกันคือ จะมีค่า GP เป็นตัวจำกัดการเล่นในแต่ละคน เพื่อให้ผู้เล่นไม่สามารถนั่งแช่เล่นยาวๆได้ เพราะจะต้องแบ่งให้คนอื่นเล่นบ้าง ทั้ง 2 เกมนี้โดยพื้นฐานจะถูกจำกัด MAX GP ไว้ที่ 900 GP โดยที่ 1 Credit = 300 GP และภายในเกมก็จะถูกนำ GP ไปใช้ในการดำเนินภารกิจต่างๆ ซึ่งแต่ละภารกิจก็จะใช้ GP ไม่เท่ากัน สิ่งที่ต้องระวังสำหรับระบบของทั้ง 2 เกมก็คือ ตัวเกมจะบังคับให้เราต้องรีบตัดสินใจด้วยการ Countdown ประมาณ 30 วินาที จากนั้นจะค่อยๆลด GP เราวินาทีละ 1 GP ดังนั้นการจะไปเล่นทั้ง 2 เกมนี้จึงต้องวางแผ่นก่อนไปเล่นให้ดี เพราะหากโดนลด GP มากเกินไปจะทำให้เราไม่สามารถเล่นต่อได้ตามที่หวังไว้ เช่น คิดไว้ว่าจะเล่น 280+300+320 ซึ่งจะพอดี 900 GP แต่หากตัดสินใจช้าจนถูกลดไปเพียง 1 GP ก็จะเล่นต่อตามที่หวังไว้ไม่ได้ สำหรับระบบกาชาของทั้ง 2 เกมก็จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- Drop หลังจบภารกิจก็ต้องเสียค่าเปิด 1 Credit
- ใช้ทรัพยากรที่สะสมไว้ในการเปิดกาชาซึ่งของ KanColle AC จะใช้ทรัพยากรตามสูตรสร้างเรือแบบต่างๆในการเปิดกาชาครั้งละ 1 credit แต่ของ FGO AC จะเป็นการสะสมผงวิเศษจนครบ 2500 แล้วเปิดกาชาแบบรวดเดียว 10 ครั้ง ก็จะต้องเสียครั้งเดียว 10 credit เลย
ภาพตัวอย่างการ์ด KanColle AC
ภาพตัวอย่างการ์ด FGO AC
ฺBANA PASSPORT เป็นบัตรของตู้เกมค่าย Bandai Namco หรือเรียกสั้นๆกันว่า BANAPASS ซึ่งบัตรนี้ภายหลังได้รับความร่วมมือกับตู้เกมค่าย SEGA ทำให้บัตรนี้สามารถเล่นกับเกมตู้ค่าย SEGA ร่วมไปถึง KanColle AC และ FGO AC ได้เช่นกัน เกมตู้สายกาชาของค่ายนี้ก็จะออกไปทาง Gundam, Kamen Rider และการ์ตูนต่างๆค่าย Bandai แต่ว่าระบบเกมกาชาของค่ายนี้ยังไม่มีระบบปริ้น จึงไม่ได้เป็นไปตามโอกาสออกที่สมจริงนัก เป็นที่รู้กันในผู้เล่นเกมตู้ค่ายนี้ว่าถ้าใบหายากออกแล้ว ในวันนั้นไม่น่าจะออกใบหายากอีกแล้ว จนกว่าพนักงานจะมาเติมการ์ดชุดใหม่เข้าไปในตู้อีกครั้ง
จุดเด่นอีกอย่างของ BANAPASS ก็คือมักจะชอบออกบัตรลายพิเศษมาให้สะสมกัน โดยส่วนมากบัตรลายพิเศษนี้จะมีค่าตัวแพงกว่าปกติจาก 300 yen เป็น 500 yen แทน ซึ่งตัวบัตรลายพิเศษจะเป็นบัตรที่ขายแบบจำนวนจำกัด ถ้าขายจนหมดแล้วก็จะมีโอกาสค่อนข้างน้อยที่จะทำมาขายอีกครั้ง
