ขอความรู้เรื่องการหุงข้าวจากผู้มีประสบการณ์ในครัวครับ และ/หรือผู้ที่สนใจด้านคณิตศาสตร์เล็กๆ พอดีว่าได้ยินได้ฟังได้รับการสอนมาว่า การหุงข้าวนั้นให้เติมน้ำลงหม้อ(ที่ใส่ข้าวสารแล้ว) สูงกว่าระดับข้าวประมาณ 1 ข้อนิ้วมือ(น่าจะเป็นนิ้วชี้ ส่วนใหญ่คนสอนไม่ระบุว่านิ้วไหน แต่สังเกตเห็นว่าคนส่วนใหญ่ที่หุงจะใช้นิ้วชี้โดยอัตโนมัติ) หรือประมาณความสูงหลังมือ(เมื่อวางฝ่ามือลงบนพื้นผิวข้าว)
เรื่องของเรื่องก็คือ ข้อนิ้วมือคนหรือความหนาของฝ่ามือคนมันอาจจะไม่เท่ากัน หลายครั้งจึงไม่รู้ว่าเพราะความต่างนี้หรือเปล่าที่เมื่อต่างคนหุงจึงได้ผลลัพธ์ต่างกัน ข้าวแฉะบ้าง แข็งบ้าง บางครั้งก้นหม้อเกรียมจนน่าเอาไปทำข้าวตังหรือข้าวแต๋น
ในขณะที่หลังถุงข้าวส่วนใหญ่จะบอกสัดส่วนเชิงปริมาตรไว้ว่าข้าวเท่าไหร่ น้ำเท่าไหร่
ขอสอบถามความเห็นต่อความเข้าใจผมที่คิดว่า "สัดส่วนปริมาตรข้าวกับน้ำจะค่อนข้างคงที่เสมอใช่หรือไม่ ไม่ว่าจะใส่ข้าวไปเท่าไหร่ ขอเพียงให้ระดับน้ำสูงกว่าหน่อยนึงประมาณ 1 ข้อนิ้วมือ?"
ตอนแรกคิดไปว่าสัดส่วนจะต่างกันไป ถ้าคิดเร็วๆ แบบว่า ข้าวสูง h น้ำสูง h+1 ก็จะได้สัดส่วนปริมาตร h/h +1 เมื่อลองใส่ตัวเลขดูจะเห็นผลลัพธ์ต่างๆ กันไป แต่มันไม่น่าใช่นี่หว่า เหมือนกับว่าบริเวณที่ข้าวกับน้ำซ้อนทับกันจะมีสัดส่วนคงที่ แต่ตัวแปรคือบริเวณน้ำที่เหนือระดับข้าวขึ้นไปที่เป็นเอกเทศ คิดต่ออีกหน่อย เหมือนว่าจะมีค่าคงที่ 2 ค่า คือ 1.สัดส่วนน้ำกับข้าวตามหลังถุง ซึ่งน่าจะขึ้นกับค่าความชื้นของข้าว และ 2.สัดส่วนน้ำที่สามารถแทรกตัวในข้าวปริมาณหนึ่งๆ ได้ในเชิงปริมาตร ไม่แน่ใจว่ามีปัจจัยสำคัญอื่นอีกไหมครับ
อีกคำถามเล็กๆ ส่งท้ายคือ "เราควรยึดหลักตวงปริมาตรตามคำแนะนำหลังถุง หรือยึดหลักข้อมือ (สมมุติว่าข้อมือคนเท่ากันหมด ข้าวรุ่นเดียวกัน ยังไม่ต้องคิดถึงว่าเป็นข้าวเก่าข้าวใหม่)?"
**มีอีกข้อสังเกตนึงที่อาจทำให้คนไม่นิยมตวงน้ำตามคำแนะนำหลังถุง เพราะว่าต้องซาวข้าวก่อน แล้วจะมีน้ำบางส่วนผสมไปกับข้าวแล้วเยอะเลย ทำให้กะไม่ถูกถ้าจะต้องตวงน้ำ
ทฤษฎีหุงข้าวด้วยการเติมน้ำให้สูงกว่าระดับข้าว 1 ข้อนิ้วมือ มีคำอธิบายไหมครับ
เรื่องของเรื่องก็คือ ข้อนิ้วมือคนหรือความหนาของฝ่ามือคนมันอาจจะไม่เท่ากัน หลายครั้งจึงไม่รู้ว่าเพราะความต่างนี้หรือเปล่าที่เมื่อต่างคนหุงจึงได้ผลลัพธ์ต่างกัน ข้าวแฉะบ้าง แข็งบ้าง บางครั้งก้นหม้อเกรียมจนน่าเอาไปทำข้าวตังหรือข้าวแต๋น
ในขณะที่หลังถุงข้าวส่วนใหญ่จะบอกสัดส่วนเชิงปริมาตรไว้ว่าข้าวเท่าไหร่ น้ำเท่าไหร่
ขอสอบถามความเห็นต่อความเข้าใจผมที่คิดว่า "สัดส่วนปริมาตรข้าวกับน้ำจะค่อนข้างคงที่เสมอใช่หรือไม่ ไม่ว่าจะใส่ข้าวไปเท่าไหร่ ขอเพียงให้ระดับน้ำสูงกว่าหน่อยนึงประมาณ 1 ข้อนิ้วมือ?"
ตอนแรกคิดไปว่าสัดส่วนจะต่างกันไป ถ้าคิดเร็วๆ แบบว่า ข้าวสูง h น้ำสูง h+1 ก็จะได้สัดส่วนปริมาตร h/h +1 เมื่อลองใส่ตัวเลขดูจะเห็นผลลัพธ์ต่างๆ กันไป แต่มันไม่น่าใช่นี่หว่า เหมือนกับว่าบริเวณที่ข้าวกับน้ำซ้อนทับกันจะมีสัดส่วนคงที่ แต่ตัวแปรคือบริเวณน้ำที่เหนือระดับข้าวขึ้นไปที่เป็นเอกเทศ คิดต่ออีกหน่อย เหมือนว่าจะมีค่าคงที่ 2 ค่า คือ 1.สัดส่วนน้ำกับข้าวตามหลังถุง ซึ่งน่าจะขึ้นกับค่าความชื้นของข้าว และ 2.สัดส่วนน้ำที่สามารถแทรกตัวในข้าวปริมาณหนึ่งๆ ได้ในเชิงปริมาตร ไม่แน่ใจว่ามีปัจจัยสำคัญอื่นอีกไหมครับ
อีกคำถามเล็กๆ ส่งท้ายคือ "เราควรยึดหลักตวงปริมาตรตามคำแนะนำหลังถุง หรือยึดหลักข้อมือ (สมมุติว่าข้อมือคนเท่ากันหมด ข้าวรุ่นเดียวกัน ยังไม่ต้องคิดถึงว่าเป็นข้าวเก่าข้าวใหม่)?"
**มีอีกข้อสังเกตนึงที่อาจทำให้คนไม่นิยมตวงน้ำตามคำแนะนำหลังถุง เพราะว่าต้องซาวข้าวก่อน แล้วจะมีน้ำบางส่วนผสมไปกับข้าวแล้วเยอะเลย ทำให้กะไม่ถูกถ้าจะต้องตวงน้ำ