สวัสดีคะ
หนูอยากสอบถามว่า ถ้าพยาบาลบันทึกข้อมูลอาการป่วยของคนไข้ไม่ครบจะส่งผลต่อการรักษาในครั้งนั้น หรือครั้งต่อไปหรือไม่คะ
เมื่อวันที่ 12 สิงหา หนูมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท้องเสีย ปวดหัว ตัวร้อนและมีไข้
วันที่ 13 สิงหา จึงไปหาหมอที่โรงพยาบาลเอกชนใกล้บ้านแห่งหนึ่ง เมื่อไปถึงพยาบาลก็เรียกไปช่างน้ำหนัก วัดไข้ วัดความดันและสอบถามอาการเพื่อบันทึกข้อมูล ซึ่งหนูก็ได้บอกอาการตามที่เป็นข้างต้นให้ทราบ หลังจากนั้นพยาบาลจึงให้ไปเก็บปัสสาวะและรอพบคุณหมอ เมื่อได้พบคุณหมอ หมอบอกว่าเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนอาการที่หนูบอกพยาบาลคืออาการข้างเคียง แต่เนื่องจากหนูเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบปีละ 1-2 ครั้ง คุณหมอเลยให้ยาฆ่าเชื้อแบบฉีดแทนการกินยา และนัดฉัดอีก 2 เข็ม ระหว่างที่อยู่ในห้องฉีดยา พยาบาลบอกว่าขณะที่ฉีดอาจจะมีอาการเวียนหัวหรือคลื่นไส้ ให้กลืนน้ำลายบ่อยๆ จะช่วยได้ แต่หนูไม่มีอาการใดๆ เลยในระหว่างฉีดยา เมื่อฉีดเสร็จก็รับยา เภสัชกรก็แนะนำยาที่ต้องทานและบอกว่ายาที่ให้ไปเป็นยาแก้ปวดท้องและยาพารา “ให้กินเฉพาะเวลาที่มีอาการเท่านั้น” และหนูก็กลับบ้าน เมื่อกลับบ้านกลับมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ตลอดเวลา (นอนก็เวียนหัว) ไม่รู้สึกอยากอาหารและอาเจียนบางครั้ง
วันที่ 14 สิงหา หนูไปทำงานก็ยังคงมีอาการเวียนหัวและคลื่นไส้อยู่เหมือนเดิม และเมื่อเลิกงานก็ไปหาหมอเพื่อฉีดยา เมื่อไปถึงโรงพยาบาล ก็เข้าห้องฉีดยาทันที หนูได้บอกพยาบาลถึงอาการที่เป็น พยาบาลบอกว่าอาจจะเป็นผลข้างเคียงจากยาที่ฉีด ให้หนูดื่มน้ำเยอะๆ จะช่วยได้ เมื่อฉีดเสร็จก็กลับบ้านและอาการเหล่านั้นก็ยังคงไม่หาย
วันที่ 15 สิงหา หนูก็ยังคงไปทำงานทั้งๆ ที่อาการไม่ดีขึ้นจนเลิกงานจึงค่อยไปหาหมออีกเหมือนเดิม วันนี้หมอนัดตรวจปัสสาวะแต่ยังไม่ฉีดยาให้ เมื่อไปถึงพยายาลก็เรียกไปช่างน้ำหนัก วัดไข้และวัดความดัน ปรากฎว่าความดันขึ้น 119/121 พยายาลจึงให้ไปนั่งพักและมาวัดใหม่ ครั้งที่สองความดันลดลงเหลือ 112/121 เมื่อเข้าไปพบคุณหมอ วันนี้คุณ
กเลิกการฉีดยาเพราะคุณหมอบอกว่าอาการที่หนูบอกเป็นอาการข้างเคียงจากการฉีดยาเข้าเส้นเลือดโดยตรง วันนี้เลยให้ยาทานแทน หนูจึงไปรับยาที่ห้องยา เภสัชกรห้องยาดูแฟ้มการรักษาพร้อมแจ้งอาการของหนูก่อนจ่ายยาให้ หนูเลยถามเภสัชกรว่า
A : พี่คะอาการเวียนหัวตลอดเวลาที่หนูเป็นมันเกิดจากยาเฉยๆ ไม่ได้แพ้ยาใช่ไหมคะ
B : ใช่คะ เพราะคนไข้ได้รับการฉีดยาเข้าเส้นเลือดโดยตรง ซึ่งจะพบได้ในกลุ่มของคนไข้ที่ไม่เคยได้รีบการให้ยาแบบนี้
A : มันไม่เกี่ยวกับการที่หนูกินยา “แก้ท้องเสียใช่ไหมคะ”
พยาบาลรีบเปิดดูประวัติอาการเจ็บป่วยย้อนหลัง
B : คนไข้มีอาการท้องเสียด้วยหรอคะ? ไม่เห็นมีระบุในประวัติเลยคะ?
