เราจะไม่กลับมาอีก เสียงจากนักท่องเที่ยว ในวันถนนข้าวสาร ถูกจัดระเบียบ
https://www.thairath.co.th/content/1348571
ในที่สุดมาตรการจัดระเบียบทางเท้าของ กทม.ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้เรียกทั้งเสียงปรบมือและเสียงโห่ฮาจากชาว กทม.และพ่อค้าแม่ค้า ในเวลาเดียวกัน ก็ได้ดำเนินมาถึงจุดที่ยากที่สุดพื้นที่หนึ่งในเมืองหลวงของสยามประเทศ เข้าจนได้
เนื่องจากพื้นที่ที่ว่านี้ หาใช่พื้นที่ธรรมดาๆ ดั่งที่เคยทำมาแล้วประสบสำเร็จอย่างราบรื่นมาโดยตลอด เนื่องจากพื้นที่ที่ว่านี้ คือ ถนนข้าวสาร แลนด์มาร์คสำคัญที่มีชื่อเสียงโด่งดั่งไปทั้งโลกา
ถนนแห่งความบันเทิง และอาหารการกิน ที่มีทั้งสีสันจัดจ้านและไม่เคยหลับใหล...จนเป็นที่ถูกอกถูกใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในความ
Amazing ที่ยากจะหาได้จากนครหลวงของประเทศอื่นๆ
แต่ก็อีกนั่นแหละ...ในความจัดจ้านและไม่เคยหลับใหลนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า...มันแฝงไปด้วยความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย และที่สำคัญ มันไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากพื้นที่ทำเลทองนี้ มันไม่ใช่จุดผ่อนผัน ที่จะให้บรรดาพ่อค้าแม่ขายสามารถนำแผงค้าหรือรถเข็น เข้าไปยึดพื้นที่เพื่อขายของได้
นี่จึงเป็นอีกครั้งที่ ชาวกรุง ต้องเลือกระหว่าง
1. ความถูกต้องของกฎหมาย VS มนต์เสน่ห์แห่งกรุงเทพมหานคร
2. เม็ดเงินหมุนเวียนของชาวฐานราก หาเช้ากินเย็น VS ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
3. เสียงปรบมือชื่นชม VS เสียงร้องขอความเห็นใจ
เหตุการณ์
วนลูป ที่ชาวกรุง และผู้บริหาร กทม.ต้องเลือกอีกครั้ง
ภายใต้ซอกหลืบแห่งความหวัง ไม่ต่างจากแสงหิ่งห้อยริบหรี่ในความมืดที่ว่า มันมีช่องว่างตรงกลาง ให้ทั้งสองฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องเกิดความรุนแรงถึงขั้นแตกหัก หรือปิดกั้นไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มีทางเลือกเหลืออยู่เลย หรือไม่...?
หลังการเผชิญหน้าอย่างดุเดือดระหว่าง ทีม กทม. และ ทีมพ่อค้าแม่ค้า ในวันที่ 1 ส.ค. เพื่อต่อต้านคำสั่งห้ามตั้งแผงค้าขายบนทางเท้าโดยเด็ดขาดตลอด 24 ชั่วโมง แต่ผ่อนปรนให้ตั้งแผงค้าบนผิวถนน ได้ตั้งแต่เวลา 18.00 - 24.00 น.เท่านั้น
จนฝ่าย ทีม กทม.ต้องถอยมาหนึ่งก้าว ด้วยการเตรียมเปิดประชุมเพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนอีกครั้งในวันที่ 7 ส.ค. แต่ในระหว่างนี้ ห้ามผู้ค้าทุกแผงขายของโดยเด็ดขาด โดยหากมีใครฝ่าฝืน จะถูกปรับ 2,000 บาททันที
เมื่อ กทม. เอาจริงขนาดนี้
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงขอลงพื้นที่ไปสำรวจบรรยากาศของถนนข้าวสาร พร้อมกับสอบถามความรู้สึก และแนวทางการตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงของคนในพื้นที่กันหน่อย ว่าพวกเขาจะทำอย่างไรต่อจากนี้...
