ผู้จัดการรายวัน 360 - ผลพวงจากการคอนเน็กชันห้องเรียนลงทุนในต่างประเทศ นำไปสู่การต้มตุ๋นนักลงทุนเงินดิจิทัลรายใหญ่ ผ่านการชักชวนหาผลประโยชน์ในสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้ในบ่อนมาเก๊า พ่วงแถมด้วยสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนไทยที่ขาดทุนมาหลายปีติด จนเกิดคำถามย้อนถามภาครัฐมีมาตรการควบคุมที่เพียงพอหรือยัง?
ถือว่าไม่ใช่คดีแรกของการฉ้อโกงด้านการลงทุนที่เกิดขึ้นในเมืองไทย แต่มันเป็นคดีที่น่าสนใจ เพราะนักลงทุนรายใหญ่ และผู้มีชื่อเสียงในตลาดหุ้นไทยกลับเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหลอกลวงนักค้าเงินสกุลดิจิทัลชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียง นั่นคือ นายเออาร์นี โมตาวา ซาริมา ชาวฟินแลนด์ ซึ่งได้แจ้งตำรวจว่า ถูก “นายปริญญา จารวิจิต” พี่ชาย และ “น.ส.สุพิชฌาย์ จารวิจิต” พี่สาวของนักแสดงหนุ่ม “จิรัชพิสิษฐ์ จารวิจิต” หรือ “บูม” หลอกลวงให้ลงทุนในเงินดิจิทัลสกุล “Dragon Coin” (DRG) และบริษัทอื่นๆ รวมทั้งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงโอนเงิน “บิทคอยน์” มูลค่า 5.56 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยกว่า 797 ล้านบาท ไปยังกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-Wallet ของกลุ่มผู้ต้องหา และกลุ่มผู้ต้องหาได้ขายเงินดิจิทัลบิทคอยน์แปลงเป็นเงินบาท โอนเข้าบัญชีของแต่ละคน
สิ่งที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งจากคดีดังกล่าว นั่นคือ ชนวนแห่งเหตุที่เกิดขึ้นการตัดสินใจร่วมลงทุนครั้งนี้ เนื่องจากความสนิทของเหยื่อกับกลุ่มมิจฉาชีพที่เริ่มมาจากการพบปะในห้องเรียนหลักสูตรพิเศษด้านการลงทุนในต่างประเทศ โดยมี “นายประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ” อดีตผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งในประเทศ ซึ่งถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งพักงาน เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับทั้งสองฝ่าย และเป็นอีกหนึ่งผู้ลงทุนตกลงร่วมลงทุนในธุรกิจดังกล่าว ก่อนที่จะถอนตัวออกมาตามคำกล่าวอ้างที่ชี้แจงต่อสื่อมวลชน
อดีตผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ยอมรับว่า ส่วนตัวรู้จักกับ นายปริญญา จารวิจิต จากการไปเรียนด้านการลงทุนที่สิงคโปร์ ช่วงเดือนพฤษภาคม 2560 และนายปริญญา ได้แนะนำให้รู้จักกับนายอาร์นี โมโตวา ซาริมา นักลงทุนบิทคอยน์ที่มีชื่อพร้อมกับแฟนคนไทย โดยเห็นว่า แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนอีกทั้ง นายปริญญา ถือเป็นผู้กว้างขวางด้านบิทคอยน์ในมาเก๊า ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ทำให้เกิดการชักชวนร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัท ไว โฮลดิ้ง กรุ๊ป เพื่อทำธุรกิจบิทคอยน์โดยเฉพาะ ก่อนมาทำเงินดิจิทัลในชื่อ “ดราก้อนคอยน์” Dragon Coin (DRG) โดยนายประสิทธิ์ เป็นคนทำเรื่องเอกสาร นายเออาร์นี ทำเรื่องบิทคอยน์ นายปริญญา เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งต่อมาอดีตผู้บริหาร บล. ให้เหตุผลว่าเกิดความขัดแย้งกัน ตนจึงลาออกจากบริษัทดังกล่าวในช่วงเดือนตุลาคม 2560
