คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ข้อดีข้อเสีย สายสามัญ สายอาชีพ (ไปจนถึง ปวส. และ ป.ตรี)
- สายสามัญ ดีกว่า ตรงที่สามารถต่อ ป.ตรี ได้ ทุกมหาวิทยาลัย ทุกคณะ ทุกสาขา (และถ้าเรียน สายสามัญ ก็ควรจะต้องต่อ ป.ตรี)
(โดยเฉพาะ ม.ปลาย สายวิทย์-คณิต ที่เลือกสมัคร สอบ เรียนต่อได้ทุกสาขาวิชา ทุกคณะ)
จะสมัครสอบเข้าเรียนต่อ ม.รัฐ ชื่อดังต่างๆ เช่น จุฬา, ธรรมศาสตร์, เกษตร, มหิดล ฯลฯ ก็เลือกได้เลยถ้าสอบติด
แต่ถ้าจบสายสามัญ ม.ปลาย แล้วไม่เรียนต่อ ป.ตรี ล่ะก็
วุฒิ ม.ปลาย แทบจะไร้ค่าเลยครับ จุดนี้คือข้อด้อยกว่า ปวช.
เพราะ วุฒิ ม.6 ไม่มีสาขาเฉพาะทางใดๆ เลย จะเอาไปสมัครงานดีๆ ยากมาก ถึงกับไม่มีเลยก็ว่าได้
ส่วนมากก็จะได้ เช่น แม่บ้าน คนงาน คนสวน พนักงานบริการ ทำนองนี้ครับ
(เว้นแต่เอาไปสมัครงานหน่วยงานรัฐ ทหาร ตำรวจ นะครับ)
แต่ถ้าจบสายสามัญ ม.ปลาย และ เรียนต่อจนจบ ป.ตรี
กรณีนี้ จะดีกว่าสายอาชีพ ตรงที่ ป.ตรี เป็นวุฒิที่สูงกว่า ปวส. ซึ่งข้อนี้จะกลบข้อด้อยข้างต้นทันที
เพราะ ป.ตรี ในสาขาวิชาเดียวกันกับ ปวส. จะได้เงินเดือนเริ่มต้นสูงกว่า เงินเดือนตันก็สูงกว่า ความก้าวหน้าก็ไปไกลกว่า ปวส. ครับ
ส่วนสายอาชีพนั้น หากต้องการเรียนต่อ ป.ตรี ก็จะมีเพียงไม่กี่มหาวิทยาลัยที่เปิดรับ
เช่น ราชภัฏ, ราชมงคล, ม.ราม, มสธ., ม.เอกชน, สายช่าง 3 พระจอม, สายเกษตร แม่โจ้ เป็นต้น ทำให้มีตัวเลือกน้อยกว่าสายสามัญมากๆ
หากกะจะเรียนต่อ ป.ตรี อยู่แล้วแน่ๆ การเรียน สายสามัญ ม.ปลาย จึงเหมาะสมกว่า
ส่วนจะเรียน ม.ปลาย สายไหน ขึ้นอยู่กับว่า อยากเรียนต่อ ป.ตรี สาขาอะไรครับ
ถ้ายังไม่แน่ใจว่าอยากเรียนต่อ ป.ตรี สาขาอะไร ให้เลือกเรียน สายวิทย์-คณิต ไว้ก่อน เพราะมีสิทธิสมัครสอบเรียนต่อ ป.ตรี ได้ทุกสาขา
แต่ถ้ารู้แน่แล้วว่าอยากเรียนต่อ ป.ตรี สาขาอะไร และ ป.ตรี สาขานั้น ไม่บังคับต้องจบ สายวิทย์-คณิต ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนสายวิทย์-คณิต
- สายอาชีพ ดีกว่า เมื่อเทียบกับวุฒิระดับเท่ากัน คือ ม.6 VS ปวช.
