Gōtoku-ji วัดของแมวกวัก Maneki-neko

1.



ร้านค้า ร้านอาหารและธุรกิจหลายอย่าง ๆ ในญี่ปุ่นหลายแห่ง
มักจะวางตุ๊กตาแมวตัวเล็ก ๆ ที่มีอุ้งเท้ายกขึ้นกวักเรียกคนใกล้กัทางเข้า
แมวกวักเป็นตุ๊กตาญี่ปุ่นซึ่งเป็นเสน่ห์ของความโชคดีที่เรียกว่า Maneki-neko
ซึ่งหมายถึงแมวกวัก และเชื่อกันว่าจะนำโชคลาภและเงินทองให้กับเจ้าของ
มักจะทำมาจากเซรามิคหรือพลาสติก รูปแกะสลัก
เป็นรูปแมวที่ยกขาขึ้นคล้ายการกวักมือเรียกคนให้เข้ามา
เป็นการแสดงถึงการนำโชคลาภและความมั่งคั่งเข้ามาด้านใน


แมวกวัก Maneki-neko สมัยใหม่มักจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่
และมีอาการแมวกวักแบบเคลื่อนที่ช้า
ทุกวันนี้รูปแมวกวักเหล่านี้กำลังเป็นที่นิยมกันมาก
ในหมู่พ่อค้าในประเทศแถบเอเชีย และที่อื่น ๆ
เช่นกันเช่นเดียวกับ รูปปั้นพระสังกัจจายน์
(หมายถึงความสมบูรณ์พูลสุข)  ที่แพร่หลายกัน


แมวกวัก Maneki-neko ได้ข้ามพรมแดนทั้งทางกายภาพและทางศาสนา
แต่ต้นกำเนิด/บ้านที่แท้จริงของพวกแมว
ยังคงอยู่ใน Gōtoku-ji ซึ่งเป็นวัดในเขต Setagaya ของโตเกียว


วัด Gōtoku-ji ซ่อนตัวอยู่ในย่านที่พักอาศัยแสนเงียบสงบ
ในเขตชานเมืองของกรุงโตเกียว
และอาจจะหาทางเข้าวัดไม่ค่อยเจอก็ได้
เพราะวัดนี้มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับวัดอื่น ๆ ในโตเกียว
แต่กล่าวกันว่าเป็นวัดที่มีต้นไม้ที่สวยงามมาก
เช่น ต้นเมเปิ้ลญี่ปุ่น ต้น GingKo ต้นเชอร์รี่ญี่ปุ่น
งดงามเสมือนหนึ่งการจัดสวนญี่ปุ่น


ที่มุมหนึ่งของวิหาร มีพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ
มีชั้นวางของที่มอบให้กับการวางแมวกวักซ้อน ๅ กัน
ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลายร้อยแมวทีเดียว


มีตำนานหลายเรื่องเกี่ยวกับต้นกำเนิดของแมวเจ้าเสน่ห์ตัวนี้
แต่เรื่องราวที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุดเรื่องหนึ่ง
ต้องย้อนกลับไปสู่สมัยเอะโดะ Edo
เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับขุนศึกศักดินาที่ร่ำรวยมาก
จากเมือง Hikone (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัด Shiga)
กำลังจะเข้าพักใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้กับวัด Gōtoku-ji
ในช่วงพายุฝนฟ้าคะนองอย่างมาก


ขุนศึกรายนี้ได้เห็นแมวของพระสงฆ์ในวัด
กวักมือเรียกให้เดินเข้าไปในวิหาร
เมื่อขุนศึกเดินตามแมวกวักเข้าไปในวิหาร


สักครู่ต่อมา ต้นไม้ใหญ่ก็ถูกฟ้าผ่าลงมา
ทำให้ขุนศึกรายนี้รอดตายจากฟ้าผ่า
ขุนศึกรายนี้จึงรู้สึกขอบคุณการกวักมือเรียกของแมว
จึงได้บริจาคเงินจำนวนมหาศาล
เพื่อปรับปรุงให้วัดมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น
และพยายามทำให้เป็นวัดของครอบครัวขุนศึก
และเป็นการแสดงน้ำใจขอบคุณแมวกวักตัวนี้