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะคำกล่าวอ้างที่กลุ่มมิจฉาชีพ อ้างว่า “ดราก้อน คอยน์” นั้น เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ผูกขาดกับธุรกิจกาสิโนในมาเก๊า ซึ่งได้รับความนิยม โดยมีบริษัท ดราก้อน คอร์ปอเรชั่น จัดตั้งอยู่ที่ฮ่องกง และขั้นตอนจ่ายเงินดราก้อน คอยน์ จะมีบริษัทกลางรับจ่ายเงินให้ คือ บริษัท ไว โฮลดิ้ง ที่นายปริญญา เป็นผู้บริหารดำเนินการ ขณะที่การเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น หรือ ICO นั้น จะทำกำไรให้มหาศาล ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ
ส่วนขั้นตอนการลงทุน เริ่มจากผู้ลงทุนทุกรายต้องร่วมลงทุนรวมกันเป็นเงิน 400 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งขณะนั้นมีผู้ถือหุ้นคือ นายปริญญา, นายประสิทธิ์ นายอาร์นี และนักลงทุนอีก 1 ราย โดยแต่ละคนจะต้องลงทุนคนละ 100 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพื่อโอนไปที่บริษัทในเขตปกครองพิเศษมาเก๊า ดังนั้น ในส่วนของ นายอาร์นี่ จึงได้โอนเป็นเหรียญบิทคอยน์ผ่านกระเป๋าเงิน E-Wallet ของนายปริญญา กับพวก รวม 2,958 เหรียญบิทคอยน์ คิดเป็นมูลค่า 440 ล้านบาท เข้าไปร่วมลงทุนใน “ไว โฮลดิ้ง กรุ๊ป” แต่ไม่มีการโอนดราก้อน คอยน์ กลับไปให้ จากนั้น เมื่อผู้เสียหายรู้ตัวว่าอาจถูกหลอก จึงขอความช่วยเหลือจากอดีตผู้บริหาร บล. แต่กลับถูกอดีตผู้บริหาร บล. ชักชวนให้ร่วมซื้อหุ้นบริษัท 3 แห่ง ประกอบด้วย บริษัทเอ็กซ์เปย์ ซอฟท์แวร์, บริษัท เอ็นเอ็กซ์ เชน และ บมจ.ดีเอ็นเอ 2002 เพิ่มเติมรวม 400 ล้านบาท ซึ่งต่อมากลับไม่มีการโอนจำนวนหุ้นให้ตามข้อตกลง แบ่งเป็นการเข้ามาร่วมลงทุนในหุ้น DNA จำนวน 500 ล้านหุ้น คิดเป็นเงิน 1,355 เหรียญบิทคอยน์ หรือ 265 ล้านบาท แต่ได้รับหุ้น DNA เพียง 345 ล้านหุ้น
สำหรับการลงทุนใน บริษัทเอ็กซ์เปย์ ซอฟท์แวร์ และบริษัท เอ็นเอ็กซ์ เชน นั้น นายเออาร์นี ชี้แจงว่าถูกกลุ่มต้มตุ๋นพูดชักชวนให้ร่วมลงทุนในสัดส่วน 25% โดยต้องจ่ายค่าหุ้นเป็นเหรียญบิทคอยน์ จำนวน 1,250 เหรียญ หรือ 92.69 ล้านบาท ซึ่งตกลงทำสัญญาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2560 ด้วยการโอนเงินบิทคอยน์ไปยังกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E- Wallet) ตามที่นายปริญญา แจ้ง
ต่อมา เมื่อมีการลงทุนเกิดขึ้น แต่กลับไม่มีเงินสกุลดิจิทัลอย่างดราก้อน คอยน์ กลับมาให้นายอาร์นี่ อีกทั้งยังไม่ได้รับหุ้นในส่วนที่เหลือของ DNA รวมทั้งบริษัท ดีเอ็นเอ 2002 ยังไม่มีการเข้าไปซื้อหุ้นใน บริษัท ไว โฮลดิ้ง กรุ๊ป และบริษัทเอ็กซ์เปย์ ซอฟท์แวร์ ตามที่กล่าวอ้างของนายปริญญา กับพวกแต่อย่างใด ทำให้นายอาร์รี่ ตัดสินใจแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อ นายปริญญา กับพวก ตามกฎหมาย
