By มาร์ตี้ แม็คฟราย
ความพยายามจะกู้คืนสถานะที่ควรจะเป็นของสตูดิโอในตำนานอย่าง ไท เอนเตอร์เทนเมนต์ ที่ได้กลายร่างเป็น ทีโมเมนต์ ในเวลานี้ กับหนังเรื่องที่สองของสตูดิโออย่าง App War แอปชนแอป กลายเป็นผลงานที่มีผลลัพธ์ออกมาน่าชื่นชมในด้านของความแปลกใหม่ และคุณภาพของตัวภาพยนตร์
หลังจากล้มเหลวมาในหนังเรื่องแรก ทางทีโมเมนต์ยังคงเดินหน้าหาความแปลกใหม่ให้กับวงการหนังไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเอาเข้าจริงตัวหนังเรื่องก่อนอย่าง โอเวอร์ไซส์ ทลายพุง ก็ไม่ใช่หนังที่แย่ และมีความบันเทิงค่อนข้างมาก แถมยังหยิบประเด็นคนอ้วนมาเล่น ในรูปแบบตำรวจจับผู้ร้ายในอารมณ์คล้าย Hot Fuzz (2007) ของ เอ็ดการ์ ไรท์ อีกต่างหาก ซึ่งสามารถนับได้เหมือนกันว่านี่ก็เป็นการเปิดรูปแบบรวมถึงประเด็นใหม่ ๆ ที่หนังไทยไม่ได้พบมานาน
พอมาถึงเรื่องล่าสุดก็ยังนำประเด็นเรื่องธุรกิจ Startup อันเป็นธุรกิจยอดฮิตสำหรับวัยรุ่นแห่งยุคสมัยปัจจุบันโดยนำมาผสมกับเรื่อง Application บนมือถือที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งต้องกล่าวว่านอกจากจะเป็นเนื้อหาที่ทันยุคทันสมัยแล้ว หนังยังพาไปเข้าถึงประเด็นเรื่อง ความสัมพันธ์ ของผู้คนในยุคที่สัญญาณ 4G และสังคมในอากาศมีความสำคัญเหนือการพูดคุยกันด้วยวาจา
ความฝันมนุษย์กรุงเทพฯ
แน่นอนว่ายุคสมัยนี้ ผู้คนที่มีอายุอยู่ในช่วงเพิ่งเริ่มทำงานหรือวัยรุ่นที่กำลังจะต้องมีสถานะเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ไม่ได้ใฝ่ฝันกับตำแหน่งใหญ่โตเป็นพนักงานเงินเดือนอีกแล้ว ด้วยอิทธิพลจากอินเตอร์เน็ตที่เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ทำให้เกิดธุรกิจ Startup ยอดนิยมที่บรรดาวัยรุ่นสนใจที่จะเป็นนายตัวเอง เหนื่อยครั้งเดียว แต่มีเงินตลอดชาติ และมีความฝันที่จะเปลี่ยนโลก อย่างที่บุคคลในเรื่องสองกลุ่มนี้อย่าง Inviter และ Amjoin เป็นต้น
หนังจึงเปิดโอกาสให้หนังสามารถเล่าเรื่องโครงสร้างธุรกิจ Startup ด้วย Application แบบคร่าว ๆ จนเป็นเรื่องของคนสองกลุ่มที่ต้องแข่งแย่งกัน (เพราะมี Concept แอปที่เหมือนกัน) เพื่อให้ได้ทุนมาเริ่มธุรกิจในฝันของตนเอง
