ละครเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นค่านิยมที่ผิดๆ ที่ครอบงำสังคมไทยมานาน ได้ในระดับลึก แบบถึงแก่นเลยแหละ
ไม่รู้หรอกนะ ว่าสังคมอื่นๆ จะยังไง แต่สำหรับสังคมไทย ละครเรื่องนี้ "สะท้อน" ให้เห็นชัดๆ ว่า
สังคมไทยนั้น "สปอยล์" ผู้ชาย มากแค่ไหน
ซึ่งเหรียญอีกด้าน ของการ "สปอยล์" ผู้ชาย ยิ่งมากแค่ไหน ก็ยิ่ง "กดหัว" ผู้หญิง มากแค่นั้น
เพราะสังคมสปอยล์ผู้ชายมากกว่า ทำให้การเป็นชู้กัน ของตัวสามี กับน้องเมีย
ที่เป็นการร่วมกันทำผิดศีลธรรม ความผิดเท่าๆ กันทั้ง 2 คน
แต่ฝ่ายผู้ชายกลับดูผิดน้อยกว่า และสามารถคาดหวังว่า จะได้รับการให้อภัย ได้อย่างง่ายๆ
อย่าว่าแต่ตัวคนทำผิดเอง คือตัวสามี ที่ไม่ได้สำเหนียกสำนึกเลยว่า สิ่งที่ตัวทำนั้น มัน "ผิดร้ายแรง"
ทั้งผิดศีลธรรม ผิดกฎหมายด้วย เพราะ อรุณา น่าจะสามารถฟ้องชู้ได้ทั้งผัวทั้งเมียน้อย
แต่ถึงจะผิดทั้งศีลธรรมและกฎหมาย เราก็ยังไม่ให้ความสำคัญเท่ากับ
ทั้งผัวและเมียน้อย รุม "ทำร้ายความรู้สึก" ของเมีย และของพี่สาวที่แสนดี ได้ลงคอได้ยังไง
เห็นได้จากที่ ธาดา ใช้แค่คำว่า "พลาด" กับสิ่งที่ตัวเองทำ
เขาแค่รู้สึกว่า "เฟล" ที่เลือกเมียน้อยผิด คิดว่าจะเป็นแค่แมวเชื่อง ไร้พิษสง แต่กลับเป็นงูพิษซะนี่
นี่ถ้า กันยา เป็นแมวเชื่อง ที่ ธาดา คุมอยู่ แม้แต่คำว่า "พลาด" เขาก็อาจจะไม่รู้สึกด้วยซ้ำ
ไม่ใช่แค่ตัว ธาดา ที่คิดแบบคนที่อยู่ในสังคมที่สปอยล์ผู้ชาย
แต่แม้แต่กระทั่งตัว อรุณา เอง รวมไปถึงสังคมในละครที่อยู่รอบข้างตัวเธอ ก็ยังคิดแบบตกอยู่ใต้อิทธิพลของค่านิยมชายเป็นใหญ่
สังคมรอบข้างตัวนางเอก มีแต่เชียร์ให้นางเอกคืนดีกับสามี ทั้งเพื่อนสนิทและสามี ซึ่งก็เป็นทั้งเพื่อนทั้งน้องเขยของสามี
แม้กระทั่งหัวหน้างานของสามี ยังบอกว่าอยู่ทีมอรุณา ในความหมายว่า ไม่เลือกข้างกันยาแน่นอน
แม้แต่ตัว อรุณา เอง ก็ยังพร้อมจะให้อภัยสามี ขอเพียงแค่เขาบอกว่า ยังรักเธออยู่
ถ้าหากว่าเขาแค่ "นอกกาย" ไม่ได้ "นอกใจ" ทั้งๆ ที่มันคือสิ่งเดียวกันนั่นแหละ ถ้าไม่หลอกตัวเอง
เพราะคุณแต่งงานแล้ว ไม่ว่าจะนอกกายหรือนอกใจ ก็คือไม่ซื่อสัตย์ และผิดศีลข้อ 3
ตรงข้าม ถ้าเป็นฝ่ายเมีย เป็นฝ่ายมีชู้ แบบเดียวกับที่สามีทำเป๊ะ
สังคมคงจะรุมประณามผู้หญิง และสามีจะคิดให้อภัยได้หรือเปล่า
เราว่า คุณค่าสำคัญของละครเรื่องนี้ น่าจะเป็นการ "สะท้อน" ค่านิยมที่ผิดๆ แบบชายเป็นใหญ่ เพื่อ "เตือน" ว่า
ตลอดเวลาที่ผ่านมา สถาบันครอบครัวต้องรับเคราะห์ยังไง จากค่านิยมที่ผิดๆ นี้ กรรมไปตกอยู่ที่ลูกยังไง
ก็เห็นได้ชัดในละครว่า ตัว กันยา เอง ที่จริงก็น่าจะเป็นเหยื่อรายหนึ่ง ของค่านิยมที่ผิดๆ นี้
ครอบครัวมีปัญหา เธออยู่กับพ่อที่มีเมียใหม่ ไม่ถูกกับแม่เลี้ยง ทำให้ กันยา ต้องรับกรรม เป็นเด็กขาดความอบอุ่น
แต่แล้ว กันยา ก็ยังส่งต่อกรรมนี้ ต่อไปให้ นุดา อีก แล้วถ้า นุดา โตขึ้นเป็นเด็กมีปัญหาแบบ กันยา เป็นลูกโซ่อยู่แบบนี้
