© ไทยรัฐออนไลน์ ภาพประกอบข่าว
ฮือฮา กรมปศุสัตว์สามารถแจ้งเกิดลูกควายหลอดแก้วหลังจากซุ่มเงียบทดสอบเทคโนโลยีนาน 14 ปี เพิ่มความหวังป้องกันควายไทยสูญพันธุ์...
เมื่อวันที่ 10 ส.ค. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากปัญหาประชากรควายไทยเร่ิมปริมาณลดลง สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะคนไทยหันไปใช้เครื่องทุ่นแรง ทำให้คนไทยเร่ิมไม่สนใจเลี้ยงควายไว้ในบ้านเหมือนอดีต กระทั่งสุ่มเสี่ยงทำให้ควายไทยอาจเหลือแค่รูปภาพให้เด็กรุ่นหลังได้รู้จัก ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาควายไทยสูญพันธุ์ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีทางระบบสืบพันธุ์ เพื่อช่วยผลิตสัตว์พันธุ์ดี อนุรักษ์ เก็บรักษาพันธุกรรมและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ ทดลองผลิตตัวอ่อนควายปลักด้วยวิธีปฏิสนธินอกร่างกาย หรือเรียกว่า ตัวอ่อนหลอดแก้ว ด้วยการเก็บน้ำเชื้อแช่แข็งควายปลักไทยพันธุ์ดีไว้ แล้วนำน้ำเชื้อดังกล่าว แช่แข็งถูกเก็บรักษาไว้ภายใต้ไนโตรเจนเหลวมาตั้งแต่ปี 2547-2548
ทั้งนี้ กระทั่งเมื่อวันที่ 23 ส.ค.2560 ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการย้ายฝากตัวอ่อนและเซลล์สืบพันธุ์สัตว์ จ.นครราชสีมา และศูนย์วิจัยและพัฒนากระบือ จ.สุรินทร์ ได้นำน้ำเชื้อตัวอ่อนที่เก็บรักษาไว้นาน 14 ปี นำมาผสมฝากไว้กับควายเพศเมียที่อยู่ในศูนย์วิจัยและพัฒนากระบือ จ.สุรินทร์ และล่าสุดเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ควายเพศเมียตัวดังกล่าวได้ตกลูกออกมาเป็นเพศเมีย น้ำหนักแรกเกิด 35 กิโลกรัม ส่วนสูง 71 ลำตัวยาว 64 วัดรอบอก 73 เซนติเมตร ซึ่งรูปร่างดังกล่าวถือว่าได้มาตรฐานควายไทย.
ไทยรัฐออนไลน์
ควายหลอดแก้ว แจ้งเกิดได้ในไทย ฝีมือกรมปศุสัตว์
ฮือฮา กรมปศุสัตว์สามารถแจ้งเกิดลูกควายหลอดแก้วหลังจากซุ่มเงียบทดสอบเทคโนโลยีนาน 14 ปี เพิ่มความหวังป้องกันควายไทยสูญพันธุ์...
เมื่อวันที่ 10 ส.ค. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากปัญหาประชากรควายไทยเร่ิมปริมาณลดลง สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะคนไทยหันไปใช้เครื่องทุ่นแรง ทำให้คนไทยเร่ิมไม่สนใจเลี้ยงควายไว้ในบ้านเหมือนอดีต กระทั่งสุ่มเสี่ยงทำให้ควายไทยอาจเหลือแค่รูปภาพให้เด็กรุ่นหลังได้รู้จัก ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาควายไทยสูญพันธุ์ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีทางระบบสืบพันธุ์ เพื่อช่วยผลิตสัตว์พันธุ์ดี อนุรักษ์ เก็บรักษาพันธุกรรมและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ ทดลองผลิตตัวอ่อนควายปลักด้วยวิธีปฏิสนธินอกร่างกาย หรือเรียกว่า ตัวอ่อนหลอดแก้ว ด้วยการเก็บน้ำเชื้อแช่แข็งควายปลักไทยพันธุ์ดีไว้ แล้วนำน้ำเชื้อดังกล่าว แช่แข็งถูกเก็บรักษาไว้ภายใต้ไนโตรเจนเหลวมาตั้งแต่ปี 2547-2548
ทั้งนี้ กระทั่งเมื่อวันที่ 23 ส.ค.2560 ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการย้ายฝากตัวอ่อนและเซลล์สืบพันธุ์สัตว์ จ.นครราชสีมา และศูนย์วิจัยและพัฒนากระบือ จ.สุรินทร์ ได้นำน้ำเชื้อตัวอ่อนที่เก็บรักษาไว้นาน 14 ปี นำมาผสมฝากไว้กับควายเพศเมียที่อยู่ในศูนย์วิจัยและพัฒนากระบือ จ.สุรินทร์ และล่าสุดเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ควายเพศเมียตัวดังกล่าวได้ตกลูกออกมาเป็นเพศเมีย น้ำหนักแรกเกิด 35 กิโลกรัม ส่วนสูง 71 ลำตัวยาว 64 วัดรอบอก 73 เซนติเมตร ซึ่งรูปร่างดังกล่าวถือว่าได้มาตรฐานควายไทย.
ไทยรัฐออนไลน์