ลองสังเกตดูว่าหนังเรื่องนี้ได้ถ่ายทอดบรรยากาศของกรุงเทพ ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศออฟฟิศ ถนนที่มีรถวิ่ง ร้านอาหารอินเดีย หรือแม้แต่ร้านอาหารญี่ปุ่นได้อย่างสวยงามเสมือนฝัน จนทำให้กรุงเทพน่าอยู่ไปโดยปริยายแบบนี้ ก็คงเป็นความจงใจที่ต้องการเสริมประเด็นการเอาชนะและค่านิยมที่มองว่าธุรกิจนี้เป็นความฝันอันสวยงามที่หากไปถึงแล้ว ชีวิตจะมีแต่ความสุขของคนกรุงรุ่นใหม่ ผ่านการเอาชนะของคนสองกลุ่มนี้ โดยยังไม่รวมถึงการเลือกเครื่องแต่งกายที่เสมือนว่ามาเดินแฟชั่นกันตลอดเวลา (ทั้งที่ออฟฟิศตั้งอยู่ในโรงงานเหล็ก ไม่ใช่ตึกสูงแถวสาธรหรืออโศก) ก็ยิ่งขับเน้นเรื่องการอยู่บนโลกที่ถูกปรุงแต่งโดยวิธีการของศิลปะภาพยนตร์อย่างชัดเจน
โดยที่ผู้นำของทั้งสองกลุ่มที่แข่งขันกันอย่าง บอม และ จูน ต่างลืมไปว่าประเด็นเรื่อง ความสัมพันธ์ ระหว่างคนสองคน ไม่สามารถพัฒนาได้ด้วยเทคโนโลยี ทั้งที่จุดเริ่มต้นของแนวคิดของแอปที่ทั้งสองคนพยายามจะทำต่างก็เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่
นักแสดงหน้าใหม่ทั้งขบวน
นับเป็นความกล้าหาญอีกอย่างของสตูดิโอที่เลือกใช้นักแสดงวัยรุ่นที่พอมีชื่อเสียงในแวดวงมิวสิกวีดิโอและโฆษณา มารับบทนำในหนัง ทั้งที่โดยส่วนใหญ่ไม่เคยมีผลงานการแสดงหนังมาก่อนเลย ซึ่งผลลัพธ์ถือว่าอยู่ในระดับน่าชื่นชมที่นักแสดงเหล่านั้นต่างก็งัดเสน่ห์และฝีมือการแสดงออกมาได้แบบสอบผ่าน โดยเฉพาะกับรายของ จิงจิง วริศรา ที่เอาอยู่ทั้งในพาร์ทของอารมณ์สดใสและดราม่า ประกอบกับเสน่ห์ส่วนตัวที่โดดเด่นกว่าใครเพื่อน รวมถึงนักแสดงร่วมจอคนอื่นก็ถือว่ามีระดับมาตรฐานที่ดีในแคแรกเตอร์ของตนเอง
จะมีปัญหาก็แต่ตัวละครฝั่ง Amjoin ทั้งสองคนในทีม ที่คงต้องโทษเรื่องบทภาพยนตร์ที่ไม่สามารถกระจายตัวละครได้ดีพอ ทำให้สองตัวละครนี้เป็นตัวละครที่คนดูรู้จักเขาน้อยเหลือเกิน เพราะเราแทบไม่ได้เห็นแง่มุมอื่น ๆ นอกจากการคิดเอาชนะโดยไม่สนวิธีการ การพูดการจาที่ยุยงและเกรี้ยวกราดเพียงอย่างเดียวจนทำให้คนดูไม่เกิดความรักสองตัวละครนี้เลยแม้แต่นิด ไม่เหมือนกับฝั่ง Inviter ที่บทหนังเปิดโอกาสให้เรารู้จักพวกเขามากกว่า ทั้งเหตุการณ์ปัญหาต่าง ๆ การมีปัญหากัน รวมถึงการเจาะจงและคลายปมความคิดของตัวละคร
จนมาถึงรายของขวัญใจ ‘โอตะ’ มหาชน อย่าง อร BNK48 ที่จุดประสงค์การมีอยู่ของตัวละครนี้ชัดเจนเหลือเกิน และหนังก็ตอบจุดประสงค์นั้นได้เป็นอย่างดี กับการแสดงในหลายครั้งในการเล่นหูเล่นตากับกล้องที่อาจทำให้เหล่าโอตะตายคาโรง ซึ่งในจุดนั้นไม่ใช่ปัญหาของอร เพราะเป็นจุดแข็งที่เสริมกับบทบาทและการมีอยู่ของเขาอยู่แล้ว แถมรวม ๆ ก็นับว่าแสดงได้โอเคเลยสำหรับไอดอลที่ไม่เคยแสดงอะไรมาก่อนเลย แต่พอมาถึงพาร์ทดราม่าที่ไม่ได้อาศัยและเสน่ห์ความน่ารักจากรูปลักษณ์ภายนอก อรก็ยังคงต้องฝึกฝนต่อไปเหมือนกัน เพราะยังทำได้ไม่ถึง แถมผู้กำกับยังปล่อยซีนดราม่าให้ยาวเกินไปอีกด้วย ทำให้รอยแผลจากการแสดงนี้ชัดเจนไปอีก