NESiCA เป็นบัตรของตู้เกมค่าย TAITO ซึ่งตู้เกมค่ายนี้ก็มี SQEX หรือผู้สร้างเกม Final Fantasy คอยส่งเกมหนุนให้กับตู้เกมค่ายนี้อยู่ สำหรับค่ายนี้เกมตู้สายกาชาที่น่าสนใจในตอนนี้ก็คือ Love Live School Idol Festival ~After School Activity~ ซึ่งเป็นชื่อเกมที่ค่อนข้างยาวเลยทีเดียว จึงถูกคนญี่ปุ่นย่อให้เช่น SchoolFes AC หรือ SIFAC และเนื่องจากเกมนี้เป็นเกมแนว Rhythm Game(เกมแนวดนตรี) ระบบจึงไม่ได้มีความกดดันมากนัก มีเวลาในการตัดสินใจเลือกเพลงให้มากหน่อย แต่ก็จะถูกจำกัดให้ 1 Credit เล่นได้เพียง 2 เพลง หรือเล่นได้ 3 เพลงกรณีเล่นแบบ Group โดยที่การเล่นแบบ Group จะถูกบังคับให้ต้องเล่นเพลงเดียวกัน ระดับความยากเดียวกันอีกด้วย สำหรับเกมนี้จะถูกแบ่งตู้เกมออกเป็น 2 แบบ คือตู้เพลง และ ตู้ปริ้นการ์ด อีกด้วย
สำหรับกาชาเกมนี้ การ์ดที่ Drop หลังเล่นเสร็จจะไม่ได้ปริ้นเป็นใบออกมา แต่จะสามารถสั่งปริ้นที่เครื่องปริ้นได้ในอัตรา 1 credit/ใบ และที่เครื่องปริ้นเกมนี้ก็จะมีระบบกาชาปกติซึ่งก็ค่อนข้างใจดี(หรือเปล่าไม่รู้) คือการกดกาชาเกมนี้จะออกมาให้เห็น 9 ใบ ซึ่งแต่ละใบจะไม่ซ้ำตัวละครกัน ตัวระบบกาชาจะเปิดให้เห็นเลยว่าการกดในครั้งนี้ 9 ตัวมีใบหายากมั้ย หลังจากนั้นก็จะคว่ำการ์ดแล้วสลับตำแหน่งให้เราตัดสินใจเปิดเองใบละ 1 credit ซึ่งกรณีซวยหน่อยก็คือสุ่มแล้วเห็นใบหายาก แต่กว่าจะเปิดเจอก็ใบสุดท้าย ก็ต้องเสียค่าเปิดไปรวม 900 yen เลย 555 แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งตกใจไป เพราะตัวระบบกาชาของเกมนี้เขาใจดีจริงๆ คือในการเล่นเกมที่ตู้เพลงจบ 1 credit ก็จะได้รับคำใบ้สำหรับการเปิดกาชาซึ่งสะสมได้ถึง 3 คำใบ้ โดยคำใบ้นี้ก็จะช่วยบอกเราหลังการ์ดที่คว่ำอยู่ว่าใบนี้คืออะไรตามเงื่อนไขคำใบ้นั้นๆ ซึ่งก็มีโอกาศที่จะสุ่มได้คำใบ้ของใบหายากอีกด้วย(แต่ก็ไม่ได้เปิดเจอใบหายากมาคว่ำให้เลือกทุกครั้งอยู่ดี) ปัจจุบัน SchoolFes AC ก็มีตัวละครเพียง μ's ทั้ง 9 คน แต่คาดว่าน่าจะอัพเดต version ที่เพิ่ม Aquos อีก 9 คนในเร็วๆนี้(ตอนนี้มีการ Local Test สำหรับ version นี้แล้ว)
ภาพหน้าจอแสดงผลการ Drop กาชา และได้รับคำใบ้สำหรับเปิดกาชาหลังเล่นจบรอบ 1 credit
ความพิเศษอีกอย่างของเกมตู้ SchoolFes AC คือมักจะชอบจัด campaign ให้สะสมแต้มไปแลกของรางวัลพิเศษนอกเกม โดยจะคิดเป็น 1 credit = 1 point แต่จะมีเงื่อนไขอีกอย่างคือจะเล่นสะสมแต้มได้แค่ที่ร้านใดร้านหนึ่งเท่านั้น ถ้าเปลี่ยนร้านก็จะเป็นการ reset แต้ม และของรางวัลก็จะสามารถแลกได้ทันทีกับร้านที่สะสมแต้มจนครบเท่านั้น ภายในช่วงเวลา campaign หรือจนกว่าของรางวัลใน campaign จะหมด
อันที่จริงนอกจาก 3 บัตรข้างต้นก็ยังมีบัตรของค่าย KONAMI และค่ายอื่นๆอีก ซึ่งบัตรเล่นเกมเหล่านี้ก็จะสามารถหาซื้อได้จากตู้จำหน่ายบัตรเล่นเกมอัตโนมัติหรือติดต่อพนักงานภายใน Game Center ปกติจะมีราคาใบละ 300 yen โดย Game Center ใหญ่ๆที่พี่เนียนโตะอยากให้ทำความรู้จักไว้ก็คือ TAITO Station และ ร้านในเครือ SEGA ซึ่งร้านของทั้ง 2 ค่ายส่วนมากจะมีเกมตู้ของเกือบทุกค่ายให้เล่นกัน หรือสำหรับท่านที่ไปเที่ยวในสถานที่ไกลตัวเมืองหน่อย ในห้างใหญ่ๆของประเทศญี่ปุ่นอย่างเช่น AEON Mall ก็มักจะมีส่วนที่เป็น Game Center อยู่