จบ ปวช. สามารถทำงานเฉพาะทางได้เลย ผิดกับจบ ม.6 ที่จะทำอะไรเฉพาะทางไม่ได้เลย
(ต้องเทียบ ม.6 VS ปวช. นะครับ เพราะเป็นวุฒิระดับเดียวกัน)
มีวิชาชีพเฉพาะ เช่น ช่างอุตสาหกรรม, ช่างเครื่องกล, ช่างเชื่อม, ช่างอิเล็ก, ช่างศิลปกรรม, บัญชี, การโรงแรม, คหกรรม ต่างๆ
ตามหลักแล้ว สายอาชีพ ปวช., ปวส. จะเป็นกลุ่มแรงงานฝีมือ ที่มีสายงานให้เติบโตได้ระดับหนึ่ง
แต่พอถึงจุดๆ นึง สายอาชีพ ทั้ง ปวช., ปวส. จะตันครับ ด้วยเพดานคุณวุฒิที่มี
ถ้าไม่ไปเรียนต่อ ป.ตรี ก็ไม่มีความก้าวหน้าเท่า ผู้จบ ป.ตรี เพราะ ปวส. เป็นคุณวุฒิที่ต่ำกว่า ป.ตรี
เช่น จบ ปวส. เป็นนายช่าง : จบ ป.ตรี เป็นวิศวกร เป็นต้น
ในอนาคต เพื่อความก้าวหน้า คนจบ ปวช., ปวส. จึงเหมือนถูกบังคับกลายๆ ว่าต้องมาเรียนต่อ ป.ตรี อยู่ดี
ข้อแนะนำ
- ถ้ายังไม่รู้แน่ หรือไม่แน่ใจ ว่าอยากเรียนต่อสาขาอะไร หรืออยากทำงานอะไรกันแน่ในอนาคต
แนะนำให้เรียน ม.ปลาย สายสามัญ แผนการเรียน วิทย์-คณิต
เพราะ ม.ปลาย สายวิทย์-คณิต มีสิทธิสมัครสอบเข้าเรียนต่อ ป.ตรี ได้ ทุกคณะ ทุกสาขาวิชา ทุกมหาวิทยาลัย
และเรียนต่อ ป.ตรี นั้นให้จบ
หรือต่อให้รู้แน่ๆ แล้ว ว่าอยากเรียนอะไร แต่ถ้าสาขาวิชานั้นๆ มีการสอนในระดับ ป.ตรี
ก็น่าจะเรียน ป.ตรี ครับ
เพราะ ฐานเงินเดือน เพดานเงินเดือน ความก้าวหน้า ในสายงานเดียวกัน ป.ตรี จะดีกว่า สายอาชีพ ปวส. ในอนาคตระยะยาวครับ
ข้อเสนอแนะ
- มีคนชอบบอกว่าให้เรียนสายอาชีพดีกว่า เพราะหางานง่ายกว่า ป.ตรี
สายอาชีพ หางานง่ายกว่า ป.ตรี จริง แต่เพราะค่าแรงถูกกว่า ป.ตรี ครับ
ในองค์กรเดียวกัน สายงานเดียวกัน ระยะเริ่มต้นเหมือนกัน คุณวุฒิสูงกว่า ย่อมได้ค่าแรงสูงกว่า ครับ
เช่น ปวส.ช่างไฟฟ้า VS ป.ตรี วิศวกรไฟฟ้า วิศวกร วุฒิ ป.ตรี ย่อมได้เงินเดือนสตาร์ทสูงกว่านายช่าง ปวส. ครับ
หรือ สอบข้าราชการทหาร ปวส. บัญชี บรรจุ ยศสิบตรี VS ป.ตรี บัญชี บรรจุ ยศร้อยตรี เงินเดือนเริ่ม/ตัน ความก้าวหน้า ของ ร้อยตรี ย่อมมากกว่า สิบตรี
ลองเลือกดู ว่าจะทำงานค่าแรง ปวส. หรือ ค่าแรง ป.ตรี ครับ
ข้อสังเกตส่วนตัว
- ผมสังเกตเองมาระยะหนึ่งแล้ว
พบว่าคนที่เรียนสายอาชีพมา และแนะนำให้ จขกท. (อื่นๆ) เรียนสายอาชีพ
แต่ตัวผู้แนะนำเอง ก็กลับเรียน ป.ตรี แทบทั้งนั้น (ไม่ว่า กำลังจะเรียน, กำลังเรียนอยู่, เรียนจบแล้ว ก็ตาม)
นั่นก็แปลว่า บุคคลเหล่านี้ ต่างก็รู้ดีว่า เรียน ป.ตรี ดีกว่านั่นเอง (ไม่งั้นจะเรียนทำไม)
คือ ผมไม่ได้บอกว่าการเรียนสายอาชีพไม่ดีนะครับ
เพียงแต่ ในระยะยาว ในสายงานอย่างเดียวกัน ในประเทศไทย สายอาชีพเติบโตสู้ระดับปริญญา ไม่ได้ครับ
ถึงแม้ว่าเร็ว ๆ นี้ จะมีผู้ใหญ่บางคนบอกว่าให้เรียนสายอาชีพ อย่าเรียน ป.ตรี ก็ตาม
แต่ถ้าถามกลับไปว่า ลองให้ลูกหลานของเขาคืนวุฒิ ปริญญา แล้วไปเอาวุฒิ สายอาชีพ มาหางานทำดูไหม
ผมว่าร้อยละ 99 ตอบไม่เอา
- สายสามัญ ดีกว่า ตรงที่สามารถต่อ ป.ตรี ได้ ทุกมหาวิทยาลัย ทุกคณะ ทุกสาขา (และถ้าเรียน สายสามัญ ก็ควรจะต้องต่อ ป.ตรี)
(โดยเฉพาะ ม.ปลาย สายวิทย์-คณิต ที่เลือกสมัคร สอบ เรียนต่อได้ทุกสาขาวิชา ทุกคณะ)
จะสมัครสอบเข้าเรียนต่อ ม.รัฐ ชื่อดังต่างๆ เช่น จุฬา, ธรรมศาสตร์, เกษตร, มหิดล ฯลฯ ก็เลือกได้เลยถ้าสอบติด
แต่ถ้าจบสายสามัญ ม.ปลาย แล้วไม่เรียนต่อ ป.ตรี ล่ะก็
วุฒิ ม.ปลาย แทบจะไร้ค่าเลยครับ จุดนี้คือข้อด้อยกว่า ปวช.
