คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
การฝึกอนาโตมี่ ก็คือการฝึกจำสัดส่วนคน ที่จะเอามาประกอบท่าทางในหัว
ให้ภาพออกมาได้สมบูรณมากยิ่งขึ้น โดยเรียนรู้ สัดส่วนแต่ล่ะส่วนของร่างกาย
หัว ตัว แขน ขา นิ้ว แล้วลึกไปถึงกระดูก แล้ว ค่อยๆใส่กล้ามเนื้อหลักๆเพื่อให้เกิดรูปทรง มนุษย์
ลองเทตส์ โดยการเขียน ท่าเดินตัวการ์ตูนทั้งตัวเดิน แต่ ล่ะมุมดูสิครับ
ทักษะของคนที่เข้าใจอนาโตมี่ จะเขียนได้ ถ้าเราเขียนตรงไหนไม่ได้ ก็หาเพื่อน ใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้นยิ่งดี
หรือหาแบบแบบมานั่งวิเคราะห์ดู ก็เป็นการเรียนรู้แบบนึง ในเบื้องต้น
แล้วค่อยต่อยอดไปท่ายากอื่น เช่น เช่น ยกมือ ยกเท้า นั่งยองๆ ไขว้ห้าง
มันจะยุ่งยากและซับซ้อนขึ้นครับ ค่อยๆหัดอย่างมีเสต็ปไป จะพัฒนาได้เร็วและพื้นฐานแน่น
ให้ภาพออกมาได้สมบูรณมากยิ่งขึ้น โดยเรียนรู้ สัดส่วนแต่ล่ะส่วนของร่างกาย
หัว ตัว แขน ขา นิ้ว แล้วลึกไปถึงกระดูก แล้ว ค่อยๆใส่กล้ามเนื้อหลักๆเพื่อให้เกิดรูปทรง มนุษย์
ลองเทตส์ โดยการเขียน ท่าเดินตัวการ์ตูนทั้งตัวเดิน แต่ ล่ะมุมดูสิครับ
ทักษะของคนที่เข้าใจอนาโตมี่ จะเขียนได้ ถ้าเราเขียนตรงไหนไม่ได้ ก็หาเพื่อน ใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้นยิ่งดี
หรือหาแบบแบบมานั่งวิเคราะห์ดู ก็เป็นการเรียนรู้แบบนึง ในเบื้องต้น
แล้วค่อยต่อยอดไปท่ายากอื่น เช่น เช่น ยกมือ ยกเท้า นั่งยองๆ ไขว้ห้าง
มันจะยุ่งยากและซับซ้อนขึ้นครับ ค่อยๆหัดอย่างมีเสต็ปไป จะพัฒนาได้เร็วและพื้นฐานแน่น
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
อนาโตมี่สำคัญอย่างไร ?
ผมจะยกตัวอย่างขึ้นมาอันนึง เมื่อหลายปีก่อน มีรูปตัวการ์ตูนสาวน้อยตัวหนึ่ง ชื่อ
"いまいちさん" ผมรู้รายละเอียดคร่าว ๆ คือ ผู้โพส โพสรูปนี้พร้อมถามว่า
"ขอเหตุผลหน่อยว่า ทำไมตัวการ์ตูนตัวนี้ถึงไม่น่ารัก ?"
หากไม่นับการลงเส้น สีแสงเงา รายละเอียดพื้นผิว มิติ ที่ยังดูไม่เรียบร้อยเท่าไหร่แล้ว
สิ่งที่เราเห็นอย่างแรก คือ ดวงตา ขนาด สัดส่วนการจัดวางใบหน้า การแสดงสีหน้า ดูแปลกไปหมดเลย
สรีระและการจัดวางท่าทาง มันยังไม่ลงตัว
(ให้ผมวาดออกมา ก็ได้แบบเขานี่แหละนะ 555 ผมวาดรูปไม่เป็น)
รูปที่เราเห็น กับร่างกายในอุดมคติของมนุษย์ที่อยู่ในสมองของเรา มันเกิดการขัดแย้งกัน เลยกลายมาเป็นอารมณ์ "ไม่สวย" "ไม่น่ารัก" นั่นเอง
......................................................................................