โลกความจริงเมื่อตื่น
สงครามธุรกิจระหว่างแอปสองแอป ในคราวแรกดำเนินไปพร้อมความสัมพันธ์ที่ขับเคลื่อน แต่พอถึงจุดหนึ่งที่ความขัดแย้งดำเนินไปถึงจุดแตกหักจากองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างที่ส่งผลให้ทุกอย่างพังทลายลง รวมถึงความสัมพันธ์ที่เป็นจุดเริ่มต้น
เมื่อนั้นเองโลกความฝันที่เคยสวยหรูของทั้งสองคนก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป กลายเป็นโลกความจริงที่ต้องยอมรับความสิ่งที่ทั้งสองคนคิด สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยความฝันเท่านั้น
บทสรุปของหนังเรื่องเป็นเครื่องยืนยันถึงประเด็นในเรื่องความสัมพันธ์ที่ไม่อาจเติบโตได้ด้วยแอป, รหัสอัลกอริทึ่ม หรือเทคโนโลยีใด ๆ มันดำเนินด้วยความรู้สึกของคนสองคนที่เกิดขึ้น พูดคุยด้วยวาจา รู้สึกผ่านภาษากายและสายตา นำไปสู่สาเหตุของบอมที่แม้จะเป็นผู้ชนะ แต่เขารู้แล้วว่าแอปพลิเคชั่นที่เขาตั้งใจสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนที่ชอบอะไรเหมือนกันให้มาเจอกัน ก็ไม่ได้ทำให้เขาได้เจอกับจูนอีกต่อไป เขาเจอคนมากมายที่ชอบอะไรเหมือนกัน แต่เขาไม่เคยรู้สึกกับใครเหมือนกับจูน เขาสร้างแอปเพื่อสร้างความสัมพันธ์ แต่แอปนี้กลับทำลายความสัมพันธ์ของตัวเขาเอง
ในตอนจบที่เราได้เห็นบอมได้กลายเป็นฟรีแลนซ์ธรรมดาที่รับงานเขียนโปรแกรม ไม่ได้เป็นนักธุรกิจ Startup มือทองอย่างที่ตั้งใจ ก็เปรียบได้ว่านี่แหละคือโลกความจริง ขณะเดียวกันจูนที่ต้องกลายเป็นพนักงานออฟฟิศที่ตนเองเคยพยายามจะหลีกหนี ก็เป็นโลกความจริง
โลกความจริงที่ทุกสิ่งไม่ได้ง่ายเหมือนกับโลกความฝันในช่วงแรกของหนังที่ทุกอย่างดำเนินไปอย่างเรียบง่ายไร้อุปสรรค
โลกความจริงที่อาชีพในฝัน ก็ไม่ใช่สิ่งใครเลือกได้
โลกความจริงที่ความสัมพันธ์ของมนุษย์ไม่สามารถดำเนินไปด้วยแอป
และการลงเอยกันอย่างเข้าใจของคนสองคน ที่ไม่ได้มีเรื่องแอป, การแข่งขัน และธุรกิจ Startup มาเป็นส่วนประกอบ แต่เป็นความรู้สึกของทั้งคู่เท่านั้นที่เป็นตัวกำหนด
สิ่งนี้เอง ที่เป็นความจริง .
ติดตามบทความจากภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆได้ที่
https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft
[Review] App War แอปชนแอป: ความฝัน, ความจริง ของคนกรุงฯ [Spoil!]
