ประเทศที่รับเอาตัวอักษรจีนไปใช้ทำไมเหลือแค่ญี่ปุ่นที่ยังใช้อักษรจีนอยู่ในปัจจุบัน

ในสมัยโบราณเท่าที่รู้มีประเทศที่รับเอาตัวอักษรจีนมี 3 ประเทศคือ เวียดนาม เกาหลี และญี่ปุ่น

เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปทั้ง 3 ประเทศ ต่างมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเพื่อใช้เองแทนตัวอักษรจีน

ภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ"
ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม"
ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต์
ที่มา วิกิพีเดีย

ภาษาเกาหลี
อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์
นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย
ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม
ที่มา วิกิพีเดีย

ภาษาญี่ปุ่น
มี 4 ลักษณะ คือ ฮิรางานะ คะตะคะนะ คันจิ และ โรมันจิ เราจำแนกตัวอักษรญี่ปุ่นออกเป็นสองจำพวก
คือ กลุ่มตัวอักษรที่ใช้แทนเสียง ซี่งได้แก่ ฮิระงะนะและคะตะคะนะ
กับกลุ่มตัวอักษรที่แสดงความหมายที่เรียกว่า คันจิ โดยใช้ร่วมกับตัวเลขอารบิก
และตัวอักษรโรมัน ซึ่งจะมีความหลากหลายมากกว่าภาษาที่ใช้ในประเทศใกล้เคียง
ที่มา วิกิพีเดีย

ในปัจจุบันภาษาเวียดนามและเกาหลีเท่าที่เห็นเหมือนว่าจะละทิ้งหรือยกเลิกการใช้ตัวอักษรจีนในภาษาตนเอง

แทบจะทั้งหมด สังเกตจากละครโทรทัศน์ สารคดีท่องเที่ยว และ บรรจุภัณฑ์สินค้า

แต่ทำไมประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีตัวอักษรของตนเองและมีความเป็นชาตินิยมสูง ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของจีน

ถึงไม่ยกเลิกการใช้ "ตัวอักษรจีน" ในภาษาญี่ปุ่น

ในทางกลับกันยังพึ่งพาตัวอักษรจีนอย่างเข้มข้น มีในภาษาตนเองถึง  2,136 ตัว (ที่มา วิกิพีเดีย)

ชื่อสถานที่ต่างๆ เช่น 泰日経済技術振興協会付属語学学校

หรือ โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ด้วยเหตุนี้จึงสร้างความสงสัยว่าทำไม

โดยส่วนตัวที่เคยเรียนภาษาจีนและญี่ปุ่นแบบงูๆปลาๆสันนิษฐานว่า

1. เนื่องจากตัวอักษรจีน(คันจิ)ทำให้การประโยคสั้นไม่ต้องเขียนตัว ฮิรางานะและคันจิ

เช่นคำว่า  ยาก ถ้าเขียนด้วยตัวคันจิ คือ 難し  แต่ถ้าใช้ ฮิรางานะเขียนคือ むずかし

จะเห็นได้ว่า จะต้องเขียนเพิ่มขึ้นอีก 3 ตัวอักษร

2. เนื่องจากการเขียนถ้าไม่มีตัวคันจิเลยในประโยคอาจทำให้ไม่สามารถทราบความหมายได้

เพราะถ้ามีคำพ้องเสียงในการสนทนาเราสามารถเดาได้จากบริบทแต่ถ้าเป็นภาษาเขียน

มีแค่ประโยคเดียวหนำซ้ำยังเป็นฮิรางานะทั้งประโยคอาจทำให้ผู้อ่านไม่ทราบได้ว่ามีความหมายว่าอะไร

3. คันจิฝังรากลึกเกินกว่าจะยกเลิกการใช้ได้

พอจะมีผู้รู้ท่านใดสามารถตอบคำถามได้บ้าง

ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่