ในเวลาต่อมา ก็มีศิลปินหลาย ๆ ท่าน ได้วาดตัวการ์ตูนตัวดังกล่าวในแบบของตัวเอง ออกมาหลายรูปครับ อาทิเช่น
โดยผมจะขอยกตัวอย่างมาซัก 1 รูป นะครับ
ภาพข้างบนนี้เป็นหนึ่งในศิลปินท่านหนึ่งได้วาดไว้
ตัวการ์ตูนในรูปนี้ สังเกตดูจะเห็นว่า มีลักษณะเด่นชัดดังต่อไปนี้ คือ
1. มีทรงกระโหลกศรีษะคล้ายมนุษย์ ตำแหน่งและการจัดวางองค์ประกอบใบหน้า ดวงตา ดูคล้ายมนุษย์
2. ไหล่แคบสอบเล็ก แผ่นหลังและต้นแขนเรียวเรียบ
3. นิ้วมือเรียวยาว
4. เอวคอด สะโพกผาย ต้นขาใหญ่
5. มีเหลี่ยมมุมของกระดูกสะบ้าตรงหัวเข่า
6. น่อง ข้อเท้า จรดปลายเท้าดูเรียวสวย
ซึ่งที่ว่ามา มันคือ ลักษณะเด่นของมนุษย์เพศหญิงในอุดมคติที่คน"ส่วนใหญ่"เข้าใจ
อนาโตมี่ ใน "ความเป็นจริง" มนุษย์เรา มีโครงกระดูกเป็นแกนของร่างกาย เคลื่อนไหวด้วยกล้ามเนื้อที่เรา(ในทางศิลปะ)มองว่ามัน "สวยงาม"
ตัวการ์ตูนก็เหมือนกัน ถ้าเราอยากให้มัน "สมจริง และสวยงาม" เราก็ใส่ อนาโตมี่ ให้กับมัน
หากไม่มี อนาโตมี่ ก็คงเป็นได้แค่ก้อนเยลลี่หรือแท่งพลาสติกไร้ชีวิตชีวา จะยืนเดินนั่งนอนยังไง ดูไม่น่าเชื่อถือใช่ไหมครับ
ดังภาพตัวอย่าง ที่ศิลปินได้ใส่ ลักษณะสัดส่วนกล้ามเนื้อและกระดูกของผู้หญิงลงไป ตัวการ์ตูนก็ดูมีสเน่ห์ราวกับมีตัวตนจริง ๆ
...................................................................
การร่างตัวการ์ตูน ต้องร่างจากโครงกระดูก ซึ่งเป็นแกนหลัก เพื่อจัดวางสัดส่วนท่าทางของร่างกายให้ถูกต้องเสียก่อน
ไม่ใช่จู่ ๆ จะมาวาดหัว ตัว แขนขา โดยไม่มีที่มาที่ไปไม่ได้เลย เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพของเราผิดเพี้ยนครับ
ต่อจากนั้นจึงค่อยลงรายละเอียดต่าง ๆ เข้าไป
......................................................................
