ทำไม ก.ล.ต. ได้แต่ขู่ IFEC / สุนันท์ ศรีจันทรา
8 ส.ค. 2561
ปฏิบัติการ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการแก้ปัญหา บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC เงียบหายไปพักใหญ่แล้ว แต่ผู้ถือหุ้นรายย่อยยังคงเคลื่อนไหวเดินหน้าเรียกร้อง การกอบกู้วิกฤตในบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดได้ยื่นหนังสือถึงกรรมการ IFEC ที่เหลืออยู่ 3 คน ประกอบด้วย นายศุภนันท์ ฤทธิไพโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ฯ พ.อ. บุญเลิศ แจ้งนพรัตน์ และ นายฉัตรณรงค์ ฉัตรภูติ ให้เร่งรัดการจัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อเลือกกรรมการชุดใหม่ หลังจากเคยยื่นหนังสือไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง
นอกจากนั้นยังยื่นหนังสือถึงนายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. ในการทำหน้าที่แก้ปัญหา IFEC และหากไม่ดำเนินการ
จะร้องทุกข์กล่าวโทษ ก.ล.ต.ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามความผิดในมาตรา 157
วิกฤตของ IFEC ยืดเยื้อมากว่า 1 ปี 6 เดือนแล้ว และจนถึงขณะนี้ยังไม่เห็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจน เนื่องจากฝ่ายบริหารของบริษัท ฯ ภายใต้การนำของนายศุภนันท์ ซึ่งเป็นกรรมการฝ่าย นายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ อดีตประธานกรรมการ IFEC ไม่ให้ความร่วมมือ พยายามเตะถ่วงการประชุม
และไม่ยอมรับคำสั่งใด ๆ จากหน่วยงานที่กำกับดูแล ทั้งนายทะเบียนบริษัทมหาชน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ โดยอ้างข้อกฎหมายโต้แย้งตลอดเวลา
การจัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นการคืนอำนาจให้กับเจ้าของบริษัทตัวจริง เพื่อร่วมกันกำหนดชะตากรรมของ IFEC และไม่มีเหตุผลใดที่ฝ่ายบริหารบริษัท จะประวิงเวลาการประชุมผู้ถือหุ้น แต่นายศุภนันท์กลับขัดขวางมาตลอด
และ ก.ล.ต. ไม่สามารถจัดการอะไรกับฝ่ายบริหาร IFEC ได้ แม้เคยระบุความผิดของ นายศุภนันท์ ฐานมีพฤติกรรมที่อาจเป็นการขัดขวาง และไม่ได้ใช้ความพยายาม เพื่อให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น เช่นการปฏิเสธเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทร่วมกับกรรมการอีก 2 คน จำนวนถึง 2 ครั้ง
การไม่อำนวยความสะดวก ในการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดประชุมผู้ถือหุ้น จึงเข้าข่ายการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวังและความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
แม้จะระบุความผิดอย่างชัดเจนแล้ว แต่ ก.ล.ต. ยังเปิดโอกาสให้นายศุภนันท์ ชี้แจงข้อมูลภายในวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย แต่นายศุภนันท์ ยังดื้อแพ่ง ไม่ให้ความสำคัญกับคำขู่ของ ก.ล.ต. และจนบัดนี้ยังไม่มีคำชี้แจงใด ๆ มาที่ ก.ล.ต.
นับตั้งแต่ระบุความผิด นายศุภนันท์ ระยะเวลาผ่านมาเกือบ 2 เดือนแล้ว แต่ ก.ล.ต. ยังไม่มีบทลงโทษใดต่อนายศุภนันท์
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวนกว่า 700 บริษัท ถ้ามีบริษัทที่สร้างปัญหาเหมือนกันกับ IFEC สัก 10 บริษัท ตลาดหุ้นคงปั่นป่วน
เพราะเพียง IFEC บริษัทเดียว นักลงทุนจำนวนกว่า 27,170 รายก็เดือดร้อนกันถ้วนหน้า และ ก.ล.ต. ก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ ไม่รู้จะจัดการอย่างไรกับผู้บริหาร IFEC ไม่รู้จะแก้ปัญหาบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้อย่างไร
และกว่า 1 ปี 6 เดือนที่ผ่านมา สิ่งที่ ก.ล.ต. ทำได้คือ การขู่ฝ่ายบริหาร IFEC เท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจสั่งให้ต้องแก้ปัญหา แม้จะเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนโดยตรงก็ตาม
ถ้าผู้ถือหุ้น IFEC ประกาศ จะงัดมาตรา 157 ฟ้อง ก.ล.ต. ฐานละเลยการแก้ปัญหา IFEC แม้จะเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ ก.ล.ต.
แต่ต้องเห็นใจผู้ถือหุ้นกว่า 27,170 ราย ที่ต้องอมทุกข์ จมปลักกับความเดือดร้อนจากปัญหา IFECเหมือนกัน
ทุกคนทนกับบทบาท การเป็นแค่เสือกระดาษของ ก.ล.ต. ต่อไปไม่ไหวแล้ว
ก.ล.ต.ไม่ยินยอมปฏิบัติหน้าที่ เก่งแต่ขู่ IFEC
ทำไม ก.ล.ต. ได้แต่ขู่ IFEC / สุนันท์ ศรีจันทรา
8 ส.ค. 2561
ปฏิบัติการ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการแก้ปัญหา บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC เงียบหายไปพักใหญ่แล้ว แต่ผู้ถือหุ้นรายย่อยยังคงเคลื่อนไหวเดินหน้าเรียกร้อง การกอบกู้วิกฤตในบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดได้ยื่นหนังสือถึงกรรมการ IFEC ที่เหลืออยู่ 3 คน ประกอบด้วย นายศุภนันท์ ฤทธิไพโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ฯ พ.อ. บุญเลิศ แจ้งนพรัตน์ และ นายฉัตรณรงค์ ฉัตรภูติ ให้เร่งรัดการจัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อเลือกกรรมการชุดใหม่ หลังจากเคยยื่นหนังสือไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง
นอกจากนั้นยังยื่นหนังสือถึงนายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. ในการทำหน้าที่แก้ปัญหา IFEC และหากไม่ดำเนินการ
จะร้องทุกข์กล่าวโทษ ก.ล.ต.ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามความผิดในมาตรา 157
วิกฤตของ IFEC ยืดเยื้อมากว่า 1 ปี 6 เดือนแล้ว และจนถึงขณะนี้ยังไม่เห็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจน เนื่องจากฝ่ายบริหารของบริษัท ฯ ภายใต้การนำของนายศุภนันท์ ซึ่งเป็นกรรมการฝ่าย นายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ อดีตประธานกรรมการ IFEC ไม่ให้ความร่วมมือ พยายามเตะถ่วงการประชุม
และไม่ยอมรับคำสั่งใด ๆ จากหน่วยงานที่กำกับดูแล ทั้งนายทะเบียนบริษัทมหาชน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ โดยอ้างข้อกฎหมายโต้แย้งตลอดเวลา
การจัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นการคืนอำนาจให้กับเจ้าของบริษัทตัวจริง เพื่อร่วมกันกำหนดชะตากรรมของ IFEC และไม่มีเหตุผลใดที่ฝ่ายบริหารบริษัท จะประวิงเวลาการประชุมผู้ถือหุ้น แต่นายศุภนันท์กลับขัดขวางมาตลอด
และ ก.ล.ต. ไม่สามารถจัดการอะไรกับฝ่ายบริหาร IFEC ได้ แม้เคยระบุความผิดของ นายศุภนันท์ ฐานมีพฤติกรรมที่อาจเป็นการขัดขวาง และไม่ได้ใช้ความพยายาม เพื่อให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น เช่นการปฏิเสธเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทร่วมกับกรรมการอีก 2 คน จำนวนถึง 2 ครั้ง
การไม่อำนวยความสะดวก ในการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดประชุมผู้ถือหุ้น จึงเข้าข่ายการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวังและความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
แม้จะระบุความผิดอย่างชัดเจนแล้ว แต่ ก.ล.ต. ยังเปิดโอกาสให้นายศุภนันท์ ชี้แจงข้อมูลภายในวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย แต่นายศุภนันท์ ยังดื้อแพ่ง ไม่ให้ความสำคัญกับคำขู่ของ ก.ล.ต. และจนบัดนี้ยังไม่มีคำชี้แจงใด ๆ มาที่ ก.ล.ต.
นับตั้งแต่ระบุความผิด นายศุภนันท์ ระยะเวลาผ่านมาเกือบ 2 เดือนแล้ว แต่ ก.ล.ต. ยังไม่มีบทลงโทษใดต่อนายศุภนันท์
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวนกว่า 700 บริษัท ถ้ามีบริษัทที่สร้างปัญหาเหมือนกันกับ IFEC สัก 10 บริษัท ตลาดหุ้นคงปั่นป่วน
เพราะเพียง IFEC บริษัทเดียว นักลงทุนจำนวนกว่า 27,170 รายก็เดือดร้อนกันถ้วนหน้า และ ก.ล.ต. ก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ ไม่รู้จะจัดการอย่างไรกับผู้บริหาร IFEC ไม่รู้จะแก้ปัญหาบริษัทจดทะเบียนแห่งนี้อย่างไร
และกว่า 1 ปี 6 เดือนที่ผ่านมา สิ่งที่ ก.ล.ต. ทำได้คือ การขู่ฝ่ายบริหาร IFEC เท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจสั่งให้ต้องแก้ปัญหา แม้จะเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนโดยตรงก็ตาม
ถ้าผู้ถือหุ้น IFEC ประกาศ จะงัดมาตรา 157 ฟ้อง ก.ล.ต. ฐานละเลยการแก้ปัญหา IFEC แม้จะเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ ก.ล.ต.
แต่ต้องเห็นใจผู้ถือหุ้นกว่า 27,170 ราย ที่ต้องอมทุกข์ จมปลักกับความเดือดร้อนจากปัญหา IFECเหมือนกัน
ทุกคนทนกับบทบาท การเป็นแค่เสือกระดาษของ ก.ล.ต. ต่อไปไม่ไหวแล้ว