เม็ดเงินในพื้นที่หล่นวูบ นักท่องเที่ยวต่างชาติงงงัน นี่หรือถนนข้าวสารอันโด่งดังก้องโลก
โดยรายแรก ลุงสนั่น พ่อค้าร้านเสื้อผ้า ที่ค้าขายอยู่ในตึกแถวของถนนข้าวสารมายาวนานกว่า 14 ปี เปิดเผยความรู้สึกกับทีมข่าวฯ ว่า การเดินหน้ามาตรการจัดระเบียบของ กทม. ทำให้ถนนข้าวสารเงียบเหงาไปเยอะ
สิ่งที่เห็นได้เด่นชัด ณ เวลานี้ คือ นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติ ลดลงไปกว่าเมื่อก่อนมาก ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าที่อยู่ตามตึกแถว ที่อยู่รอบถนนข้าวสาร พากันรายได้หดหายไปตามๆ กัน
“เมื่อก่อนเคยขายได้วันละ 2,000-3,000 บาท แต่ตอนนี้ไม่ได้เลย เพราะตรงนี้เป็นจุดเด่น แต่พอมาตอนนี้นักท่องเที่ยวมาแล้ว ไม่มีอะไรจะดู เขาก็ไม่รู้จะเข้ามาทำไม ยิ่งมาจัดในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ ยิ่งแย่ลงไปใหญ่” ลุง
สนั่น กล่าวด้วยน้ำเสียงหดหู่
ชี้ป้ายบอก นักท่องเที่ยวยังไม่เชื่อ!
นอกจากนี้ ทีมข่าวฯ ได้เข้าไปพูดคุยกับ
ผู้ค้าในตึกแถว รวมถึงผู้ให้บริการรถตุ๊กๆ และวินมอเตอร์ไซค์อีกหลายราย ทุกคนต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า การจัดระเบียบผู้ค้า ส่งผลกระทบให้ นักท่องเที่ยวหายไปเป็นจำนวนมาก รายได้ที่เคยมีก็ลดหายไปเยอะพอสมควร
“นักท่องเที่ยวหลายรายที่มาเที่ยว พวกเขาไม่เชื่อว่าที่แห่งนี้คือ ถนนข้าวสาร ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก บางคนมายืนอยู่หน้าทางเข้าถนนข้าวสาร ด้วยสีหน้ามึนงง หันซ้ายหันขวาไปมา จนผมต้องเดินไปชี้ป้ายถนนข้าวสารให้พวกเขาดู พวกเขาถึงได้เชื่อว่า นี่คือ ถนนข้าวสาร จริงๆ” วินมอไซต์รับจ้างทางเข้าถนนข้าวสาร พูดพร้อมชี้ไปที่ป้ายถนนข้าวสารให้ทีมข่าวฯ ดู
ให้ลงไปขายบนถนน ห่วงเจอปัญหาพ่อค้าแม่ค้าขายทับที่จนเกิดความขัดแย้ง
ด้านเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าในตึกแถวรายหนึ่ง ซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อ เปิดเผยกับทีมข่าวว่า พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ไม่ยอมรับแนวทางการจัดระเบียบของ กทม. ที่จะมีการแบ่งพื้นที่ให้ขายบนถนนนั้น เพราะว่าน่าจะเกิดปัญหาเรื่องพื้นที่ค้าขาย เนื่องจากช่วงเวลากลางคืน ถนนแห่งนี้จะมีพ่อค้าแม่ค้าหลายรายที่เป็นรถเข็น มาขายกันเป็นประจำอยู่แล้ว ถ้าจะให้ลงไปขายรวมกัน ก็อาจจะไปทับที่ของคนที่เคยขายก่อนหน้า อีกทั้งหากมีฝนฟ้าตกลงมา น้ำท่วมขังไปหมด พ่อค้าแม่ค้าจะขายอย่างไร
แม้ว่าก่อนหน้านี้ ปี 2557 จะมีมาตรการการจัดระเบียบผู้ค้าออกมาแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่มีการดำเนินการที่จริงจัง แต่พอมารอบนี้ ทุกอย่างมันรวดเร็วมากเกินไป หลังจากที่ กทม.ประกาศว่าจะมีการจัดระเบียบผู้ค้าและสั่งให้หยุดขาย ข่าวก็กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มีใครอยากจะมา
“การที่พ่อค้าแม่ค้าไม่ได้ขายของ ส่วนตัวก็สงสารเขา เพราะพวกเขาก็มีภาระค่าใช้จ่ายมากมาย ถ้าเขาไม่ได้ขายอย่างนี้จะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายหนี้จ่ายสิน ต่อจากนี้ทุกคนจะทำอย่างไรต่อไป ก็คงต้องรอดูแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนในวันที่ 7 ส.ค.ก่อน ว่าเขาจะมีทางออกให้อย่างไร ตอนนี้ทุกคนก็ต้องสู้กันต่อไป” เจ้าของร้านขายเสื้อผ้า กล่าวทิ้งท้าย
ต่างชาติประสานเสียง
"ไม่มีอะไรน่าสนใจ หาของกินยาก เราจะไม่กลับมาอีก"
ภายหลังจากสอบถามพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่แล้ว ทีมข่าวฯ จึงลองสอบถามความรู้สึกของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เคยเดินทางมาเที่ยวที่ถนนข้าวสารแห่งนี้ว่า พวกเขารู้สึกอย่างไรกับบรรยากาศที่เกิดขึ้นตอนนี้ และถ้ามีโอกาสกลับมาเที่ยวประเทศไทย พวกเขาจะยังคงกลับมาเที่ยวที่ถนนแห่งนี้อีกครั้งหรือไม่...
กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวสวีเดน บอกกับทีมข่าวฯ ว่า ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่พวกเขามาเที่ยวที่ถนนข้าวสาร เพราะประทับใจร้านค้าที่อยู่บนท้องถนน คล้ายกับถนนคนเดิน แถมอาหารยังถูก อร่อย หากินได้ง่าย แต่ครั้งนี้รู้สึกว่ามันโล่ง หาของกินยาก ไม่เหมือนครั้งแรกที่เคยมาเยือนสักนิด
เมื่อทีมข่าวฯ ถามว่า พอจะทราบไหมว่าที่นี่มีการจัดระเบียบผู้ค้ากัน จึงมีการสั่งให้หยุดขาย เป็นเวลา 4 วัน นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้กล่าวว่าไม่ทราบมาก่อนหน้านี้ ทีมข่าวฯ จึงถามต่อว่า ชอบไหมที่ถนนดูโล่งแบบนี้ พวกเขาบอกว่าชอบ มันดูไม่วุ่นวายดี แต่มันไม่ดีตรงที่หาของกินยาก
เมื่อถามว่าครั้งหน้าที่มาเที่ยวเมืองไทย ยังจะมาถนนข้าวสารอีกหรือไม่ ทุกคนต่างส่ายหน้าปฏิเสธ พร้อมกับบอกว่า พวกเขาคงจะไปเที่ยวที่อื่นที่ดีกว่านี้
ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่นี่เป็นครั้งที่ 3 ด้วยความหลงไหลมนต์เสน่ห์ของถนนแห่งนี้ ที่มีผู้คนและสีสันยามค่ำคืนให้ตื่นตาตื่นใจอยู่ตลอด อีกทั้งยังมีของขายเยอะแยะ น่าเดิน เหมือนถนนคนเดินที่พัทยา
แต่พอมาครั้งนี้ทุกอย่างดูแปลกตา นักท่องเที่ยวก็ไม่ค่อยมี ไม่มีอะไรน่าสนใจเหมือนครั้งก่อนที่เคยมา
ทีมข่าวฯ จึงถามว่า ทราบหรือไม่ว่าที่นี่มีการจัดระเบียบ พวกเขากล่าวว่า พอจะได้ยินมาบ้าง แต่ไม่ได้รู้สึกอะไร เพียงแค่รู้สึกว่านักท่องเที่ยวดูเบาบางลง ไม่ค่อยมีคนเดิน
อีกทั้งพวกเขาเข้าใจว่าที่มีการจัดระเบียบเพราะอยากให้ถนนแห่งนี้ดูเป็นระเบียบ แต่ถนนแห่งนี้มันคือแหล่งท่องเที่ยวทางเศรษฐกิจ พอร้านค้าหายไป ทำให้ไม่น่าสนใจ และยังไม่แน่ใจว่าครั้งต่อไปจะมาเที่ยวที่นี่อีกหรือไม่
แม้แต่นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ทีมข่าวฯ มีโอกาสได้พูดคุยสอบถามความรู้สึก ก็ยังบอกว่า ถนนข้าวสารวันนี้แตกต่างจากถนนข้าวสารที่เคยเป็นเยอะมาก ซึ่งตนพอจะทราบข่าวที่มีการจัดระเบียบผู้ค้าเหมือนกัน และวันนี้ที่มาก็ตั้งใจจะมาดูว่าบรรยากาศจะเป็นอย่างไร
“ถ้ามองในเรื่องของความเป็นระเบียบ ทุกอย่างก็ดูเรียบร้อยดี ดูเป็นสากลมากขึ้น แต่ตนก็เห็นใจผู้ค้าที่เคยขาย ไม่รู้ว่า กทม. จะมีพื้นที่รองรับเพียงพอหรือไม่ และก็ไม่รู้ว่าถ้าเป็นแบบนั้นเสน่ห์ของเมืองไทย จะหายไปด้วยหรือเปล่า เพราะหากใครเคยมา ก็จะรู้ว่าที่นี่ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยว” นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไม่ขอเปิดเผยชื่อ กล่าว