สุดท้ายนี้ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับแฟนคลับของเกมและอนิเมะเรื่องนั้นๆ ที่มีโอกาสได้เดินทางไปท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นแล้วมีความต้องการไปเล่นเกมตู้ สามารถวางแผนในการเล่นเกมตู้ให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจ้า
ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ สำหรับท่านผู้อ่านที่ถูกใจบทความ สามารถรับข้อมูลท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นแบบโอตาคุ หรือจะมาพูดคุยกับพี่เนียนโตะที่ Facebook Page ก็ได้จ้า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/otatour.jp
[แนะนำ] การเตรียมตัวไปเล่นเกมตู้สายกาชาที่ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อพูดถึงเกมตู้ ในบ้านเราอาจจะมองว่าเป็นสิ่งไกลตัว เนื่องจากมีค่าบริการที่เรามักจะรู้สึกได้ว่ามันแพงเกินไป แต่สถานะของเกมตู้ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น พูดได้ว่าตรงกันข้ามกันประเทศไทยเลยทีเดียว ซึ่งมีคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่ชอบเล่นเกมตู้มากกว่าเกมคอนโซล และ Platform อื่นๆ จึงทำให้ปัจจุบันเกมสายกาชาเริ่มถูกทยอยนำมาสร้างเป็นเกมตู้
สำหรับเกมตู้ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ส่วนมากจะคิดค่าบริการ 100 yen = 1 credit ซึ่งสำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว 100 yen เป็นราคาที่ถูกมาก จึงไม่แปลกที่จะมีคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่นิยมเล่นเกมตู้ และเมื่อเทียบกับประเทศไทยที่มีอัตราค่าบริการ 30 บาท = 1 credit แล้ว จะพูดว่าเกมตู้ไทยมีอัตราค่าบริการเท่าประเทศญี่ปุ่นเลยก็ไม่แปลกอะไร แต่ที่แปลกก็คืออัตราเงินเดือนคนญี่ปุ่นนั้นสูงกว่าคนไทยเป็นเท่าตัว ในขณะที่ค่าบริการเกมตู้ใช้อัตราเดียวกัน
เมื่อกล่าวถึงเกมสายกาชาส่วนมากจะเป็นเกมที่ให้ผู้เล่นสะสมเพชร(ต่างเกมก็ใช้ชื่อต่างกัน) เพื่อนำมาทำการสุ่มรับตัวละครเข้าในกล่องสะสมตัวละครของเรา โดยส่วนมากจะแบ่งตามระดับความหายาก เช่น มีโอกาสได้รับตัวละครระดับ N80%-R15%-SR4%-SSR1% ซึ่งตัวละครที่มีโอกาสได้รับยิ่งน้อยก็จะยิ่งเก่ง แต่เนื่องจากเพชรที่แจกฟรีในเกมนั้นมีจำนวนจำกัด ทางผู้ทำเกมจึงเปิดโอกาสให้คนที่นก SSR1% สามารถเติมเงินซื้อเพชรในเกมเพื่อมาสุ่มตัวละครแก้ตัวที่นกไปกี่ครั้งก็ได้ จึงกำเนิดเป็นที่มาของเกมสายเปย์กาชา ที่ทำให้นักเล่มเกมในยุคนี้มีนาเกลือเป็นของตัวเอง
