ทำไมกว่าหนึ่งปีมานี่ ผมถึงไม่วอแวฟาดฟัดกับสลิ่มชน มีคำตอบครับ ......................... โดย ตระกองขวัญ

กระทู้คำถาม
ยกตัวอย่าง   

กระทู้นี้  https://ppantip.com/topic/37946576


พร้อมแปะภาพนี้ในกระทู้



ผมก็เข้าไปแสดงความเห็น  https://ppantip.com/topic/37946576/comment6




เป็นการแสดงความเห็นด้วยเหตุผล ข้อมูล ข้อกฎหมาย  และมีคำเหน็บแนมบ้างพอเป็นกระสายกระตุ้นต่อมรับรู้ให้สลิ่ม

สิ่งที่สลิ่มตอบโต้กลับมาใน คห.6-1   คือแปะภาพเดิมนั่นแหละ  เพราะไม่รู้จะถกแย้งยังไง  
พร้อมเหน็บแนมว่า  สมองผมไปหมดแล้ว  
ก็ไม่รู้สมองใครกันแน่ล่ะครับที่ไปหมดแล้ว ฮ่าฮ่าฮ่า





นี่แหละครับ  ผมถึง เอือมมมม... สลิ่ม    ไม่วอแวฟาดฟัดด้วยมากว่าปีแล้ว




สลิ่มไม่รู้เรื่อง  ไม่มีแม้ความเข้าใจในเรื่องที่ตัวเองนำมาใช้เป็นประเด็นในการตั้งกระทู้
แค่วิ่งไปตามเฟซบุค  ตามเว็บต่าง ๆ   เห็นอะไรที่คิดว่าหยิบมาเล่นได้  มาเหน็บแนมเสีวดสีถากถางได้  ก็เอามา
เอามาแบบไม่คิด ไม่พิจารณา ไม่รู้เรื่อง ไม่อะไรเลย  โดยเฉพาะเรื่องความรู้ เรื่องเหตุผล  สลิ่มจะไม่คำนึงถึงเลย

ตอบโต้ไปก็เท่านั้น   อธิบายไปก็เท่านั้น   เถียงไปก็เท่านั้น

บางเรื่อง  หลายประเด็น  สลิ่มเอามาเล่นแบบไม่ดูตาม้าตาเรือด้วยซ้ำ
ว่าเนื้อหาที่หยิบมานั้นเขาสื่อถึงอะไร   แค่เห็นคำว่าทักษิณ คำว่ายิ่งลักษณ์  ก็เอามาเล่น
ทั้งที่เนื้อหาเขาว่าถึงเรื่องที่ทักษิณ - ยิ่งลักษณ์  โดนความไม่เป็นธรรมเล่นงานแท้ ๆ   สลิ่มก็ยังเอามาเย้ว ๆ

แล้วจะไปเอาอะไรกับสลิ่มครับ ?




สังคมที่มีแต่คนแก่กับเด็ก  จะเป็นสังคมที่ขาดคนวัยทำงาน
ผลกระทบก็คือ  ผลิต สร้าง ในสิ่งที่สังคมต้องการได้ไม่พอ  ต้องนำเข้า  ต้องจ่าย  มากกว่ารับ และส่งออก

สังคมที่มีแต่สลิ่ม   จะเป็นสังคมที่ขาดภูมิปัญญา
สภาพสังคมจะเป็นอย่างไร   ไม่กล้าจินตนาการครับ

อย่างที่มีวลีที่ว่า   เพราะสังคมไทยมีสลิ่มมากเกินไป   นั่นแหละครับ




จึงยังขอหล่อไปวัน ๆ  ไม่ฟาดฟันสลิ่ม
อมยิ้ม21


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ลูกกระจ๊อกหน้าเหลี่ยม ไม่วอแวแต่มาตั้งกากทู้โชว์รอยหยักในสมองอันน้อยนิด ไปอ่านคำพิพากษาไปแล้วหัดเคารพคำตัดสินเสียบ้างไม่ใช่สักแต่จะหนีแล้วปล่อยให้ลิ่วล้อติดคุก

องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 9 คน ใช้เวลานาน 4 ชั่วโมงในการประชุมเพื่อจัดทำ "คำวินิจฉัยกลาง" และใช้เวลาอีก 4 ชั่วโมง ในการอ่านคำพิพากษาศาลคดีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ที่มีความหนากว่า 90 หน้า

บีบีซีไทยสรุปข้อต่อสู้ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่ศาลระบุว่า "ฟังไม่ขึ้น" และเห็นว่าจำเลยผิดตามคำฟ้อง จนนำมาสู่คำพิพากษาจำคุก 5 ปี โดยมีมติเอกฉันท์ "ไม่รอลงอาญา"

จำเลยอ้างว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไม่มีอำนาจไต่สวนจำเลย ในฐานะนายกฯ ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 บัญญัติให้องค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยแบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ เพื่อให้มีกลไกตรวจสอบถ่วงดุลกัน ซึ่งสามารถตรวจสอบการใช้อำนาจได้ทั้งทางการเมืองและโดยองค์กรตุลาการหรือศาล อีกทั้งรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา และต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา แสดงให้เห็นว่าการกระทำของฝ่ายบริหารสามารถตรวจสอบได้ อย่างไรก็ตามศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่านโยบายของรัฐบาลชอบด้วยกฎหมายหรือมีความเหมาะสมหรือไม่

แม้โครงการรับจำนำข้าวเป็นการดำเนินนโยบายตามที่รัฐบาลแถลงไว้ต่อรัฐสภา แต่หากปรากฏว่าขั้นตอนการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย ย่อมถูกตรวจสอบได้ อีกทั้งกรณีนี้เป็นการกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่เป็นการตำหนิข้อบกพร่องหรือการดำเนินนโยบายผิดพลาดที่ต้องรับผิดชอบต่อสภา หรือวุฒิสภา จึงอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช.

จากการไต่สวนของศาลฯ พบว่า ทั้ง ป.ป.ช. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาลหลายครั้ง เพื่อชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว การทุจริตและขั้นตอนที่ไม่สามารถควบคุมให้เกิดประสิทธิภาพได้ ผลกระทบต่องบประมาณแผ่นดิน พร้อมจัดทำข้อเสนอให้ปรับเปลี่ยนนโยบาย อย่างไรก็ตาม ครม.ได้อนุมัติโครงการรับจำนำข้าวรวม 5 ฤดูกาลผลิต นับจากปี 2554-2557

หากพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่มีการรายงานข้อมูลต่อที่ประชุม กขช. พบว่าเกิดปัญหาหลายประการ เช่น การสวมสิทธิ์ชาวนา นำข้าวจากต่างประเทศมาจำนำ ออกใบประทวนเท็จ ใช้เอกสารปลอม ขนข้าวโดยไม่ได้รับอนุญาต เปิดจุดจำนำนอกพื้นที่ ฯลฯ โดยพบผู้กระทำผิดรวม 7,096 คน (รายงานครั้งที่ 1 จำนวน 1,184 คน ครั้งที่ 2 จำนวน 2,042 คน และครั้งที่ 3 จำนวน 3,870 คน และมีการดำเนินคดี 105 คดี

แม้ กขช. และ ครม. ได้ออกมาตรการป้องกันความเสียหาย แต่เมื่อถึงขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นภาระงบประมาณแผ่นดินจำนวนมาก ปรากฏข้อมูลตามรายงานของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน รวม 3 รอบบัญชี ซึ่งจนถึงเดือน ก.ย. 2557 พบว่ามีการใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการนี้ไปแล้วกว่า 8 แสนล้านบาท เกินจากกรอบงบประมาณ 5 แสนล้านบาทที่รัฐบาลกำหนดไว้ อีกทั้งยังขาดทุนไปกว่า 5.85 แสนล้านบาท และยังมีหนี้ค้างชำระเพิ่มต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าแผนบริหารจัดการข้าวของรัฐบาลขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

