สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
วันนี้เราได้เห็นตัวอย่าง ของคนฉลาด ที่พลาดทำเรื่องโง่ๆ
แล้วปิดบังความโง่ของตัวเองไว้ ด้วยการหลอกตัวเอง เพื่อให้ตัวเองสบายใจ ...
เราได้ข้อคิดว่า
ความกลัวและความเอาตัวรอดของมนุษย์ คือ สัญชาตญาณ
การยอมรับความจริง และ หาทางออกที่ดีที่สุดได้ คือ ปฏิภาณ
คนมีปัญญา จะเรียนรู้ ได้จากข้อผิดพลาดของตน
มีแต่ยอดคนเท่านั้น ที่จะยืดอก รับความผิดพลาดไว้อย่างสง่าผ่าเผย ...
.....
สิ่งที่เราทำพลาดในวันนี้คือ
เราควรพูดเฉพาะสิ่งที่เขาถาม ...
เราไม่ควรวิจารณ์การทำงานของใคร
เราไม่ควรจะใช้อารมณ์ตนเองตัดสิน ไม่ควรใส่อารมณ์ในเรื่องที่ได้ยิน จนเกิดอคติ
และที่สำคัญ ... หลังจากเมตตา อุเบกขาต้องตามให้ทัน ....
ในเมื่อสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน ....
เราไม่ควรแบกรับทุกเรื่องราวกับว่า เราจะช่วยปัดเป่าให้ใครต่อใครได้ทั้งหมด
เห็นได้ชัดว่า ..อุเบกขาบารมีเราอ่อนด้อยมากนัก ต้องฝึกเพิ่มอีกเยอะเลย
แล้วปิดบังความโง่ของตัวเองไว้ ด้วยการหลอกตัวเอง เพื่อให้ตัวเองสบายใจ ...
เราได้ข้อคิดว่า
ความกลัวและความเอาตัวรอดของมนุษย์ คือ สัญชาตญาณ
การยอมรับความจริง และ หาทางออกที่ดีที่สุดได้ คือ ปฏิภาณ
คนมีปัญญา จะเรียนรู้ ได้จากข้อผิดพลาดของตน
มีแต่ยอดคนเท่านั้น ที่จะยืดอก รับความผิดพลาดไว้อย่างสง่าผ่าเผย ...
.....
สิ่งที่เราทำพลาดในวันนี้คือ
เราควรพูดเฉพาะสิ่งที่เขาถาม ...
เราไม่ควรวิจารณ์การทำงานของใคร
เราไม่ควรจะใช้อารมณ์ตนเองตัดสิน ไม่ควรใส่อารมณ์ในเรื่องที่ได้ยิน จนเกิดอคติ
และที่สำคัญ ... หลังจากเมตตา อุเบกขาต้องตามให้ทัน ....
ในเมื่อสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน ....