ถ้าสถาบันครอบครัวต้องบิดเบี้ยว อ่อนแอ เพราะค่านิยมผิดๆ แบบนี้ แล้วสังคมประเทศโดยรวม จะมีคุณภาพได้ยังไง
คุณค่าของละคร เมีย 2018
ไม่รู้หรอกนะ ว่าสังคมอื่นๆ จะยังไง แต่สำหรับสังคมไทย ละครเรื่องนี้ "สะท้อน" ให้เห็นชัดๆ ว่า
สังคมไทยนั้น "สปอยล์" ผู้ชาย มากแค่ไหน
ซึ่งเหรียญอีกด้าน ของการ "สปอยล์" ผู้ชาย ยิ่งมากแค่ไหน ก็ยิ่ง "กดหัว" ผู้หญิง มากแค่นั้น
เพราะสังคมสปอยล์ผู้ชายมากกว่า ทำให้การเป็นชู้กัน ของตัวสามี กับน้องเมีย
ที่เป็นการร่วมกันทำผิดศีลธรรม ความผิดเท่าๆ กันทั้ง 2 คน
แต่ฝ่ายผู้ชายกลับดูผิดน้อยกว่า และสามารถคาดหวังว่า จะได้รับการให้อภัย ได้อย่างง่ายๆ
อย่าว่าแต่ตัวคนทำผิดเอง คือตัวสามี ที่ไม่ได้สำเหนียกสำนึกเลยว่า สิ่งที่ตัวทำนั้น มัน "ผิดร้ายแรง"
ทั้งผิดศีลธรรม ผิดกฎหมายด้วย เพราะ อรุณา น่าจะสามารถฟ้องชู้ได้ทั้งผัวทั้งเมียน้อย
แต่ถึงจะผิดทั้งศีลธรรมและกฎหมาย เราก็ยังไม่ให้ความสำคัญเท่ากับ
ทั้งผัวและเมียน้อย รุม "ทำร้ายความรู้สึก" ของเมีย และของพี่สาวที่แสนดี ได้ลงคอได้ยังไง
เห็นได้จากที่ ธาดา ใช้แค่คำว่า "พลาด" กับสิ่งที่ตัวเองทำ
เขาแค่รู้สึกว่า "เฟล" ที่เลือกเมียน้อยผิด คิดว่าจะเป็นแค่แมวเชื่อง ไร้พิษสง แต่กลับเป็นงูพิษซะนี่
นี่ถ้า กันยา เป็นแมวเชื่อง ที่ ธาดา คุมอยู่ แม้แต่คำว่า "พลาด" เขาก็อาจจะไม่รู้สึกด้วยซ้ำ
ไม่ใช่แค่ตัว ธาดา ที่คิดแบบคนที่อยู่ในสังคมที่สปอยล์ผู้ชาย
แต่แม้แต่กระทั่งตัว อรุณา เอง รวมไปถึงสังคมในละครที่อยู่รอบข้างตัวเธอ ก็ยังคิดแบบตกอยู่ใต้อิทธิพลของค่านิยมชายเป็นใหญ่
สังคมรอบข้างตัวนางเอก มีแต่เชียร์ให้นางเอกคืนดีกับสามี ทั้งเพื่อนสนิทและสามี ซึ่งก็เป็นทั้งเพื่อนทั้งน้องเขยของสามี
แม้กระทั่งหัวหน้างานของสามี ยังบอกว่าอยู่ทีมอรุณา ในความหมายว่า ไม่เลือกข้างกันยาแน่นอน
แม้แต่ตัว อรุณา เอง ก็ยังพร้อมจะให้อภัยสามี ขอเพียงแค่เขาบอกว่า ยังรักเธออยู่
ถ้าหากว่าเขาแค่ "นอกกาย" ไม่ได้ "นอกใจ" ทั้งๆ ที่มันคือสิ่งเดียวกันนั่นแหละ ถ้าไม่หลอกตัวเอง
เพราะคุณแต่งงานแล้ว ไม่ว่าจะนอกกายหรือนอกใจ ก็คือไม่ซื่อสัตย์ และผิดศีลข้อ 3
ตรงข้าม ถ้าเป็นฝ่ายเมีย เป็นฝ่ายมีชู้ แบบเดียวกับที่สามีทำเป๊ะ
สังคมคงจะรุมประณามผู้หญิง และสามีจะคิดให้อภัยได้หรือเปล่า
เราว่า คุณค่าสำคัญของละครเรื่องนี้ น่าจะเป็นการ "สะท้อน" ค่านิยมที่ผิดๆ แบบชายเป็นใหญ่ เพื่อ "เตือน" ว่า
ตลอดเวลาที่ผ่านมา สถาบันครอบครัวต้องรับเคราะห์ยังไง จากค่านิยมที่ผิดๆ นี้ กรรมไปตกอยู่ที่ลูกยังไง
ก็เห็นได้ชัดในละครว่า ตัว กันยา เอง ที่จริงก็น่าจะเป็นเหยื่อรายหนึ่ง ของค่านิยมที่ผิดๆ นี้
ครอบครัวมีปัญหา เธออยู่กับพ่อที่มีเมียใหม่ ไม่ถูกกับแม่เลี้ยง ทำให้ กันยา ต้องรับกรรม เป็นเด็กขาดความอบอุ่น
แต่แล้ว กันยา ก็ยังส่งต่อกรรมนี้ ต่อไปให้ นุดา อีก แล้วถ้า นุดา โตขึ้นเป็นเด็กมีปัญหาแบบ กันยา เป็นลูกโซ่อยู่แบบนี้
ถ้าสถาบันครอบครัวต้องบิดเบี้ยว อ่อนแอ เพราะค่านิยมผิดๆ แบบนี้ แล้วสังคมประเทศโดยรวม จะมีคุณภาพได้ยังไง