ขณะเดียวกัน หลังจากมีการโอนเหรียญบิทคอยน์ของนายอาร์นี่ มาเข้าบัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของนายปริญญา กับพวกแล้ว พบว่าได้มีการทยอยขายเหรียญบิทคอยน์ออกไป โดยเมื่อได้เงินมาแล้ว มีการสั่งถอนเงินออกจากบัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ไปเข้าบัญชีของแต่ละคน เป็นยอดเงินรวม 745.78 ล้านบาท
นอกจากนี้ นายปริญญา ได้เริ่มทำการขายหุ้น DNA ที่ส่วนตัวถืออยู่ 8.05% ให้นายธรรมนัส พรหมเผ่า ในช่วงมกราคม 2561 จากนั้นในเดือนถัดมา กุมภาพันธ์ 2561 นายปริญญา ได้ยื่นใบลาออกจากกรรมการบริษัท DNA เรียกได้ว่า พอได้รับผลประโยชน์เป็นที่น่าพอใจ ก็ตัดสินใจขายสินทรัพย์เพื่อถ่ายเทผลประโยชน์ ก่อนจะหลบออกไปนอกประเทศ ซึ่งสะท้อนว่าได้มีการเตรียมการหรือวางแผนไว้เป็นอย่างดี
สำหรับ บมจ.ดีเอ็นเอ 2002 ที่ผ่านมา ผลประกอบการ 4 ปีย้อนหลัง (2557-2560) พบว่ามีการขาดทุน 4 ปีต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้มีการสร้างข่าวลือในห้องค้าว่า จะมีกลุ่มทุนใหม่เข้ามาร่วมลงทุน เพื่อทำธุรกิจใหม่ที่เติบโตก้าวกระโดด ขณะที่ภาพรวมทางธุรกิจยังเป็นเพียงโปรเจกต์ที่วางแผน และท้ายที่สุดมีการออกมาปฏิเสธเข้าลงทุนในธุรกิจดังกล่าวแล้ว ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าอาจมีการใช้ข้อมูลมาหาผลประโยชน์ จึงเป็นเรื่องที่ ก.ล.ต. ควรเข้ามาตรวจสอบ
ด้าน นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ในชั้นนี้ ก.ล.ต. อยู่ระหว่างประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงที่ชัดเจน และจะนำมาพิจารณาว่ามีการกระทำส่วนใดที่เป็นการกระทำผิดกฎหมายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือไม่ ซึ่งหากพบว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้อง ก.ล.ต. จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งที่นักลงทุนเฝ้าติดตามนอกเหนือจากคดีความที่ต้องไล่ล่าผู้ต้องหาอย่าง “ปริญญา จารวิจิต” นั่นคือ การดำเนินงานของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดทุน ในการป้องกันปัญหาแบบนี้ที่อาจเกิดขึ้นอีก ขณะเดียวกัน เมื่อการนำเงินสกุลดิจิทัลเข้ามาใช้ในวงการตลาดทุนในอนาคต ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่หนีไม่พ้น แต่จะมีวิธีใดที่จะสร้างความอุ่นใจให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ดีเท่าการมีกฎหมายรองรับ และข้อกำหนดที่สามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่ผ่านมามีรายงานว่า ราคาบิทคอยน์เคยขึ้นไปสูงสุดเกือบ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 670,000 บาทต่อ 1 บิทคอยน์ และปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 6,110 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 204,000 บาทต่อ 1 บิทคอยน์ ไม่เพียงเท่านี้ยังพบว่า เงินดิจิทัลบิทคอยน์มีการเข้ารหัสที่ซับซ้อน แถมการโอนเงินยังเป็นแบบตัวต่อตัว ด้วยรหัสไม่มีการระบุตัวตน จึงกลายเป็นแหล่งฟอกเงิน และโอนเงินไปเก็บไว้ต่างประเทศ ของบรรดานักการเมือง และข้าราชการทุจริต รวมถึงกลุ่มธุรกิจผิดกฎหมาย ดังนั้น สิ่งที่หลายฝ่ายเฝ้ารอ คือ ภาครัฐจะมีวิธีการใดที่จะควบคุมสกุลเงินดิจิทัลได้อยู่หมัด
