รู้จักกับ Flange Distance : กล้องระบบใหม่ ทำไมต้องเมาท์ใหม่ ไหนว่าไม่ทิ้งกัน ทำใหม่ใครได้ประโยชน์

"กล้องระบบใหม่ใช้เลนส์เมาท์เดิมไม่ได้เหรอ ทำไมต้องทำใหม่อ่า"


สวัสดีเพื่อนสมาชิกและมิตรสหายทุกท่านครับ ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมากล้องประเภทไร้กระจกหรือมิเรอเลสเปลี่ยนเลนส์ได้ (MILC) เป็นที่นิยมแพร่หลายกันมาก และด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงการถ่ายภาพด้วยกล้องแบบเปลี่ยนเลนส์ได้เป็นจำนวนมาก หนึ่งในคำถามสุดฮิตของกลุ่มผู้รักการถ่ายภาพรุ่นใหม่คือ

"ทำไมเวลาที่เปลี่ยนจากกล้อง DSLR ไปเป็น MILC แล้วต้องใช้เลนส์เมาท์ใหม่ด้วยครับ"

"กล้องมิเรอเลสของน้อง จะใช้เลนส์แบบไหนได้บ้างคะ ดูยังไงว่าใช้ได้ไม่ได้ แนะนำหน่อยค่ะ"

"กล้องมิเรอเลสรุ่นใหม่ อยากให้เอาเลนส์ระบบเดิมของ DSLR มาใช้ได้เลยแบบไม่ต้องผ่านอแดปเตอร์ครับ"

ฯลฯ


เมาท์ใหม่ ไฉไลกว่าเก่า


สำหรับผู้เล่นเก่าหรือกลุ่มคนรักมือหมุนหรือคนรักการผสมพันธุ์กล้องเลนส์ข้ามค่ายน่าจะรู้จักเรื่องระยะแฟลงจ์กันดีอยู่แล้ว ก็ขอให้คิดเสียว่าวันนี้ผมถือวิสาสะ เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน สอนไมเคิลเฟลว่ายน้ำนะครับ แฮร่

ผิดพลาดตรงไหนต้องขออภัยล่วงหน้า และช่วยท้วงติงให้ด้วยนะครับ /love

วัตถุประสงค์ของกระทู้นี้อยู่ที่การอธิบายเรื่องเมาท์เลนส์และระยะแฟลงจ์ให้เข้าใจตรงกันมากขึ้นในกลุ่มผู้เล่นใหม่ หรือกลุ่มผู้ที่ไม่เคยใช้เลนส์นอกระบบมาก่อนเป็นหลักครับ หัวเราะ




เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เนื้อหาในกระทู้นี้จะแบ่งหัวข้อดังนี้ครับ

- Flange Distance คืออะไร
- ยุคเริ่มต้นของ DSLR และผู้ใช้เลนส์มือหมุนกับกล้องดิจิทัล
- ยุคสมัยของ MILC และจุดเด่นของมิเรอเลสด้านการนำเลนส์มือหมุนมาใช้
- ความจำเป็นของ Canon, Sony, Nikon ในการทำเลนส์ออโต้โฟกัสเมาท์ใหม่ ระบบใหม่
- สรุป




1. รู้จักกับ Flange Distance


Flange Focal Distance (หรือที่บางท่านเรียกว่า ระยะรีจิสเตอร์) คือระยะระหว่างเมาท์ของกล้องจนถึงระนาบฟิล์ม (หรือเซนเซอร์ในกล้องดิจิม่อน) อธิบายแบบเข้าใจง่ายๆคือ ระยะจาก "ท้ายเลนส์" ของเลนส์จนถึงเซนเซอร์ครับ ซึ่งในอดีตยุคสมัยกล้องกระจกแบบ Single Lens Reflex (SLR) ที่เป็นที่นิยมแพร่หลายนั้นจะต้องมีชุดกระจกแบบดีดมาวางที่หน้าบอดี้ ทำให้ระยะแฟลงจ์มีระยะค่อนข้างไกล โดยจะไกลมากน้อยเพียงใดอยู่ที่การดีไซน์ของระบบนั้นๆ พูดอีกแง่หนึ่งคือ ระยะแฟลงจ์ถูกดีไซน์ขึ้นมาเพื่อกล้องในระบบนั้นๆโดยเฉพาะ



ระยะแฟลงจ์ สำคัญต่อการใช้งานของพวกเราอย่างไร?

ตอบแบบกำปั้นทุบดินครับ ระยะแฟลงจ์ไม่ตรงกัน เอามาใช้ด้วยกันไม่ได้ ...
เหตุผลคือ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าในแต่ละระบบนั้นต่างมีการดีไซน์ระบบของตัวเองขึ้นมา เลนส์ถูกออกแบบให้แสงผ่านแล้วฉายภาพตกกระทบที่ระนาบฟิล์มตามที่ระบบของตัวเองดีไซน์ไว้เท่านั้น เช่น กล้องเลนส์ระบบ Olympus OM มีระยะแฟลงจ์ 46.0 มม ส่วน Nikon F มีระยะแฟลงจ์ 46.5 มม ในทางทฤษฎีการจะนำเลนส์ของ OM ไปใส่กับบอดี้กล้อง Nikon หรือเลนส์ Nikon มาใส่กล้อง OM นั้นจะทำให้ระยะที่ระนาบฟิล์มรับแสงผิดเพี้ยนไป ส่งผลให้ภาพที่ได้ออกมามีการโฟกัสคลาดเคลื่อน ไม่สามารถนำมาใช้งานได้
.
.
.
แต่ในทางปฏิบัติ ทุกสิ่งที่มนุษย์ฝันไว้ ย่อมมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้

ในสมัย SLR แบบ 35mm แบบแมนวล จะนิยมกล้องระบบนั้นๆไปเลย การต่อเลนส์ข้ามระบบยังไม่มีความนิยมแพร่หลาย ทำให้ไม่ค่อยมีใครสนใจเรื่องระยะแฟลงจ์มาก แต่ในยุคดิจิทัลแล้วเลนส์ที่ออกมาใหม่ เป็นระบบใหม่ ระยะแฟลงจ์ใหม่ ทำให้ของเดิมมันใช้ไม่ได้ เราเห็นเลนส์ดีๆสมัย SLR เดิมวางขายราคาพอๆกับข้าวมันไก่ในบ้านผีสิงอีเบย์แล้วมันปวดใจนัก อยากเอาเลนส์ในตำนานสมัยปู่ไมทานิมาใช้บนกล้องดิจิทัลจะทำยังไงล่ะนิ่ ก็เลยเกิดเป็นการผสมพันธุ์ข้ามค่ายในยุคแรกๆขึ้นมา


อยากใช้เลนส์เก่าง่า


จะขอข้ามเนื้อหาทางด้าน Optical Engineering อันแสนวุ่นวาย มาสรุปให้พ่อแม่พี่น้องกันเลยว่า ระยะแฟลงจ์เนี่ยมันมีเคล็ดลับในการเอามาใช้งานอย่างหนึ่งคือ เลนส์ในระบบที่ระยะแฟลงจ์ยาวกว่า สามารถนำมาใช้กับกล้องในระบบที่ระยะแฟลงจ์สั้นกว่า แล้วจะสามารถหาโฟกัสที่มีความชัดเจนได้

"บทสรุปมันเหมือนจะมีเท่านี้ แต่นี่มันเพิ่ง Prologue สำหรับการข้ามค่ายเท่านั้น"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่