ทำไมต้องรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าและการป้องกัน
ดูคลิปVDOเพิ่มเติม
https://www.facebook.com/YaAndYou.net/videos/10156787040630312/
สัตว์ทุกชนิด มีโอกาสนำโรคพิษสุนัขบ้าได้ โอกาสการสัมผัสเชื้อเข้าร่างกายนอกจากการการถูกกัดแล้ว ยังรวมถึงการข่วน หรือน้ำลายกระเด็นเข้าบาดแผลหรือผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือถูกเลียที่เยื่อบุปาก จมูก ตา หรือกินอาหารดิบที่ปรุงจากสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า อีกด้วย
เชื้อโรคนี้ยังไม่มียารักษาให้หายขาด อันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาดูแลที่เหมาะสม ดังนั้นต้องป้องกันดีที่สุด กรณีมีการสัมผัสกับสัตว์ต่างๆแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าสัตว์มีเชื้อพิษสุนัขบ้าไหม ซึ่งเมื่อท่านทราบว่ากลุ่มใดต้องได้รับวัคซีนให้เร็วที่สุด ท่านจะป้องกันเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าให้เร็วและเหมาะสมที่สุดนั้นเอง ดังรายละเอียดด้านตารางต่อไปนี้
เมื่อไรต้องรีบไปรับวัคซีน (Rabies vaccine)
แบ่งเป็น 3 กลุ่มให้เข้าใจง่ายๆ ตามความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนและการรักษา
กลุ่ม 1 ไม่มีความเสี่ยงติดเชื้อ ไม่ต้องฉีดวัคซีน
ลักษณะการสัมผัส :
เราจับตัวสัตว์ ป้อนน้ำ ป้อนอาหาร โดยผิวหนังเราไม่มีแผลหรือรอยถลอก ถูกเลีย สัมผัสน้ำลายหรือเลือดสัตว์ โดยผิวหนังของ เราไม่มีรอยแผลหรือรอยถลอก
การปฏิบัติ:
ล้างผิวหนังเราด้วยน้ำสบู่ให้สะอาด ไม่ต้องฉีดวัคซีน
กลุ่ม 2 กลุ่มที่ต้องฉีดวัคซีนทันที ต้องไปพบแพทย์ทันทีเพื่อพิจารณาการฉีดวัคซีน (แม้ว่าจะมีประวัติเคยได้รับวัคซีนมาก่อนหรือไม่ก็ตาม)
ลักษณะการสัมผัส :
- น้ำลายหรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำตา น้ำลายของสัตว์ สัมผัสผิวหนังของเราที่มีรอยถลอก รอยข่วน รอยช้ำ หรือแผล ที่ ไม่มีเลือดออกหรือมีเลือดออก็ตาม หรือถูกจนผิวหนังเราทะลุ ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะเป็นแผลเดียวหรือ หลายแผล แผลเล็กหรือแผลใหญ่ก็ตาม หรือถูกเยื่อบุตา ปาก จมูกของเรา
- กินอาหารดิบที่ปรุงจากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ในสัตว์ที่มีลักษณะดังข้อใด ข้อหนึ่งต่อไปนี้
1) สัตว์เลี้ยงที่ไม่ได้ดูแลรั้วรอบขอบชิด หรือ
2) สัตว์เลี้ยงที่ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ไม่ได้ฉีดทุกปี หรือฉีดน้อยกว่า 2 ครั้ง และ ฉีดครั้งสุดท้ายเกิน 1 ปี หรือ
3) ลักษณะสัตว์เปลี่ยนไป เช่น จากเดิมไม่เคยกัดใคร เปลี่ยนมากัดทั้งคนที่รู้จักและไม่รู้จัก หรือสัตว์มีอาการป่วย
4) สัตว์ที่หนีหายไป สัตว์ป่า หรือหนู สัตว์ตาย
การปฏิบัติ:
- ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด
- พิจารณาการฉีดวัคซีน ให้เร็วที่สุด ในบางรายแพทย์พิจารณาให้เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมด้วย
- ติดตามสัตว์ (หากเป็นสัตว์ที่ติดตามได้) 10 วัน หากสัตว์ปกติ ให้หยุดฉีดวัคซีนในผู้สัมผัสได้
- หากสัตว์ที่กัดหรือสัมผัส เป็นสัตว์ป่า หรือไม่สามารถติดตามสัตว์ ให้ฉีดจนครบคอร์สการรักษา
กลุ่มที่ 3 พบแพทย์และติดตามอาการสัตว์ ติดตามอาการสัตว์ 10 วัน หากมีอาการสัตว์ป่วย ให้นำสัตว์ตรวจและให้คนเริ่มรักษาทันที
ลักษณะการสัมผัส: การสัมผัสดังกลุ่ม 2 ในสัตว์ที่มีลักษณะทั้ง 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
- สัตว์เลี้ยงที่มีการเลี้ยงดูรั้วรอบขอบชิด โอกาสสัมผัสสัตว์อื่น ที่อาจจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้าน้อย