CR:
http://news1live.com/detail.aspx?NewsID=9610000082883
ใครเล่นตัวนี้บ้าง เปิดขั้นตอนโกงเงินกลุ่ม “ปริญญา” แปลงบิทคอยน์-ล่อใจด้วยหุ้น DNA
ถือว่าไม่ใช่คดีแรกของการฉ้อโกงด้านการลงทุนที่เกิดขึ้นในเมืองไทย แต่มันเป็นคดีที่น่าสนใจ เพราะนักลงทุนรายใหญ่ และผู้มีชื่อเสียงในตลาดหุ้นไทยกลับเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหลอกลวงนักค้าเงินสกุลดิจิทัลชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียง นั่นคือ นายเออาร์นี โมตาวา ซาริมา ชาวฟินแลนด์ ซึ่งได้แจ้งตำรวจว่า ถูก “นายปริญญา จารวิจิต” พี่ชาย และ “น.ส.สุพิชฌาย์ จารวิจิต” พี่สาวของนักแสดงหนุ่ม “จิรัชพิสิษฐ์ จารวิจิต” หรือ “บูม” หลอกลวงให้ลงทุนในเงินดิจิทัลสกุล “Dragon Coin” (DRG) และบริษัทอื่นๆ รวมทั้งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงโอนเงิน “บิทคอยน์” มูลค่า 5.56 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยกว่า 797 ล้านบาท ไปยังกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-Wallet ของกลุ่มผู้ต้องหา และกลุ่มผู้ต้องหาได้ขายเงินดิจิทัลบิทคอยน์แปลงเป็นเงินบาท โอนเข้าบัญชีของแต่ละคน
สิ่งที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งจากคดีดังกล่าว นั่นคือ ชนวนแห่งเหตุที่เกิดขึ้นการตัดสินใจร่วมลงทุนครั้งนี้ เนื่องจากความสนิทของเหยื่อกับกลุ่มมิจฉาชีพที่เริ่มมาจากการพบปะในห้องเรียนหลักสูตรพิเศษด้านการลงทุนในต่างประเทศ โดยมี “นายประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ” อดีตผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งในประเทศ ซึ่งถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งพักงาน เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับทั้งสองฝ่าย และเป็นอีกหนึ่งผู้ลงทุนตกลงร่วมลงทุนในธุรกิจดังกล่าว ก่อนที่จะถอนตัวออกมาตามคำกล่าวอ้างที่ชี้แจงต่อสื่อมวลชน
อดีตผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ ยอมรับว่า ส่วนตัวรู้จักกับ นายปริญญา จารวิจิต จากการไปเรียนด้านการลงทุนที่สิงคโปร์ ช่วงเดือนพฤษภาคม 2560 และนายปริญญา ได้แนะนำให้รู้จักกับนายอาร์นี โมโตวา ซาริมา นักลงทุนบิทคอยน์ที่มีชื่อพร้อมกับแฟนคนไทย โดยเห็นว่า แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนอีกทั้ง นายปริญญา ถือเป็นผู้กว้างขวางด้านบิทคอยน์ในมาเก๊า ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ทำให้เกิดการชักชวนร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัท ไว โฮลดิ้ง กรุ๊ป เพื่อทำธุรกิจบิทคอยน์โดยเฉพาะ ก่อนมาทำเงินดิจิทัลในชื่อ “ดราก้อนคอยน์” Dragon Coin (DRG) โดยนายประสิทธิ์ เป็นคนทำเรื่องเอกสาร นายเออาร์นี ทำเรื่องบิทคอยน์ นายปริญญา เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งต่อมาอดีตผู้บริหาร บล. ให้เหตุผลว่าเกิดความขัดแย้งกัน ตนจึงลาออกจากบริษัทดังกล่าวในช่วงเดือนตุลาคม 2560
