บทความนี้เป็นงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวนะครับ ต่อจากบทความตามลิงค์นี้เรื่องเชียงใหม่"อิฐแดงกำแพงเงิน"
https://ppantip.com/topic/37227807 และ ผมจะไปเปิดร้านกาแฟที่เชียงใหม่
https://ppantip.com/topic/37363846/
โดยบทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับที่อสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ทั้งหมด ผมเลยเขียนแยกเป็นอีกบทความหนึ่ง เผื่อใครสนใจจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่กันจะได้อ่านแต่เฉพาะบทความนี้และพูดคุยกัน
ต่อไปนี้จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ทั้งหมด ดังนี้
“ฤๅเชียงใหม่จะเป็นบ้านหลังที่สาม” ผมตั้งคำถาม หวัง และฝันไว้เช่นนั้น ก่อนการเดินทางไปเที่ยวที่เชียงใหม่ การเที่ยวครั้งนี้ผมมีจุดหมายแท้จริงคือ การตามหาบ้านและดินแดนในฝัน จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่แรกที่ผมเดินทางมาเพื่อตามฝัน ผมเริ่มต้นการตามหาบ้านหลังที่สามที่เชียงใหม่จากหนังสือของอาจารย์เวียงรัฐ เนติโพธิ์ เรื่อง “ทุนเชียงใหม่” หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวโครงสร้างของเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของเชียงใหม่
หนังสือเล่มนี้เผยให้ผมเห็นความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นแบบจำลองใกล้เคียงประเทศไทยทั้งประเทศ ด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่กระจุกตัวอยู่แต่ในตัวเมืองเชียงใหม่ คนส่วนใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นแรงงานในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมที่ไม่มั่นคงเน้นการพึ่งพาจากภายนอก รายได้ส่วนใหญ่ของเชียงใหม่มาจากภาคบริการ มีกลุ่มทุนที่สะสมความมั่งคั่งมาตั้งแต่อดีต มีชนชั้นกลางที่เพิ่มและมีบทบาทมากขึ้น ส่วนคนยากจนก็มีอยู่มากกระจุกตัวซ่อนเร้นในตัวเมืองเชียงใหม่และรอบนอกเชียงใหม่ทั้งหมดนี้อาจกล่าวได้ว่า ถ้าเข้าใจเชียงใหม่ก็เข้าใจประเทศไทย ถ้าเข้าใจประเทศไทยก็เข้าใจเชียงใหม่
จากหนังสือเล่มนี้ ผมเดิน ขับมอเตอร์ไซค์ ปั่นจักรยานในเมืองเชียงใหม่กว่า ๔ วัน ผมค่อยๆพินิจพิเคราะห์ความเป็นไปได้ว่า ถ้าผมอยากมีบ้านหลังที่สามที่เชียงใหม่ ผมควรลงหลักปักฐานที่ใดในจังหวัดนี้
ผมเริ่มต้นจากการสำรวจศูนย์กลางทางเศรษฐกิจเชียงใหม่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงด้วยการปั่นจักยานไปตามถนนท่าแพ ถนนลอยเคราะห์ ถนนช้างม่อย และถนนช้างคลานซึ่งเป็นถนนที่สำคัญในยุคเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจเชียงใหม่ ถนนส่วนใหญ่ในยุคนี้เริ่มสร้างและได้รับเงินพระราชทานในการสร้างสมัยรัชกาลที่ ๕ ผู้คนที่บุกเบิกเศรษฐกิจในย่านนี้คือพ่อค้าชาวจีนที่ได้รับที่ดินจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ต้น พ.ศ.๒๕๐๐ ตระกูลพ่อค้าที่สำคัญในยุคนั้นเช่น ต้นตระกูลชุติมา-นิมมานเหมินท์ ต้นตระกูลเลี่ยว ต้นตระกูลศักดาทร กลุ่มพ่อค้าชาวจีนเหล่านี้เป็นผู้ริเริ่มเส้นทางการค้าระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และสะสมความมั่งคั่งจากการค้าขาย โดยมีตลาดสำคัญคือ ตลาดวโรรส หรือ กาดหลวง ตลาดไนท์บาซาร์ และตลาดอนุสาร
ตลาดวโรรสเป็นตลาดดั้งเดิม อยู่บริเวณถนนช้างม่อย เป็นตลาดขนาดใหญ่แบ่งได้เป็นหลายโซน ทั้งโซนของกิน ของฝาก เสื้อผ้า ของใช้ และดอกไม้ โดยมีถนนวิชยานนท์ตัดแบ่งตลาด ฝั่งหนึ่งเป็นตลาดต้นลำไย อีกฝั่งหนึ่งเป็นตลาดวโรรส บรรยากาศภายในตลาดคึกคัก ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเชียงใหม่ที่มาจับจ่ายซื้อของ อาหารสด และของใช้ราคาถูก ส่วนนักท่องเที่ยวที่แสวงหาความเป็นเชียงใหม่ก็จะเดินทางเข้ามาสำรวจ ถ่ายรูปผู้คน อาหาร ของใช้ภายในตลาดแห่งนี้