เพราะ วุฒิ ม.6 ไม่มีสาขาเฉพาะทางใดๆ เลย จะเอาไปสมัครงานดีๆ ยากมาก ถึงกับไม่มีเลยก็ว่าได้
ส่วนมากก็จะได้ เช่น แม่บ้าน คนงาน คนสวน พนักงานบริการ ทำนองนี้ครับ
(เว้นแต่เอาไปสมัครงานหน่วยงานรัฐ ทหาร ตำรวจ นะครับ)
แต่ถ้าจบสายสามัญ ม.ปลาย และ เรียนต่อจนจบ ป.ตรี
กรณีนี้ จะดีกว่าสายอาชีพ ตรงที่ ป.ตรี เป็นวุฒิที่สูงกว่า ปวส. ซึ่งข้อนี้จะกลบข้อด้อยข้างต้นทันที
เพราะ ป.ตรี ในสาขาวิชาเดียวกันกับ ปวส. จะได้เงินเดือนเริ่มต้นสูงกว่า เงินเดือนตันก็สูงกว่า ความก้าวหน้าก็ไปไกลกว่า ปวส. ครับ
ส่วนสายอาชีพนั้น หากต้องการเรียนต่อ ป.ตรี ก็จะมีเพียงไม่กี่มหาวิทยาลัยที่เปิดรับ
เช่น ราชภัฏ, ราชมงคล, ม.ราม, มสธ., ม.เอกชน, สายช่าง 3 พระจอม, สายเกษตร แม่โจ้ เป็นต้น ทำให้มีตัวเลือกน้อยกว่าสายสามัญมากๆ
หากกะจะเรียนต่อ ป.ตรี อยู่แล้วแน่ๆ การเรียน สายสามัญ ม.ปลาย จึงเหมาะสมกว่า
ส่วนจะเรียน ม.ปลาย สายไหน ขึ้นอยู่กับว่า อยากเรียนต่อ ป.ตรี สาขาอะไรครับ
ถ้ายังไม่แน่ใจว่าอยากเรียนต่อ ป.ตรี สาขาอะไร ให้เลือกเรียน สายวิทย์-คณิต ไว้ก่อน เพราะมีสิทธิสมัครสอบเรียนต่อ ป.ตรี ได้ทุกสาขา
แต่ถ้ารู้แน่แล้วว่าอยากเรียนต่อ ป.ตรี สาขาอะไร และ ป.ตรี สาขานั้น ไม่บังคับต้องจบ สายวิทย์-คณิต ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนสายวิทย์-คณิต
- สายอาชีพ ดีกว่า เมื่อเทียบกับวุฒิระดับเท่ากัน คือ ม.6 VS ปวช.
