สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ผู้ลี้ภัยหรือผู้อพยพผิดกฏหมายที่เข้าไปในนอร์เวย์จะต่างจากผู้ลี้ภัยที่เข้ามาทางยุโรปประเทศอื่นตรงที่ ส่วนใหญ่แล้วจะเข้ามาทางชายแดนที่ติดกับรัสเซีย นอร์เวย์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศร่ำรวยจากน้ำมันแต่จะไม่ใจกว้างเกี่ยวกับการรับผู้อพยพลี้ภัย นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีกฏเกณฑ์เข้มงวดและใช้เวลาพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติการได้สิทธิลี้ภัยภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น เช่นเดียวกับสวิตเซอรแลนด์และจะให้สิทธิแกผู้ที่มีเหตุผลลี้ภัยจริงๆ ฉะนั้นแล้วมากกว่าครึ่งจะถูกปฏิเสธและดำเนินการส่งตัวกลับประเทศเดิมอย่างรวดเร็ว โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่จะสนับสนุนด้วย
ประเทศยุโรปเล็กๆ จะสามารถกระทำการได้อย่างไม่ยากและไม่เป็นที่จับตามองของนานาชาติเนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อการเมืองโลก แต่ประเทศใหญ่ๆ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี จะทำไมได้ง่ายๆ แบบนี้ เมื่อไหร่ที่ตัดสินใจลงมือทำอะไรเด็ดขาดก็จะถูกองค์กรนานาชาติประณามกดดันตลอดเวลา ที่สำคัญไม่ใช่แค่มีผลเฉพาะทางการด้านการเมืองแต่จะมีผลต่อเศรษฐกิจในฐานะของประเทศที่ส่งสินค้าออกไปขายทั่วโลกอีกด้วย ฉะนั้นมาตรการในการจัดการกับผู้ลี้ภัยที่ผิดกฏหมายจึงไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายอย่างที่คนภายนอกคิด
ในขณะที่ของเยอรมนีนั้น มีกฏหมายที่มีขั้นตอนซับซ้อนอีกต่างหากที่ออกมาให้คุ้มครองสิทธิมนุษยชนเต็มที่ นั่นคือเข้ามาอย่างผิดกฏหมายก็จริงแต่จะถูกขับออกไปก็ต้องผ่านขั้นตอนกฏหมายที่ยาวนาน ได้แก่ กว่าเจ้าหน้าที่จะตัดสินให้สิทธิได้ลี้ภัยหรือไม่ลี้ภัยก็กินเวลานานเป็นปี หลังจากถูกปฏิเสธแล้วผู้ลี้ภัยยังอาศัยอำนาจยุติธรรมทางศาลด้วยการยื่นฟ้องร้องได้อีก ขณะนี้จึงมีคดีที่ผู้ลี้ภัยที่ถูกปฏิเสธยื่นฟ้องต่อศาลเป็นแสนคดีที่ตัดสินไม่ได้ในเวลาอันสั้น ค้างต่อไปอีกเป็นปีกว่าจะสิ้นสุดขบวนการก็จะกินเวลาอย่างน้อยๆ 2-3 ปีเข้าไปแล้ว จำนวนผู้ลี้ภัยที่ตกค้างจึงมีจำนวนเป็นแสน บางคนถูกส่งกลับประเทศโดยที่ศาลยังไม่ตัดสินถือว่าผิดกระบวนการทางกฏหมาย ทนายก็จะเรียกร้องจนต้องไปรับตัวผู้ลี้ภัยกลับมาใหม่อีก เสียเงินค่าใช้จ่ายกันซ้ำซาก แต่นี่คือขบวนการของประเทศที่ให้ระบบยุติธรรมสำหรับทุกคนเท่าเทียมกัน
ยกตัวอย่างให้เห็นความแตกต่างของกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศแต่ละประเทศให้เห็น ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวคิดทางการเมืองที่ส่งผลต่อระบบการบริหารปกครองประเทศ
การสวมใส่เครื่องแต่งกายของมุสลิมทั้งตัวหรือทั้งหน้านั้น จำนวนมุสลิมหญิงที่ใส่ในแต่ละประเทศตะวันตกมีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรมุสลิมในประเทศทั้งหมด อย่างเช่น ฝรั่งเศสมีสวมใส่นิคาบประมาณ 2000 คนจากจำนวนมุสลิมทั้งหมด 5 ล้านคิดเป็นหญิงเสียครึ่งหนึ่งคือ 2.5 ล้านซึ่งก็ถือว่าน้อยมาก ประเทศอื่นๆ ยิ่งน้อยกว่านี้แค่จำนวน 3-500 คน
การห้ามในหลายประเทศยุโรปได้แก่ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ลัทเวีย บุลกาเรีย เนเธอร์แลนด์ (สถานที่สาธารณะของราชการ) เยอรมนี (เช่นเดียวกับเนเธอร์แลนด์) ด้วยเหตุผลหลักๆ คือความปลอดภัยจากการอาศัยในการก่อการร้าย และ การสื่อสารที่ต้องเห็นหน้าตาเป็นสิ่งสำคัญ