นักศึกษาศิลปะทุกท่าน จะต้องผ่านการวาด อนาโตมี่ ของมนุษย์จริง ๆ อย่างหนักในปีแรก ๆ เลย
(ถึงเจ้าของกระทู้จะไม่ชอบ ยังไงก็หนีไม่พ้นหรอก 555)
นั่น กล้ามส่วนนั้น กระดูกส่วนนี้ เอ็น เส้นเลือด เป็นร้อย ๆ พัน ๆ ชิ้น ต้องละเอียดแม่นยำราวกับว่า จะไปเป็นแพทย์ผ่าตัดกันเสียให้ได้
ซึ่งนักเขียนการ์ตูนทุกท่าน ล้วนผ่านตรงนี้มาหมด เพราะเป็นพื้นฐานที่ต้องมีเหมือน ก ข ค A B C
หากเมื่อนำมาวาดเป็นตัวการ์ตูนแล้ว เราจะไม่ใช้อนาโตมี่ของมนุษย์เป๊ะขนาดนั้น
จะมีการตัดทอน และเกลา อนาโตมี่ ที่ไม่จำเป็นให้ลดลง เพิ่ม อนาโตมี่ ที่เป็นจุดเด่นลักษณะเฉพาะเพื่อดึงดูดแทน
เพื่อความง่ายและความน่าสนใจในการนำเสนอ ตามแบบฉบับของแต่ละคน
เราจึงเห็นรูปร่างสัดส่วนของตัวการ์ตูนที่มีในแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน กลายเป็นเอกลักษณ์ของศิลปินท่านนั้น
อย่าง เซเลอร์มูนก็มีอนาโตมี่แบบนึง ,งานป้า CLAMP ก็อนาโตมี่อีกแบบหนึ่ง , Kimi ni Todoke ,วันพีช ,นารูโตะ ,บลีช ,จิบลิ ฯลฯ
มันก็สวยงามไปคนละแบบ ตามแต่นิยาม
การ์ตูนบางเรื่องก็ไม่ได้อ้างอิงกับอนาโตมี่ของมนุษย์เลยซะทีเดียว
อย่าง ชินจัง , พาวเวอร์พัฟฟ์เกิล ,สปองบ๊อบ ฯลฯ ขอแค่วาดออกมาแล้วมันดูดี ลงตัว สื่อถึงกริยาอารมณ์ของมนุษย์ได้
อาจยกตัวอย่างเช่นรูปนี้ครับ
จะเห็นได้ว่า ถ้าไม่นับส่วนหัว ที่เหลือมันแทบจะไม่มีส่วนไหนที่ตรงกับมนุษย์เลยด้วยซ้ำ แค่การเกลาอนาโตมี่ให้ดูสมส่วนลงตัว เน้นส่วนหัวแทน
มันจะไปหลอกสมองว่า "เนี่ย เจ้าสิ่งนี้เป็นคนนะ ตรงกับรูปร่างคนในอุดมคติเลย มันสวย เห็นปะ" XD
ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน หรือแนวเรื่องที่จะนำไปใช้
.........................................
หรือว่าการเน้นสัดส่วนให้ชัดเจนเป็นจุดเด่นกันจะ ๆ แบบนี้
ใช่ครับ ขา ใหญ่มาก แต่มันคือขาคนชัด ๆ ขาของมนุษย์ผู้ชาย ถึงขนาดจะผิด แต่สมองมันบอกว่าสวย ลงตัว
การ์ตูนฟุตบอล เน้นกล้ามขาและน่อง กลายเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานความสวยไป
...................................................
*** สุดท้าย เจ้าของกระทู้เอง จะต้องหา"อนาโตมี่ของตัวการ์ตูนในแบบฉบับของตัวเอง"
แต่ก่อนจะถึงจุดนั้น ต้องมีพื้นฐาน อนาโตมี่ ของมนุษย์จริงให้แน่นเสียก่อน เพื่อสร้างชีวิตชีวาให้ตัวละคร
ผมก็คงแนะนำวิธีลัดแบบเดิม ๆ ก็คือ
ปั้นโมเดลตัวการ์ตูนมา 1 ตัว เอาให้สุดฝืมือเลย ควรเป็นโมเดลที่มีแกนกลางนะครับ สำหรับจัดท่าทางได้
เราสามารถเห็นมันได้ทุกมุม เบี้ยวตรงไหนก็แก้ ไม่ชอบตรงไหนก็ปรับ
พอได้จนถูกใจมองทุกมุมแล้วมันสวย (สวยในความคิดเรา แล้วก็ต้องสวยในความคิดคนอื่น ๆ ด้วยนะ)
ก็จับมันดัดแขนดัดขา จัดวางท่าทาง เทียบกับคนจริง ๆ ไปด้วย แล้วให้วาดตามนั้นเลย วาดให้ครบทุกมุม