จบ ปวช. สามารถทำงานเฉพาะทางได้เลย ผิดกับจบ ม.6 ที่จะทำอะไรเฉพาะทางไม่ได้เลย
(ต้องเทียบ ม.6 VS ปวช. นะครับ เพราะเป็นวุฒิระดับเดียวกัน)
มีวิชาชีพเฉพาะ เช่น ช่างอุตสาหกรรม, ช่างเครื่องกล, ช่างเชื่อม, ช่างอิเล็ก, ช่างศิลปกรรม, บัญชี, การโรงแรม, คหกรรม ต่างๆ
ตามหลักแล้ว สายอาชีพ ปวช., ปวส. จะเป็นกลุ่มแรงงานฝีมือ ที่มีสายงานให้เติบโตได้ระดับหนึ่ง
แต่พอถึงจุดๆ นึง สายอาชีพ ทั้ง ปวช., ปวส. จะตันครับ ด้วยเพดานคุณวุฒิที่มี
ถ้าไม่ไปเรียนต่อ ป.ตรี ก็ไม่มีความก้าวหน้าเท่า ผู้จบ ป.ตรี เพราะ ปวส. เป็นคุณวุฒิที่ต่ำกว่า ป.ตรี
เช่น จบ ปวส. เป็นนายช่าง : จบ ป.ตรี เป็นวิศวกร เป็นต้น
ในอนาคต เพื่อความก้าวหน้า คนจบ ปวช., ปวส. จึงเหมือนถูกบังคับกลายๆ ว่าต้องมาเรียนต่อ ป.ตรี อยู่ดี
ข้อแนะนำ
- ถ้ายังไม่รู้แน่ หรือไม่แน่ใจ ว่าอยากเรียนต่อสาขาอะไร หรืออยากทำงานอะไรกันแน่ในอนาคต
แนะนำให้เรียน ม.ปลาย สายสามัญ แผนการเรียน วิทย์-คณิต
เพราะ ม.ปลาย สายวิทย์-คณิต มีสิทธิสมัครสอบเข้าเรียนต่อ ป.ตรี ได้ ทุกคณะ ทุกสาขาวิชา ทุกมหาวิทยาลัย
และเรียนต่อ ป.ตรี นั้นให้จบ
หรือต่อให้รู้แน่ๆ แล้ว ว่าอยากเรียนอะไร แต่ถ้าสาขาวิชานั้นๆ มีการสอนในระดับ ป.ตรี
ก็น่าจะเรียน ป.ตรี ครับ
เพราะ ฐานเงินเดือน เพดานเงินเดือน ความก้าวหน้า ในสายงานเดียวกัน ป.ตรี จะดีกว่า สายอาชีพ ปวส. ในอนาคตระยะยาวครับ
ข้อเสนอแนะ
- มีคนชอบบอกว่าให้เรียนสายอาชีพดีกว่า เพราะหางานง่ายกว่า ป.ตรี
สายอาชีพ หางานง่ายกว่า ป.ตรี จริง แต่เพราะค่าแรงถูกกว่า ป.ตรี ครับ
ในองค์กรเดียวกัน สายงานเดียวกัน ระยะเริ่มต้นเหมือนกัน คุณวุฒิสูงกว่า ย่อมได้ค่าแรงสูงกว่า ครับ
เช่น ปวส.ช่างไฟฟ้า VS ป.ตรี วิศวกรไฟฟ้า วิศวกร วุฒิ ป.ตรี ย่อมได้เงินเดือนสตาร์ทสูงกว่านายช่าง ปวส. ครับ
หรือ สอบข้าราชการทหาร ปวส. บัญชี บรรจุ ยศสิบตรี VS ป.ตรี บัญชี บรรจุ ยศร้อยตรี เงินเดือนเริ่ม/ตัน ความก้าวหน้า ของ ร้อยตรี ย่อมมากกว่า สิบตรี
ลองเลือกดู ว่าจะทำงานค่าแรง ปวส. หรือ ค่าแรง ป.ตรี ครับ
ข้อสังเกตส่วนตัว
- ผมสังเกตเองมาระยะหนึ่งแล้ว
พบว่าคนที่เรียนสายอาชีพมา และแนะนำให้ จขกท. (อื่นๆ) เรียนสายอาชีพ
แต่ตัวผู้แนะนำเอง ก็กลับเรียน ป.ตรี แทบทั้งนั้น (ไม่ว่า กำลังจะเรียน, กำลังเรียนอยู่, เรียนจบแล้ว ก็ตาม)
นั่นก็แปลว่า บุคคลเหล่านี้ ต่างก็รู้ดีว่า เรียน ป.ตรี ดีกว่านั่นเอง (ไม่งั้นจะเรียนทำไม)
คือ ผมไม่ได้บอกว่าการเรียนสายอาชีพไม่ดีนะครับ
เพียงแต่ ในระยะยาว ในสายงานอย่างเดียวกัน ในประเทศไทย สายอาชีพเติบโตสู้ระดับปริญญา ไม่ได้ครับ
ถึงแม้ว่าเร็ว ๆ นี้ จะมีผู้ใหญ่บางคนบอกว่าให้เรียนสายอาชีพ อย่าเรียน ป.ตรี ก็ตาม
แต่ถ้าถามกลับไปว่า ลองให้ลูกหลานของเขาคืนวุฒิ ปริญญา แล้วไปเอาวุฒิ สายอาชีพ มาหางานทำดูไหม
ผมว่าร้อยละ 99 ตอบไม่เอา
แสดงความคิดเห็น
การเรียนต่อสายอาชีพ