ต่อมา เมื่อแมวตัวแรกนี้เสียชีวิตลง
จึงมีการสร้าง Maneki-neko เพื่อเป็นเกียรติแก่แมวตัวแรกนี้
แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไป ผู้คนเริ่มนำตุ๊กตา Maneki-neko ไปที่วัด Gōtoku-ji
เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความกตัญญูต่อแมว
เมื่อความปรารถนาของพวกเขาเป็นจริงขึ้นมา


เชื่อกันว่าแมวกวัก Maneki-neko มีต้นกำเนิดใน Tokyo (ที่เดิมชื่อว่า Edo)
แต่มีบางคนอ้างว่ามีต้นกำเนิดใน  Kyoto
แมวกวัก Maneki-Neko มีหลักฐานปรากฏตัวครั้งแรกในยุค Edo
มีการบันทึกเรื่องแมวกวัก Maneki-neko
ใน Bukō nenpyō's (จดหมายเหตุของ Edo) ย้อนไปปี ค.ศ.1852
มีภาพวาด Marushime-neko ที่แตกต่างกับแมวกวัก Maneki-neko ที่วัด Senso Ji Tokyo


ในปีค.ศ.1876 ช่วงยุค Meiji มีรายงานข่าวปรากฏในบทความหนังสือพิมพ์
เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่แมวกวัก Marushime-neko  สวมชุด Kimono
มีการแจกจ่ายกันที่วิหาร ใน Osaka ช่วงเวลานั้น


ในปีค.ศ.1902 โฆษณาเกี่ยวกับแมวกวัก Maneki-neko
ที่มีอายุยาวนานร่วมศตวรรษเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง


บางตำนานอ้างว่า แมวกวัก Maneki-neko
คล้ายคลึงกับลักษณะแมวเช็ดหน้าตนเอง
มีความเชื่อชาวญี่ปุ่นว่า
ถ้าแมวเช็ดหน้าตนเองจะมีคนมาเยี่ยมเยือนในไม่ช้า
สอดคล้องกับสุภาษิตจีนโบราณที่ว่า
ถ้าแมวเช็ดหน้าตนเอง ฝนจะตก
และต่อมากลายเป็นว่า  
แมวเช็ดหน้าตนเอง จะพาลูกค้าเข้าร้าน


ในบันทึกสัพเพเหระของ Youyang ยุครัชสมัยถังของจีน
โดยผู้แต่ง Duan Chengshi (803-863) เขียนว่า
" ถ้าแมวยกเท้าเหนือใบหูแล้วเช็ดหน้าตนเอง
จะมีผู้อุปถัมภ์มาหาในไม่ช้านี้ "


บางตำนานว่า แมวจรจัดช่วยนำโชคให้กับร้านค้า
ผู้ประกอบการที่ฐานะค่อนข้างยากจน
เช่น ร้านค้า โรงเตี๊ยม ที่พักคนเดินทาง วัด ฯลฯ
ที่ให้อาหารกับแมวเร่ร่อนหรือแมวหลงทาง
แม้ว่าจะมีรายได้แทบจะไม่พอที่จะเลี้ยงตัวเอง
ด้วยความกตัญญู แมวจึงนั่งอยู่ด้านหน้าของร้านค้า
กวักมือเรียกลูกค้าให้เข้ามาในร้านค้า
เพื่อนำความมั่งคั่งเป็นรางวัลให้กับเจ้าของที่ใจดีเลี้ยงดูพวกมัน
ทำให้แมวกวักเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีสำหรับเจ้าของธุรกิจ


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2P8JP2l
https://bit.ly/2w9X75F
https://bit.ly/1J1w9uu




2.


3.


4.


5.


6.


7.


8.


9.


10.


11.


12.


13.


14.


15.


16.


17.


18.


19.


20.


21.


22.
23.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่