(การเปิดกาชาได้แต่เกลือ หมายถึงได้แต่ตัวละครแบบที่ไม่อยากได้ แต่ยิ่งเปิดก็ยิ่งเกลือก็จะเป็นการทำนาเกลือ)
กลับมาพูดถึงเกมตู้ญี่ปุ่นสายกาชาที่กำลังมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในขณะนี้ ความพิเศษของเกมตู้ประเภทนี้ก็คือ เมื่อทำการสุ่มกาชาเราจะได้รับการ์ดที่ปริ้นจากตู้เกมมาเป็นของที่ระลึกเอาไว้สะสมและอวดเพื่อนๆได้อีกด้วย จึงเป็นการดึงนักเล่นเกมที่ไม่ได้เล่นเกมตู้ให้มาเล่นเกมตู้มากขึ้นด้วย
ความสะดวกสะบายสำหรับผู้เล่นเกมตู้ในประเทศญี่ปุ่นอีกอย่างก็คือ ไม่ต้องเอาเงินไปซื้อเครื่องเกมคอนโซลที่มีราคาสูงและพกพาลำบาก เพราะที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นสามารถหา Game Center ที่เป็นศูนย์รวมเกมตู้ได้เกือบทุกที่ และในกรณีที่อยากค้นหาสถานที่เล่นจริงๆ ก็สามารถเข้าไปค้นหาสถานที่เล่นจากหน้าเว็บไซต์เกมนั้นๆได้เลย สำหรับเกมตู้ที่ญี่ปุ่นในยุคหลังมานี้ก็จะมีระบบที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งส่วนมากก็จะมีการเก็บข้อมูลผู้เล่นเพื่อนำไปปลดล็อคระบบต่างๆในเกม จึงต้องมีการบันทึกข้อมูลผู้เล่นเอาไว้ในรูปแบบของบัตรเล่นเกม โดยที่บัตรเล่นเกมนั้นก็มีขนาดเท่า Credit Card ทั่วไป จึงมีความสะดวกในการพกพา แต่ว่าบัตรเล่นเกมตู้ก็จะถูกแบ่งออกเป็นหลายแบบตามค่ายผู้ผลิตเกมตู้อีกที โดยพี่เนียนโตะจะขอพูดถึงบัตรที่ใช้เล่นเกมตู้สายกาชาที่น่าสนใจดังนี้
Aime เป็นบัตรเล่นเกมตู้ค่าย SEGA ซึ่งสำหรับเกมตู้สายกาชาที่น่าสนใจของค่ายนี้ ก็คือ เกมสะสมสาวเรือรบอย่าง Kantai Collection Arcade และล่าสุดที่เพิ่งเปิดให้เล่นไม่นานก็คือ Fate/Grand Order Aracde ซึ่งสำหรับทั้ง 2 เกมนี้จะใช้ระบบที่ค่อนข้างคล้ายกันคือ จะมีค่า GP เป็นตัวจำกัดการเล่นในแต่ละคน เพื่อให้ผู้เล่นไม่สามารถนั่งแช่เล่นยาวๆได้ เพราะจะต้องแบ่งให้คนอื่นเล่นบ้าง ทั้ง 2 เกมนี้โดยพื้นฐานจะถูกจำกัด MAX GP ไว้ที่ 900 GP โดยที่ 1 Credit = 300 GP และภายในเกมก็จะถูกนำ GP ไปใช้ในการดำเนินภารกิจต่างๆ ซึ่งแต่ละภารกิจก็จะใช้ GP ไม่เท่ากัน สิ่งที่ต้องระวังสำหรับระบบของทั้ง 2 เกมก็คือ ตัวเกมจะบังคับให้เราต้องรีบตัดสินใจด้วยการ Countdown ประมาณ 30 วินาที จากนั้นจะค่อยๆลด GP เราวินาทีละ 1 GP ดังนั้นการจะไปเล่นทั้ง 2 เกมนี้จึงต้องวางแผ่นก่อนไปเล่นให้ดี เพราะหากโดนลด GP มากเกินไปจะทำให้เราไม่สามารถเล่นต่อได้ตามที่หวังไว้ เช่น คิดไว้ว่าจะเล่น 280+300+320 ซึ่งจะพอดี 900 GP แต่หากตัดสินใจช้าจนถูกลดไปเพียง 1 GP ก็จะเล่นต่อตามที่หวังไว้ไม่ได้ สำหรับระบบกาชาของทั้ง 2 เกมก็จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- Drop หลังจบภารกิจก็ต้องเสียค่าเปิด 1 Credit
- ใช้ทรัพยากรที่สะสมไว้ในการเปิดกาชาซึ่งของ KanColle AC จะใช้ทรัพยากรตามสูตรสร้างเรือแบบต่างๆในการเปิดกาชาครั้งละ 1 credit แต่ของ FGO AC จะเป็นการสะสมผงวิเศษจนครบ 2500 แล้วเปิดกาชาแบบรวดเดียว 10 ครั้ง ก็จะต้องเสียครั้งเดียว 10 credit เลย
ภาพตัวอย่างการ์ด KanColle AC
ภาพตัวอย่างการ์ด FGO AC
ฺBANA PASSPORT เป็นบัตรของตู้เกมค่าย Bandai Namco หรือเรียกสั้นๆกันว่า BANAPASS ซึ่งบัตรนี้ภายหลังได้รับความร่วมมือกับตู้เกมค่าย SEGA ทำให้บัตรนี้สามารถเล่นกับเกมตู้ค่าย SEGA ร่วมไปถึง KanColle AC และ FGO AC ได้เช่นกัน เกมตู้สายกาชาของค่ายนี้ก็จะออกไปทาง Gundam, Kamen Rider และการ์ตูนต่างๆค่าย Bandai แต่ว่าระบบเกมกาชาของค่ายนี้ยังไม่มีระบบปริ้น จึงไม่ได้เป็นไปตามโอกาสออกที่สมจริงนัก เป็นที่รู้กันในผู้เล่นเกมตู้ค่ายนี้ว่าถ้าใบหายากออกแล้ว ในวันนั้นไม่น่าจะออกใบหายากอีกแล้ว จนกว่าพนักงานจะมาเติมการ์ดชุดใหม่เข้าไปในตู้อีกครั้ง
จุดเด่นอีกอย่างของ BANAPASS ก็คือมักจะชอบออกบัตรลายพิเศษมาให้สะสมกัน โดยส่วนมากบัตรลายพิเศษนี้จะมีค่าตัวแพงกว่าปกติจาก 300 yen เป็น 500 yen แทน ซึ่งตัวบัตรลายพิเศษจะเป็นบัตรที่ขายแบบจำนวนจำกัด ถ้าขายจนหมดแล้วก็จะมีโอกาสค่อนข้างน้อยที่จะทำมาขายอีกครั้ง
NESiCA เป็นบัตรของตู้เกมค่าย TAITO ซึ่งตู้เกมค่ายนี้ก็มี SQEX หรือผู้สร้างเกม Final Fantasy คอยส่งเกมหนุนให้กับตู้เกมค่ายนี้อยู่ สำหรับค่ายนี้เกมตู้สายกาชาที่น่าสนใจในตอนนี้ก็คือ Love Live School Idol Festival ~After School Activity~ ซึ่งเป็นชื่อเกมที่ค่อนข้างยาวเลยทีเดียว จึงถูกคนญี่ปุ่นย่อให้เช่น SchoolFes AC หรือ SIFAC และเนื่องจากเกมนี้เป็นเกมแนว Rhythm Game(เกมแนวดนตรี) ระบบจึงไม่ได้มีความกดดันมากนัก มีเวลาในการตัดสินใจเลือกเพลงให้มากหน่อย แต่ก็จะถูกจำกัดให้ 1 Credit เล่นได้เพียง 2 เพลง หรือเล่นได้ 3 เพลงกรณีเล่นแบบ Group โดยที่การเล่นแบบ Group จะถูกบังคับให้ต้องเล่นเพลงเดียวกัน ระดับความยากเดียวกันอีกด้วย สำหรับเกมนี้จะถูกแบ่งตู้เกมออกเป็น 2 แบบ คือตู้เพลง และ ตู้ปริ้นการ์ด อีกด้วย
สำหรับกาชาเกมนี้ การ์ดที่ Drop หลังเล่นเสร็จจะไม่ได้ปริ้นเป็นใบออกมา แต่จะสามารถสั่งปริ้นที่เครื่องปริ้นได้ในอัตรา 1 credit/ใบ และที่เครื่องปริ้นเกมนี้ก็จะมีระบบกาชาปกติซึ่งก็ค่อนข้างใจดี(หรือเปล่าไม่รู้) คือการกดกาชาเกมนี้จะออกมาให้เห็น 9 ใบ ซึ่งแต่ละใบจะไม่ซ้ำตัวละครกัน ตัวระบบกาชาจะเปิดให้เห็นเลยว่าการกดในครั้งนี้ 9 ตัวมีใบหายากมั้ย