นอกจากนี้เมื่อ ทีมข่าวฯ ได้เฝ้าสำรวจบรรยากาศของถนนข้าวสารตั้งแต่บ่ายจึงถึงค่ำ สังเกตได้ว่า ช่วงบ่ายบรรยากาศโดยรอบของถนนแห่งนี้ดูเงียบเหงา ไม่คึกคักอย่างเคย นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติก็น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด นักท่องเที่ยวบางรายเดินเข้ามาดูของแล้วก็ไป
บางคนก็เข้ามาถึงแค่บริเวณหน้าถนนข้าวสาร ก่อนจะแสดงสีหน้างุนงง แล้วเดินกลับออกไปทางเดิมที่เพิ่งเดินเข้ามา ซึ่งก็ไม่อาจทราบได้ว่า พวกเขาเหล่านั้นมีความรู้สึกอะไรอยู่ เหตุใดจึงเดินเข้ามาและเดินออกไปอย่างรวดเร็ว หรือเพราะบนถนนแห่งนี้ กำลังเปลี่ยนแปลงไป จนขาดเสน่ห์อันน่าหลงใหล ที่ต่างชาติเคยจดจำไว้กันแน่
กทม.ต้องทำตามกฎหมาย ชี้ หากปล่อยไว้เกิดอุบัติเหตุ ความสูญเสีย ใครจะรับผิดชอบ
ทั้งนี้
นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม. ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ ถึงแนวทางการจัดระเบียบผู้ค้าบนถนนข้าวสารไว้ว่า จะมีการจัดพื้นที่ให้ผู้ค้าที่ขายอยู่บนฟุตปาท ลงมาขายบนพื้นถนนบริเวณฝั่งใดฝั่งหนึ่ง โดยจะแบ่งพื้นที่ใหม่ผู้ค้าตัวจริง ไม่ใช่คนที่จะมาปล่อยเช่า เพื่อให้ทุกคนได้สิทธิ์เท่ากัน คือ คนละ 1 แผงเท่านั้น ในพื้นที่ขนาด 1.5 เมตร โดยจะกำหนดให้ขายได้ตั้งแต่ 18.00-24.00 น. เท่านั้น และจะไม่มีการเก็บค่าแผงค้า แต่อาจจะมีการเก็บค่าขยะต่างๆ นิดหน่อย ซึ่งต้องคุยกันอีกที
ซึ่งสาเหตุที่ต้องจัดระเบียบ นายสกลธี กล่าวว่า เนื่องจากช่วงกลางคืนบริเวณถนนข้าวสารจะเต็มไปด้วยผู้คนและแผงค้าอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีรถวิ่งผ่านอยู่ ค่อนข้างอันตรายกับคนที่เดินไปมา จึงมีความคิดว่า ทำไมถึงไม่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทุกวันนี้บริเวณที่ผู้ค้าขายของกันอยู่นั้น ไม่ใช่จุดผ่อนผัน เท่ากับว่าพวกเขาฝ่าฝืนขายกัน ซึ่งถ้าปล่อยไว้ หากวันใดวันหนึ่งเกิดมีอุบัติเหตุ หรือเกิดการสูญเสียขึ้นมา ทาง กทม.คงจะปฏิเสธที่จะรับผิดชอบไม่ได้ เพราะทาง กทม.ปล่อยให้มันเกิดขึ้นเอง
ฟังข้อมูลแบบนี้แล้ว แฟนๆ ไทยรัฐออนไลน์ คิดเห็นอย่างไร ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ อยากให้ทุกท่านร่วมกันแชร์ข่าวนี้ออกไป เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลายและสร้างสรรค์ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้ และ ถนนข้าวสาร ยังคงมนต์เสน่ห์ที่ตรึงนักท่องเที่ยวเอาไว้ได้ต่อไป
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
JJNY : เราจะไม่กลับมาอีก เสียงจากนักท่องเที่ยวในวันถ.ข้าวสารถูกจัดระเบียบ/เข้าใจตรงกันนะ ครึ่งแรก“ค้าปลีก” นิ่งทุกสินค้า
https://www.thairath.co.th/content/1348571
