การแกล้งแบบไหนบ้าง ถึงจะเป็น Cyberbullying ?
การกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์มีได้หลายวิธี โดยหลักๆ แล้วจะสามารถจำแนกได้ 6 รูปแบบ ดังนี้
1. การโจมตี ขู่ทำร้าย หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย
การโพสต์ด่าทอ ขู่เข็ญ ใช้ถ้อยคำที่รุนแรง หยาบคาย ไม่ว่าจะเป็นทางแชทส่วนตัว หรือโพสต์ที่หน้าโซเชียลมีเดียของผู้ถูกกระทำ เช่น ขู่ว่าจะมาทำร้าย ถึงผู้กระทำจะยังไม่ได้มาทำร้ายจริงๆ แต่เพียงการข่มขู่ด้วยข้อความก็ถือว่าเข้าข่าย Cyberbullying แล้วครับ
2. การคุกคามทางเพศแบบออนไลน์
การพูดจาคุกคามทางเพศผ่านโซเชียลมีเดียสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเลยครับ โดยเฉพาะทางไลฟ์เฟสบุ๊ค หรือตามโพสต่างๆ ก็จะมีข้อความที่เข้าข่ายคุกคามทางเพศอยู่มาก นอกจากนี้การส่งข้อมูลที่มีเนื้อหาอนาจารโดยที่ผู้รับไม่ได้ต้องการ หรือการเอารูปไปตัดต่อในเชิงลามก ก็ถือว่าเป็น Cyberbullying อย่างหนึ่งได้เหมือนกันครับ
3. การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น
กรณีนี้ผู้กระทำจะแอบอ้างใช้บัญชีของเหยื่อ แล้วนำบัญชีนั้นไป โพสต์ข้อความหยาบคาย คลิปวิดิโอที่ไม่เหมาะสม หรือกระทำการต่างๆ ที่เกิดผลเสียต่อเจ้าของบัญชีตัวจริง ใครเคยเห็นเพื่อนล็อกอินบัญชีเฟสบุ๊คทิ้งไว้แล้วเราเข้าไปสวมรอยโพสข้อความ หรือกระทำการต่างๆ ที่เขาไม่ได้เต็มใจให้ทำ ก็ควรเลิกทำนะครับ
4. การแบล็กเมล์กัน
การแบล็กเมล์คือการนำความลับของผู้อื่นไม่ว่าจะมาเป็นในรูปแบบภาพ วิดีโอ หรือเสียง มาเผยแพร่ลงโซเชียลมีเดีย เพื่อทำให้เกิดการแชร์ต่อในวงกว้าง หรือการใส่ร้ายป้ายสี เช่น ตัดต่อรูปภาพของเหยื่อ แล้วนำมาโพสต์ประจาน
5. การหลอกลวง
มีทั้งการหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อ นัดเจอนอกสถานที่เพื่อจะทำมิดีมิร้าย หรือการหลอกลวงให้ผู้เสียหายโอนเงินไปให้ด้วยวิธีการต่าง ๆ พบได้บ่อยตามการซื้อ-ขายของในเฟสบุ๊คครับ
6. การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ
ที่เห็นภาพได้ชัดเลยคือการตั้งเพจขึ้นมาเพื่อโจมตีบุคคลที่เป็นเป้าหมาย จัดผิดทุกการกระทำของเขา โพสข้อความให้เกิดความเกลียดชังเป้าหมาย เป็นต้น
ที่มา:
https://health.kapook.com/view150050.html
@@@@@@@ Cyberbullying @@@@@@@@
การกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์มีได้หลายวิธี โดยหลักๆ แล้วจะสามารถจำแนกได้ 6 รูปแบบ ดังนี้
1. การโจมตี ขู่ทำร้าย หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย
การโพสต์ด่าทอ ขู่เข็ญ ใช้ถ้อยคำที่รุนแรง หยาบคาย ไม่ว่าจะเป็นทางแชทส่วนตัว หรือโพสต์ที่หน้าโซเชียลมีเดียของผู้ถูกกระทำ เช่น ขู่ว่าจะมาทำร้าย ถึงผู้กระทำจะยังไม่ได้มาทำร้ายจริงๆ แต่เพียงการข่มขู่ด้วยข้อความก็ถือว่าเข้าข่าย Cyberbullying แล้วครับ
2. การคุกคามทางเพศแบบออนไลน์
การพูดจาคุกคามทางเพศผ่านโซเชียลมีเดียสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเลยครับ โดยเฉพาะทางไลฟ์เฟสบุ๊ค หรือตามโพสต่างๆ ก็จะมีข้อความที่เข้าข่ายคุกคามทางเพศอยู่มาก นอกจากนี้การส่งข้อมูลที่มีเนื้อหาอนาจารโดยที่ผู้รับไม่ได้ต้องการ หรือการเอารูปไปตัดต่อในเชิงลามก ก็ถือว่าเป็น Cyberbullying อย่างหนึ่งได้เหมือนกันครับ
3. การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น
กรณีนี้ผู้กระทำจะแอบอ้างใช้บัญชีของเหยื่อ แล้วนำบัญชีนั้นไป โพสต์ข้อความหยาบคาย คลิปวิดิโอที่ไม่เหมาะสม หรือกระทำการต่างๆ ที่เกิดผลเสียต่อเจ้าของบัญชีตัวจริง ใครเคยเห็นเพื่อนล็อกอินบัญชีเฟสบุ๊คทิ้งไว้แล้วเราเข้าไปสวมรอยโพสข้อความ หรือกระทำการต่างๆ ที่เขาไม่ได้เต็มใจให้ทำ ก็ควรเลิกทำนะครับ
4. การแบล็กเมล์กัน
การแบล็กเมล์คือการนำความลับของผู้อื่นไม่ว่าจะมาเป็นในรูปแบบภาพ วิดีโอ หรือเสียง มาเผยแพร่ลงโซเชียลมีเดีย เพื่อทำให้เกิดการแชร์ต่อในวงกว้าง หรือการใส่ร้ายป้ายสี เช่น ตัดต่อรูปภาพของเหยื่อ แล้วนำมาโพสต์ประจาน
5. การหลอกลวง
มีทั้งการหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อ นัดเจอนอกสถานที่เพื่อจะทำมิดีมิร้าย หรือการหลอกลวงให้ผู้เสียหายโอนเงินไปให้ด้วยวิธีการต่าง ๆ พบได้บ่อยตามการซื้อ-ขายของในเฟสบุ๊คครับ
6. การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ
ที่เห็นภาพได้ชัดเลยคือการตั้งเพจขึ้นมาเพื่อโจมตีบุคคลที่เป็นเป้าหมาย จัดผิดทุกการกระทำของเขา โพสข้อความให้เกิดความเกลียดชังเป้าหมาย เป็นต้น
ที่มา: https://health.kapook.com/view150050.html