ภาพบรรยากาศภายในตลาดวโรรส
ภาพบรรยากาศภายนอกตลาดวโรรส
ฤๅเชียงใหม่จะเป็นบ้านหลังที่สาม
โดยบทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับที่อสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ทั้งหมด ผมเลยเขียนแยกเป็นอีกบทความหนึ่ง เผื่อใครสนใจจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่กันจะได้อ่านแต่เฉพาะบทความนี้และพูดคุยกัน
ต่อไปนี้จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ทั้งหมด ดังนี้
“ฤๅเชียงใหม่จะเป็นบ้านหลังที่สาม” ผมตั้งคำถาม หวัง และฝันไว้เช่นนั้น ก่อนการเดินทางไปเที่ยวที่เชียงใหม่ การเที่ยวครั้งนี้ผมมีจุดหมายแท้จริงคือ การตามหาบ้านและดินแดนในฝัน จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ที่แรกที่ผมเดินทางมาเพื่อตามฝัน ผมเริ่มต้นการตามหาบ้านหลังที่สามที่เชียงใหม่จากหนังสือของอาจารย์เวียงรัฐ เนติโพธิ์ เรื่อง “ทุนเชียงใหม่” หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวโครงสร้างของเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของเชียงใหม่
หนังสือเล่มนี้เผยให้ผมเห็นความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นแบบจำลองใกล้เคียงประเทศไทยทั้งประเทศ ด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่กระจุกตัวอยู่แต่ในตัวเมืองเชียงใหม่ คนส่วนใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นแรงงานในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมที่ไม่มั่นคงเน้นการพึ่งพาจากภายนอก รายได้ส่วนใหญ่ของเชียงใหม่มาจากภาคบริการ มีกลุ่มทุนที่สะสมความมั่งคั่งมาตั้งแต่อดีต มีชนชั้นกลางที่เพิ่มและมีบทบาทมากขึ้น ส่วนคนยากจนก็มีอยู่มากกระจุกตัวซ่อนเร้นในตัวเมืองเชียงใหม่และรอบนอกเชียงใหม่ทั้งหมดนี้อาจกล่าวได้ว่า ถ้าเข้าใจเชียงใหม่ก็เข้าใจประเทศไทย ถ้าเข้าใจประเทศไทยก็เข้าใจเชียงใหม่
จากหนังสือเล่มนี้ ผมเดิน ขับมอเตอร์ไซค์ ปั่นจักรยานในเมืองเชียงใหม่กว่า ๔ วัน ผมค่อยๆพินิจพิเคราะห์ความเป็นไปได้ว่า ถ้าผมอยากมีบ้านหลังที่สามที่เชียงใหม่ ผมควรลงหลักปักฐานที่ใดในจังหวัดนี้
ผมเริ่มต้นจากการสำรวจศูนย์กลางทางเศรษฐกิจเชียงใหม่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงด้วยการปั่นจักยานไปตามถนนท่าแพ ถนนลอยเคราะห์ ถนนช้างม่อย และถนนช้างคลานซึ่งเป็นถนนที่สำคัญในยุคเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจเชียงใหม่ ถนนส่วนใหญ่ในยุคนี้เริ่มสร้างและได้รับเงินพระราชทานในการสร้างสมัยรัชกาลที่ ๕ ผู้คนที่บุกเบิกเศรษฐกิจในย่านนี้คือพ่อค้าชาวจีนที่ได้รับที่ดินจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ต้น พ.ศ.๒๕๐๐ ตระกูลพ่อค้าที่สำคัญในยุคนั้นเช่น ต้นตระกูลชุติมา-นิมมานเหมินท์ ต้นตระกูลเลี่ยว ต้นตระกูลศักดาทร กลุ่มพ่อค้าชาวจีนเหล่านี้เป็นผู้ริเริ่มเส้นทางการค้าระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และสะสมความมั่งคั่งจากการค้าขาย โดยมีตลาดสำคัญคือ ตลาดวโรรส หรือ กาดหลวง ตลาดไนท์บาซาร์ และตลาดอนุสาร
ตลาดวโรรสเป็นตลาดดั้งเดิม อยู่บริเวณถนนช้างม่อย เป็นตลาดขนาดใหญ่แบ่งได้เป็นหลายโซน ทั้งโซนของกิน ของฝาก เสื้อผ้า ของใช้ และดอกไม้ โดยมีถนนวิชยานนท์ตัดแบ่งตลาด ฝั่งหนึ่งเป็นตลาดต้นลำไย อีกฝั่งหนึ่งเป็นตลาดวโรรส บรรยากาศภายในตลาดคึกคัก ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเชียงใหม่ที่มาจับจ่ายซื้อของ อาหารสด และของใช้ราคาถูก ส่วนนักท่องเที่ยวที่แสวงหาความเป็นเชียงใหม่ก็จะเดินทางเข้ามาสำรวจ ถ่ายรูปผู้คน อาหาร ของใช้ภายในตลาดแห่งนี้
ภาพบรรยากาศภายในตลาดวโรรส
ภาพบรรยากาศภายนอกตลาดวโรรส