- สัตว์กัดมีอาการปกติ แต่การกัดเกิดจากมีเหตุโน้มนำ เช่น การแหย่หรือ สัตว์หวงอาหารหรือลูกอ่อน พยายามแยกสัตว์ที่ กำลังสู้กัน
- สัตว์ได้รับวัคซีนสม่ำเสมอประจำปี ทุกปี หรือเคยได้รับการฉีดมาก่อนอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งสุดท้ายไม่เกิน 1 ปี
ข้อแนะนำการฉีดวัคซีน
มาฉีดวัคซีนตามนัดมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะวัคซีนใน 7 วันหลังเริ่มฉีดเข็มแรก เพื่อให้ภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่สูงป้องกันโรคได้ภายในวันที่ 14 ได้ มิฉะนั้นอาจจะจำเป็นต้องเริ่มฉีดใหม่ในผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า แต่หากไม่สามารถมาตามวันนัดได้จริงๆ โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อหาวิธีการจัดการให้เหมาะสม
ฉีดวัคซีนในเด็ก ผู้ใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยเอชไอวี หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สามารถฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อตาย แต่ผู้ป่วยเอชไอวี หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรเพื่อทำการดูแลและวิธีการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม
เก็บบัตรฉีดไว้หรือบันทึกในระบบบันทึก
วัคซีนที่ฉีดหลังสัมผัสเชื้อ ท่านจะได้รับการนัดฉีด กรณีครบคอร์สทั้งหมด 4-5 วัน ขึ้นกับวิธีการฉีด ดังนั้นท่านต้องเก็บบัตรนัดให้ดี ซึ่งจะมีรายละเอียดชนิดที่ฉีด วิธีฉีด และวันนัดฉีด เพื่อให้ทำการฉีดให้เหมาะสมต่อเนื่อง
อ้างอิงข้อมูล หากมีข้อสงสัย สามารถสืบค้นข้อมูลยาได้ที่
http://www.yaandyou.net ,
http://www.yaandyou.net/content-view.php?conid=667
วัคซีนพิษสุนัขบ้า ฉบับ...มนุษย์ทาส
ดูคลิปVDOเพิ่มเติม https://www.facebook.com/YaAndYou.net/videos/10156787040630312/
สัตว์ทุกชนิด มีโอกาสนำโรคพิษสุนัขบ้าได้ โอกาสการสัมผัสเชื้อเข้าร่างกายนอกจากการการถูกกัดแล้ว ยังรวมถึงการข่วน หรือน้ำลายกระเด็นเข้าบาดแผลหรือผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือถูกเลียที่เยื่อบุปาก จมูก ตา หรือกินอาหารดิบที่ปรุงจากสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า อีกด้วย
เชื้อโรคนี้ยังไม่มียารักษาให้หายขาด อันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาดูแลที่เหมาะสม ดังนั้นต้องป้องกันดีที่สุด กรณีมีการสัมผัสกับสัตว์ต่างๆแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าสัตว์มีเชื้อพิษสุนัขบ้าไหม ซึ่งเมื่อท่านทราบว่ากลุ่มใดต้องได้รับวัคซีนให้เร็วที่สุด ท่านจะป้องกันเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าให้เร็วและเหมาะสมที่สุดนั้นเอง ดังรายละเอียดด้านตารางต่อไปนี้
เมื่อไรต้องรีบไปรับวัคซีน (Rabies vaccine)
แบ่งเป็น 3 กลุ่มให้เข้าใจง่ายๆ ตามความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนและการรักษา
กลุ่ม 1 ไม่มีความเสี่ยงติดเชื้อ ไม่ต้องฉีดวัคซีน
ลักษณะการสัมผัส :
เราจับตัวสัตว์ ป้อนน้ำ ป้อนอาหาร โดยผิวหนังเราไม่มีแผลหรือรอยถลอก ถูกเลีย สัมผัสน้ำลายหรือเลือดสัตว์ โดยผิวหนังของ เราไม่มีรอยแผลหรือรอยถลอก
การปฏิบัติ:
ล้างผิวหนังเราด้วยน้ำสบู่ให้สะอาด ไม่ต้องฉีดวัคซีน
กลุ่ม 2 กลุ่มที่ต้องฉีดวัคซีนทันที ต้องไปพบแพทย์ทันทีเพื่อพิจารณาการฉีดวัคซีน (แม้ว่าจะมีประวัติเคยได้รับวัคซีนมาก่อนหรือไม่ก็ตาม)
ลักษณะการสัมผัส :