การได้จับ สัมผัสวัตถุใดใดด้วยมือเปล่า จะมีผลพลอยได้ทำให้ลายเส้น และรูปทรงของเราแม่นยำมาก ๆ ไม่มีการดำน้ำ
เพราะมันติดเป็น 3D อยู่ในสมองเลย
วิธีนี้ถึงจะไม่ได้ อนาโตมี่ แบบถูกต้องตามหลักนัก แต่ก็พอช่วยเกลาให้มันลงตัวได้
มันขาดมันล้นตรงไหน ค่อย ๆ ตามเก็บพัฒนากันไป
เมื่อได้รูปทรงและลายเส้นที่พอใจแล้ว ต่อไปก็ศึกษาเรื่อง แสง เงา มิติ พื้นผิว การลงสี การจัดวางองค์ประกอบภาพ บลา ๆๆๆ ควบคู่กันไป
ขอให้รักมัน และทำมันอย่างมีความสุขนะครับ ***
ผมจะยกตัวอย่างขึ้นมาอันนึง เมื่อหลายปีก่อน มีรูปตัวการ์ตูนสาวน้อยตัวหนึ่ง ชื่อ
"いまいちさん" ผมรู้รายละเอียดคร่าว ๆ คือ ผู้โพส โพสรูปนี้พร้อมถามว่า
"ขอเหตุผลหน่อยว่า ทำไมตัวการ์ตูนตัวนี้ถึงไม่น่ารัก ?"
หากไม่นับการลงเส้น สีแสงเงา รายละเอียดพื้นผิว มิติ ที่ยังดูไม่เรียบร้อยเท่าไหร่แล้ว
สิ่งที่เราเห็นอย่างแรก คือ ดวงตา ขนาด สัดส่วนการจัดวางใบหน้า การแสดงสีหน้า ดูแปลกไปหมดเลย
สรีระและการจัดวางท่าทาง มันยังไม่ลงตัว
(ให้ผมวาดออกมา ก็ได้แบบเขานี่แหละนะ 555 ผมวาดรูปไม่เป็น)
รูปที่เราเห็น กับร่างกายในอุดมคติของมนุษย์ที่อยู่ในสมองของเรา มันเกิดการขัดแย้งกัน เลยกลายมาเป็นอารมณ์ "ไม่สวย" "ไม่น่ารัก" นั่นเอง
......................................................................................
ในเวลาต่อมา ก็มีศิลปินหลาย ๆ ท่าน ได้วาดตัวการ์ตูนตัวดังกล่าวในแบบของตัวเอง ออกมาหลายรูปครับ อาทิเช่น
โดยผมจะขอยกตัวอย่างมาซัก 1 รูป นะครับ
ภาพข้างบนนี้เป็นหนึ่งในศิลปินท่านหนึ่งได้วาดไว้
ตัวการ์ตูนในรูปนี้ สังเกตดูจะเห็นว่า มีลักษณะเด่นชัดดังต่อไปนี้ คือ
1. มีทรงกระโหลกศรีษะคล้ายมนุษย์ ตำแหน่งและการจัดวางองค์ประกอบใบหน้า ดวงตา ดูคล้ายมนุษย์
2. ไหล่แคบสอบเล็ก แผ่นหลังและต้นแขนเรียวเรียบ
3. นิ้วมือเรียวยาว
4. เอวคอด สะโพกผาย ต้นขาใหญ่
5. มีเหลี่ยมมุมของกระดูกสะบ้าตรงหัวเข่า
6. น่อง ข้อเท้า จรดปลายเท้าดูเรียวสวย
ซึ่งที่ว่ามา มันคือ ลักษณะเด่นของมนุษย์เพศหญิงในอุดมคติที่คน"ส่วนใหญ่"เข้าใจ
อนาโตมี่ ใน "ความเป็นจริง" มนุษย์เรา มีโครงกระดูกเป็นแกนของร่างกาย เคลื่อนไหวด้วยกล้ามเนื้อที่เรา(ในทางศิลปะ)มองว่ามัน "สวยงาม"
ตัวการ์ตูนก็เหมือนกัน ถ้าเราอยากให้มัน "สมจริง และสวยงาม" เราก็ใส่ อนาโตมี่ ให้กับมัน
หากไม่มี อนาโตมี่ ก็คงเป็นได้แค่ก้อนเยลลี่หรือแท่งพลาสติกไร้ชีวิตชีวา จะยืนเดินนั่งนอนยังไง ดูไม่น่าเชื่อถือใช่ไหมครับ
ดังภาพตัวอย่าง ที่ศิลปินได้ใส่ ลักษณะสัดส่วนกล้ามเนื้อและกระดูกของผู้หญิงลงไป ตัวการ์ตูนก็ดูมีสเน่ห์ราวกับมีตัวตนจริง ๆ
...................................................................