เราไม่ควรแบกรับทุกเรื่องราวกับว่า เราจะช่วยปัดเป่าให้ใครต่อใครได้ทั้งหมด
เห็นได้ชัดว่า ..อุเบกขาบารมีเราอ่อนด้อยมากนัก ต้องฝึกเพิ่มอีกเยอะเลย
ความคิดเห็นที่ 8
ข้อคิดที่เราคิดได้ ณ เวลานี้
เราคิดจากสิ่งที่ได้เห็นในวันนี้ ตอนที่เรารอรถเช็คระยะที่ศูนย์
คนเราต้องทำงานเดิม ๆ กับสิ่งเดิม ๆ ทุก ๆ วัน วันละหลายชั่วโมง และอาจต้องทำสิ่งเดิม ๆ ต่อไปอีกนานนับสิบปี
เขาจะเบื่อไหม ถ้าเขาเบื่อแล้วเขาจะทำยังไง หรือเขาเลือกที่จะทนทำต่อไป
ก็นึกไปถึงชีวิตคนเรา เพราะร่างกายต้องดำรงอยู่ ต้องมีปัจจัย 4 และสิ่งที่ใช้แลกปัจจัย 4 คือ "เงิน"
คนเรายอมทำงานเหนื่อยเพื่อให้ได้ "เงิน" เพื่อมายังชีพให้ดำรงอยู่ หากอยากดำรงอยู่อย่างไม่เดือนร้อนก็ต้องสร้างไว้มาก ๆ
วิธีสร้างเงินให้มีมาก ๆ คือใช้สิ่งที่เรามี (ความรู้ ความสามารถ) ไปทำงาน ทำธุรกิจ ฯลฯ เพื่อแลกเงิน
หากคิดแค่มีเงินเพื่อยังชีพ เราคงมีเวลาคิดเรื่องของตัวเอง คิดถึงความต้องการจริง ๆ ของชีวิต มากกว่าการใช้ชีวิตแบบที่เป็นอยู่กันนี้
แต่เพราะมีเหตุปัจจัยให้เราไม่ได้มองเงินว่าเป็นแค่เพียงตัวกลางที่ใช้แลกสิ่งที่ยังชีพให้ดำรงอยู่ได้
คนเราจึงมอง "เงิน" ต่างจากค่าของเงินที่ควรจะเป็น
มองต่างออกไป โดยมองเป็นเครื่องประดับตกแต่งตัวเอง (ยึดเอาว่าเรามีตัวตน)
ยิ่งมีมาก ยิ่งถือว่ารวย ยิ่งรวยก็ยิ่งได้รับการยอมรับว่าเรา(ตัวตน)เก่ง ที่หาเงินเก่ง เพราะไม่ใช่ทุกคนที่บริหารเงินเป็น หรือบริหารเงินเก่ง
แล้วเราเคยคิดต่อไปไหม ว่าความต้องการการถูกยอมรับ มีไปเพื่ออะไร หากเราได้รับการยอมรับแล้วยังไง แล้วต้องได้แค่ไหนถึงจะพอ
หากต้องการการถูกยอมรับจากสังคมในด้านตำแหน่งหน้าที่การงาน
ต้องไปยืนอยู่บนจุดสูงสุดในทางที่เราเลือกเลยไหม ถึงจะพอ แล้วถ้าไปถึง(สมมติ)ได้แล้วยังไง
วันนี้เราก็มองเรื่อย ๆ มองการแต่งกาย การวางตัว คำพูด บุคลิกของคนที่มาใช้บริการที่ศูนย์รถยนต์ รวมถึงบุคลิกของพนักงานด้วย
คนที่แต่งตัวปกติ ทำตัวปกติ ใช้ชีวิตปกติ เราก็มองว่า เขาก็ดูปกติดี ไม่ได้มองไปถึงว่า เขารวยแต่ทำตัวจนหรืออะไร มองแค่ว่าเขาใช้ชีวิตปกติ
แต่พอมองคนที่แต่งตัวมั่น ๆ แบบว่า
เขารวย ขับรถหรู (รถรุ่นแพง ๆ แม้จะไม่ได้แพงที่สุดของรถยนต์ทุกยี่ห้อ แต่ก็เป็นรุ่นแพง ๆ ของยี่ห้อนี้) แล้ววางตัวเชิดนิด ๆ
