"หัวใจ" คือสิ่งที่เปราะบางได้ง่ายที่สุด ในขณะเดียวกันก็เข้มแข็งได้มากที่สุด หากมี "ความรัก"
"นุดา" ในเมีย 2018 ก็เช่น
ไปอ่านในเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา ของหมอมินบานเย็น
จิตแพทย์หลายคนคงไม่พลาดเรื่อง เมีย2018 เพราะมันเต็มไปด้วยจิตวิทยา
หมอมินพูดถึงพฤติกรรมของ "นุดา" เลยเอามาฝาก เพื่อเราได้เข้าใจตัวละครตัวนี้มากขึ้น
ขนาดผู้ใหญ่ยังทำอะไรที่ไม่มีเหตุผลได้ นับประสาอะไรกับเด็กวัยอนุบาลที่โลกของเขายังไม่กว้างพอ จริงไหมคะ
____________________________________________________
#ในที่สุดหนูจะผ่านไปได้_ในวันที่พ่อแม่เลิกรา
“คุณรู้มั้ยว่า ถึงเขาจะเป็นเด็ก แต่ความเป็นเด็กนั้นไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะสำหรับเด็ก พ่อแม่มีความสำคัญมาก”
เป็นคำพูดของจิตแพทย์เด็กในวันที่ ‘อรุณา’ ไปปรึกษาเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไปของ ‘นุดา’ ลูกสาวตัวน้อย เมื่อเธอกับสามีเลิกรากัน
เรื่องที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของอรุณา ตัวละครในเรื่อง ‘เมีย2018’ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
นุดา ลูกสาวของอรุณาก็เช่นกัน เธอก็ต้องการทั้งพ่อและแม่ แต่เมื่อทางเดินของพ่อแม่มาสู่จุดที่ไปต่อไม่ได้ แล้วพ่อแม่จะทำอย่างไร ที่สำคัญคนที่ต้องดูแลลูกเป็นหลักอย่างอรุณา ที่ต้องกลายมาเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว
แม้ว่าจะปรับตัวได้พอสมควร แต่ในวันที่ครูโทรศัพท์มาเรียกเธอไปพบ พร้อมบอกกับเธอว่า นุดา ลูกสาวคนเดียวมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา หงุดหงิด ก้าวร้าว แกล้งเพื่อนมากขึ้น ซึ่งประจวบเหมาะกับตอนที่เธอและสามีเลิกรากัน เธอก็เข้าใจดีว่า เรื่องที่เกิดคงต้องมีสาเหตุจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแน่นอน
.
วันนี้หมอจึงอยากมาเล่าให้ฟังถึง ผลกระทบกับเด็กเมื่อพ่อแม่เลิกรากัน ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีทุกคน แต่ส่วนใหญ่ก็จะพบได้บ้าง ไม่มากก็น้อย และเมื่อทุกอย่างดีขึ้นเด็กก็จะค่อยๆปรับตัวได้ แต่มันก็จะมีปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพราะเด็กแต่ละคนก็แตกต่างกัน
ในช่วงแรก เด็กอาจจะเสียใจ ไม่มีความสุข ไม่เข้าใจว่าทำไมพ่อแม่ต้องไม่อยู่ด้วยกัน มีความโกรธพ่อแม่ที่เลิกกัน อาจดื้อ ต่อต้านมากขึ้น ถ้าเป็นเด็กเล็กบางครั้งอาจมีความรู้สึกผิด คิดว่าเขาเป็นคนทำให้พ่อแม่ต้องเลิกกัน เด็กบางคนมีความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว และแยกตัว ไม่ทำอะไรที่ชอบเหมือนเดิม
โดยปัจจัยที่ทำให้ปฏิกิริยาของเด็กที่พ่อแม่เลิกรากันแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับอายุ(พัฒนาการ)ของเด็ก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ นิสัยเดิมของเด็กและความเข้มแข็งทางใจเดิมที่เด็กมีอยู่เดิม