การร่างตัวการ์ตูน ต้องร่างจากโครงกระดูก ซึ่งเป็นแกนหลัก เพื่อจัดวางสัดส่วนท่าทางของร่างกายให้ถูกต้องเสียก่อน
ไม่ใช่จู่ ๆ จะมาวาดหัว ตัว แขนขา โดยไม่มีที่มาที่ไปไม่ได้เลย เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพของเราผิดเพี้ยนครับ
ต่อจากนั้นจึงค่อยลงรายละเอียดต่าง ๆ เข้าไป
......................................................................
นักศึกษาศิลปะทุกท่าน จะต้องผ่านการวาด อนาโตมี่ ของมนุษย์จริง ๆ อย่างหนักในปีแรก ๆ เลย
(ถึงเจ้าของกระทู้จะไม่ชอบ ยังไงก็หนีไม่พ้นหรอก 555)
นั่น กล้ามส่วนนั้น กระดูกส่วนนี้ เอ็น เส้นเลือด เป็นร้อย ๆ พัน ๆ ชิ้น ต้องละเอียดแม่นยำราวกับว่า จะไปเป็นแพทย์ผ่าตัดกันเสียให้ได้
ซึ่งนักเขียนการ์ตูนทุกท่าน ล้วนผ่านตรงนี้มาหมด เพราะเป็นพื้นฐานที่ต้องมีเหมือน ก ข ค A B C
หากเมื่อนำมาวาดเป็นตัวการ์ตูนแล้ว เราจะไม่ใช้อนาโตมี่ของมนุษย์เป๊ะขนาดนั้น
จะมีการตัดทอน และเกลา อนาโตมี่ ที่ไม่จำเป็นให้ลดลง เพิ่ม อนาโตมี่ ที่เป็นจุดเด่นลักษณะเฉพาะเพื่อดึงดูดแทน
เพื่อความง่ายและความน่าสนใจในการนำเสนอ ตามแบบฉบับของแต่ละคน
เราจึงเห็นรูปร่างสัดส่วนของตัวการ์ตูนที่มีในแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน กลายเป็นเอกลักษณ์ของศิลปินท่านนั้น
อย่าง เซเลอร์มูนก็มีอนาโตมี่แบบนึง ,งานป้า CLAMP ก็อนาโตมี่อีกแบบหนึ่ง , Kimi ni Todoke ,วันพีช ,นารูโตะ ,บลีช ,จิบลิ ฯลฯ
มันก็สวยงามไปคนละแบบ ตามแต่นิยาม
การ์ตูนบางเรื่องก็ไม่ได้อ้างอิงกับอนาโตมี่ของมนุษย์เลยซะทีเดียว
อย่าง ชินจัง , พาวเวอร์พัฟฟ์เกิล ,สปองบ๊อบ ฯลฯ ขอแค่วาดออกมาแล้วมันดูดี ลงตัว สื่อถึงกริยาอารมณ์ของมนุษย์ได้
อาจยกตัวอย่างเช่นรูปนี้ครับ
จะเห็นได้ว่า ถ้าไม่นับส่วนหัว ที่เหลือมันแทบจะไม่มีส่วนไหนที่ตรงกับมนุษย์เลยด้วยซ้ำ แค่การเกลาอนาโตมี่ให้ดูสมส่วนลงตัว เน้นส่วนหัวแทน
มันจะไปหลอกสมองว่า "เนี่ย เจ้าสิ่งนี้เป็นคนนะ ตรงกับรูปร่างคนในอุดมคติเลย มันสวย เห็นปะ" XD
ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน หรือแนวเรื่องที่จะนำไปใช้
.........................................