หลังจากนั้นก็จะคว่ำการ์ดแล้วสลับตำแหน่งให้เราตัดสินใจเปิดเองใบละ 1 credit ซึ่งกรณีซวยหน่อยก็คือสุ่มแล้วเห็นใบหายาก แต่กว่าจะเปิดเจอก็ใบสุดท้าย ก็ต้องเสียค่าเปิดไปรวม 900 yen เลย 555 แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งตกใจไป เพราะตัวระบบกาชาของเกมนี้เขาใจดีจริงๆ คือในการเล่นเกมที่ตู้เพลงจบ 1 credit ก็จะได้รับคำใบ้สำหรับการเปิดกาชาซึ่งสะสมได้ถึง 3 คำใบ้ โดยคำใบ้นี้ก็จะช่วยบอกเราหลังการ์ดที่คว่ำอยู่ว่าใบนี้คืออะไรตามเงื่อนไขคำใบ้นั้นๆ ซึ่งก็มีโอกาศที่จะสุ่มได้คำใบ้ของใบหายากอีกด้วย(แต่ก็ไม่ได้เปิดเจอใบหายากมาคว่ำให้เลือกทุกครั้งอยู่ดี) ปัจจุบัน SchoolFes AC ก็มีตัวละครเพียง μ's ทั้ง 9 คน แต่คาดว่าน่าจะอัพเดต version ที่เพิ่ม Aquos อีก 9 คนในเร็วๆนี้(ตอนนี้มีการ Local Test สำหรับ version นี้แล้ว)
ภาพหน้าจอแสดงผลการ Drop กาชา และได้รับคำใบ้สำหรับเปิดกาชาหลังเล่นจบรอบ 1 credit
ความพิเศษอีกอย่างของเกมตู้ SchoolFes AC คือมักจะชอบจัด campaign ให้สะสมแต้มไปแลกของรางวัลพิเศษนอกเกม โดยจะคิดเป็น 1 credit = 1 point แต่จะมีเงื่อนไขอีกอย่างคือจะเล่นสะสมแต้มได้แค่ที่ร้านใดร้านหนึ่งเท่านั้น ถ้าเปลี่ยนร้านก็จะเป็นการ reset แต้ม และของรางวัลก็จะสามารถแลกได้ทันทีกับร้านที่สะสมแต้มจนครบเท่านั้น ภายในช่วงเวลา campaign หรือจนกว่าของรางวัลใน campaign จะหมด
อันที่จริงนอกจาก 3 บัตรข้างต้นก็ยังมีบัตรของค่าย KONAMI และค่ายอื่นๆอีก ซึ่งบัตรเล่นเกมเหล่านี้ก็จะสามารถหาซื้อได้จากตู้จำหน่ายบัตรเล่นเกมอัตโนมัติหรือติดต่อพนักงานภายใน Game Center ปกติจะมีราคาใบละ 300 yen โดย Game Center ใหญ่ๆที่พี่เนียนโตะอยากให้ทำความรู้จักไว้ก็คือ TAITO Station และ ร้านในเครือ SEGA ซึ่งร้านของทั้ง 2 ค่ายส่วนมากจะมีเกมตู้ของเกือบทุกค่ายให้เล่นกัน หรือสำหรับท่านที่ไปเที่ยวในสถานที่ไกลตัวเมืองหน่อย ในห้างใหญ่ๆของประเทศญี่ปุ่นอย่างเช่น AEON Mall ก็มักจะมีส่วนที่เป็น Game Center อยู่
สุดท้ายนี้ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับแฟนคลับของเกมและอนิเมะเรื่องนั้นๆ ที่มีโอกาสได้เดินทางไปท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นแล้วมีความต้องการไปเล่นเกมตู้ สามารถวางแผนในการเล่นเกมตู้ให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจ้า
ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ สำหรับท่านผู้อ่านที่ถูกใจบทความ สามารถรับข้อมูลท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นแบบโอตาคุ หรือจะมาพูดคุยกับพี่เนียนโตะที่ Facebook Page ก็ได้จ้า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้