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะคำกล่าวอ้างที่กลุ่มมิจฉาชีพ อ้างว่า “ดราก้อน คอยน์” นั้น เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ผูกขาดกับธุรกิจกาสิโนในมาเก๊า ซึ่งได้รับความนิยม โดยมีบริษัท ดราก้อน คอร์ปอเรชั่น จัดตั้งอยู่ที่ฮ่องกง และขั้นตอนจ่ายเงินดราก้อน คอยน์ จะมีบริษัทกลางรับจ่ายเงินให้ คือ บริษัท ไว โฮลดิ้ง ที่นายปริญญา เป็นผู้บริหารดำเนินการ ขณะที่การเสนอขายเหรียญในระยะเริ่มต้น หรือ ICO นั้น จะทำกำไรให้มหาศาล ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ
ส่วนขั้นตอนการลงทุน เริ่มจากผู้ลงทุนทุกรายต้องร่วมลงทุนรวมกันเป็นเงิน 400 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งขณะนั้นมีผู้ถือหุ้นคือ นายปริญญา, นายประสิทธิ์ นายอาร์นี และนักลงทุนอีก 1 ราย โดยแต่ละคนจะต้องลงทุนคนละ 100 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพื่อโอนไปที่บริษัทในเขตปกครองพิเศษมาเก๊า ดังนั้น ในส่วนของ นายอาร์นี่ จึงได้โอนเป็นเหรียญบิทคอยน์ผ่านกระเป๋าเงิน E-Wallet ของนายปริญญา กับพวก รวม 2,958 เหรียญบิทคอยน์ คิดเป็นมูลค่า 440 ล้านบาท เข้าไปร่วมลงทุนใน “ไว โฮลดิ้ง กรุ๊ป” แต่ไม่มีการโอนดราก้อน คอยน์ กลับไปให้ จากนั้น เมื่อผู้เสียหายรู้ตัวว่าอาจถูกหลอก จึงขอความช่วยเหลือจากอดีตผู้บริหาร บล. แต่กลับถูกอดีตผู้บริหาร บล. ชักชวนให้ร่วมซื้อหุ้นบริษัท 3 แห่ง ประกอบด้วย บริษัทเอ็กซ์เปย์ ซอฟท์แวร์, บริษัท เอ็นเอ็กซ์ เชน และ บมจ.ดีเอ็นเอ 2002 เพิ่มเติมรวม 400 ล้านบาท ซึ่งต่อมากลับไม่มีการโอนจำนวนหุ้นให้ตามข้อตกลง แบ่งเป็นการเข้ามาร่วมลงทุนในหุ้น DNA จำนวน 500 ล้านหุ้น คิดเป็นเงิน 1,355 เหรียญบิทคอยน์ หรือ 265 ล้านบาท แต่ได้รับหุ้น DNA เพียง 345 ล้านหุ้น
สำหรับการลงทุนใน บริษัทเอ็กซ์เปย์ ซอฟท์แวร์ และบริษัท เอ็นเอ็กซ์ เชน นั้น นายเออาร์นี ชี้แจงว่าถูกกลุ่มต้มตุ๋นพูดชักชวนให้ร่วมลงทุนในสัดส่วน 25% โดยต้องจ่ายค่าหุ้นเป็นเหรียญบิทคอยน์ จำนวน 1,250 เหรียญ หรือ 92.69 ล้านบาท ซึ่งตกลงทำสัญญาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2560 ด้วยการโอนเงินบิทคอยน์ไปยังกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E- Wallet) ตามที่นายปริญญา แจ้ง
ต่อมา เมื่อมีการลงทุนเกิดขึ้น แต่กลับไม่มีเงินสกุลดิจิทัลอย่างดราก้อน คอยน์ กลับมาให้นายอาร์นี่ อีกทั้งยังไม่ได้รับหุ้นในส่วนที่เหลือของ DNA รวมทั้งบริษัท ดีเอ็นเอ 2002 ยังไม่มีการเข้าไปซื้อหุ้นใน บริษัท ไว โฮลดิ้ง กรุ๊ป และบริษัทเอ็กซ์เปย์ ซอฟท์แวร์ ตามที่กล่าวอ้างของนายปริญญา กับพวกแต่อย่างใด ทำให้นายอาร์รี่ ตัดสินใจแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อ นายปริญญา กับพวก ตามกฎหมาย
ขณะเดียวกัน หลังจากมีการโอนเหรียญบิทคอยน์ของนายอาร์นี่ มาเข้าบัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของนายปริญญา กับพวกแล้ว พบว่าได้มีการทยอยขายเหรียญบิทคอยน์ออกไป โดยเมื่อได้เงินมาแล้ว มีการสั่งถอนเงินออกจากบัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ไปเข้าบัญชีของแต่ละคน เป็นยอดเงินรวม 745.78 ล้านบาท