หนูอึ้งนิดหน่อยคะ
A : ไม่มีในประวัติได้ไงคะ วันที่ 13 ที่หนูมาหนูแจ้งนะคะว่าหนูท้องเสีย และวันนั้นขณะนั่งรอหนูก็ยังถ่ายอยู่เลย แบบนี้แปลว่าอะไรคะ
B : ทางเราต้องขอโทษคนไข้ด้วยคะที่ไม่ได้ลงข้อมูลให้ครบ
A : ไม่เป็นไรคะพี่ แต่หนูแค่อยากรู้ว่า อาการเวียนหัว คลื่นไส้ที่หนูเป็น มันเป็นผลข้างเคียงจากการที่หนูไปกินยาที่ซื้อเองหรือเปล่าคะ เพราะยาที่ให้มาเมื่อวันที่ 13 เ้าบอกว่า “ถ้าไม่มีอาการก็ไม่ต้องกิน” แต่หนูยังถ่ายท้องเลยต้องกินยาที่ไม่ใช่ยาโรงพยาบาล แล้วถ้าเกิดยาที่หนูซื้อเองมันส่งผลทำให้หนูเป็นอะไรมากกว่านี้ทางโรงพยาบาลจะรับผิดชอบไหมคะ?
เภสัชกรและเพื่อนร่วมงานมองหน้ากัน
B : ทางเราต้องขอโทษคนไข้จริงๆ นะคราวหน้าทางเราจะบันทึกให้ละเอียดกว่านี้คะ
A : คราวหน้าคือคราวหน้าคะพี่ แต่หนูอยากรู้คราวนี้คะ เพราะถ้าวันนี้หนูเกิดเป็นอะไรไปเพราะยาที่กินทางโรงพยาบาลจะรับผิดชอบยังไง และการที่ลงข้อมูลอาการป่วยของคนไข้ไม่ครบ เวลาหมอดูย้อนหลังเกี่ยวกับการรักษาและพบกว่าข้อมูลไม่ตรง หมอจะว่าใครก่อนคะ พยาบาลหรือคนไข้ หนูเข้าใจว่าพี่มีหน้าที่ทำแค่เรื่องยา แต่ก็ขอบคุณมากนะคะที่พี่ขอโทษในความผิดพลาดของคนอื่น
เภสัชกรก็ทำหน้าเสีย และก้มดูรายการยาที่เราได้รับ
B : งั้นขออนุญาตอธิบายเรื่องอาการแทรกซ้อนนิดนึงนะคะ อาการแทรกซ้อนแบบเวียนหัว คลื่นไส้จะพบได้บ่อยสำหรับผู้ที่ฉีดยาเข้าเส้นเลือดโดยตรงคะ หรืออีกแบบคือผลข้างเคียงจากการทานยาคะ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ “ที่ยาที่ผู้สมัครทานกับยาที่โรงพยาบาลฉีดให้มันตีกัน” เลยทำให้คนไข้มีอาการดังกล่าว งั้นเอาแบบนี้นะคะคนไข้ เท่าที่เช็คการจ่ายยาเมื่อวันอังคาร ยาแก้ปวดท้อง สามารถทานเพื่อแก้อาการท้องเสียได้ รบกวนคนไข้ทานแต่ยาโรงพยาบาลนะคะ และคราวหน้าดิฉันจะรีมาร์กไว้ให้ว่าคนไข้ต้องให้ยาฉีดอย่างน้อย 30-45 นาทีและไม่สทมารถฉีดเข้าเส้นเลือดได้โดยตรงนะคะ
A : ได้คะ ขอบคุณคะ
หลังจากจบการสนทนา ทำให้เรารู้ว่าการที่พยาบาลบันทึกข้อมูลอาการป่วยของคนไข้ไม่ครบ บางครั้งก็สามารถทำให้เราเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้
***หากเหตุการณ์ที่ว่ามาเป็นอาการที่รุนแรงมากกว่านี้ จะทำยังไงคะ สำหรับหนู แค่อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถเกิดเป็นโรคร้ายแรงได้จริงไหมคะ แต่ทำไมพยาบาลถึงได้มองข้ามจุดเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้ไปได้ละคะ
และหนูอยากถามจริงๆ คะว่า “การที่พยาบาลบันทึกข้อมูลไม่ครบแบบนี้ มันส่งผลเสียอย่างไรบ้างต่อการรักษาคนไข้คนหนึ่งคะ หรือว่าไม่มีผลอะไรเลย”
***ขออภัยถ้าแท็กผิดห้อง และขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ
ถ้าพยาบาลบันทึกอาการเจ็บป่วยของคนไข้ไม่ครบ จะส่งผลต่อรักษาหรือไม่