หรือว่าการเน้นสัดส่วนให้ชัดเจนเป็นจุดเด่นกันจะ ๆ แบบนี้
ใช่ครับ ขา ใหญ่มาก แต่มันคือขาคนชัด ๆ ขาของมนุษย์ผู้ชาย ถึงขนาดจะผิด แต่สมองมันบอกว่าสวย ลงตัว
การ์ตูนฟุตบอล เน้นกล้ามขาและน่อง กลายเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานความสวยไป
...................................................
*** สุดท้าย เจ้าของกระทู้เอง จะต้องหา"อนาโตมี่ของตัวการ์ตูนในแบบฉบับของตัวเอง"
แต่ก่อนจะถึงจุดนั้น ต้องมีพื้นฐาน อนาโตมี่ ของมนุษย์จริงให้แน่นเสียก่อน เพื่อสร้างชีวิตชีวาให้ตัวละคร
ผมก็คงแนะนำวิธีลัดแบบเดิม ๆ ก็คือ
ปั้นโมเดลตัวการ์ตูนมา 1 ตัว เอาให้สุดฝืมือเลย ควรเป็นโมเดลที่มีแกนกลางนะครับ สำหรับจัดท่าทางได้
เราสามารถเห็นมันได้ทุกมุม เบี้ยวตรงไหนก็แก้ ไม่ชอบตรงไหนก็ปรับ
พอได้จนถูกใจมองทุกมุมแล้วมันสวย (สวยในความคิดเรา แล้วก็ต้องสวยในความคิดคนอื่น ๆ ด้วยนะ)
ก็จับมันดัดแขนดัดขา จัดวางท่าทาง เทียบกับคนจริง ๆ ไปด้วย แล้วให้วาดตามนั้นเลย วาดให้ครบทุกมุม
การได้จับ สัมผัสวัตถุใดใดด้วยมือเปล่า จะมีผลพลอยได้ทำให้ลายเส้น และรูปทรงของเราแม่นยำมาก ๆ ไม่มีการดำน้ำ
เพราะมันติดเป็น 3D อยู่ในสมองเลย
วิธีนี้ถึงจะไม่ได้ อนาโตมี่ แบบถูกต้องตามหลักนัก แต่ก็พอช่วยเกลาให้มันลงตัวได้
มันขาดมันล้นตรงไหน ค่อย ๆ ตามเก็บพัฒนากันไป
เมื่อได้รูปทรงและลายเส้นที่พอใจแล้ว ต่อไปก็ศึกษาเรื่อง แสง เงา มิติ พื้นผิว การลงสี การจัดวางองค์ประกอบภาพ บลา ๆๆๆ ควบคู่กันไป
ขอให้รักมัน และทำมันอย่างมีความสุขนะครับ ***
แสดงความคิดเห็น
การฝึกอนาโตมี่สำคัญยังไงหรอคะ?
คือบางทีเราคิดภาพที่อยากวาดออกในหัวแต่พอจะวาดออกมามันดันวาดไม่เหมือน ท่าทางยังดูแปลกๆไม่เข้ารูป
รู้สึกว่าท่าทางของตัวการ์ตูนมันสำคัญในการสื่ออารมณ์มากค่ะ แต่เราก็วาดมันออกมาไม่ได้ตามที่คิดทุกครั้ง จนต้องเปิดกูเกิลหาภาพการ์ตูนท่าทางต่างๆดูแล้วค่อยวาดตามประจำ ไม่ชอบแบบนี้เลยค่ะ
อยากคิดแล้ววาดออกมาเองได้โดยที่ไม่ต้องดูงานคนอื่น
เป็นแบบนี้ถ้าฝึกอนาโตมี่จะช่วยได้ไหมคะ