นอกจากนี้ นายปริญญา ได้เริ่มทำการขายหุ้น DNA ที่ส่วนตัวถืออยู่ 8.05% ให้นายธรรมนัส พรหมเผ่า ในช่วงมกราคม 2561 จากนั้นในเดือนถัดมา กุมภาพันธ์ 2561 นายปริญญา ได้ยื่นใบลาออกจากกรรมการบริษัท DNA เรียกได้ว่า พอได้รับผลประโยชน์เป็นที่น่าพอใจ ก็ตัดสินใจขายสินทรัพย์เพื่อถ่ายเทผลประโยชน์ ก่อนจะหลบออกไปนอกประเทศ ซึ่งสะท้อนว่าได้มีการเตรียมการหรือวางแผนไว้เป็นอย่างดี
สำหรับ บมจ.ดีเอ็นเอ 2002 ที่ผ่านมา ผลประกอบการ 4 ปีย้อนหลัง (2557-2560) พบว่ามีการขาดทุน 4 ปีต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้มีการสร้างข่าวลือในห้องค้าว่า จะมีกลุ่มทุนใหม่เข้ามาร่วมลงทุน เพื่อทำธุรกิจใหม่ที่เติบโตก้าวกระโดด ขณะที่ภาพรวมทางธุรกิจยังเป็นเพียงโปรเจกต์ที่วางแผน และท้ายที่สุดมีการออกมาปฏิเสธเข้าลงทุนในธุรกิจดังกล่าวแล้ว ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าอาจมีการใช้ข้อมูลมาหาผลประโยชน์ จึงเป็นเรื่องที่ ก.ล.ต. ควรเข้ามาตรวจสอบ
ด้าน นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ในชั้นนี้ ก.ล.ต. อยู่ระหว่างประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงที่ชัดเจน และจะนำมาพิจารณาว่ามีการกระทำส่วนใดที่เป็นการกระทำผิดกฎหมายหลักทรัพย์ หรือกฎหมายการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือไม่ ซึ่งหากพบว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้อง ก.ล.ต. จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งที่นักลงทุนเฝ้าติดตามนอกเหนือจากคดีความที่ต้องไล่ล่าผู้ต้องหาอย่าง “ปริญญา จารวิจิต” นั่นคือ การดำเนินงานของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดทุน ในการป้องกันปัญหาแบบนี้ที่อาจเกิดขึ้นอีก ขณะเดียวกัน เมื่อการนำเงินสกุลดิจิทัลเข้ามาใช้ในวงการตลาดทุนในอนาคต ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่หนีไม่พ้น แต่จะมีวิธีใดที่จะสร้างความอุ่นใจให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ดีเท่าการมีกฎหมายรองรับ และข้อกำหนดที่สามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่ผ่านมามีรายงานว่า ราคาบิทคอยน์เคยขึ้นไปสูงสุดเกือบ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 670,000 บาทต่อ 1 บิทคอยน์ และปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 6,110 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 204,000 บาทต่อ 1 บิทคอยน์ ไม่เพียงเท่านี้ยังพบว่า เงินดิจิทัลบิทคอยน์มีการเข้ารหัสที่ซับซ้อน แถมการโอนเงินยังเป็นแบบตัวต่อตัว ด้วยรหัสไม่มีการระบุตัวตน จึงกลายเป็นแหล่งฟอกเงิน และโอนเงินไปเก็บไว้ต่างประเทศ ของบรรดานักการเมือง และข้าราชการทุจริต รวมถึงกลุ่มธุรกิจผิดกฎหมาย ดังนั้น สิ่งที่หลายฝ่ายเฝ้ารอ คือ ภาครัฐจะมีวิธีการใดที่จะควบคุมสกุลเงินดิจิทัลได้อยู่หมัด
CR: http://news1live.com/detail.aspx?NewsID=9610000082883