ในเด็กเล็ก เด็กอาจจะมีพฤติกรรมถดถอย ที่เคยทำอะไรได้ก็กลับทำไม่ได้ เคยทานข้าวเอง ก็จะงอแงให้ป้อน บางคนกลับไปปัสสาวะราด อาจมีความกลัวการแยกจาก ติดคนเลี้ยงมากขึ้น นอนไม่หลับ ฝันร้ายกลัวการถูกทอดทิ้ง โหยหาพ่อหรือแม่ที่ออกไปจากบ้าน หงุดหงิดก้าวร้าวกับพ่อแม่ แกล้งเพื่อนมากขึ้น ตรงนี้ก็จะคล้ายๆที่นุดาเป็น
ส่วนในเด็กโตหรือวัยรุ่น เด็กอาจไม่เข้าใจ เกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่ อารมณ์อ่อนไหวมากขึ้น บางคนมีพฤติกรรมก้าวร้าวหงุดหงิด เด็กวัยนี้จะเริ่มรู้เรื่องมากขึ้น บางครั้งก็จะเข้าข้างพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง และต่อต้านอีกคนหนึ่งที่คิดว่าเป็นคนผิด บางคนอาจมีความคิดกลัวการแต่งงานหรือมีครอบครัวว่าจะผิดหวังแบบพ่อแม่
โดยในระยะยาวนั้นเด็กจะดีขึ้นหรือแย่ลง ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางพ่อแม่และตัวเด็กเอง ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่หลังจากเลิกรา ถ้ามีความขัดแย้งรุนแรงเด็กก็มักมีผลกระทบ และขึ้นกับสุขภาพจิตของพ่อแม่ ก็มีผลรวมถึงพื้นฐานทางจิตใจของเด็ก เพราะถ้าพ่อแม่ที่อยู่กับเด็กมีความเครียดหรือปัญหาทางจิตใจ เด็กก็ย่อมมีผลกระทบ
.
สิ่งสำคัญโดยเฉพาะกับพ่อแม่ที่จะช่วยให้เด็กผ่านไปได้ คือ
-ทำให้ลูกเข้าใจว่า แม้พ่อแม่จะเลิกรากันแล้ว แต่ยังไงความเป็นพ่อแม่ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
-เข้าใจและตั้งใจฟังความรู้สึกของลูก ในช่วงแรกเด็กอาจมีคำถามมากมาย มีความกังวลเกี่ยวกับการเลิกรา พ่อ/แม่ควรรับฟังเขา
-ให้ลูกแสดงความรู้สึกออกมา แม้ว่าลูกจะเสียใจ โกรธ สับสนต่างๆ แสดงว่าพ่อแม่ยอมรับความรู้สึกเขา เพื่อเด็กจะไม่ต้องเก็บกดเอาไว้ การที่เขาเล่าให้ฟังแสดงความรู้สึกเป็นเรื่องปกติ และเขาจะผ่านไปได้ถ้าพ่อ/แม่เข้าใจเขา
-เด็กบางคนก็อยากให้พ่อแม่กลับมาคืนดีกันเหมือนเดิม อันนี้เป็นเรื่องปกติ ดังนั้นพ่อ/แม่ไม่ควรโมโหหรือรำคาญ เพียงอธิบายให้เด็กเข้าใจ ยอมรับความรู้สึกเขา
-ที่สำคัญอย่าให้ลูกต้องเป็นตัวกลางระหว่างการขัดแย้ง หรือต้องเลือกข้าง
-อย่าพูดถึงสิ่งที่อีกฝ่ายทำไม่ดีให้ลูกฟังเพราะลูกก็ต้องรักพ่อ/แม่ทั้งคู่
-ผู้ใหญ่เองต้องดูแลตัวเองด้วย เพราะต้องเป็นหลักให้เด็ก ถ้ารู้สึกแย่มาก อย่าลืมหาที่ปรึกษา คุยกับคนที่ไว้ใจ หรือหาตัวช่วยเช่น ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เหมือนที่อรุณาปรึกษาจิตแพทย์เด็ก(คุณแม่ของคุณวศิน) การหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และควรหาข้อมูลเกี่ยวกับการกฎหมายเพิ่มเติมด้วย
-การพาเด็กไปปรึกษาจิตแพทย์เด็กก็สามารถทำได้ค่ะ
.
ขอเป็นกำลังใจให้อรุณา พ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยวทุกคน ในวันที่ต้อง ‘ไกวเปลแกว่งดาบ’ นะคะ สู้ๆค่ะ
#หมอมินบานเย็น
เมีย2018 เหตุใด "นุดา" จึงเป็นเช่นนี้
"นุดา" ในเมีย 2018 ก็เช่น
ไปอ่านในเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา ของหมอมินบานเย็น
จิตแพทย์หลายคนคงไม่พลาดเรื่อง เมีย2018 เพราะมันเต็มไปด้วยจิตวิทยา
หมอมินพูดถึงพฤติกรรมของ "นุดา" เลยเอามาฝาก เพื่อเราได้เข้าใจตัวละครตัวนี้มากขึ้น
ขนาดผู้ใหญ่ยังทำอะไรที่ไม่มีเหตุผลได้ นับประสาอะไรกับเด็กวัยอนุบาลที่โลกของเขายังไม่กว้างพอ จริงไหมคะ
____________________________________________________
#ในที่สุดหนูจะผ่านไปได้_ในวันที่พ่อแม่เลิกรา
“คุณรู้มั้ยว่า ถึงเขาจะเป็นเด็ก แต่ความเป็นเด็กนั้นไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะสำหรับเด็ก พ่อแม่มีความสำคัญมาก”
เป็นคำพูดของจิตแพทย์เด็กในวันที่ ‘อรุณา’ ไปปรึกษาเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไปของ ‘นุดา’ ลูกสาวตัวน้อย เมื่อเธอกับสามีเลิกรากัน
เรื่องที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของอรุณา ตัวละครในเรื่อง ‘เมีย2018’ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
นุดา ลูกสาวของอรุณาก็เช่นกัน เธอก็ต้องการทั้งพ่อและแม่ แต่เมื่อทางเดินของพ่อแม่มาสู่จุดที่ไปต่อไม่ได้ แล้วพ่อแม่จะทำอย่างไร ที่สำคัญคนที่ต้องดูแลลูกเป็นหลักอย่างอรุณา ที่ต้องกลายมาเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว
แม้ว่าจะปรับตัวได้พอสมควร แต่ในวันที่ครูโทรศัพท์มาเรียกเธอไปพบ พร้อมบอกกับเธอว่า นุดา ลูกสาวคนเดียวมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา หงุดหงิด ก้าวร้าว แกล้งเพื่อนมากขึ้น ซึ่งประจวบเหมาะกับตอนที่เธอและสามีเลิกรากัน เธอก็เข้าใจดีว่า เรื่องที่เกิดคงต้องมีสาเหตุจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแน่นอน
.
วันนี้หมอจึงอยากมาเล่าให้ฟังถึง ผลกระทบกับเด็กเมื่อพ่อแม่เลิกรากัน ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีทุกคน แต่ส่วนใหญ่ก็จะพบได้บ้าง ไม่มากก็น้อย และเมื่อทุกอย่างดีขึ้นเด็กก็จะค่อยๆปรับตัวได้ แต่มันก็จะมีปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพราะเด็กแต่ละคนก็แตกต่างกัน
ในช่วงแรก เด็กอาจจะเสียใจ ไม่มีความสุข ไม่เข้าใจว่าทำไมพ่อแม่ต้องไม่อยู่ด้วยกัน มีความโกรธพ่อแม่ที่เลิกกัน อาจดื้อ ต่อต้านมากขึ้น ถ้าเป็นเด็กเล็กบางครั้งอาจมีความรู้สึกผิด คิดว่าเขาเป็นคนทำให้พ่อแม่ต้องเลิกกัน เด็กบางคนมีความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว และแยกตัว ไม่ทำอะไรที่ชอบเหมือนเดิม
โดยปัจจัยที่ทำให้ปฏิกิริยาของเด็กที่พ่อแม่เลิกรากันแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับอายุ(พัฒนาการ)ของเด็ก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ นิสัยเดิมของเด็กและความเข้มแข็งทางใจเดิมที่เด็กมีอยู่เดิม
ในเด็กเล็ก เด็กอาจจะมีพฤติกรรมถดถอย ที่เคยทำอะไรได้ก็กลับทำไม่ได้ เคยทานข้าวเอง ก็จะงอแงให้ป้อน บางคนกลับไปปัสสาวะราด อาจมีความกลัวการแยกจาก ติดคนเลี้ยงมากขึ้น นอนไม่หลับ ฝันร้ายกลัวการถูกทอดทิ้ง โหยหาพ่อหรือแม่ที่ออกไปจากบ้าน หงุดหงิดก้าวร้าวกับพ่อแม่ แกล้งเพื่อนมากขึ้น ตรงนี้ก็จะคล้ายๆที่นุดาเป็น
ส่วนในเด็กโตหรือวัยรุ่น เด็กอาจไม่เข้าใจ เกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่ อารมณ์อ่อนไหวมากขึ้น บางคนมีพฤติกรรมก้าวร้าวหงุดหงิด เด็กวัยนี้จะเริ่มรู้เรื่องมากขึ้น บางครั้งก็จะเข้าข้างพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง และต่อต้านอีกคนหนึ่งที่คิดว่าเป็นคนผิด บางคนอาจมีความคิดกลัวการแต่งงานหรือมีครอบครัวว่าจะผิดหวังแบบพ่อแม่
โดยในระยะยาวนั้นเด็กจะดีขึ้นหรือแย่ลง ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางพ่อแม่และตัวเด็กเอง ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่หลังจากเลิกรา ถ้ามีความขัดแย้งรุนแรงเด็กก็มักมีผลกระทบ และขึ้นกับสุขภาพจิตของพ่อแม่ ก็มีผลรวมถึงพื้นฐานทางจิตใจของเด็ก เพราะถ้าพ่อแม่ที่อยู่กับเด็กมีความเครียดหรือปัญหาทางจิตใจ เด็กก็ย่อมมีผลกระทบ
.
สิ่งสำคัญโดยเฉพาะกับพ่อแม่ที่จะช่วยให้เด็กผ่านไปได้ คือ
-ทำให้ลูกเข้าใจว่า แม้พ่อแม่จะเลิกรากันแล้ว แต่ยังไงความเป็นพ่อแม่ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
-เข้าใจและตั้งใจฟังความรู้สึกของลูก ในช่วงแรกเด็กอาจมีคำถามมากมาย มีความกังวลเกี่ยวกับการเลิกรา พ่อ/แม่ควรรับฟังเขา
-ให้ลูกแสดงความรู้สึกออกมา แม้ว่าลูกจะเสียใจ โกรธ สับสนต่างๆ แสดงว่าพ่อแม่ยอมรับความรู้สึกเขา เพื่อเด็กจะไม่ต้องเก็บกดเอาไว้ การที่เขาเล่าให้ฟังแสดงความรู้สึกเป็นเรื่องปกติ และเขาจะผ่านไปได้ถ้าพ่อ/แม่เข้าใจเขา
-เด็กบางคนก็อยากให้พ่อแม่กลับมาคืนดีกันเหมือนเดิม อันนี้เป็นเรื่องปกติ ดังนั้นพ่อ/แม่ไม่ควรโมโหหรือรำคาญ เพียงอธิบายให้เด็กเข้าใจ ยอมรับความรู้สึกเขา
-ที่สำคัญอย่าให้ลูกต้องเป็นตัวกลางระหว่างการขัดแย้ง หรือต้องเลือกข้าง
-อย่าพูดถึงสิ่งที่อีกฝ่ายทำไม่ดีให้ลูกฟังเพราะลูกก็ต้องรักพ่อ/แม่ทั้งคู่
-ผู้ใหญ่เองต้องดูแลตัวเองด้วย เพราะต้องเป็นหลักให้เด็ก ถ้ารู้สึกแย่มาก อย่าลืมหาที่ปรึกษา คุยกับคนที่ไว้ใจ หรือหาตัวช่วยเช่น ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เหมือนที่อรุณาปรึกษาจิตแพทย์เด็ก(คุณแม่ของคุณวศิน) การหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และควรหาข้อมูลเกี่ยวกับการกฎหมายเพิ่มเติมด้วย
-การพาเด็กไปปรึกษาจิตแพทย์เด็กก็สามารถทำได้ค่ะ
.
ขอเป็นกำลังใจให้อรุณา พ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยวทุกคน ในวันที่ต้อง ‘ไกวเปลแกว่งดาบ’ นะคะ สู้ๆค่ะ
#หมอมินบานเย็น