By มาร์ตี้ แม็คฟราย
ความพยายามจะกู้คืนสถานะที่ควรจะเป็นของสตูดิโอในตำนานอย่าง ไท เอนเตอร์เทนเมนต์ ที่ได้กลายร่างเป็น ทีโมเมนต์ ในเวลานี้ กับหนังเรื่องที่สองของสตูดิโออย่าง App War แอปชนแอป กลายเป็นผลงานที่มีผลลัพธ์ออกมาน่าชื่นชมในด้านของความแปลกใหม่ และคุณภาพของตัวภาพยนตร์
หลังจากล้มเหลวมาในหนังเรื่องแรก ทางทีโมเมนต์ยังคงเดินหน้าหาความแปลกใหม่ให้กับวงการหนังไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเอาเข้าจริงตัวหนังเรื่องก่อนอย่าง โอเวอร์ไซส์ ทลายพุง ก็ไม่ใช่หนังที่แย่ และมีความบันเทิงค่อนข้างมาก แถมยังหยิบประเด็นคนอ้วนมาเล่น ในรูปแบบตำรวจจับผู้ร้ายในอารมณ์คล้าย Hot Fuzz (2007) ของ เอ็ดการ์ ไรท์ อีกต่างหาก ซึ่งสามารถนับได้เหมือนกันว่านี่ก็เป็นการเปิดรูปแบบรวมถึงประเด็นใหม่ ๆ ที่หนังไทยไม่ได้พบมานาน
พอมาถึงเรื่องล่าสุดก็ยังนำประเด็นเรื่องธุรกิจ Startup อันเป็นธุรกิจยอดฮิตสำหรับวัยรุ่นแห่งยุคสมัยปัจจุบันโดยนำมาผสมกับเรื่อง Application บนมือถือที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งต้องกล่าวว่านอกจากจะเป็นเนื้อหาที่ทันยุคทันสมัยแล้ว หนังยังพาไปเข้าถึงประเด็นเรื่อง ความสัมพันธ์ ของผู้คนในยุคที่สัญญาณ 4G และสังคมในอากาศมีความสำคัญเหนือการพูดคุยกันด้วยวาจา
ความฝันมนุษย์กรุงเทพฯ
แน่นอนว่ายุคสมัยนี้ ผู้คนที่มีอายุอยู่ในช่วงเพิ่งเริ่มทำงานหรือวัยรุ่นที่กำลังจะต้องมีสถานะเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ไม่ได้ใฝ่ฝันกับตำแหน่งใหญ่โตเป็นพนักงานเงินเดือนอีกแล้ว ด้วยอิทธิพลจากอินเตอร์เน็ตที่เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ทำให้เกิดธุรกิจ Startup ยอดนิยมที่บรรดาวัยรุ่นสนใจที่จะเป็นนายตัวเอง เหนื่อยครั้งเดียว แต่มีเงินตลอดชาติ และมีความฝันที่จะเปลี่ยนโลก อย่างที่บุคคลในเรื่องสองกลุ่มนี้อย่าง Inviter และ Amjoin เป็นต้น
หนังจึงเปิดโอกาสให้หนังสามารถเล่าเรื่องโครงสร้างธุรกิจ Startup ด้วย Application แบบคร่าว ๆ จนเป็นเรื่องของคนสองกลุ่มที่ต้องแข่งแย่งกัน (เพราะมี Concept แอปที่เหมือนกัน) เพื่อให้ได้ทุนมาเริ่มธุรกิจในฝันของตนเอง