"หลังจำเลยรู้ข้อมูลคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ ก็เพียงแต่ 'เห็นชอบตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนอ และจะนำข้อสังเกตและข้อเสนอของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ เสนอ ครม. เพื่อทราบ' เท่านั้น หากจำเลยให้ความสำคัญ ผลการดำเนินการก็จะเกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากกว่านี้"

จำเลยอ้างว่าการนำสำนวนคดีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรมว.พาณิชย์กับพวก มาร่วมพิจารณาด้วย อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย

จากการไต่สวนของศาลฯ พบว่า จำเลยรับรู้ข้อมูลของการระบายข้าวแบบจีทูจี ระหว่างกรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ กับบริษัทกว่างตง และบริษัทไห่หนาน ของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวม 4 สัญญา เป็นอย่างดี โดยจำเลยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2555 ยืนยันว่า "มีการส่งออกจริง" และ "เห็นสัญญาซื้อขายแล้วค่ะ" แสดงว่าจำเลยรับรู้เรื่องการระบายข้าวที่สมอ้างว่าเป็นการระบายแบบจีทูจี แต่ความจริงเป็นการนำข้าวมาเวียนขายในประเทศ ให้คนบางกลุ่มเข้าแสวงหาผลประโยชน์

ก่อนเริ่มโครงการทาง สตง. และ ป.ป.ช. ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาล แสดงว่าได้รับทราบข้อมูลเป็นระยะๆ แต่จำเลยไม่ติดตามตรวจสอบ จะเห็นว่าไปประชุม กขช. แค่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2554 ส่วนการประชุม กขช. อีก 22 นัด หาได้ร่วมประชุมเพื่อติดตามให้โครงการมีประสิทธิภาพตามที่บอกไว้ นอกจากนี้ยังแต่งตั้ง พ.ต.นพ. วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ หรือ "หมอโด่ง" เป็นอนุกรรมการเกี่ยวกับการระบายข้าวหลายชุด ซึ่งต่อมาหมอโด่งตกเป็นจำเลยคดีทุจริตการระบายข้าวแบบจีทูจี

อีกทั้งยังมีข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก ทั้งจากการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน การตั้งกระทู้ถามในสภา แทนที่จำเลยจะระงับยับยั้งความเสียหาย แต่กลับยืนยันที่จะดำเนินโครงการต่อไป จนเกิดความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ

"เมื่อนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ถูกกล่าวหาว่าทุจริต และมีตำแหน่งเป็นถึงรัฐมนตรี การรอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบ แล้วรายงานผลขึ้นมาไม่เพียงพอ หากไม่มีการปล่อยปละละเลย ก็จะไม่กระทบงบประมาณแผ่นดินขนาดนี้"

"นับจากวันอภิปรายไม่ไว้วางใจ 26 พ.ย. 2555 ยังมีเวลาเพียงพอในการตรวจสอบ หากจำเลยจะตรวจสอบอย่างจริงจัง เหมือนกรณีที่สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบโครงการข้าวถุงราคาถูก แต่กรณีกลับไม่ดำเนินการ ทั้งที่ทำได้โดยอาศัยอำนาจนายกรัฐมนตรี จึงมีพฤติการณ์ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และส่อแสดงเจตนาให้นายบุญทรงกับพวก แสวงหาผลประโยชน์โดยทุจริตจากโครงการ โดยสมอ้างว่าเป็นการระบายข้าวแบบจีทูจี ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศ ซึ่งถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่"

การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ลงโทษจำคุก 5 ปี โดยมีมติเอกฉันท์ไม่รอลงอาญา
ความคิดเห็นที่ 6
ต้องให้ตอกย้ำสมองช้า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่