เราก็คิดไปว่า การกระทำแบบนั้น ทำไปเพราะอะไร ใช่เพราะต้องการแบ่งแยกชั้น ว่า เรารวย เธอจน แล้วจะดูว่าอยู่สูงกว่าคนอื่นหรือเปล่า
เราเองก็เคยนึกคิดแบ่งแยกคนด้วยระดับความคิด สติปัญญา (เรามองเรื่องนี้เป็นที่ 1)
เคยนึกเหยียดคนที่คิดอะไรผิดแปลกไปจากความถูกต้องดีงาม (สิ่งที่กลุ่มคนส่วนใหญ่กำหนดว่าถูก ว่าดี ว่างาม ว่าควร ฯลฯ)
บางทีก็เคยรู้สึกเหยียดคนที่คิดอะไรผิดไปจากศีลธรรมจริยธรรมอันดีงาม
แต่พอรู้ตัวหรือตามสติตัวเองทันก็หยุดคิดแบบนั้น
เรารู้ตัวเราดีค่ะ ว่าเราไม่ได้คิดอะไรล้ำเลิศกว่าคนอื่น ๆ หรือคิดอะไรต่าง ๆ ได้แตกฉาน
ในการเดินทางของเส้นทางชีวิต
ตัวเราก็เป็นเพียงแค่ คนที่รู้วิธีลอยตัวอยู่ในน้ำได้ แม้ไม่จมน้ำ แต่ก็ว่ายน้ำไม่เป็น
ซึ่งทำยังไงก็ไปถึงฝั่งไม่ได้ นอกจากจะเรียนรู้ที่จะว่ายน้ำให้เป็น
แล้วทุกวันนี้ สิ่งที่เราทำอยู่ เราทำไปเพื่ออะไร
ในเมื่อรู้ว่าการจะไปให้ถึงฝั่งคือต้องว่ายน้ำให้เป็น แล้วที่เราลอยตัวแช่อยู่ในน้ำแบบนี้
เราทำไปเพื่อรอถึงวันที่หมดแรงหรือรอถึงวันที่ปัญญาถดถอยจนกลายเป็นคนจมน้ำไปแค่นั้นหรือ
แต่พอกลับไปอยู่ในสังคม เราก็ถูกกิเลสหลอกล่อให้หลงอยู่กับความก้าวหน้า เพื่อให้ใคร ๆ ชื่นชมว่าเราเก่ง (พอไปอยู่ตรงนั้น เรารู้ตัวได้ยาก)
ถูกกิเลสหลอกล่อให้อยู่กับความโกรธแค้นชิงชัง อยากก้าวไปสู่ตำแหน่งสูง ๆ ไว ๆ เพื่อให้คนที่โตกว่าด้านตำแหน่งงาน ที่เคยข่มเรา
ให้เขาได้รู้ว่า ถ้าเราได้ไปถึงตรงที่เขาอยู่ เราเก่งกว่าเขา เพราะเราไปถึงด้วยอายุที่น้อยกว่าเขา (เป็นวิธีคิดที่ไร้สาระ เพราะสาระที่ควรคือสิ่งใด เราย่อมรู้ดี) ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครมาบังคับให้เราทำ แต่เราเลือกที่จะพาใจ พาความคิด มุ่งไปตามแรงขับ แรงกระตุ้นของกิเลส ก็ตลกตัวเองดี
ทุกวันนี้ พอเรากลับมาอยู่กับตัวเอง เราคิดแบบนี้ได้ แต่พอกลับไปอยู่ในสังคม เราก็คิดแบบเดิมอีก
คงต้องฝึกใจตัวเองให้มากกว่านี้ คิดในทางที่ดีกับตัวเองที่สุดให้มาก ๆ ค่ะ (บอกตัวเอง 55)
เราคิดจากสิ่งที่ได้เห็นในวันนี้ ตอนที่เรารอรถเช็คระยะที่ศูนย์
คนเราต้องทำงานเดิม ๆ กับสิ่งเดิม ๆ ทุก ๆ วัน วันละหลายชั่วโมง และอาจต้องทำสิ่งเดิม ๆ ต่อไปอีกนานนับสิบปี