ลองสังเกตดูว่าหนังเรื่องนี้ได้ถ่ายทอดบรรยากาศของกรุงเทพ ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศออฟฟิศ ถนนที่มีรถวิ่ง ร้านอาหารอินเดีย หรือแม้แต่ร้านอาหารญี่ปุ่นได้อย่างสวยงามเสมือนฝัน จนทำให้กรุงเทพน่าอยู่ไปโดยปริยายแบบนี้ ก็คงเป็นความจงใจที่ต้องการเสริมประเด็นการเอาชนะและค่านิยมที่มองว่าธุรกิจนี้เป็นความฝันอันสวยงามที่หากไปถึงแล้ว ชีวิตจะมีแต่ความสุขของคนกรุงรุ่นใหม่ ผ่านการเอาชนะของคนสองกลุ่มนี้ โดยยังไม่รวมถึงการเลือกเครื่องแต่งกายที่เสมือนว่ามาเดินแฟชั่นกันตลอดเวลา (ทั้งที่ออฟฟิศตั้งอยู่ในโรงงานเหล็ก ไม่ใช่ตึกสูงแถวสาธรหรืออโศก) ก็ยิ่งขับเน้นเรื่องการอยู่บนโลกที่ถูกปรุงแต่งโดยวิธีการของศิลปะภาพยนตร์อย่างชัดเจน
โดยที่ผู้นำของทั้งสองกลุ่มที่แข่งขันกันอย่าง บอม และ จูน ต่างลืมไปว่าประเด็นเรื่อง ความสัมพันธ์ ระหว่างคนสองคน ไม่สามารถพัฒนาได้ด้วยเทคโนโลยี ทั้งที่จุดเริ่มต้นของแนวคิดของแอปที่ทั้งสองคนพยายามจะทำต่างก็เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่
นักแสดงหน้าใหม่ทั้งขบวน
นับเป็นความกล้าหาญอีกอย่างของสตูดิโอที่เลือกใช้นักแสดงวัยรุ่นที่พอมีชื่อเสียงในแวดวงมิวสิกวีดิโอและโฆษณา มารับบทนำในหนัง ทั้งที่โดยส่วนใหญ่ไม่เคยมีผลงานการแสดงหนังมาก่อนเลย ซึ่งผลลัพธ์ถือว่าอยู่ในระดับน่าชื่นชมที่นักแสดงเหล่านั้นต่างก็งัดเสน่ห์และฝีมือการแสดงออกมาได้แบบสอบผ่าน โดยเฉพาะกับรายของ จิงจิง วริศรา ที่เอาอยู่ทั้งในพาร์ทของอารมณ์สดใสและดราม่า ประกอบกับเสน่ห์ส่วนตัวที่โดดเด่นกว่าใครเพื่อน รวมถึงนักแสดงร่วมจอคนอื่นก็ถือว่ามีระดับมาตรฐานที่ดีในแคแรกเตอร์ของตนเอง
จะมีปัญหาก็แต่ตัวละครฝั่ง Amjoin ทั้งสองคนในทีม ที่คงต้องโทษเรื่องบทภาพยนตร์ที่ไม่สามารถกระจายตัวละครได้ดีพอ ทำให้สองตัวละครนี้เป็นตัวละครที่คนดูรู้จักเขาน้อยเหลือเกิน เพราะเราแทบไม่ได้เห็นแง่มุมอื่น ๆ นอกจากการคิดเอาชนะโดยไม่สนวิธีการ การพูดการจาที่ยุยงและเกรี้ยวกราดเพียงอย่างเดียวจนทำให้คนดูไม่เกิดความรักสองตัวละครนี้เลยแม้แต่นิด ไม่เหมือนกับฝั่ง Inviter ที่บทหนังเปิดโอกาสให้เรารู้จักพวกเขามากกว่า ทั้งเหตุการณ์ปัญหาต่าง ๆ การมีปัญหากัน รวมถึงการเจาะจงและคลายปมความคิดของตัวละคร
จนมาถึงรายของขวัญใจ ‘โอตะ’ มหาชน อย่าง อร BNK48 ที่จุดประสงค์การมีอยู่ของตัวละครนี้ชัดเจนเหลือเกิน และหนังก็ตอบจุดประสงค์นั้นได้เป็นอย่างดี กับการแสดงในหลายครั้งในการเล่นหูเล่นตากับกล้องที่อาจทำให้เหล่าโอตะตายคาโรง ซึ่งในจุดนั้นไม่ใช่ปัญหาของอร เพราะเป็นจุดแข็งที่เสริมกับบทบาทและการมีอยู่ของเขาอยู่แล้ว แถมรวม ๆ ก็นับว่าแสดงได้โอเคเลยสำหรับไอดอลที่ไม่เคยแสดงอะไรมาก่อนเลย แต่พอมาถึงพาร์ทดราม่าที่ไม่ได้อาศัยและเสน่ห์ความน่ารักจากรูปลักษณ์ภายนอก อรก็ยังคงต้องฝึกฝนต่อไปเหมือนกัน เพราะยังทำได้ไม่ถึง แถมผู้กำกับยังปล่อยซีนดราม่าให้ยาวเกินไปอีกด้วย ทำให้รอยแผลจากการแสดงนี้ชัดเจนไปอีก