ในที่สุดมาตรการจัดระเบียบทางเท้าของ กทม.ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้เรียกทั้งเสียงปรบมือและเสียงโห่ฮาจากชาว กทม.และพ่อค้าแม่ค้า ในเวลาเดียวกัน ก็ได้ดำเนินมาถึงจุดที่ยากที่สุดพื้นที่หนึ่งในเมืองหลวงของสยามประเทศ เข้าจนได้
เนื่องจากพื้นที่ที่ว่านี้ หาใช่พื้นที่ธรรมดาๆ ดั่งที่เคยทำมาแล้วประสบสำเร็จอย่างราบรื่นมาโดยตลอด เนื่องจากพื้นที่ที่ว่านี้ คือ ถนนข้าวสาร แลนด์มาร์คสำคัญที่มีชื่อเสียงโด่งดั่งไปทั้งโลกา
ถนนแห่งความบันเทิง และอาหารการกิน ที่มีทั้งสีสันจัดจ้านและไม่เคยหลับใหล...จนเป็นที่ถูกอกถูกใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในความ Amazing ที่ยากจะหาได้จากนครหลวงของประเทศอื่นๆ
แต่ก็อีกนั่นแหละ...ในความจัดจ้านและไม่เคยหลับใหลนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า...มันแฝงไปด้วยความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย และที่สำคัญ มันไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากพื้นที่ทำเลทองนี้ มันไม่ใช่จุดผ่อนผัน ที่จะให้บรรดาพ่อค้าแม่ขายสามารถนำแผงค้าหรือรถเข็น เข้าไปยึดพื้นที่เพื่อขายของได้
นี่จึงเป็นอีกครั้งที่ ชาวกรุง ต้องเลือกระหว่าง
1. ความถูกต้องของกฎหมาย VS มนต์เสน่ห์แห่งกรุงเทพมหานคร
2. เม็ดเงินหมุนเวียนของชาวฐานราก หาเช้ากินเย็น VS ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
3. เสียงปรบมือชื่นชม VS เสียงร้องขอความเห็นใจ
เหตุการณ์ วนลูป ที่ชาวกรุง และผู้บริหาร กทม.ต้องเลือกอีกครั้ง
ภายใต้ซอกหลืบแห่งความหวัง ไม่ต่างจากแสงหิ่งห้อยริบหรี่ในความมืดที่ว่า มันมีช่องว่างตรงกลาง ให้ทั้งสองฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องเกิดความรุนแรงถึงขั้นแตกหัก หรือปิดกั้นไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มีทางเลือกเหลืออยู่เลย หรือไม่...?
หลังการเผชิญหน้าอย่างดุเดือดระหว่าง ทีม กทม. และ ทีมพ่อค้าแม่ค้า ในวันที่ 1 ส.ค. เพื่อต่อต้านคำสั่งห้ามตั้งแผงค้าขายบนทางเท้าโดยเด็ดขาดตลอด 24 ชั่วโมง แต่ผ่อนปรนให้ตั้งแผงค้าบนผิวถนน ได้ตั้งแต่เวลา 18.00 - 24.00 น.เท่านั้น
จนฝ่าย ทีม กทม.ต้องถอยมาหนึ่งก้าว ด้วยการเตรียมเปิดประชุมเพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนอีกครั้งในวันที่ 7 ส.ค. แต่ในระหว่างนี้ ห้ามผู้ค้าทุกแผงขายของโดยเด็ดขาด โดยหากมีใครฝ่าฝืน จะถูกปรับ 2,000 บาททันที
เมื่อ กทม. เอาจริงขนาดนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงขอลงพื้นที่ไปสำรวจบรรยากาศของถนนข้าวสาร พร้อมกับสอบถามความรู้สึก และแนวทางการตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงของคนในพื้นที่กันหน่อย ว่าพวกเขาจะทำอย่างไรต่อจากนี้...
เม็ดเงินในพื้นที่หล่นวูบ นักท่องเที่ยวต่างชาติงงงัน นี่หรือถนนข้าวสารอันโด่งดังก้องโลก
โดยรายแรก ลุงสนั่น พ่อค้าร้านเสื้อผ้า ที่ค้าขายอยู่ในตึกแถวของถนนข้าวสารมายาวนานกว่า 14 ปี เปิดเผยความรู้สึกกับทีมข่าวฯ ว่า การเดินหน้ามาตรการจัดระเบียบของ กทม. ทำให้ถนนข้าวสารเงียบเหงาไปเยอะ
สิ่งที่เห็นได้เด่นชัด ณ เวลานี้ คือ นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติ ลดลงไปกว่าเมื่อก่อนมาก ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าที่อยู่ตามตึกแถว ที่อยู่รอบถนนข้าวสาร พากันรายได้หดหายไปตามๆ กัน
“เมื่อก่อนเคยขายได้วันละ 2,000-3,000 บาท แต่ตอนนี้ไม่ได้เลย เพราะตรงนี้เป็นจุดเด่น แต่พอมาตอนนี้นักท่องเที่ยวมาแล้ว ไม่มีอะไรจะดู เขาก็ไม่รู้จะเข้ามาทำไม ยิ่งมาจัดในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ ยิ่งแย่ลงไปใหญ่” ลุงสนั่น กล่าวด้วยน้ำเสียงหดหู่
ชี้ป้ายบอก นักท่องเที่ยวยังไม่เชื่อ!
นอกจากนี้ ทีมข่าวฯ ได้เข้าไปพูดคุยกับผู้ค้าในตึกแถว รวมถึงผู้ให้บริการรถตุ๊กๆ และวินมอเตอร์ไซค์อีกหลายราย ทุกคนต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า การจัดระเบียบผู้ค้า ส่งผลกระทบให้ นักท่องเที่ยวหายไปเป็นจำนวนมาก รายได้ที่เคยมีก็ลดหายไปเยอะพอสมควร
“นักท่องเที่ยวหลายรายที่มาเที่ยว พวกเขาไม่เชื่อว่าที่แห่งนี้คือ ถนนข้าวสาร ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก บางคนมายืนอยู่หน้าทางเข้าถนนข้าวสาร ด้วยสีหน้ามึนงง หันซ้ายหันขวาไปมา จนผมต้องเดินไปชี้ป้ายถนนข้าวสารให้พวกเขาดู พวกเขาถึงได้เชื่อว่า นี่คือ ถนนข้าวสาร จริงๆ” วินมอไซต์รับจ้างทางเข้าถนนข้าวสาร พูดพร้อมชี้ไปที่ป้ายถนนข้าวสารให้ทีมข่าวฯ ดู
ให้ลงไปขายบนถนน ห่วงเจอปัญหาพ่อค้าแม่ค้าขายทับที่จนเกิดความขัดแย้ง
ด้านเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าในตึกแถวรายหนึ่ง ซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อ เปิดเผยกับทีมข่าวว่า พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ไม่ยอมรับแนวทางการจัดระเบียบของ กทม. ที่จะมีการแบ่งพื้นที่ให้ขายบนถนนนั้น เพราะว่าน่าจะเกิดปัญหาเรื่องพื้นที่ค้าขาย เนื่องจากช่วงเวลากลางคืน ถนนแห่งนี้จะมีพ่อค้าแม่ค้าหลายรายที่เป็นรถเข็น มาขายกันเป็นประจำอยู่แล้ว ถ้าจะให้ลงไปขายรวมกัน ก็อาจจะไปทับที่ของคนที่เคยขายก่อนหน้า อีกทั้งหากมีฝนฟ้าตกลงมา น้ำท่วมขังไปหมด พ่อค้าแม่ค้าจะขายอย่างไร
แม้ว่าก่อนหน้านี้ ปี 2557 จะมีมาตรการการจัดระเบียบผู้ค้าออกมาแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่มีการดำเนินการที่จริงจัง แต่พอมารอบนี้ ทุกอย่างมันรวดเร็วมากเกินไป หลังจากที่ กทม.ประกาศว่าจะมีการจัดระเบียบผู้ค้าและสั่งให้หยุดขาย ข่าวก็กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มีใครอยากจะมา
“การที่พ่อค้าแม่ค้าไม่ได้ขายของ ส่วนตัวก็สงสารเขา เพราะพวกเขาก็มีภาระค่าใช้จ่ายมากมาย ถ้าเขาไม่ได้ขายอย่างนี้จะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายหนี้จ่ายสิน ต่อจากนี้ทุกคนจะทำอย่างไรต่อไป ก็คงต้องรอดูแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนในวันที่ 7 ส.ค.ก่อน ว่าเขาจะมีทางออกให้อย่างไร ตอนนี้ทุกคนก็ต้องสู้กันต่อไป” เจ้าของร้านขายเสื้อผ้า กล่าวทิ้งท้าย
ต่างชาติประสานเสียง "ไม่มีอะไรน่าสนใจ หาของกินยาก เราจะไม่กลับมาอีก"
ภายหลังจากสอบถามพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่แล้ว ทีมข่าวฯ จึงลองสอบถามความรู้สึกของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เคยเดินทางมาเที่ยวที่ถนนข้าวสารแห่งนี้ว่า พวกเขารู้สึกอย่างไรกับบรรยากาศที่เกิดขึ้นตอนนี้ และถ้ามีโอกาสกลับมาเที่ยวประเทศไทย พวกเขาจะยังคงกลับมาเที่ยวที่ถนนแห่งนี้อีกครั้งหรือไม่...
กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวสวีเดน บอกกับทีมข่าวฯ ว่า ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่พวกเขามาเที่ยวที่ถนนข้าวสาร เพราะประทับใจร้านค้าที่อยู่บนท้องถนน คล้ายกับถนนคนเดิน แถมอาหารยังถูก อร่อย หากินได้ง่าย แต่ครั้งนี้รู้สึกว่ามันโล่ง หาของกินยาก ไม่เหมือนครั้งแรกที่เคยมาเยือนสักนิด
เมื่อทีมข่าวฯ ถามว่า พอจะทราบไหมว่าที่นี่มีการจัดระเบียบผู้ค้ากัน จึงมีการสั่งให้หยุดขาย เป็นเวลา 4 วัน นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้กล่าวว่าไม่ทราบมาก่อนหน้านี้ ทีมข่าวฯ จึงถามต่อว่า ชอบไหมที่ถนนดูโล่งแบบนี้ พวกเขาบอกว่าชอบ มันดูไม่วุ่นวายดี แต่มันไม่ดีตรงที่หาของกินยาก
เมื่อถามว่าครั้งหน้าที่มาเที่ยวเมืองไทย ยังจะมาถนนข้าวสารอีกหรือไม่ ทุกคนต่างส่ายหน้าปฏิเสธ พร้อมกับบอกว่า พวกเขาคงจะไปเที่ยวที่อื่นที่ดีกว่านี้
ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่นี่เป็นครั้งที่ 3 ด้วยความหลงไหลมนต์เสน่ห์ของถนนแห่งนี้ ที่มีผู้คนและสีสันยามค่ำคืนให้ตื่นตาตื่นใจอยู่ตลอด อีกทั้งยังมีของขายเยอะแยะ น่าเดิน เหมือนถนนคนเดินที่พัทยา
แต่พอมาครั้งนี้ทุกอย่างดูแปลกตา นักท่องเที่ยวก็ไม่ค่อยมี ไม่มีอะไรน่าสนใจเหมือนครั้งก่อนที่เคยมา
ทีมข่าวฯ จึงถามว่า ทราบหรือไม่ว่าที่นี่มีการจัดระเบียบ พวกเขากล่าวว่า พอจะได้ยินมาบ้าง แต่ไม่ได้รู้สึกอะไร เพียงแค่รู้สึกว่านักท่องเที่ยวดูเบาบางลง ไม่ค่อยมีคนเดิน
อีกทั้งพวกเขาเข้าใจว่าที่มีการจัดระเบียบเพราะอยากให้ถนนแห่งนี้ดูเป็นระเบียบ แต่ถนนแห่งนี้มันคือแหล่งท่องเที่ยวทางเศรษฐกิจ พอร้านค้าหายไป ทำให้ไม่น่าสนใจ และยังไม่แน่ใจว่าครั้งต่อไปจะมาเที่ยวที่นี่อีกหรือไม่
แม้แต่นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ทีมข่าวฯ มีโอกาสได้พูดคุยสอบถามความรู้สึก ก็ยังบอกว่า ถนนข้าวสารวันนี้แตกต่างจากถนนข้าวสารที่เคยเป็นเยอะมาก ซึ่งตนพอจะทราบข่าวที่มีการจัดระเบียบผู้ค้าเหมือนกัน และวันนี้ที่มาก็ตั้งใจจะมาดูว่าบรรยากาศจะเป็นอย่างไร
“ถ้ามองในเรื่องของความเป็นระเบียบ ทุกอย่างก็ดูเรียบร้อยดี ดูเป็นสากลมากขึ้น แต่ตนก็เห็นใจผู้ค้าที่เคยขาย ไม่รู้ว่า กทม. จะมีพื้นที่รองรับเพียงพอหรือไม่ และก็ไม่รู้ว่าถ้าเป็นแบบนั้นเสน่ห์ของเมืองไทย จะหายไปด้วยหรือเปล่า เพราะหากใครเคยมา ก็จะรู้ว่าที่นี่ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยว” นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไม่ขอเปิดเผยชื่อ กล่าว