- น้ำลายหรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำตา น้ำลายของสัตว์ สัมผัสผิวหนังของเราที่มีรอยถลอก รอยข่วน รอยช้ำ หรือแผล ที่ ไม่มีเลือดออกหรือมีเลือดออก็ตาม หรือถูกจนผิวหนังเราทะลุ ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะเป็นแผลเดียวหรือ หลายแผล แผลเล็กหรือแผลใหญ่ก็ตาม หรือถูกเยื่อบุตา ปาก จมูกของเรา
- กินอาหารดิบที่ปรุงจากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ในสัตว์ที่มีลักษณะดังข้อใด ข้อหนึ่งต่อไปนี้
1) สัตว์เลี้ยงที่ไม่ได้ดูแลรั้วรอบขอบชิด หรือ
2) สัตว์เลี้ยงที่ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ไม่ได้ฉีดทุกปี หรือฉีดน้อยกว่า 2 ครั้ง และ ฉีดครั้งสุดท้ายเกิน 1 ปี หรือ
3) ลักษณะสัตว์เปลี่ยนไป เช่น จากเดิมไม่เคยกัดใคร เปลี่ยนมากัดทั้งคนที่รู้จักและไม่รู้จัก หรือสัตว์มีอาการป่วย
4) สัตว์ที่หนีหายไป สัตว์ป่า หรือหนู สัตว์ตาย
การปฏิบัติ:
- ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด
- พิจารณาการฉีดวัคซีน ให้เร็วที่สุด ในบางรายแพทย์พิจารณาให้เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมด้วย
- ติดตามสัตว์ (หากเป็นสัตว์ที่ติดตามได้) 10 วัน หากสัตว์ปกติ ให้หยุดฉีดวัคซีนในผู้สัมผัสได้
- หากสัตว์ที่กัดหรือสัมผัส เป็นสัตว์ป่า หรือไม่สามารถติดตามสัตว์ ให้ฉีดจนครบคอร์สการรักษา
กลุ่มที่ 3 พบแพทย์และติดตามอาการสัตว์ ติดตามอาการสัตว์ 10 วัน หากมีอาการสัตว์ป่วย ให้นำสัตว์ตรวจและให้คนเริ่มรักษาทันที
ลักษณะการสัมผัส: การสัมผัสดังกลุ่ม 2 ในสัตว์ที่มีลักษณะทั้ง 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
- สัตว์เลี้ยงที่มีการเลี้ยงดูรั้วรอบขอบชิด โอกาสสัมผัสสัตว์อื่น ที่อาจจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้าน้อย
- สัตว์กัดมีอาการปกติ แต่การกัดเกิดจากมีเหตุโน้มนำ เช่น การแหย่หรือ สัตว์หวงอาหารหรือลูกอ่อน พยายามแยกสัตว์ที่ กำลังสู้กัน
- สัตว์ได้รับวัคซีนสม่ำเสมอประจำปี ทุกปี หรือเคยได้รับการฉีดมาก่อนอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งสุดท้ายไม่เกิน 1 ปี
ข้อแนะนำการฉีดวัคซีน
มาฉีดวัคซีนตามนัดมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะวัคซีนใน 7 วันหลังเริ่มฉีดเข็มแรก เพื่อให้ภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับที่สูงป้องกันโรคได้ภายในวันที่ 14 ได้ มิฉะนั้นอาจจะจำเป็นต้องเริ่มฉีดใหม่ในผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า แต่หากไม่สามารถมาตามวันนัดได้จริงๆ โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อหาวิธีการจัดการให้เหมาะสม
ฉีดวัคซีนในเด็ก ผู้ใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยเอชไอวี หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง สามารถฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อตาย แต่ผู้ป่วยเอชไอวี หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรเพื่อทำการดูแลและวิธีการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม
เก็บบัตรฉีดไว้หรือบันทึกในระบบบันทึก
วัคซีนที่ฉีดหลังสัมผัสเชื้อ ท่านจะได้รับการนัดฉีด กรณีครบคอร์สทั้งหมด 4-5 วัน ขึ้นกับวิธีการฉีด ดังนั้นท่านต้องเก็บบัตรนัดให้ดี ซึ่งจะมีรายละเอียดชนิดที่ฉีด วิธีฉีด และวันนัดฉีด เพื่อให้ทำการฉีดให้เหมาะสมต่อเนื่อง
อ้างอิงข้อมูล หากมีข้อสงสัย สามารถสืบค้นข้อมูลยาได้ที่
http://www.yaandyou.net ,
http://www.yaandyou.net/content-view.php?conid=667