สำหรับอังกฤษนั้น ยังคงหลักการของอังกฤษว่านี่คือสิทธิของผู้หญิงที่จะสวมใส่อะไรก็ได้ Theresa May ออกมาให้สัมภาษณ์ล่าสุดว่าจะไม่มีการห้ามนิคาบและบุรคาในอังกฤษ
ประเทศยุโรปเล็กๆ จะสามารถกระทำการได้อย่างไม่ยากและไม่เป็นที่จับตามองของนานาชาติเนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อการเมืองโลก แต่ประเทศใหญ่ๆ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี จะทำไมได้ง่ายๆ แบบนี้ เมื่อไหร่ที่ตัดสินใจลงมือทำอะไรเด็ดขาดก็จะถูกองค์กรนานาชาติประณามกดดันตลอดเวลา ที่สำคัญไม่ใช่แค่มีผลเฉพาะทางการด้านการเมืองแต่จะมีผลต่อเศรษฐกิจในฐานะของประเทศที่ส่งสินค้าออกไปขายทั่วโลกอีกด้วย ฉะนั้นมาตรการในการจัดการกับผู้ลี้ภัยที่ผิดกฏหมายจึงไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายอย่างที่คนภายนอกคิด
ในขณะที่ของเยอรมนีนั้น มีกฏหมายที่มีขั้นตอนซับซ้อนอีกต่างหากที่ออกมาให้คุ้มครองสิทธิมนุษยชนเต็มที่ นั่นคือเข้ามาอย่างผิดกฏหมายก็จริงแต่จะถูกขับออกไปก็ต้องผ่านขั้นตอนกฏหมายที่ยาวนาน ได้แก่ กว่าเจ้าหน้าที่จะตัดสินให้สิทธิได้ลี้ภัยหรือไม่ลี้ภัยก็กินเวลานานเป็นปี หลังจากถูกปฏิเสธแล้วผู้ลี้ภัยยังอาศัยอำนาจยุติธรรมทางศาลด้วยการยื่นฟ้องร้องได้อีก ขณะนี้จึงมีคดีที่ผู้ลี้ภัยที่ถูกปฏิเสธยื่นฟ้องต่อศาลเป็นแสนคดีที่ตัดสินไม่ได้ในเวลาอันสั้น ค้างต่อไปอีกเป็นปีกว่าจะสิ้นสุดขบวนการก็จะกินเวลาอย่างน้อยๆ 2-3 ปีเข้าไปแล้ว จำนวนผู้ลี้ภัยที่ตกค้างจึงมีจำนวนเป็นแสน บางคนถูกส่งกลับประเทศโดยที่ศาลยังไม่ตัดสินถือว่าผิดกระบวนการทางกฏหมาย ทนายก็จะเรียกร้องจนต้องไปรับตัวผู้ลี้ภัยกลับมาใหม่อีก เสียเงินค่าใช้จ่ายกันซ้ำซาก แต่นี่คือขบวนการของประเทศที่ให้ระบบยุติธรรมสำหรับทุกคนเท่าเทียมกัน
ยกตัวอย่างให้เห็นความแตกต่างของกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศแต่ละประเทศให้เห็น ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวคิดทางการเมืองที่ส่งผลต่อระบบการบริหารปกครองประเทศ
การสวมใส่เครื่องแต่งกายของมุสลิมทั้งตัวหรือทั้งหน้านั้น จำนวนมุสลิมหญิงที่ใส่ในแต่ละประเทศตะวันตกมีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรมุสลิมในประเทศทั้งหมด อย่างเช่น ฝรั่งเศสมีสวมใส่นิคาบประมาณ 2000 คนจากจำนวนมุสลิมทั้งหมด 5 ล้านคิดเป็นหญิงเสียครึ่งหนึ่งคือ 2.5 ล้านซึ่งก็ถือว่าน้อยมาก ประเทศอื่นๆ ยิ่งน้อยกว่านี้แค่จำนวน 3-500 คน
การห้ามในหลายประเทศยุโรปได้แก่ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ลัทเวีย บุลกาเรีย เนเธอร์แลนด์ (สถานที่สาธารณะของราชการ) เยอรมนี (เช่นเดียวกับเนเธอร์แลนด์) ด้วยเหตุผลหลักๆ คือความปลอดภัยจากการอาศัยในการก่อการร้าย และ การสื่อสารที่ต้องเห็นหน้าตาเป็นสิ่งสำคัญ
สำหรับอังกฤษนั้น ยังคงหลักการของอังกฤษว่านี่คือสิทธิของผู้หญิงที่จะสวมใส่อะไรก็ได้ Theresa May ออกมาให้สัมภาษณ์ล่าสุดว่าจะไม่มีการห้ามนิคาบและบุรคาในอังกฤษ
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบว่า ประเทศในยุโรป เขามีเงื่อนไขในการรับผู้อพยพที่เป็นมุสลิมอย่างไรบ้างครับ
บางประเทศอย่างฝรั่งเศสก็ไม่ให้คนแสดงออกว่านับถือศาสนาอะไรในพื้นที่สาธารณะ
อยากทราบว่าตอนที่ประเทศเหล่านี้รับผู้อพยพที่เป็นมุสลิมเข้าประเทศนั้น มีเงื่อนไขห้ามคลุมศีรษะในพื้นที่สาธารณะไหม ประมาณว่าถ้าจะมาอยู่ในประเทศเขาต้องห้ามคบุมศีรษะ ทำไมปล่อยให้คนที่คลุมศีรษะเล็ดลอดไปได้ แล้วก็มาแก้ปัญหาในภายหลังงี้เหรอ
แต่พอมาวันนี้ ในเดนมาร์กกำลังมีปัญหาผู้อพยพไม่ทำตามกฎหมาย ก็เลยต้องปรับกันไป
แล้วก่อนจะรับเขามานั้น ไม่ได้แจ้งให้เขาทราบเหรอว่าห้ามคลุม หรืออะไร ยังไง