เขาจะเบื่อไหม ถ้าเขาเบื่อแล้วเขาจะทำยังไง หรือเขาเลือกที่จะทนทำต่อไป
ก็นึกไปถึงชีวิตคนเรา เพราะร่างกายต้องดำรงอยู่ ต้องมีปัจจัย 4 และสิ่งที่ใช้แลกปัจจัย 4 คือ "เงิน"
คนเรายอมทำงานเหนื่อยเพื่อให้ได้ "เงิน" เพื่อมายังชีพให้ดำรงอยู่ หากอยากดำรงอยู่อย่างไม่เดือนร้อนก็ต้องสร้างไว้มาก ๆ
วิธีสร้างเงินให้มีมาก ๆ คือใช้สิ่งที่เรามี (ความรู้ ความสามารถ) ไปทำงาน ทำธุรกิจ ฯลฯ เพื่อแลกเงิน
หากคิดแค่มีเงินเพื่อยังชีพ เราคงมีเวลาคิดเรื่องของตัวเอง คิดถึงความต้องการจริง ๆ ของชีวิต มากกว่าการใช้ชีวิตแบบที่เป็นอยู่กันนี้
แต่เพราะมีเหตุปัจจัยให้เราไม่ได้มองเงินว่าเป็นแค่เพียงตัวกลางที่ใช้แลกสิ่งที่ยังชีพให้ดำรงอยู่ได้
คนเราจึงมอง "เงิน" ต่างจากค่าของเงินที่ควรจะเป็น
มองต่างออกไป โดยมองเป็นเครื่องประดับตกแต่งตัวเอง (ยึดเอาว่าเรามีตัวตน)
ยิ่งมีมาก ยิ่งถือว่ารวย ยิ่งรวยก็ยิ่งได้รับการยอมรับว่าเรา(ตัวตน)เก่ง ที่หาเงินเก่ง เพราะไม่ใช่ทุกคนที่บริหารเงินเป็น หรือบริหารเงินเก่ง
แล้วเราเคยคิดต่อไปไหม ว่าความต้องการการถูกยอมรับ มีไปเพื่ออะไร หากเราได้รับการยอมรับแล้วยังไง แล้วต้องได้แค่ไหนถึงจะพอ
หากต้องการการถูกยอมรับจากสังคมในด้านตำแหน่งหน้าที่การงาน
ต้องไปยืนอยู่บนจุดสูงสุดในทางที่เราเลือกเลยไหม ถึงจะพอ แล้วถ้าไปถึง(สมมติ)ได้แล้วยังไง
วันนี้เราก็มองเรื่อย ๆ มองการแต่งกาย การวางตัว คำพูด บุคลิกของคนที่มาใช้บริการที่ศูนย์รถยนต์ รวมถึงบุคลิกของพนักงานด้วย
คนที่แต่งตัวปกติ ทำตัวปกติ ใช้ชีวิตปกติ เราก็มองว่า เขาก็ดูปกติดี ไม่ได้มองไปถึงว่า เขารวยแต่ทำตัวจนหรืออะไร มองแค่ว่าเขาใช้ชีวิตปกติ
แต่พอมองคนที่แต่งตัวมั่น ๆ แบบว่า
เขารวย ขับรถหรู (รถรุ่นแพง ๆ แม้จะไม่ได้แพงที่สุดของรถยนต์ทุกยี่ห้อ แต่ก็เป็นรุ่นแพง ๆ ของยี่ห้อนี้) แล้ววางตัวเชิดนิด ๆ
เราก็คิดไปว่า การกระทำแบบนั้น ทำไปเพราะอะไร ใช่เพราะต้องการแบ่งแยกชั้น ว่า เรารวย เธอจน แล้วจะดูว่าอยู่สูงกว่าคนอื่นหรือเปล่า
เราเองก็เคยนึกคิดแบ่งแยกคนด้วยระดับความคิด สติปัญญา (เรามองเรื่องนี้เป็นที่ 1)
เคยนึกเหยียดคนที่คิดอะไรผิดแปลกไปจากความถูกต้องดีงาม (สิ่งที่กลุ่มคนส่วนใหญ่กำหนดว่าถูก ว่าดี ว่างาม ว่าควร ฯลฯ)
บางทีก็เคยรู้สึกเหยียดคนที่คิดอะไรผิดไปจากศีลธรรมจริยธรรมอันดีงาม
แต่พอรู้ตัวหรือตามสติตัวเองทันก็หยุดคิดแบบนั้น
เรารู้ตัวเราดีค่ะ ว่าเราไม่ได้คิดอะไรล้ำเลิศกว่าคนอื่น ๆ หรือคิดอะไรต่าง ๆ ได้แตกฉาน
ในการเดินทางของเส้นทางชีวิต
ตัวเราก็เป็นเพียงแค่ คนที่รู้วิธีลอยตัวอยู่ในน้ำได้ แม้ไม่จมน้ำ แต่ก็ว่ายน้ำไม่เป็น
ซึ่งทำยังไงก็ไปถึงฝั่งไม่ได้ นอกจากจะเรียนรู้ที่จะว่ายน้ำให้เป็น
แล้วทุกวันนี้ สิ่งที่เราทำอยู่ เราทำไปเพื่ออะไร
ในเมื่อรู้ว่าการจะไปให้ถึงฝั่งคือต้องว่ายน้ำให้เป็น แล้วที่เราลอยตัวแช่อยู่ในน้ำแบบนี้
เราทำไปเพื่อรอถึงวันที่หมดแรงหรือรอถึงวันที่ปัญญาถดถอยจนกลายเป็นคนจมน้ำไปแค่นั้นหรือ
แต่พอกลับไปอยู่ในสังคม เราก็ถูกกิเลสหลอกล่อให้หลงอยู่กับความก้าวหน้า เพื่อให้ใคร ๆ ชื่นชมว่าเราเก่ง (พอไปอยู่ตรงนั้น เรารู้ตัวได้ยาก)
ถูกกิเลสหลอกล่อให้อยู่กับความโกรธแค้นชิงชัง อยากก้าวไปสู่ตำแหน่งสูง ๆ ไว ๆ เพื่อให้คนที่โตกว่าด้านตำแหน่งงาน ที่เคยข่มเรา
ให้เขาได้รู้ว่า ถ้าเราได้ไปถึงตรงที่เขาอยู่ เราเก่งกว่าเขา เพราะเราไปถึงด้วยอายุที่น้อยกว่าเขา (เป็นวิธีคิดที่ไร้สาระ เพราะสาระที่ควรคือสิ่งใด เราย่อมรู้ดี) ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครมาบังคับให้เราทำ แต่เราเลือกที่จะพาใจ พาความคิด มุ่งไปตามแรงขับ แรงกระตุ้นของกิเลส ก็ตลกตัวเองดี
ทุกวันนี้ พอเรากลับมาอยู่กับตัวเอง เราคิดแบบนี้ได้ แต่พอกลับไปอยู่ในสังคม เราก็คิดแบบเดิมอีก
คงต้องฝึกใจตัวเองให้มากกว่านี้ คิดในทางที่ดีกับตัวเองที่สุดให้มาก ๆ ค่ะ (บอกตัวเอง 55)
แสดงความคิดเห็น
คุณได้ข้อคิดอะไรจากการได้พบเห็นบุคคลต่างๆในชีวิตประจำวัน?
จขกท...พบว่าแต่ละคนนิสัยแตกต่างกัน บางคนก็นิสัยแปลกประหลาดตัดสินคนจากภายนอก บางคนก็นิสัยดี ประสบการณ์แต่ละคนแตกต่างกันบางคนก็เจอเรื่องเลวร้าย บางคนก็โดดเดี่ยว บางคนก็โอ้อวด..... บางคนก็ทั้งดีทั้งร้าย แต่จริงๆแล้วไม่มีใครสมบูรณ์แบบ บางคนอาจจะบอกว่าคนนั้นดี แต่จริงๆทุกคนมีข้อเสีย น่าแปลกที่โลกใบนี้สร้างสรรค์อะไรได้มหัศจรรย์มาก ทุกอย่างมีเหมือนกัน 😊😊😊
บางวันโลกก็น่าอยู่ บางวันก็ตึงเครียด แต่จริงๆแล้วการเราเกิดมาเพื่อทำบางสิ่งบางอย่าง>///<