หนูอยากสอบถามว่า ถ้าพยาบาลบันทึกข้อมูลอาการป่วยของคนไข้ไม่ครบจะส่งผลต่อการรักษาในครั้งนั้น หรือครั้งต่อไปหรือไม่คะ
เมื่อวันที่ 12 สิงหา หนูมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท้องเสีย ปวดหัว ตัวร้อนและมีไข้
วันที่ 13 สิงหา จึงไปหาหมอที่โรงพยาบาลเอกชนใกล้บ้านแห่งหนึ่ง เมื่อไปถึงพยาบาลก็เรียกไปช่างน้ำหนัก วัดไข้ วัดความดันและสอบถามอาการเพื่อบันทึกข้อมูล ซึ่งหนูก็ได้บอกอาการตามที่เป็นข้างต้นให้ทราบ หลังจากนั้นพยาบาลจึงให้ไปเก็บปัสสาวะและรอพบคุณหมอ เมื่อได้พบคุณหมอ หมอบอกว่าเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนอาการที่หนูบอกพยาบาลคืออาการข้างเคียง แต่เนื่องจากหนูเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบปีละ 1-2 ครั้ง คุณหมอเลยให้ยาฆ่าเชื้อแบบฉีดแทนการกินยา และนัดฉัดอีก 2 เข็ม ระหว่างที่อยู่ในห้องฉีดยา พยาบาลบอกว่าขณะที่ฉีดอาจจะมีอาการเวียนหัวหรือคลื่นไส้ ให้กลืนน้ำลายบ่อยๆ จะช่วยได้ แต่หนูไม่มีอาการใดๆ เลยในระหว่างฉีดยา เมื่อฉีดเสร็จก็รับยา เภสัชกรก็แนะนำยาที่ต้องทานและบอกว่ายาที่ให้ไปเป็นยาแก้ปวดท้องและยาพารา “ให้กินเฉพาะเวลาที่มีอาการเท่านั้น” และหนูก็กลับบ้าน เมื่อกลับบ้านกลับมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ตลอดเวลา (นอนก็เวียนหัว) ไม่รู้สึกอยากอาหารและอาเจียนบางครั้ง
วันที่ 14 สิงหา หนูไปทำงานก็ยังคงมีอาการเวียนหัวและคลื่นไส้อยู่เหมือนเดิม และเมื่อเลิกงานก็ไปหาหมอเพื่อฉีดยา เมื่อไปถึงโรงพยาบาล ก็เข้าห้องฉีดยาทันที หนูได้บอกพยาบาลถึงอาการที่เป็น พยาบาลบอกว่าอาจจะเป็นผลข้างเคียงจากยาที่ฉีด ให้หนูดื่มน้ำเยอะๆ จะช่วยได้ เมื่อฉีดเสร็จก็กลับบ้านและอาการเหล่านั้นก็ยังคงไม่หาย
วันที่ 15 สิงหา หนูก็ยังคงไปทำงานทั้งๆ ที่อาการไม่ดีขึ้นจนเลิกงานจึงค่อยไปหาหมออีกเหมือนเดิม วันนี้หมอนัดตรวจปัสสาวะแต่ยังไม่ฉีดยาให้ เมื่อไปถึงพยายาลก็เรียกไปช่างน้ำหนัก วัดไข้และวัดความดัน ปรากฎว่าความดันขึ้น 119/121 พยายาลจึงให้ไปนั่งพักและมาวัดใหม่ ครั้งที่สองความดันลดลงเหลือ 112/121 เมื่อเข้าไปพบคุณหมอ วันนี้คุณกเลิกการฉีดยาเพราะคุณหมอบอกว่าอาการที่หนูบอกเป็นอาการข้างเคียงจากการฉีดยาเข้าเส้นเลือดโดยตรง วันนี้เลยให้ยาทานแทน หนูจึงไปรับยาที่ห้องยา เภสัชกรห้องยาดูแฟ้มการรักษาพร้อมแจ้งอาการของหนูก่อนจ่ายยาให้ หนูเลยถามเภสัชกรว่า
A : พี่คะอาการเวียนหัวตลอดเวลาที่หนูเป็นมันเกิดจากยาเฉยๆ ไม่ได้แพ้ยาใช่ไหมคะ
B : ใช่คะ เพราะคนไข้ได้รับการฉีดยาเข้าเส้นเลือดโดยตรง ซึ่งจะพบได้ในกลุ่มของคนไข้ที่ไม่เคยได้รีบการให้ยาแบบนี้
A : มันไม่เกี่ยวกับการที่หนูกินยา “แก้ท้องเสียใช่ไหมคะ”
พยาบาลรีบเปิดดูประวัติอาการเจ็บป่วยย้อนหลัง
B : คนไข้มีอาการท้องเสียด้วยหรอคะ? ไม่เห็นมีระบุในประวัติเลยคะ?