นอกจากนี้เมื่อ ทีมข่าวฯ ได้เฝ้าสำรวจบรรยากาศของถนนข้าวสารตั้งแต่บ่ายจึงถึงค่ำ สังเกตได้ว่า ช่วงบ่ายบรรยากาศโดยรอบของถนนแห่งนี้ดูเงียบเหงา ไม่คึกคักอย่างเคย นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติก็น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด นักท่องเที่ยวบางรายเดินเข้ามาดูของแล้วก็ไป
บางคนก็เข้ามาถึงแค่บริเวณหน้าถนนข้าวสาร ก่อนจะแสดงสีหน้างุนงง แล้วเดินกลับออกไปทางเดิมที่เพิ่งเดินเข้ามา ซึ่งก็ไม่อาจทราบได้ว่า พวกเขาเหล่านั้นมีความรู้สึกอะไรอยู่ เหตุใดจึงเดินเข้ามาและเดินออกไปอย่างรวดเร็ว หรือเพราะบนถนนแห่งนี้ กำลังเปลี่ยนแปลงไป จนขาดเสน่ห์อันน่าหลงใหล ที่ต่างชาติเคยจดจำไว้กันแน่
กทม.ต้องทำตามกฎหมาย ชี้ หากปล่อยไว้เกิดอุบัติเหตุ ความสูญเสีย ใครจะรับผิดชอบ
ทั้งนี้ นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม. ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ ถึงแนวทางการจัดระเบียบผู้ค้าบนถนนข้าวสารไว้ว่า จะมีการจัดพื้นที่ให้ผู้ค้าที่ขายอยู่บนฟุตปาท ลงมาขายบนพื้นถนนบริเวณฝั่งใดฝั่งหนึ่ง โดยจะแบ่งพื้นที่ใหม่ผู้ค้าตัวจริง ไม่ใช่คนที่จะมาปล่อยเช่า เพื่อให้ทุกคนได้สิทธิ์เท่ากัน คือ คนละ 1 แผงเท่านั้น ในพื้นที่ขนาด 1.5 เมตร โดยจะกำหนดให้ขายได้ตั้งแต่ 18.00-24.00 น. เท่านั้น และจะไม่มีการเก็บค่าแผงค้า แต่อาจจะมีการเก็บค่าขยะต่างๆ นิดหน่อย ซึ่งต้องคุยกันอีกที
ซึ่งสาเหตุที่ต้องจัดระเบียบ นายสกลธี กล่าวว่า เนื่องจากช่วงกลางคืนบริเวณถนนข้าวสารจะเต็มไปด้วยผู้คนและแผงค้าอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีรถวิ่งผ่านอยู่ ค่อนข้างอันตรายกับคนที่เดินไปมา จึงมีความคิดว่า ทำไมถึงไม่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะทุกวันนี้บริเวณที่ผู้ค้าขายของกันอยู่นั้น ไม่ใช่จุดผ่อนผัน เท่ากับว่าพวกเขาฝ่าฝืนขายกัน ซึ่งถ้าปล่อยไว้ หากวันใดวันหนึ่งเกิดมีอุบัติเหตุ หรือเกิดการสูญเสียขึ้นมา ทาง กทม.คงจะปฏิเสธที่จะรับผิดชอบไม่ได้ เพราะทาง กทม.ปล่อยให้มันเกิดขึ้นเอง
ฟังข้อมูลแบบนี้แล้ว แฟนๆ ไทยรัฐออนไลน์ คิดเห็นอย่างไร ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ อยากให้ทุกท่านร่วมกันแชร์ข่าวนี้ออกไป เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลายและสร้างสรรค์ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้ และ ถนนข้าวสาร ยังคงมนต์เสน่ห์ที่ตรึงนักท่องเที่ยวเอาไว้ได้ต่อไป
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน