เชียงใหม่-หัตถกรรมผ้าชาวไทยภูเขาผสมผสานงานปักแบบร่วมสมัย

จากขุนเขาสู่...ศิลปาชีพ
Crafts from the Hands of the Hills....to the Hands of The Queen
นิทรรศการศิลปกรรมสื่อผสม หัตถกรรมผ้าชาวไทยภูเขาผสมผสานงานปักแบบร่วมสมัย
แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ร่วมกันสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของชาวไทยภูเขา
จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้ชาวไทยภูเขาได้สร้างสรรค์งานฝีมือที่งดงามให้คงอยู่สืบไป


ชื่อภาพ : สว่างบนมืด รอยยิ้มแห่งรัตนโกสินทร์ที่ 9
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
แนวคิด : เมื่อเรามีความรักและพากเพียรในหน้าที่ แม้ชีวิตอยู่ในความมืดมิดสักเพียงใด
             พระราชดำรัสจะเป็นดังแสงส่องนำทาง และจะทรงแย้มพระสรวลให้กับความพากเพียรของเราเสมอ
Title Light on the Dark,Smile of the 9th Reign
Technique : Mix media by SUPPORT Foundation of H.M.Queen Sirikit in the year 2016
Concept : The work show when we have love and pride in our work, even when our lives may face dark time,
              His Majesty's words can provide the light to guide us and help us persevere


ชื่อภาพ : "สายธารจากทักษิโณทก"
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
             ปฐมบรมราชโองการอันเป็นคำมั่นสัญญา จากพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอุทิศเสียสละเวลาทั้งพระชนม์ชีพเพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย
Title : The flow of compression
Technique : Mix media by SUPPORT Foundation of H.M.Queen Sirikit in the year 2016
Content : "I will rule the country with righteousness for the benefit of the general public of Siam"


ชื่อภาพ : แผ่นดินทองของเฮา
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : ต่างชนเผ่า ต่างเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ
            แต่ทุกชีวิตบนดอยสามารถอยู่ได้อย่างอบอุ่นใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารบนแผ่นดินทองของไทย


ชื่อภาพ : แผ่นดินทองของเมี่ยน
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : ต่างชนเผ่า ต่างเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ
            แต่ทุกชีวิตบนดอยสามารถอยู่ได้อย่างอบอุ่นใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารบนแผ่นดินทองของไทย


ชื่อภาพ : ลิงเก็บอาหาร ชลประทานเก็บน้ำ
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : แก้มลิง คือ พื้นที่เก็บกักน้ำเพื่อบรรเทาความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วม
            เป็นโครงการชลประทานประเภทหนึ่งที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรมีพระราชดำริขึ้น
            โดยทรงสังเกตว่า เมื่อลิงได้อาหารมากมักจะนำไปอมไว้ในกระพุ้งแก้มก่อน แล้วค่อยนำมาเคี้ยวกลืนภายหลัง
            โครงการแก้มลิงจึงใช้หลักการเดียวกัน คือจัดหาพื้นที่เก็บกักน้ำส่วนหนึ่งไว้ในยามที่ทางน้ำสาธารณะมีระดับน้ำสูง
            เมื่อระดับน้ำลดลงแล้วจึงค่อย ๆ ระบายน้ำในแก้มลิงออกมาสู่ทางน้ำสาธารณะต่อไป
            แก้มลิงมีหลายขนาดตั้งแต่อ่างเก็บน้ำ ลำคลอง หนองบึง ไปจนถึงสนามในบ้านของประชาชนก็สามารถใช้เป็นแก้มลิงได้


ชื่อภาพ : หอมเอื้องแซะ
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : เอื้องแซะเป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของไทยที่มีดอกสวยงามและกลิ่นหอม พบมากในป่าทางภาคเหนือ
            แต่ปัจจุบันกำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากป่าถูกทำลาย และมีการลักลอบเก็บต้นเอื้องแซะไปขายคราวละมาก ๆ
            สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 โปรดกลิ่นหอมของเอื้องแซะอย่างยิ่ง
            จึงมีพระราชดำริให้หน่วยงานต่าง ๆ ช่วยกันขยายพันธุ์เอื้องแซะเพื่อทดลองผลิตเป็นน้ำหอม
            รวมทั้งสนับสนุนให้ราษฎรขยายพันธุ์เอื้องแซะ เพื่อนำกลับคืนสู่ป่าธรรมชาติ


ชื่อภาพ : แผ่นดินทองของกะเหรี่ยง
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา :  ต่างชนเผ่า ต่างเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ
             แต่ทุกชีวิตบนดอยสามารถอยู่ได้อย่างอบอุ่นใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารบนแผ่นดินทองของไทย


ชื่อภาพ : หิ่งห้อยวิบวับจะไม่ลับเลือนหาย
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา :  หิ่งห้อยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก มีลักษณะเด่นที่สามารถกะพริบแสงสวยงามเป็นสัญญาณในเวลาหาคู่
             หิ่งห้อยมักอาศัยอยู่ตามไร่นาป่าสวนที่มีแหล่งน้ำสะอาด ที่พบได้มากคือ ป่าชายทะเล เช่น ป่าโกงกาง และลำพู
             หิ่งห้อยจึงสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้
             ช่วงวัยที่เป็นตัวหนอนหิ่งห้อยจะกินหอยเล็ก ๆ เป็นอาหาร
             ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหอยที่นำเชื้อโรคมาสู่มนุษย์รวมทั้งหอยเชอรี่อันเป็นศัตรูสำคัญของนาข้าว
..........สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงทราบถึงประโยชน์ของหิ่งห้อย
          จึงมีพระราชดำริให้วนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ที่จังหวัดเชียงใหม่
          ศึกษาข้อมูลทั้งหมด เกี่ยวกับหิ่งห้อย เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์หิ่งห้อยต่อไป


ชื่อภาพ : อุ่นใจด้วยใยแกะ
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : ช่วงฤดูหนาวในภาคเหนือซึ่งมีอุณหภูมิเย็นจัด ชาวไทยภูเขามักขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มเพื่อให้ความอบอุ่น
            โครงการทดลองเลี้ยงแกะและสัตว์ปีกตามพระราชดำริแห่งแรกจึงกำเนิดขึ้นที่บ้านร่มฟ้าทอง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
             เมื่อ พ.ศ.2541 เพื่อให้ชาวไทยภูเขานำขนแกะมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่มกันหนาว
             รวมทั้งสร้างรายได้เสริมจากการทอผ้าขนแกะ และผลิตภัณฑ์จากแกะ


ชื่อภาพ : ดอกไม้หลวงของปวงประชา
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : ไม้ดอกเมืองหนาวหลากหลายพันธุ์ที่อวดรูปทรงและสีสันอยู่ตามดอยสูงอันเป็นที่ทำกินของชาวไทยภูเขา
            เป็นพืชที่โครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูกเพื่อทดแทนพืชเสพติด และเพื่อลดการทำไร่เลื่อนลอย
            ปัจจุบันนี้ดอกไม้เมืองหนาวจากโครงการหลวงเป็นที่นิยมอย่างยิ่งของประชาชน
            และสร้างรายได้ให้แก่ชาวไทยภูเขามากกว่ารายได้จากการปลูกพืชเสพติดไปแล้ว


ชื่อภาพ : แผ่นดินทองของอาข่า
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : ต่างชนเผ่า ต่างเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ
            แต่ทุกชีวิตบนดอยสามารถอยู่ได้อย่างอบอุ่นใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารบนแผ่นดินทองของไทย


ชื่อภาพ : ก เอ๋ย ก ไก่ จากใจพระราชาราชินี
เทคนิค : สื่อผสม จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีพุทธศักราช 2559
เนื้อหา : ชาวไทยภูเขาที่อยู่ห่างไกลการคมนาคม นอกจากจะมีฐานะยากจน ดำรงชีวิตด้วยความลำบากยากแค้นแล้ว
            เด็กในวัยเรียนก็ไม่ได้เรียนหนังสือ เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดสามารถเข้าไปจัดตั้งโรงเรียนได้
            สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 จึงพระราชทานพระราชทรัพย์สร้างโรงเรียนให้ชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยน
            ที่บ้านแก่รามัญ ตำบลยิ้มอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2505
            และพระราชทานนามว่า "โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 1"
            ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
            ได้พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อสร้างโรงเรียนให้แก่ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ที่บ้านม้งดอยปุย ตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
            และพระราชทานนามว่า "โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 1" เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2506
            จากนั้นก็ได้พระราชทานโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์และเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์แก่ราษฎรในพื้นที่อื่นต่อมาอีกเป็นจำนวนมาก
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่