หนูอึ้งนิดหน่อยคะ
A : ไม่มีในประวัติได้ไงคะ วันที่ 13 ที่หนูมาหนูแจ้งนะคะว่าหนูท้องเสีย และวันนั้นขณะนั่งรอหนูก็ยังถ่ายอยู่เลย แบบนี้แปลว่าอะไรคะ
B : ทางเราต้องขอโทษคนไข้ด้วยคะที่ไม่ได้ลงข้อมูลให้ครบ
A : ไม่เป็นไรคะพี่ แต่หนูแค่อยากรู้ว่า อาการเวียนหัว คลื่นไส้ที่หนูเป็น มันเป็นผลข้างเคียงจากการที่หนูไปกินยาที่ซื้อเองหรือเปล่าคะ เพราะยาที่ให้มาเมื่อวันที่ 13 เ้าบอกว่า “ถ้าไม่มีอาการก็ไม่ต้องกิน” แต่หนูยังถ่ายท้องเลยต้องกินยาที่ไม่ใช่ยาโรงพยาบาล แล้วถ้าเกิดยาที่หนูซื้อเองมันส่งผลทำให้หนูเป็นอะไรมากกว่านี้ทางโรงพยาบาลจะรับผิดชอบไหมคะ?
เภสัชกรและเพื่อนร่วมงานมองหน้ากัน
B : ทางเราต้องขอโทษคนไข้จริงๆ นะคราวหน้าทางเราจะบันทึกให้ละเอียดกว่านี้คะ
A : คราวหน้าคือคราวหน้าคะพี่ แต่หนูอยากรู้คราวนี้คะ เพราะถ้าวันนี้หนูเกิดเป็นอะไรไปเพราะยาที่กินทางโรงพยาบาลจะรับผิดชอบยังไง และการที่ลงข้อมูลอาการป่วยของคนไข้ไม่ครบ เวลาหมอดูย้อนหลังเกี่ยวกับการรักษาและพบกว่าข้อมูลไม่ตรง หมอจะว่าใครก่อนคะ พยาบาลหรือคนไข้ หนูเข้าใจว่าพี่มีหน้าที่ทำแค่เรื่องยา แต่ก็ขอบคุณมากนะคะที่พี่ขอโทษในความผิดพลาดของคนอื่น
เภสัชกรก็ทำหน้าเสีย และก้มดูรายการยาที่เราได้รับ
B : งั้นขออนุญาตอธิบายเรื่องอาการแทรกซ้อนนิดนึงนะคะ อาการแทรกซ้อนแบบเวียนหัว คลื่นไส้จะพบได้บ่อยสำหรับผู้ที่ฉีดยาเข้าเส้นเลือดโดยตรงคะ หรืออีกแบบคือผลข้างเคียงจากการทานยาคะ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ “ที่ยาที่ผู้สมัครทานกับยาที่โรงพยาบาลฉีดให้มันตีกัน” เลยทำให้คนไข้มีอาการดังกล่าว งั้นเอาแบบนี้นะคะคนไข้ เท่าที่เช็คการจ่ายยาเมื่อวันอังคาร ยาแก้ปวดท้อง สามารถทานเพื่อแก้อาการท้องเสียได้ รบกวนคนไข้ทานแต่ยาโรงพยาบาลนะคะ และคราวหน้าดิฉันจะรีมาร์กไว้ให้ว่าคนไข้ต้องให้ยาฉีดอย่างน้อย 30-45 นาทีและไม่สทมารถฉีดเข้าเส้นเลือดได้โดยตรงนะคะ
A : ได้คะ ขอบคุณคะ
หลังจากจบการสนทนา ทำให้เรารู้ว่าการที่พยาบาลบันทึกข้อมูลอาการป่วยของคนไข้ไม่ครบ บางครั้งก็สามารถทำให้เราเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้
***หากเหตุการณ์ที่ว่ามาเป็นอาการที่รุนแรงมากกว่านี้ จะทำยังไงคะ สำหรับหนู แค่อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถเกิดเป็นโรคร้ายแรงได้จริงไหมคะ แต่ทำไมพยาบาลถึงได้มองข้ามจุดเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้ไปได้ละคะ
และหนูอยากถามจริงๆ คะว่า “การที่พยาบาลบันทึกข้อมูลไม่ครบแบบนี้ มันส่งผลเสียอย่างไรบ้างต่อการรักษาคนไข้คนหนึ่งคะ หรือว่าไม่มีผลอะไรเลย”
***ขออภัยถ้าแท็กผิดห้อง และขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