โลกความจริงเมื่อตื่น
สงครามธุรกิจระหว่างแอปสองแอป ในคราวแรกดำเนินไปพร้อมความสัมพันธ์ที่ขับเคลื่อน แต่พอถึงจุดหนึ่งที่ความขัดแย้งดำเนินไปถึงจุดแตกหักจากองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างที่ส่งผลให้ทุกอย่างพังทลายลง รวมถึงความสัมพันธ์ที่เป็นจุดเริ่มต้น
เมื่อนั้นเองโลกความฝันที่เคยสวยหรูของทั้งสองคนก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป กลายเป็นโลกความจริงที่ต้องยอมรับความสิ่งที่ทั้งสองคนคิด สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยความฝันเท่านั้น
บทสรุปของหนังเรื่องเป็นเครื่องยืนยันถึงประเด็นในเรื่องความสัมพันธ์ที่ไม่อาจเติบโตได้ด้วยแอป, รหัสอัลกอริทึ่ม หรือเทคโนโลยีใด ๆ มันดำเนินด้วยความรู้สึกของคนสองคนที่เกิดขึ้น พูดคุยด้วยวาจา รู้สึกผ่านภาษากายและสายตา นำไปสู่สาเหตุของบอมที่แม้จะเป็นผู้ชนะ แต่เขารู้แล้วว่าแอปพลิเคชั่นที่เขาตั้งใจสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนที่ชอบอะไรเหมือนกันให้มาเจอกัน ก็ไม่ได้ทำให้เขาได้เจอกับจูนอีกต่อไป เขาเจอคนมากมายที่ชอบอะไรเหมือนกัน แต่เขาไม่เคยรู้สึกกับใครเหมือนกับจูน เขาสร้างแอปเพื่อสร้างความสัมพันธ์ แต่แอปนี้กลับทำลายความสัมพันธ์ของตัวเขาเอง
ในตอนจบที่เราได้เห็นบอมได้กลายเป็นฟรีแลนซ์ธรรมดาที่รับงานเขียนโปรแกรม ไม่ได้เป็นนักธุรกิจ Startup มือทองอย่างที่ตั้งใจ ก็เปรียบได้ว่านี่แหละคือโลกความจริง ขณะเดียวกันจูนที่ต้องกลายเป็นพนักงานออฟฟิศที่ตนเองเคยพยายามจะหลีกหนี ก็เป็นโลกความจริง
โลกความจริงที่ทุกสิ่งไม่ได้ง่ายเหมือนกับโลกความฝันในช่วงแรกของหนังที่ทุกอย่างดำเนินไปอย่างเรียบง่ายไร้อุปสรรค
โลกความจริงที่อาชีพในฝัน ก็ไม่ใช่สิ่งใครเลือกได้
โลกความจริงที่ความสัมพันธ์ของมนุษย์ไม่สามารถดำเนินไปด้วยแอป
และการลงเอยกันอย่างเข้าใจของคนสองคน ที่ไม่ได้มีเรื่องแอป, การแข่งขัน และธุรกิจ Startup มาเป็นส่วนประกอบ แต่เป็นความรู้สึกของทั้งคู่เท่านั้นที่เป็นตัวกำหนด
สิ่งนี้เอง ที่เป็นความจริง .
ติดตามบทความจากภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆได้ที่ https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft